สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะทยอยลดการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และอาจจะลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มตามกำหนดคือในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ภาระของกองทุนน้ำมันลดลงได้บ้าง และกำลังเร่งพิจารณามาตรการบังคับการประหยัดพลังงาน คาดว่าจะประกาศใช้มาตรการบังคับ 2-3 มาตรการเท่านั้น
ทั้งนี้ ในขณะนี้รัฐบาลกำลังหาทางที่จะลดการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าโดยเฉพาะเรื่องการนำเข้าน้ำมันที่มีมูลค่าสูง โดยเฉพาะการเตรียมยกเลิกการชดเชยเงินกองทุนน้ำมันแก่ดีเซลให้เร็วที่สุด จากเดิมกำหนดไว้ว่าจะทยอยลดการชดเชยและจนถึงขั้นยกเลิกการชดเชยภายในสิ้นปีนี้ รวมทั้งจะพิจารณาอาจจะลดการอุดหนุนด้วยการลดภาษีสรรพสามิตจากหลักเกณฑ์เดิมที่ประกาศไว้ว่าจะอุดหนุนในอัตรา 1 บาทต่อลิตรไปจนถึงสิ้นปี และจะลดเหลือ 50 สตางค์ ภายใน 6 เดือนหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2549 โดยการลดการอุดหนุนดังกล่าวรัฐบาลอาจจะยกเลิกการชดเชยด้วยกองทุนให้เท่ากับ 0 ภายในเดือนกรกฎาคม และอาจจะลดการอุดหนุนด้วยภาษี จากเดิมลด 1 บาทต่อลิตร เหลือ 50 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งในขณะนี้กำลังพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างไร โดยเฉพาะผลกระทบของผู้บริโภค
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่าแนวโน้มของการจะทยอยลดการชดเชยดีเซลให้เร็วกว่าเป้าหมายเดิมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่จะเป็นรูปแบบการทยอยลด แต่จะเป็นอัตราเหมือนกับการลดเงินชดเชยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ลดการชดเชย 40 สตางค์ จากเดิม 1.76 บาทต่อลิตรหรือไม่นั้นแล้วแต่ภาวะตลาด โดยจะพิจารณาว่าหากราคาตลาดโลกลดลงก็จะปรับลดการชดเชยลงทันที ดังนั้นขอให้ประชาชนทำใจได้ว่าแม้ราคาตลาดโลกอาจจะลดลง แต่ราคาในไทยจะไม่ปรับลดเพื่อนำไปชดเชยเงินกองทุนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีภาระการชดเชยอยู่กว่า 90,000 ล้านบาท
ส่วนในเรื่องการลอยตัวก๊าซหุงต้ม นายเมตตากล่าวว่า จะลอยตัวหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะมีมติเปลี่ยนแปลงมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เดิมหรือไม่ ที่ให้ลอยตัวก๊าซหุงต้มภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยหากลอยตัวและราคาในตลาดโลกยังเท่ากับปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้มก็จะเพิ่มประมาณ 2.91 บาทต่อกิโลกรัม และจะส่งผลทำให้ราคาก๊าซหุงต้มขนาดถังยอดนิยม 15 กิโลกรัมจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 45 บาทต่อถัง อย่างไรก็ตาม สนพ.จะไม่ประกาศล่วงหน้าว่าจะลอยตัววันใดเพื่อป้องกันการกักตุนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหากลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มจะทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีรายได้ประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาท ไม่มีภาระต้องไปชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่มีภาระประมาณ 450 ล้านบาทต่อเดือน ก็จะเหลือเพียงการชดเชยราคาดีเซล 1.36 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อเดือน โดยหากยกเลิกมารตรการชดเชยทั้งดีเซลและก๊าซหุงต้มก็จะทำให้กองทุนมีความสามารถในการชำระหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น
