ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้แนวโน้มความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีก ตามกระแสการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีมากขึ้น ระบุหากรัฐและเอกชนขจัดอุปสรรคของการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ได้ จะทำให้ไทยกลายเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้ไม่ยาก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในปัจจุบันกระแสการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการสำรวจปริมาณการผลิต ความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร การควบคุมมาตรฐานการผลิต และติดตามจัดเก็บราคาปุ๋ยอินทรีย์แยกรายประเภท นับว่ามีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสนับสนุนธุรกิจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวอย่างมากในอนาคต
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทั้งการส่งออกและนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ แยกเป็น 3 ประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์จากสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช และปุ๋ยอินทรีย์ผสมทั้งจากพืชและสัตว์ โดยการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกปี 2548 ไทยส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ 564.53 ตัน มูลค่า 4.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 72.5 และ 88.5 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งทำให้ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ในประเทศต่าง ๆ ลดลง โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สเปน พม่า ปากีสถาน เวียดนาม พม่า และจีน อย่างไรก็ตามการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะชนิดของวัตถุดิบที่นำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์อาจมีปัญหาในด้านสุขอนามัยและถูกเข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้า รวมทั้งน้ำหนักของปุ๋ย ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการขนส่ง
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีการควบคุมมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมีจะเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น และประเทศไทยสามารถจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในการผลิตและการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้ ถ้าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากปัจจัยหนุนจากปริมาณและความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แม้ว่าในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์บางส่วน แต่ไทยก็มีการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดประเทศเพื่อนบ้าน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในปัจจุบันกระแสการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการสำรวจปริมาณการผลิต ความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร การควบคุมมาตรฐานการผลิต และติดตามจัดเก็บราคาปุ๋ยอินทรีย์แยกรายประเภท นับว่ามีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสนับสนุนธุรกิจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวอย่างมากในอนาคต
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทั้งการส่งออกและนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ แยกเป็น 3 ประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์จากสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์จากพืช และปุ๋ยอินทรีย์ผสมทั้งจากพืชและสัตว์ โดยการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกปี 2548 ไทยส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ 564.53 ตัน มูลค่า 4.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 72.5 และ 88.5 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งทำให้ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ในประเทศต่าง ๆ ลดลง โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สเปน พม่า ปากีสถาน เวียดนาม พม่า และจีน อย่างไรก็ตามการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะชนิดของวัตถุดิบที่นำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์อาจมีปัญหาในด้านสุขอนามัยและถูกเข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้า รวมทั้งน้ำหนักของปุ๋ย ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการขนส่ง
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีการควบคุมมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมีจะเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น และประเทศไทยสามารถจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในการผลิตและการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้ ถ้าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากปัจจัยหนุนจากปริมาณและความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แม้ว่าในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์บางส่วน แต่ไทยก็มีการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดประเทศเพื่อนบ้าน