นายกรัฐมนตรีเตรียมตั้งกรรมการตรวจสอบราคากลาง-ลุยอุดรูรั่วคอร์รัปชัน รับประชุมปฏิรูประบบราชการ 12 ชั่วโมง ทำมึนตึ๊บ เป็นมือใหม่หัดตีกอล์ฟ
วันนี้ ( 30 พ.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง ก.พ.ร. ที่มองว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนแล้วอาจจะน้อยกว่า 18 กระทรวงว่า ขณะนี้กำลังดูอยู่ เราพยายามไม่ให้มันเป็นฟังก์ชันนิง แต่จะให้เป็นลักษณะอาเจนด้า คือไม่อยากให้เป็นเหมือนสมัยเดิมที่แนวคิดในเรื่องการแบ่งงานแบบยุคอุตสาหกรรมมันเป็นงานที่ขาดการบูรณาการ โดยพยายามแก้ในส่วนนี้อยู่ และที่สำคัญคือหลักคิด หากคิดผิดก็วางผิด ซึ่งการประชุมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้มีการระดมสมองกันเยอะมาก โดยใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างจะล้ากันพอสมควร ทำให้วันอาทิตย์ที่ 29 พ.ค. ตีกอล์ฟไม่ถูกเลย ตีเหมือนคนหัดใหม่ เพราะสมองมันค้างเติ่งอยู่
เมื่อถามอีกว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ข้าราชการสับสนวุ่นวาย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า เราจะให้ข้าราชการเข้ามามีส่วนร่วม โดยจะทำโฟกัสกรุ๊ปในหมู่ข้าราชการด้วย ซึ่งวันนี้ข้าราชการก็เข้าใจขึ้นเยอะ เพียงแต่ทุกคนต้องเลิกห่วงตัวเอง ต้องห่วงว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร เพราะโดยปกติแล้วเราจะดูแล ไม่รังแกข้าราชการ ไม่ใช่พอยุบรวมแล้วต้องทิ้งตำแหน่งเขาไป เราพยายามดูว่าอะไรเป็นประโยชน์ที่สุด ตอนนี้เอาคอนเซ็ปต์ให้แน่นก่อน แล้วค่อยไปคุย เพราะถ้าคอนเซ็ปต์ไม่แน่น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
ส่วนจะนำปัญหาเก่าๆ มาคุยด้วยหรือไม่ อย่างกรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า แน่นอน การปรับโครงสร้างใหม่เราค่อนข้างจะแยกชัดแล้ว เพราะกระทรวงเกษตรฯ ในคอนเซ็ปต์ใหม่จะเป็นกระทรวงที่มองตั้งแต่ปัจจัยการผลิตมาจนถึงการขาย แต่ไม่ได้มองเรื่องของทรัพยากรที่จะใช้ เพราะเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรฯ จะเป็นผู้ดูแล และเพื่อเป็นการแยกหน้าที่ให้ขาดจากกัน ไม่อย่างนั้นจะคาราคาซัง ข้ามกันไปข้ามกันมา จนเกิดลักษณะที่เรียกว่านิสัยเก่าตายยาก
“ตรงนี้เป็นการทำเบื้องต้น จากนั้นจะให้ทาง ก.พ.ร. ไปไฟน์จูน แล้วนำกลับมาพิจารณาอีกรอบหนึ่ง หากเริ่มชัดเจนแล้วเราก็จะเริ่มรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการ และประชาชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะนำมาปรับอีกครั้งหนึ่ง อย่างการประชุมในวันเสาร์ที่ผ่านมา ภาคเอกชนให้ความเห็นดีมาก โดย ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากกระทรวงเกษตรฯ เป็นในแนวนี้ จะทำให้รัฐเข้าไปยุ่งกับกลไกตลาดหรือไม่ เราก็อธิบายให้เขาเข้าใจว่า หากปล่อยให้เป็นกลไกตลาดอย่างเดียว เกษตรกรก็ลำบากมานานแล้ว แต่หากจะไม่ให้กลไกตลาดทำงานเลย ก็จะไม่มีใครทำต่อ คือต้องหาความพอดีที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ส่วนกระทรวงมิติ หรือกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้านั้น เป็นแนวคิดที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มองว่า ถ้าให้กระทรวงเกษตรฯ ทำตั้งแต่ต้นจนขาย โดยใช้ห่วงโซ่ของราคาเป็นอย่างนี้ ทางอุตสาหกรรมก็ต้องเป็นคอนเซ็ปต์นี้ด้วย คือต้องให้เรื่องการขายและการผลิตไปด้วยกัน แต่เป็นการขายและการผลิตภาคเกษตร รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก็ดูดีขึ้นเยอะ
