ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุสถานการณ์ธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดเริ่มมีปัญหาการทำตลาดมากขึ้น หลังต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น แต่ปรับราคาจำหน่ายไม่ได้ เพราะการแข่งขันที่รุนแรง และยังถูกสินค้าอื่นโดยเฉพาะน้ำผลไม้และชาเขียวเข้ามาแย่งตลาด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดก็ยังมีต่อเนื่อง แม้จะมีอุปสรรคหลายประการ
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ความต้องการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายได้ของประชาชนที่สูงขึ้น ประกอบกับปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติตามแม่น้ำคูคลองมีการเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ ขณะที่แหล่งน้ำจากน้ำฝนและน้ำบาดาลก็เริ่มมีคุณภาพไม่เหมาะต่อการบริโภค ทำให้ประชาชนหันมาใส่ใจแหล่งน้ำดื่มที่มีความสะอาดและปลอดภัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ทั้งทางด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งการปรับราคาจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดยังทำได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด และปัจจุบันตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดต้องประสบกับปัญหาการถูกสินค้าทดแทน อาทิเช่น น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มชาเขียว ที่เข้ามาแย่งตลาด โดยการจัดกิจกรรมชิงโชคของรางวัลอย่างหนักเพื่อส่งเสริมการขายในช่วงที่กำลังซื้อของประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548
สำหรับผู้ประกอบการน้ำดื่มบรรจุขวด เนื่องจากกำไรต่อหน่วยที่ไม่สูงมากนักเป็นผลจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ชิงโชคของรางวัลเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่นๆ ได้ แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และคาดว่าจะกินเวลานานกว่าทุกปี และปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดช่วงตั้งแต่ต้นปี 2548 เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปริมาณความต้องการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดเองก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ การปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตทำได้ยาก มีสินค้าทดแทนแย่งตลาด ในปัจจุบันมีสินค้าที่ประชาชนสามารถเลือกบริโภคทดแทนน้ำดื่มได้ อาทิ น้ำอัดลม น้ำผลไม้กระป๋อง รวมทั้งเครื่องดื่มชาเขียว ปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ใช้ผลิต ซึ่งในระยะยาว ประเทศไทยมีโอกาสประสบปัญหาภัยแล้งหากระบบจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดในอนาคต สำหรับปัญหาคุณภาพมาตรฐานจากการตรวจสอบเก็บตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งมีการจำหน่ายตามท้องตลาดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันพบว่ามีน้ำดื่มบรรจุขวดเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ไม่เข้ามาตรฐาน อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระยะยาวได้
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ความต้องการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายได้ของประชาชนที่สูงขึ้น ประกอบกับปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติตามแม่น้ำคูคลองมีการเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ ขณะที่แหล่งน้ำจากน้ำฝนและน้ำบาดาลก็เริ่มมีคุณภาพไม่เหมาะต่อการบริโภค ทำให้ประชาชนหันมาใส่ใจแหล่งน้ำดื่มที่มีความสะอาดและปลอดภัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ทั้งทางด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ซึ่งการปรับราคาจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดยังทำได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด และปัจจุบันตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดต้องประสบกับปัญหาการถูกสินค้าทดแทน อาทิเช่น น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มชาเขียว ที่เข้ามาแย่งตลาด โดยการจัดกิจกรรมชิงโชคของรางวัลอย่างหนักเพื่อส่งเสริมการขายในช่วงที่กำลังซื้อของประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548
สำหรับผู้ประกอบการน้ำดื่มบรรจุขวด เนื่องจากกำไรต่อหน่วยที่ไม่สูงมากนักเป็นผลจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ชิงโชคของรางวัลเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่นๆ ได้ แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และคาดว่าจะกินเวลานานกว่าทุกปี และปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดช่วงตั้งแต่ต้นปี 2548 เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปริมาณความต้องการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดเองก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ การปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตทำได้ยาก มีสินค้าทดแทนแย่งตลาด ในปัจจุบันมีสินค้าที่ประชาชนสามารถเลือกบริโภคทดแทนน้ำดื่มได้ อาทิ น้ำอัดลม น้ำผลไม้กระป๋อง รวมทั้งเครื่องดื่มชาเขียว ปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ใช้ผลิต ซึ่งในระยะยาว ประเทศไทยมีโอกาสประสบปัญหาภัยแล้งหากระบบจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดในอนาคต สำหรับปัญหาคุณภาพมาตรฐานจากการตรวจสอบเก็บตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งมีการจำหน่ายตามท้องตลาดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันพบว่ามีน้ำดื่มบรรจุขวดเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ไม่เข้ามาตรฐาน อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระยะยาวได้