นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารของกระทรวงฯว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้าง บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด(ทีเอ็มแอล) โดยมี นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการททท.เป็นประธาน ประกอบด้วยคณะกรรมการอีก 7 คน ได้แก่ นางพรศิริ มโนหาญ รองผู้ว่าการ ททท. ฝ่ายตลาดต่างประเทศ นายวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) และ รองผู้อำนวยการส่งเสริมการท่องเที่ยว ททท. ส่วนอีก 4 คนจะดำเนินการสรรหาต่อไป
โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเข้ามาปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ทั้งหมดของ บริษัทไทยจัดการลองสเตย์ กำหนดเป็นกรอบของการทำงานที่ชัดเจน คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนสำหรับการศึกษาข้อมูลและกำหนดกรอบ ตรงนี้ถือเป็นการประเมินการทำงานของ ทีเอ็มแอล ซึ่งหากไม่คุ้มค่ากับเงินที่จะลงทุนต่อไปก็สามารถยุบเลิกองค์กรนี้ได้
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั่วโลก ดังนั้นประเทศไทย ซึ่งมีองค์กรที่ดูแลจัดการเรื่องนี้อยู่แล้ว ประกอบกับศักยภาพของประเทศที่มีความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ ทีเอ็มแอล จะต้องมีการปรับทิศทางการทำงานให้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
ด้านนายวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด จำกัด เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พบว่า จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางเข้าประเทศไทย 11.38 ล้านคนเมื่อปี 2547 จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มลองสเตย์ คือมีวันพักมากกว่า 30 วันติดต่อกันขึ้นไป เป็นจำนวน 568,620 คน แบ่งเป็นชาย 392,662 คน หญิง 175,958 คน ซึ่งมาจากกหลายประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป ทวีปอเมริกา และเอเชียใต้ แต่ที่น่าสนใจ คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 568,620 คนนี้ มีการใช้จ่ายขณะอยู่เมืองไทยเทียบเท่ากับนักท่องเที่ยวปรกติที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยเป็นจำนวนถึง 4.5 ล้านคน หรือมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 9 เท่า เพราะมีระยะเวลาพักนาน มีการทำกิจกรรม และชอปปิ้ง
“ ศักยภาพของประเทศไทย ที่เหมาะกับการต้อนรับนักท่องเที่ยว ลองสเตย์ คือเรื่องของ สถานที่พัก ความปลอดภัย ความสะดวกของการเดินทางและระบบขนส่ง ค่าครองชีพไม่สูงมาก อาหาร โรงพยาบาล แหล่งชอปปิ้ง เอ็นเตอร์เทน และแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งหมดเรามีพร้อมอยู่แล้ว ขาดเพียงการทำตลาดให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ และหน่วยงานที่จะเข้ามาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้คือหน้าที่ของ ทีเอ็มแอล ” นายวิวัฒน์ กล่าว
โดยเบื้องต้นจากนี้ไป ทีเอ็มแอล จะต้องร่วมเดินทางไปโรดโชว์ และเทรดโชว์ กับ ททท.ในต่างประเทศ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หน้าที่และบทบาทของ ทีเอ็มแอล โดยบทบาทที่ทีเอ็มแอลจะต้องนำเสนอคือ การเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ ประสานงานอำนวยความสะดวกระหว่างนักท่องเที่ยว และบริษัททัวร์ อีกทั้งยังต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องของการต่อวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทีเอ็มแอล ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2545 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ชำระแล้ว 25% โดยมี ททท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 30% ซึ่งระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการก็ขาดทุนมาโดยตลอด มีนักท่องเที่ยวลองสเตย์ ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ผ่าน ทีเอ็มแอลเพียงไม่ถึง 200 คน แม้จะมีการตั้งบริษัทลูกเพื่อมาดูแลเรื่องการขายแพคเกจทัวร์สำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ และดูแลจัดการด้านการตลาด เป็นทัวร์โอเปอร์เรเตอร์ เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถทำรายได้เข้าบริษัท หรือทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวได้
นายสมศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงผลสรุปการเดินทางไปเยือนประเทศจีน เมื่อวันที่ 19- 23 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยการนำของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ได้มีการเซ็น MOU ระหว่างรัฐและเอกชนไทย-จีน ใน 3 เมือง ประกอบด้วย กรุงปักกิ่ง เมืองซีอาน มณฑลส่านซี และเมืองเฉินตู มณฑล เสฉวน ซึ่งทั้ง 3 เมือง จะส่งมอบนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยในช่วง มิ.ย.ถึงสิ้นปีนี้ เป็นจำนวนรวม 3 แสนคน นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะเดินสายเซ็น MOU กับมณฑลอื่นๆ ในจีนอีก คาดว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ เป้าหมายนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยปีนี้จะเป็นไปตามที่ ททท.ตั้งไว้คือมากกว่า 1 ล้านคน
โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเข้ามาปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ทั้งหมดของ บริษัทไทยจัดการลองสเตย์ กำหนดเป็นกรอบของการทำงานที่ชัดเจน คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนสำหรับการศึกษาข้อมูลและกำหนดกรอบ ตรงนี้ถือเป็นการประเมินการทำงานของ ทีเอ็มแอล ซึ่งหากไม่คุ้มค่ากับเงินที่จะลงทุนต่อไปก็สามารถยุบเลิกองค์กรนี้ได้
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั่วโลก ดังนั้นประเทศไทย ซึ่งมีองค์กรที่ดูแลจัดการเรื่องนี้อยู่แล้ว ประกอบกับศักยภาพของประเทศที่มีความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ ทีเอ็มแอล จะต้องมีการปรับทิศทางการทำงานให้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
ด้านนายวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด จำกัด เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พบว่า จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางเข้าประเทศไทย 11.38 ล้านคนเมื่อปี 2547 จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มลองสเตย์ คือมีวันพักมากกว่า 30 วันติดต่อกันขึ้นไป เป็นจำนวน 568,620 คน แบ่งเป็นชาย 392,662 คน หญิง 175,958 คน ซึ่งมาจากกหลายประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป ทวีปอเมริกา และเอเชียใต้ แต่ที่น่าสนใจ คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 568,620 คนนี้ มีการใช้จ่ายขณะอยู่เมืองไทยเทียบเท่ากับนักท่องเที่ยวปรกติที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยเป็นจำนวนถึง 4.5 ล้านคน หรือมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 9 เท่า เพราะมีระยะเวลาพักนาน มีการทำกิจกรรม และชอปปิ้ง
“ ศักยภาพของประเทศไทย ที่เหมาะกับการต้อนรับนักท่องเที่ยว ลองสเตย์ คือเรื่องของ สถานที่พัก ความปลอดภัย ความสะดวกของการเดินทางและระบบขนส่ง ค่าครองชีพไม่สูงมาก อาหาร โรงพยาบาล แหล่งชอปปิ้ง เอ็นเตอร์เทน และแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งหมดเรามีพร้อมอยู่แล้ว ขาดเพียงการทำตลาดให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ และหน่วยงานที่จะเข้ามาเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้คือหน้าที่ของ ทีเอ็มแอล ” นายวิวัฒน์ กล่าว
โดยเบื้องต้นจากนี้ไป ทีเอ็มแอล จะต้องร่วมเดินทางไปโรดโชว์ และเทรดโชว์ กับ ททท.ในต่างประเทศ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หน้าที่และบทบาทของ ทีเอ็มแอล โดยบทบาทที่ทีเอ็มแอลจะต้องนำเสนอคือ การเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ ประสานงานอำนวยความสะดวกระหว่างนักท่องเที่ยว และบริษัททัวร์ อีกทั้งยังต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องของการต่อวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทีเอ็มแอล ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2545 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ชำระแล้ว 25% โดยมี ททท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 30% ซึ่งระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการก็ขาดทุนมาโดยตลอด มีนักท่องเที่ยวลองสเตย์ ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ผ่าน ทีเอ็มแอลเพียงไม่ถึง 200 คน แม้จะมีการตั้งบริษัทลูกเพื่อมาดูแลเรื่องการขายแพคเกจทัวร์สำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ และดูแลจัดการด้านการตลาด เป็นทัวร์โอเปอร์เรเตอร์ เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถทำรายได้เข้าบริษัท หรือทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวได้
นายสมศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงผลสรุปการเดินทางไปเยือนประเทศจีน เมื่อวันที่ 19- 23 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยการนำของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า ได้มีการเซ็น MOU ระหว่างรัฐและเอกชนไทย-จีน ใน 3 เมือง ประกอบด้วย กรุงปักกิ่ง เมืองซีอาน มณฑลส่านซี และเมืองเฉินตู มณฑล เสฉวน ซึ่งทั้ง 3 เมือง จะส่งมอบนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยในช่วง มิ.ย.ถึงสิ้นปีนี้ เป็นจำนวนรวม 3 แสนคน นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะเดินสายเซ็น MOU กับมณฑลอื่นๆ ในจีนอีก คาดว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ เป้าหมายนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยปีนี้จะเป็นไปตามที่ ททท.ตั้งไว้คือมากกว่า 1 ล้านคน