นายกรัฐมนตรีคุยฟุ้งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์กับภาครัฐได้ผล ทั้งการประมูลที่ช่วยประหยัดกว่า 8,000 ล้านบาท และการตรวจสอบการใช้งบประมาณ พบเบิกงบฯ ลงทุนล่าช้าถึง 100,000 ล้านบาท ขู่หน่วยงานไหนเบิกไม่ทันจะนำไปให้หน่วยงานอื่นๆ ใช้ก่อน และเร่งนำระบบนี้เข้าไปใช้กับหน่วยงานองค์กรท้องถิ่นภายในปีหน้า ช่วยแก้ปัญหางบฯ รั่วไหล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมา มีการสาธิตโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (จีเอฟเอ็มไอเอส) ทำให้ทราบว่าทำไมการจ่ายเงินงบประมาณมีความล่าช้า โดยส่วนราชการมักเป็น “ทศกัณฐ์” คือ นำเงินไปกันไว้แล้วใช้ไม่ทัน ทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส อย่างเช่นปีนี้งบประมาณปี 2548 มีการประมาณการว่าจะใช้งบฯ ลงทุน 300,000 ล้านบาท แต่คงจะใช้ได้จริงประมาณ 200,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 100,000 ล้านบาท ยังใช้ไม่ทัน ถ้าวงเงินนี้ไม่กันไว้ แล้วนำไปให้โครงการที่จำเป็นเงินนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
“เงินแสนล้านบาท เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ ไม่ต้องมานั่งรอ กันแล้วยึดคืนเลย และต่อไปตุลาคมนี้ ระบบจีเอฟเอ็มไอเอส จะลงไปถึงระดับอำเภอ และตุลาคมปีหน้าจะลงไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด เพราะฉะนั้น เงินภาษีอากรของประชาชนเงินใน-นอกงบประมาณ จะอยู่จะเห็นผ่านคอมพิวเตอร์ จะเห็นทั้งหมด รู้ว่าเงินอยู่ในท่อตรงไหน ใครเอาเงินไปแล้วไม่ได้ใช้ ใช้ผิด ซื้อของอย่างเดียวกัน ราคาต่างกัน จะเห็นหมด เพราะฉะนั้น วิธีการป้องกันการโกงวิธีดีที่สุด คือป้องกันด้วยระบบ” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการใช้ระบบ e-auction หรือการประมูลงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่า 4 เดือนครึ่งที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ต้นปี 2548 ตามหลักเกณฑ์ใครจะประมูลงานตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปต้องใช้ e-auction ปรากฏว่า ได้ทำการประมูลไปแล้ว 35,593 ล้านบาท แต่รัฐจ่ายจริงเพียง 27,253 ล้านบาท ประหยัดเงินได้ถึง 8,340 ล้านบาท หรือประหยัดได้ร้อยละ 23.43 จะเห็นได้ว่าการใช้ระบบช่วยจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะระบบราชการใหญ่มาก ข้าราชการมีกว่า 2 ล้านคน ใช้คนคุมอย่างเดียวคงไม่ไหว
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ผ่านมา มีการสาธิตโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (จีเอฟเอ็มไอเอส) ทำให้ทราบว่าทำไมการจ่ายเงินงบประมาณมีความล่าช้า โดยส่วนราชการมักเป็น “ทศกัณฐ์” คือ นำเงินไปกันไว้แล้วใช้ไม่ทัน ทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส อย่างเช่นปีนี้งบประมาณปี 2548 มีการประมาณการว่าจะใช้งบฯ ลงทุน 300,000 ล้านบาท แต่คงจะใช้ได้จริงประมาณ 200,000 ล้านบาท ยังเหลืออีก 100,000 ล้านบาท ยังใช้ไม่ทัน ถ้าวงเงินนี้ไม่กันไว้ แล้วนำไปให้โครงการที่จำเป็นเงินนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
“เงินแสนล้านบาท เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติ ไม่ต้องมานั่งรอ กันแล้วยึดคืนเลย และต่อไปตุลาคมนี้ ระบบจีเอฟเอ็มไอเอส จะลงไปถึงระดับอำเภอ และตุลาคมปีหน้าจะลงไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด เพราะฉะนั้น เงินภาษีอากรของประชาชนเงินใน-นอกงบประมาณ จะอยู่จะเห็นผ่านคอมพิวเตอร์ จะเห็นทั้งหมด รู้ว่าเงินอยู่ในท่อตรงไหน ใครเอาเงินไปแล้วไม่ได้ใช้ ใช้ผิด ซื้อของอย่างเดียวกัน ราคาต่างกัน จะเห็นหมด เพราะฉะนั้น วิธีการป้องกันการโกงวิธีดีที่สุด คือป้องกันด้วยระบบ” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการใช้ระบบ e-auction หรือการประมูลงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่า 4 เดือนครึ่งที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ต้นปี 2548 ตามหลักเกณฑ์ใครจะประมูลงานตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปต้องใช้ e-auction ปรากฏว่า ได้ทำการประมูลไปแล้ว 35,593 ล้านบาท แต่รัฐจ่ายจริงเพียง 27,253 ล้านบาท ประหยัดเงินได้ถึง 8,340 ล้านบาท หรือประหยัดได้ร้อยละ 23.43 จะเห็นได้ว่าการใช้ระบบช่วยจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะระบบราชการใหญ่มาก ข้าราชการมีกว่า 2 ล้านคน ใช้คนคุมอย่างเดียวคงไม่ไหว