นายปราโมทย์ ธีรกุล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ในระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคมนี้ สมาคมฯ จะจัดงานแสดงสินค้ารับสร้างบ้านครั้งที่ 2 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ Cool of Living ” เน้นบรรยากาศงานแบบเรียบง่าย และเป็นกันเอง ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมทางด้านการตลาดประจำปี ของกลุ่มสมาชิกบริษัทรับสร้างบ้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ของบริษัทรับสร้างบ้านให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากที่สุด และเป็นการกระตุ้นยอดขายบ้านของสมาชิก บริษัท รับสร้างบ้านด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการชะลอตัวลงไปมาก เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นราคาวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการสร้างบ้าน ประกอบการการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดลดลง ส่งผลให้ยอดขายตลาดรวมรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกไม่กระเตื้องมากนัก โดยมียอดขายในตลาดรวมประมาณ 3,000 ล้านบาท จากเป้ายอดขายที่มีการประมาณการไว้ว่าทั้งปียอดขาย 7,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10,000 ล้านบาทในปี 2550
นายปราโมทย์กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 60,000-80,000คนโดยปีนี้คาดว่าบริษัทรับสร้างบ้านที่มาร่วมออกบูธจะมียอดจองภายในงานประมาณ 700-800 ล้านบาท และมียอดขายต่อเบื้องหลังงานอีกไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากยอดขายบ้านเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ก็จะทำให้ในปีนี้ ในตลาดรับสร้างบ้านจะมียอดขายรวมเป็นไปตามเป้าที่วางไว้
อย่างไรก็ดี หลังจากสิ้นสุดกิจกรรมครั้งนี้แล้ว หากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ สมาคมก็มีแผนกระตุ้นยอดขายต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกับสมาชิกในสมาคมฯแล้ว โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวยังไม่ได้มีการวางรูปแบบอย่างชัดเจน แต่จะมีการหารือร่วมกันในเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกิจกรรมกระตุ้นการขายในปี2549 สมาคมฯและสมาชิกในสมาคม วางแผนว่าจะมีการจัดกิจกรรมย่อยต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่นการออกบู๊ธร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมด้านการตลาดเล็กๆ ในย่านศูนย์การค้า4 มุมเมือง เพื่อเพิ่มยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ว่าในปี 2550 ตลาดรับสร้างบ้านจะมีแชร์อยู่ในตลาดสร้างบ้าน10,000 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตลาดรับสร้างบ้านในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการมีการปรับขึ้นราคาบ้านไปแล้ว 3-5% โดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาวัดสุก่อสร้างในตลาดทำให้ กำไรจากการขายลดลงประมาณ 2-4% ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาแต่ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านไม่สามารถปรับราคาบ้านขึ้นไปได้ เนื่องจาก กำลังซื้อและตลาดมีการชะลอตัวลงไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการบริหารต้นทุนให้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการยังมีกำไรอยู่ในระดับที่เหมาะสม คือประมาณ 12% ต่อการสร้างบ้าน1 หลัง ซึ่งถือว่าเป็นระดับมาตรฐานแต่การที่จะพยายามรักษาราคาไว้เท่าเดิมนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี หากไม่มีการบริหารต้นทุนที่ดีแล้วก็จะส่งผลให้ขาดทุนได้
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการชะลอตัวลงไปมาก เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับขึ้นราคาวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการสร้างบ้าน ประกอบการการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดลดลง ส่งผลให้ยอดขายตลาดรวมรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกไม่กระเตื้องมากนัก โดยมียอดขายในตลาดรวมประมาณ 3,000 ล้านบาท จากเป้ายอดขายที่มีการประมาณการไว้ว่าทั้งปียอดขาย 7,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10,000 ล้านบาทในปี 2550
นายปราโมทย์กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 60,000-80,000คนโดยปีนี้คาดว่าบริษัทรับสร้างบ้านที่มาร่วมออกบูธจะมียอดจองภายในงานประมาณ 700-800 ล้านบาท และมียอดขายต่อเบื้องหลังงานอีกไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากยอดขายบ้านเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ก็จะทำให้ในปีนี้ ในตลาดรับสร้างบ้านจะมียอดขายรวมเป็นไปตามเป้าที่วางไว้
อย่างไรก็ดี หลังจากสิ้นสุดกิจกรรมครั้งนี้แล้ว หากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ สมาคมก็มีแผนกระตุ้นยอดขายต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกับสมาชิกในสมาคมฯแล้ว โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวยังไม่ได้มีการวางรูปแบบอย่างชัดเจน แต่จะมีการหารือร่วมกันในเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกิจกรรมกระตุ้นการขายในปี2549 สมาคมฯและสมาชิกในสมาคม วางแผนว่าจะมีการจัดกิจกรรมย่อยต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่นการออกบู๊ธร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมด้านการตลาดเล็กๆ ในย่านศูนย์การค้า4 มุมเมือง เพื่อเพิ่มยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ว่าในปี 2550 ตลาดรับสร้างบ้านจะมีแชร์อยู่ในตลาดสร้างบ้าน10,000 ล้านบาท
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตลาดรับสร้างบ้านในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการมีการปรับขึ้นราคาบ้านไปแล้ว 3-5% โดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาวัดสุก่อสร้างในตลาดทำให้ กำไรจากการขายลดลงประมาณ 2-4% ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาแต่ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านไม่สามารถปรับราคาบ้านขึ้นไปได้ เนื่องจาก กำลังซื้อและตลาดมีการชะลอตัวลงไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการบริหารต้นทุนให้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการยังมีกำไรอยู่ในระดับที่เหมาะสม คือประมาณ 12% ต่อการสร้างบ้าน1 หลัง ซึ่งถือว่าเป็นระดับมาตรฐานแต่การที่จะพยายามรักษาราคาไว้เท่าเดิมนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี หากไม่มีการบริหารต้นทุนที่ดีแล้วก็จะส่งผลให้ขาดทุนได้