เอเอฟพี - ฮูเตรียมแผนควบคุมทางอินเทอร์เนต โดยติดตั้งระบบแจ้งเตือนทางเว็บไซต์ เพื่อกวาดล้างธุรกิจยาปลอมมูลค่าราว 35,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกระบุในแถลงการณ์วานนี้ (3) ว่า จะเปิดเผยรายละเอียดของระบบดังกล่าวในวันนี้ (4) ซึ่งจะเป็นระบบบนเว็บไซต์ระบบแรกของโลกที่ใช้สำหรับติดตามกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจยาปลอม
แถลงการณ์เปิดเผยว่า "เครือข่ายการสื่อสารของระบบเตือนดังกล่าวจะส่งรายงานการจัดจำหน่ายยาปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการรับมืออย่างรวดเร็ว" โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับหน่วยงานด้านอนามัยแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
บูดิโอโน ซานโตโซ ที่ปรึกษาด้านเวชภัณฑ์ประจำภูมิภาคของฮูกล่าวว่า "ระบบแจ้งเตือนทันทีนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับพวกเราในการตอบโต้กับพวกผลิตยาปลอม"
อนึ่ง ฮูรายงานว่า 6-10% ของยาทั้งหมดในตลาดโลกเป็นยาปลอม โดยคาดว่ามียอดขายต่อปีกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เรื่องยาปลอมเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แถลงการณ์ระบุอีกว่า "ยาปลอมอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือตายได้ รวมทั้งทำให้ทรัพยากรด้านสุขอนามัยสูญเปล่า"
"ผลการศึกษาที่สำรวจจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2001 ระบุว่า กว่า 1 ใน 3 ของ ยาต้านโรคมาลาเรียในกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ไม่มีส่วนประกอบที่ต้านเชื้อดังกล่าว"
ขณะที่ "ผลการศึกษาต่อเนื่องในปี 2004 เผยว่า สถานการณ์กลับเลวร้ายลง กล่าวคือ ยาต้านโรคมาลาเรีย 99 ตัวอย่างจาก 188 ตัวอย่าง เป็นยาปลอม" พร้อมเสริมว่า มักมีการแพร่กระจายของยาปลอมไปทั่วชายแดนประเทศเหล่านี้
ข้อมูลของฮูระบุอีกว่า เมื่อปี 1999 ราว 8% ของยาที่ซื้อจากร้านขายยาในฟิลิปปินส์เป็นยาปลอม ขณะที่เมื่อปี 2001 ราว 64% ของยาต้านโรคมาลาเรียที่นำมาตรวจสอบไม่มีส่วนประกอบที่ต้านเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยในเวียดนามถึงแก่ความตาย
นอกจากนี้ ห้องแล็บทดสอบยาในกรุงพนมเปญและกรุงเทพฯ ได้ตรวจสอบตัวอย่างยา 230 ตัวอย่างจากยา 24 ประเภทที่ซื้อจากตลาดกัมพูชาในปี 2000 ซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด
ผลปรากฏว่า ราว 3.5% ของตัวอย่างที่ทำการทดสอบ มีปริมาณส่วนประกอบยาที่มีผลทางยาน้อยกว่า 60% ของที่ระบุไว้บนฉลาก และเมื่อทำการตรวจสอบอีกครั้งในปี 2003 พบว่า ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 11% โดยบางตัวอย่างมีส่วนประกอบไม่ตรงตามฉลากด้วย
ทั้งนี้รายงานเสนอแนะว่า "มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผู้คนจากยาปลอมต้องอาศัยความช่วยเหลือและความร่วมมือจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ ทั้งจากประเทศสมาชิกและองค์การที่เกี่ยวข้อง"
สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกระบุในแถลงการณ์วานนี้ (3) ว่า จะเปิดเผยรายละเอียดของระบบดังกล่าวในวันนี้ (4) ซึ่งจะเป็นระบบบนเว็บไซต์ระบบแรกของโลกที่ใช้สำหรับติดตามกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจยาปลอม
แถลงการณ์เปิดเผยว่า "เครือข่ายการสื่อสารของระบบเตือนดังกล่าวจะส่งรายงานการจัดจำหน่ายยาปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการรับมืออย่างรวดเร็ว" โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับหน่วยงานด้านอนามัยแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
บูดิโอโน ซานโตโซ ที่ปรึกษาด้านเวชภัณฑ์ประจำภูมิภาคของฮูกล่าวว่า "ระบบแจ้งเตือนทันทีนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับพวกเราในการตอบโต้กับพวกผลิตยาปลอม"
อนึ่ง ฮูรายงานว่า 6-10% ของยาทั้งหมดในตลาดโลกเป็นยาปลอม โดยคาดว่ามียอดขายต่อปีกว่า 35,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เรื่องยาปลอมเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แถลงการณ์ระบุอีกว่า "ยาปลอมอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือตายได้ รวมทั้งทำให้ทรัพยากรด้านสุขอนามัยสูญเปล่า"
"ผลการศึกษาที่สำรวจจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2001 ระบุว่า กว่า 1 ใน 3 ของ ยาต้านโรคมาลาเรียในกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ไม่มีส่วนประกอบที่ต้านเชื้อดังกล่าว"
ขณะที่ "ผลการศึกษาต่อเนื่องในปี 2004 เผยว่า สถานการณ์กลับเลวร้ายลง กล่าวคือ ยาต้านโรคมาลาเรีย 99 ตัวอย่างจาก 188 ตัวอย่าง เป็นยาปลอม" พร้อมเสริมว่า มักมีการแพร่กระจายของยาปลอมไปทั่วชายแดนประเทศเหล่านี้
ข้อมูลของฮูระบุอีกว่า เมื่อปี 1999 ราว 8% ของยาที่ซื้อจากร้านขายยาในฟิลิปปินส์เป็นยาปลอม ขณะที่เมื่อปี 2001 ราว 64% ของยาต้านโรคมาลาเรียที่นำมาตรวจสอบไม่มีส่วนประกอบที่ต้านเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยในเวียดนามถึงแก่ความตาย
นอกจากนี้ ห้องแล็บทดสอบยาในกรุงพนมเปญและกรุงเทพฯ ได้ตรวจสอบตัวอย่างยา 230 ตัวอย่างจากยา 24 ประเภทที่ซื้อจากตลาดกัมพูชาในปี 2000 ซึ่งรวมถึงยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด
ผลปรากฏว่า ราว 3.5% ของตัวอย่างที่ทำการทดสอบ มีปริมาณส่วนประกอบยาที่มีผลทางยาน้อยกว่า 60% ของที่ระบุไว้บนฉลาก และเมื่อทำการตรวจสอบอีกครั้งในปี 2003 พบว่า ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 11% โดยบางตัวอย่างมีส่วนประกอบไม่ตรงตามฉลากด้วย
ทั้งนี้รายงานเสนอแนะว่า "มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผู้คนจากยาปลอมต้องอาศัยความช่วยเหลือและความร่วมมือจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ ทั้งจากประเทศสมาชิกและองค์การที่เกี่ยวข้อง"