การค้าต่างประเทศเตรียมข้อมูลและแบบสอบถามเสนอให้ไอทีซีใน ก.ค.นี้ เพื่อให้ไอทีซีจะได้ประมวลข้อมูลและเปิดรับฟังข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งจากทุกฝ่ายกลาง ก.ย.48 ก่อนตัดสินว่าจะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับกุ้งไทยและอินเดียหรือไม่ ภายในวันที่ 31 ต.ค.48
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission : ITC) ของสหรัฐฯ เปิดทบทวนการใช้มาตรการเอดีกับกุ้งไทยและอินเดีย เนื่องจากผลกระทบจากคลื่นสึนามิ (Changed Circumstance Review : CCR) นั้น กรมฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดเตรียมข้อมูลบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและตรวจสอบได้ เพื่อตอบในแบบสอบถามของไอทีซีที่คาดว่าจะได้รับประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2548 รวมทั้งเตรียมการสำหรับคณะเจ้าหน้าที่ไอทีซีที่จะเดินทางมาไทย เพื่อเก็บข้อมูลและเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ โดยเฉพาะโรงเพาะฟักและบ่อเลี้ยงกุ้งที่เสียหายประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2548 และหลังจากนั้นไอทีซีจะประมวลข้อมูลและเปิดรับฟังข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งจากทุกฝ่ายประมาณกลางเดือนกันยายน 2548 และตัดสินว่าจะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับกุ้งไทยและอินเดียหรือไม่ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการของไทยเพื่อผลักดันให้สหรัฐฯ เร่งแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบการวางพันธบัตรค้ำประกันการนำเข้าของศุลกากรสหรัฐฯ (continuous bond) ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการส่งกุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ นั้น กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้นายประวิช รัตนเพียร ผู้แทนการค้าไทย เดินทางไปสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อหารือและยื่นหนังสือที่ลงนามโดยนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย ต่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (DOC) ศุลกากรสหรัฐฯ (Customs and Border Protection : CBP) ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (U.S. Trade Representative : USTR) และวุฒิสมาชิกที่สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี ซึ่งศุลกากรสหรัฐฯ ได้รับทราบปัญหาและอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางแก้ไข โดยเสนอให้ฝ่ายไทยส่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะประสานกับผู้ส่งออกเพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลเพื่อแจ้งศุลกากรสหรัฐฯ ต่อไป
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission : ITC) ของสหรัฐฯ เปิดทบทวนการใช้มาตรการเอดีกับกุ้งไทยและอินเดีย เนื่องจากผลกระทบจากคลื่นสึนามิ (Changed Circumstance Review : CCR) นั้น กรมฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดเตรียมข้อมูลบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและตรวจสอบได้ เพื่อตอบในแบบสอบถามของไอทีซีที่คาดว่าจะได้รับประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2548 รวมทั้งเตรียมการสำหรับคณะเจ้าหน้าที่ไอทีซีที่จะเดินทางมาไทย เพื่อเก็บข้อมูลและเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ โดยเฉพาะโรงเพาะฟักและบ่อเลี้ยงกุ้งที่เสียหายประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2548 และหลังจากนั้นไอทีซีจะประมวลข้อมูลและเปิดรับฟังข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งจากทุกฝ่ายประมาณกลางเดือนกันยายน 2548 และตัดสินว่าจะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับกุ้งไทยและอินเดียหรือไม่ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2548
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการของไทยเพื่อผลักดันให้สหรัฐฯ เร่งแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบการวางพันธบัตรค้ำประกันการนำเข้าของศุลกากรสหรัฐฯ (continuous bond) ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการส่งกุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ นั้น กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้นายประวิช รัตนเพียร ผู้แทนการค้าไทย เดินทางไปสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อหารือและยื่นหนังสือที่ลงนามโดยนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย ต่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (DOC) ศุลกากรสหรัฐฯ (Customs and Border Protection : CBP) ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (U.S. Trade Representative : USTR) และวุฒิสมาชิกที่สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี ซึ่งศุลกากรสหรัฐฯ ได้รับทราบปัญหาและอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางแก้ไข โดยเสนอให้ฝ่ายไทยส่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะประสานกับผู้ส่งออกเพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลเพื่อแจ้งศุลกากรสหรัฐฯ ต่อไป