นายเมตตากล่าวว่า ในส่วนของนโยบายประหยัดพลังงานภาคบังคับนั้น ในขณะนี้กำลังพิจารณาอย่างเข้มข้น ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะประกาศบังคับใช้เมื่อใด โดยจะใช้มาตรการบังคับ 2-3 มาตรการเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนลดการใช้น้ำมันได้อย่างแท้จริง และแก้ไขปัญหาการนำเข้าที่มีมูลค่าสูงมาก ซึ่งจะมุ่งไปในด้านน้ำมันมากกว่าด้านไฟฟ้า อย่างไรก็ตามยังไม่ขอเปิดเผยว่าเป็นมาตรการใด แต่ที่ไม่มีการบังคับคือกรณีการปิดสถานีโทรทัศน์ตั้งแต่เวลา 24.00 น. เป็นต้นไป โดยมาตรการนี้ยังคงเป็นขอความร่วมมือเช่นเดิม
นายเมตตากล่าวด้วยว่า คณะกรรมการ กบง.ในวันนี้ได้อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระเบียบบัญชีของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกพันธบัตรวงเงินรวม 85,000 ล้านบาท เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของกองทุน ซึ่งกองทุนจะเริ่มโรดโชว์ภายในสัปดาห์หน้าและการปรับปรุงระเบียบดังกล่าวนั้นจะมีการแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของเงินรายได้ของกองทุนที่มาจากผู้ใช้น้ำมันอย่างชัดเจน รวมทั้งจะแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของเงินที่ได้มากจากการออกพันธบัตร ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมีความชัดเจนและตรวจสอบการใช้เงินของกองทุน ทำให้เกิดความมั่นใจในความโปร่งใสและเกิดความเชื่อมั่นที่จะมาซื้อบอนด์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะมีผลที่จะทำให้บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประเมินเครดิตของการออกพันธบัตรได้ดีขึ้น โดยกระทรวงพลังงานยังคาดหวังว่าน่าจะได้เครดิตระดับดีที่สุดคือ AA ซึ่งจะทำให้ได้ระดับอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในบอนด์นี้ซึ่งคาดว่าจะเริ่มออกบอนด์ได้ใน 1-2 เดือนนี้
ทั้งนี้ ในขณะนี้รัฐบาลกำลังหาทางที่จะลดการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าโดยเฉพาะเรื่องการนำเข้าน้ำมันที่มีมูลค่าสูง โดยเฉพาะการเตรียมยกเลิกการชดเชยเงินกองทุนน้ำมันแก่ดีเซลให้เร็วที่สุด จากเดิมกำหนดไว้ว่าจะทยอยลดการชดเชยและจนถึงขั้นยกเลิกการชดเชยภายในสิ้นปีนี้ รวมทั้งจะพิจารณาอาจจะลดการอุดหนุนด้วยการลดภาษีสรรพสามิตจากหลักเกณฑ์เดิมที่ประกาศไว้ว่าจะอุดหนุนในอัตรา 1 บาทต่อลิตรไปจนถึงสิ้นปี และจะลดเหลือ 50 สตางค์ ภายใน 6 เดือนหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2549 โดยการลดการอุดหนุนดังกล่าวรัฐบาลอาจจะยกเลิกการชดเชยด้วยกองทุนให้เท่ากับ 0 ภายในเดือนกรกฎาคม และอาจจะลดการอุดหนุนด้วยภาษี จากเดิมลด 1 บาทต่อลิตร เหลือ 50 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งในขณะนี้กำลังพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างไร โดยเฉพาะผลกระทบของผู้บริโภค
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่าแนวโน้มของการจะทยอยลดการชดเชยดีเซลให้เร็วกว่าเป้าหมายเดิมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่จะเป็นรูปแบบการทยอยลด แต่จะเป็นอัตราเหมือนกับการลดเงินชดเชยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ลดการชดเชย 40 สตางค์ จากเดิม 1.76 บาทต่อลิตรหรือไม่นั้นแล้วแต่ภาวะตลาด โดยจะพิจารณาว่าหากราคาตลาดโลกลดลงก็จะปรับลดการชดเชยลงทันที ดังนั้นขอให้ประชาชนทำใจได้ว่าแม้ราคาตลาดโลกอาจจะลดลง แต่ราคาในไทยจะไม่ปรับลดเพื่อนำไปชดเชยเงินกองทุนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีภาระการชดเชยอยู่กว่า 90,000 ล้านบาท
