แบงก์ชาติจับตาแรงกดดัน 3 ปัจจัย ราคาน้ำมัน ความเชื่อมั่นนักธุรกิจ และการนำเข้า ที่อาจส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องตามการส่งออกและการลงทุน ระบุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดภาคใต้ที่ขยายวงกว้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวได้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกบทความ “แรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัด” ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2548 ซึ่งคณะกรรมนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะต่อไปจะมาจากปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ 1.ราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีก ทั้งนี้ จากข้อสมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2548 โดยคาดว่าจะมีการบริโภคน้ำมันประมาณ 257 ล้านบาร์เรล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจากประมาณการเดิมตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลได้ปล่อยให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลอยตัว และได้ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 3.60 บาท ในไตรมาสแรกของปี 2548 และอาจมีแนวโน้มว่าจะลอยตัวน้ำมันดีเซลในไม่ช้า ซึ่งสะท้อนต้นทุนการบริโภคน้ำมันที่แท้จริง และจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานและชะลอการนำเข้าลงได้ในระยะต่อไป
ส่วนปัจจัยที่ 2 ที่เป็นแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดคือดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในช่วง 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนถึงความต้องการลงทุนและนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ สอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ ระหว่าง ธปท.กับนักธุรกิจที่ชี้ว่ามีความต้องการขยายการลงทุนในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น อาหารทะเล เครื่องนุ่งห่มเพื่อการส่งออก เหล็ก รับสร้างบ้าน และโรงแรม เป็นต้น
สำหรับปัจจัยที่ 3 คือการนำเข้าอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการนำเข้าสินค้าพิเศษ อาทิ การนำเข้าเครื่องบิน โดยบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และรถไฟฟ้า โดยบริษัทรถไฟฟ้ามหานคร ตลอดจนการนำเข้าตามแผนโครงการอื่น ๆ ของภาครัฐร่วมด้วย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 ตามการส่งออกและการลงทุน ในขณะที่การบริโภคจะชะลอตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นและกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมองว่าการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการดำเนินการการลงทุนเพื่อขยายโรงงานหรือขยายกำลังการผลิตยังมีไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ลงทุนไปแล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
ส่วนรายรับจากการท่องเที่ยวนั้น แม้ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจากผลกระทบของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ แต่เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เริ่มขยายวงกว้างไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและข่าวการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม จากภาวะปัจจุบันในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ คณะกรรมการประเมินแนวโน้มแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดควบคู่กับการประมาณการจากแบบจำลองที่รวมผลสุทธิจากการปรับตัวด้านปริมาณการนำเข้าในการตอบสนองต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลประมาณ 1,000-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เทียบกับประมาณการเดิมที่คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 2,000-4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกบทความ “แรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัด” ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2548 ซึ่งคณะกรรมนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะต่อไปจะมาจากปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ 1.ราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีก ทั้งนี้ จากข้อสมมติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2548 โดยคาดว่าจะมีการบริโภคน้ำมันประมาณ 257 ล้านบาร์เรล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจากประมาณการเดิมตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลได้ปล่อยให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศลอยตัว และได้ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 3.60 บาท ในไตรมาสแรกของปี 2548 และอาจมีแนวโน้มว่าจะลอยตัวน้ำมันดีเซลในไม่ช้า ซึ่งสะท้อนต้นทุนการบริโภคน้ำมันที่แท้จริง และจะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานและชะลอการนำเข้าลงได้ในระยะต่อไป
ส่วนปัจจัยที่ 2 ที่เป็นแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดคือดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในช่วง 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนถึงความต้องการลงทุนและนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ สอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ ระหว่าง ธปท.กับนักธุรกิจที่ชี้ว่ามีความต้องการขยายการลงทุนในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น อาหารทะเล เครื่องนุ่งห่มเพื่อการส่งออก เหล็ก รับสร้างบ้าน และโรงแรม เป็นต้น
สำหรับปัจจัยที่ 3 คือการนำเข้าอาจปรับตัวสูงขึ้นจากการนำเข้าสินค้าพิเศษ อาทิ การนำเข้าเครื่องบิน โดยบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และรถไฟฟ้า โดยบริษัทรถไฟฟ้ามหานคร ตลอดจนการนำเข้าตามแผนโครงการอื่น ๆ ของภาครัฐร่วมด้วย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547 ตามการส่งออกและการลงทุน ในขณะที่การบริโภคจะชะลอตัว เนื่องจากความเชื่อมั่นและกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากปัจจัยหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมองว่าการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการดำเนินการการลงทุนเพื่อขยายโรงงานหรือขยายกำลังการผลิตยังมีไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ลงทุนไปแล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
ส่วนรายรับจากการท่องเที่ยวนั้น แม้ว่าจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจากผลกระทบของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ แต่เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เริ่มขยายวงกว้างไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและข่าวการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม จากภาวะปัจจุบันในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ คณะกรรมการประเมินแนวโน้มแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดควบคู่กับการประมาณการจากแบบจำลองที่รวมผลสุทธิจากการปรับตัวด้านปริมาณการนำเข้าในการตอบสนองต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลประมาณ 1,000-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เทียบกับประมาณการเดิมที่คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 2,000-4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