เมื่อถามอีกว่า การปรับครั้งนี้จะใช้อะไรไปปิดช่องว่างของการทุจริตคอรัปชันในระบบราชการ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ต้องวางระบบคอมพิวเตอร์ ต้องมีฐานข้อมูล และระบบเปรียบเทียบการทำงาน รวมทั้งมีระบบของการรายงาน อย่างที่ได้สั่งให้แต่ละกรมทำระบบรายงาน ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวที่บังคับให้ทุกคนต้องมีประสิทธิภาพ เพราะการมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดช่องว่างของการไม่มีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การทุจริต ซึ่งจะลดลงไปเรื่อยๆ และวันนี้เราต้องใช้ระบบ ใช้คนอย่างเดียวเอาไม่อยู่ เพราะข้าราชการตั้งสองล้านกว่าคน
เมื่อถามต่อว่า ขนาดมีระบบอีออกชั่นยังมีการฮั้วกันได้ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า หากคิดอย่างนี้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว แต่เราดูราคากลาง จากการที่ได้หารือกันเราจึงคิดว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการราคากลาง ที่จะเข้าไปตรวจสอบระบบราคากลางทั้งหมด เพื่อเปรียบเทียบราคา เช่น หากต่างประเทศซื้อของประเภทนี้ แล้วที่เป็นสากลเขาซื้อกันอย่างไร ถ้าเป็นของในประเทศก็ถามว่าหน่วยงานภาคเอกชนซื้อกันอย่างไร และภาครัฐซื้ออย่างไร เพื่อให้เห็นราคากลาง และเราไม่โง่ เพราะระบบราคากลางจะเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
“แม้ว่าระบบอีออกชั่นจะเกิดการรั่วไหล ก็รั่วไหลได้น้อยมาก แต่ถ้าเป็นราคากลางก็แล้วแต่พวก หากพวกบอกว่ารายการนี้ขอโปะหน่อย อย่างนี้อันตราย สำหรับคณะกรรมการราคากลางที่จะตั้งขึ้นนั้น เรากำลังให้ทาง ก.พ.ร.ไปคิดว่าจะจัดกันอย่างไร คือให้มีสำนักงานคณะกรรมการราคากลาง อย่างตอนนี้เราใช้สำนักงบประมาณโดยอนุโลม และไม่มีระบบตรวจสอบ ดังนั้นเราจะใช้คณะกรรมการราคากลาง เพื่อจะได้มีระบบตรวจสอบที่ชัดเจน” พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว
ส่วนระบบนี้จะครอบคลุมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่นด้วยหรือไม่นั้น พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ครอบคลุม เพราะเราจะเอาจีเอฟเอ็มไอเอสเชื่อมไปถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น เนื่องจากเราต้องการเห็นเงินภาษีอากรทุกเม็ดไปอยู่ในท่อส่วนไหน และนำไปใช้อย่างไร ซึ่งการใช้จะถูกเปรียบเทียบ โดยขณะนี้ทำไปถึงจังหวัดแล้ว และปีหน้าจะทำไปถึงอำเภอ และอีกปีจะไปถึงท้องถิ่น เมื่อถามอีกว่ามีการทุจริตในระดับจังหวัดค่อนข้างมาก พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า แน่นอน แต่ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะระบบการตรวจสอบเดี๋ยวนี้มีมากขึ้น ทำให้เห็นการทุจริตมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการทุจริตจะมากกว่าเดิม เหมือนที่เคยเปรียบเทียบว่าปัจจุบันแสงสว่างมีมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทุกคนจะได้ตื่นตัว และรู้ว่าต่อไปนี้ลำบากแล้ว
เมื่อถามอีกว่าจะมีการตรวจสอบย้อนหลังในบางโครงการที่มีข้อสงสัยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า อะไรที่ยังไม่ขาดอายุความ ถ้ามีคนร้องเรียนขึ้นมา เราทำได้ทั้งนั้น แต่เราจะพยายามเดินไปข้างหน้า และมองมาข้างหลังเท่าที่เป็นประเด็น เพราะหากมองหลังตลอดเวลา ข้างหน้าก็เดินไม่ได้
วันนี้ ( 30 พ.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง ก.พ.ร. ที่มองว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนแล้วอาจจะน้อยกว่า 18 กระทรวงว่า ขณะนี้กำลังดูอยู่ เราพยายามไม่ให้มันเป็นฟังก์ชันนิง แต่จะให้เป็นลักษณะอาเจนด้า คือไม่อยากให้เป็นเหมือนสมัยเดิมที่แนวคิดในเรื่องการแบ่งงานแบบยุคอุตสาหกรรมมันเป็นงานที่ขาดการบูรณาการ โดยพยายามแก้ในส่วนนี้อยู่ และที่สำคัญคือหลักคิด หากคิดผิดก็วางผิด ซึ่งการประชุมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้มีการระดมสมองกันเยอะมาก โดยใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างจะล้ากันพอสมควร ทำให้วันอาทิตย์ที่ 29 พ.ค. ตีกอล์ฟไม่ถูกเลย ตีเหมือนคนหัดใหม่ เพราะสมองมันค้างเติ่งอยู่
เมื่อถามอีกว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ข้าราชการสับสนวุ่นวาย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า เราจะให้ข้าราชการเข้ามามีส่วนร่วม โดยจะทำโฟกัสกรุ๊ปในหมู่ข้าราชการด้วย ซึ่งวันนี้ข้าราชการก็เข้าใจขึ้นเยอะ เพียงแต่ทุกคนต้องเลิกห่วงตัวเอง ต้องห่วงว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร เพราะโดยปกติแล้วเราจะดูแล ไม่รังแกข้าราชการ ไม่ใช่พอยุบรวมแล้วต้องทิ้งตำแหน่งเขาไป เราพยายามดูว่าอะไรเป็นประโยชน์ที่สุด ตอนนี้เอาคอนเซ็ปต์ให้แน่นก่อน แล้วค่อยไปคุย เพราะถ้าคอนเซ็ปต์ไม่แน่น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
ส่วนจะนำปัญหาเก่าๆ มาคุยด้วยหรือไม่ อย่างกรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า แน่นอน การปรับโครงสร้างใหม่เราค่อนข้างจะแยกชัดแล้ว เพราะกระทรวงเกษตรฯ ในคอนเซ็ปต์ใหม่จะเป็นกระทรวงที่มองตั้งแต่ปัจจัยการผลิตมาจนถึงการขาย แต่ไม่ได้มองเรื่องของทรัพยากรที่จะใช้ เพราะเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรฯ จะเป็นผู้ดูแล และเพื่อเป็นการแยกหน้าที่ให้ขาดจากกัน ไม่อย่างนั้นจะคาราคาซัง ข้ามกันไปข้ามกันมา จนเกิดลักษณะที่เรียกว่านิสัยเก่าตายยาก
“ตรงนี้เป็นการทำเบื้องต้น จากนั้นจะให้ทาง ก.พ.ร. ไปไฟน์จูน แล้วนำกลับมาพิจารณาอีกรอบหนึ่ง หากเริ่มชัดเจนแล้วเราก็จะเริ่มรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการ และประชาชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะนำมาปรับอีกครั้งหนึ่ง อย่างการประชุมในวันเสาร์ที่ผ่านมา ภาคเอกชนให้ความเห็นดีมาก โดย ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากกระทรวงเกษตรฯ เป็นในแนวนี้ จะทำให้รัฐเข้าไปยุ่งกับกลไกตลาดหรือไม่ เราก็อธิบายให้เขาเข้าใจว่า หากปล่อยให้เป็นกลไกตลาดอย่างเดียว เกษตรกรก็ลำบากมานานแล้ว แต่หากจะไม่ให้กลไกตลาดทำงานเลย ก็จะไม่มีใครทำต่อ คือต้องหาความพอดีที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ส่วนกระทรวงมิติ หรือกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้านั้น เป็นแนวคิดที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มองว่า ถ้าให้กระทรวงเกษตรฯ ทำตั้งแต่ต้นจนขาย โดยใช้ห่วงโซ่ของราคาเป็นอย่างนี้ ทางอุตสาหกรรมก็ต้องเป็นคอนเซ็ปต์นี้ด้วย คือต้องให้เรื่องการขายและการผลิตไปด้วยกัน แต่เป็นการขายและการผลิตภาคเกษตร รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก็ดูดีขึ้นเยอะ