ส่วนในเรื่องการลอยตัวก๊าซหุงต้ม นายเมตตากล่าวว่า จะลอยตัวหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะมีมติเปลี่ยนแปลงมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เดิมหรือไม่ ที่ให้ลอยตัวก๊าซหุงต้มภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยหากลอยตัวและราคาในตลาดโลกยังเท่ากับปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้มก็จะเพิ่มประมาณ 2.91 บาทต่อกิโลกรัม และจะส่งผลทำให้ราคาก๊าซหุงต้มขนาดถังยอดนิยม 15 กิโลกรัมจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 45 บาทต่อถัง อย่างไรก็ตาม สนพ.จะไม่ประกาศล่วงหน้าว่าจะลอยตัววันใดเพื่อป้องกันการกักตุนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหากลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มจะทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีรายได้ประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาท ไม่มีภาระต้องไปชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่มีภาระประมาณ 450 ล้านบาทต่อเดือน ก็จะเหลือเพียงการชดเชยราคาดีเซล 1.36 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อเดือน โดยหากยกเลิกมารตรการชดเชยทั้งดีเซลและก๊าซหุงต้มก็จะทำให้กองทุนมีความสามารถในการชำระหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น
นายเมตตากล่าวว่า ในส่วนของนโยบายประหยัดพลังงานภาคบังคับนั้น ในขณะนี้กำลังพิจารณาอย่างเข้มข้น ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะประกาศบังคับใช้เมื่อใด โดยจะใช้มาตรการบังคับ 2-3 มาตรการเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนลดการใช้น้ำมันได้อย่างแท้จริง และแก้ไขปัญหาการนำเข้าที่มีมูลค่าสูงมาก ซึ่งจะมุ่งไปในด้านน้ำมันมากกว่าด้านไฟฟ้า อย่างไรก็ตามยังไม่ขอเปิดเผยว่าเป็นมาตรการใด แต่ที่ไม่มีการบังคับคือกรณีการปิดสถานีโทรทัศน์ตั้งแต่เวลา 24.00 น. เป็นต้นไป โดยมาตรการนี้ยังคงเป็นขอความร่วมมือเช่นเดิม
นายเมตตากล่าวด้วยว่า คณะกรรมการ กบง.ในวันนี้ได้อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระเบียบบัญชีของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกพันธบัตรวงเงินรวม 85,000 ล้านบาท เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของกองทุน ซึ่งกองทุนจะเริ่มโรดโชว์ภายในสัปดาห์หน้าและการปรับปรุงระเบียบดังกล่าวนั้นจะมีการแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของเงินรายได้ของกองทุนที่มาจากผู้ใช้น้ำมันอย่างชัดเจน รวมทั้งจะแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของเงินที่ได้มากจากการออกพันธบัตร ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมีความชัดเจนและตรวจสอบการใช้เงินของกองทุน ทำให้เกิดความมั่นใจในความโปร่งใสและเกิดความเชื่อมั่นที่จะมาซื้อบอนด์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะมีผลที่จะทำให้บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประเมินเครดิตของการออกพันธบัตรได้ดีขึ้น โดยกระทรวงพลังงานยังคาดหวังว่าน่าจะได้เครดิตระดับดีที่สุดคือ AA ซึ่งจะทำให้ได้ระดับอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในบอนด์นี้ซึ่งคาดว่าจะเริ่มออกบอนด์ได้ใน 1-2 เดือนนี้