เมื่อถามอีกว่า การปรับครั้งนี้จะใช้อะไรไปปิดช่องว่างของการทุจริตคอรัปชันในระบบราชการ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ต้องวางระบบคอมพิวเตอร์ ต้องมีฐานข้อมูล และระบบเปรียบเทียบการทำงาน รวมทั้งมีระบบของการรายงาน อย่างที่ได้สั่งให้แต่ละกรมทำระบบรายงาน ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวที่บังคับให้ทุกคนต้องมีประสิทธิภาพ เพราะการมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดช่องว่างของการไม่มีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การทุจริต ซึ่งจะลดลงไปเรื่อยๆ และวันนี้เราต้องใช้ระบบ ใช้คนอย่างเดียวเอาไม่อยู่ เพราะข้าราชการตั้งสองล้านกว่าคน
เมื่อถามต่อว่า ขนาดมีระบบอีออกชั่นยังมีการฮั้วกันได้ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า หากคิดอย่างนี้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว แต่เราดูราคากลาง จากการที่ได้หารือกันเราจึงคิดว่าจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการราคากลาง ที่จะเข้าไปตรวจสอบระบบราคากลางทั้งหมด เพื่อเปรียบเทียบราคา เช่น หากต่างประเทศซื้อของประเภทนี้ แล้วที่เป็นสากลเขาซื้อกันอย่างไร ถ้าเป็นของในประเทศก็ถามว่าหน่วยงานภาคเอกชนซื้อกันอย่างไร และภาครัฐซื้ออย่างไร เพื่อให้เห็นราคากลาง และเราไม่โง่ เพราะระบบราคากลางจะเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
“แม้ว่าระบบอีออกชั่นจะเกิดการรั่วไหล ก็รั่วไหลได้น้อยมาก แต่ถ้าเป็นราคากลางก็แล้วแต่พวก หากพวกบอกว่ารายการนี้ขอโปะหน่อย อย่างนี้อันตราย สำหรับคณะกรรมการราคากลางที่จะตั้งขึ้นนั้น เรากำลังให้ทาง ก.พ.ร.ไปคิดว่าจะจัดกันอย่างไร คือให้มีสำนักงานคณะกรรมการราคากลาง อย่างตอนนี้เราใช้สำนักงบประมาณโดยอนุโลม และไม่มีระบบตรวจสอบ ดังนั้นเราจะใช้คณะกรรมการราคากลาง เพื่อจะได้มีระบบตรวจสอบที่ชัดเจน” พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว
ส่วนระบบนี้จะครอบคลุมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่นด้วยหรือไม่นั้น พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ครอบคลุม เพราะเราจะเอาจีเอฟเอ็มไอเอสเชื่อมไปถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น เนื่องจากเราต้องการเห็นเงินภาษีอากรทุกเม็ดไปอยู่ในท่อส่วนไหน และนำไปใช้อย่างไร ซึ่งการใช้จะถูกเปรียบเทียบ โดยขณะนี้ทำไปถึงจังหวัดแล้ว และปีหน้าจะทำไปถึงอำเภอ และอีกปีจะไปถึงท้องถิ่น เมื่อถามอีกว่ามีการทุจริตในระดับจังหวัดค่อนข้างมาก พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า แน่นอน แต่ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะระบบการตรวจสอบเดี๋ยวนี้มีมากขึ้น ทำให้เห็นการทุจริตมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการทุจริตจะมากกว่าเดิม เหมือนที่เคยเปรียบเทียบว่าปัจจุบันแสงสว่างมีมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทุกคนจะได้ตื่นตัว และรู้ว่าต่อไปนี้ลำบากแล้ว
เมื่อถามอีกว่าจะมีการตรวจสอบย้อนหลังในบางโครงการที่มีข้อสงสัยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า อะไรที่ยังไม่ขาดอายุความ ถ้ามีคนร้องเรียนขึ้นมา เราทำได้ทั้งนั้น แต่เราจะพยายามเดินไปข้างหน้า และมองมาข้างหลังเท่าที่เป็นประเด็น เพราะหากมองหลังตลอดเวลา ข้างหน้าก็เดินไม่ได้