ไฟแนนเชียล ไทมส์ - เตือนการบรรลุกฎบาเซิล II จะยากเย็นและมีความสำคัญพอๆ กับกระบวนการร่างกติกาควบคุมสัดส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารทั่วโลก ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี
เจมี คารัวนา ประธานคณะกรรมการบาเซิลด้านการกำกับดูแลภาคการธนาคาร ระบุว่าขณะนี้ราว 100 ประเทศส่งสัญญาณว่า พร้อมบรรลุกฎดังกล่าวก่อนสิ้นทศวรรษนี้
คารัวนา ซึ่งนั่งตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางสเปนอยู่ด้วย เสริมว่าคณะกรรมการคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการปรับแต่งกฎบาเซิล II ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2006 เพื่อเริ่มนำไปใช้ในปีถัดไป และบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 2008
อย่างไรก็ดี เขาตั้งข้อสังเกตว่า กฎบาเซิล II อาจไม่สามารถเป็นกฎกติกาการธนาคารที่เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวกันในทุกประเทศ เนื่องจากความแตกต่างด้านระบบกฎหมาย แนวทางการดำเนินการในตลาด และเงื่อนไขทางธุรกิจ ดังนั้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลจึงควรกระชับความร่วมมือ เพื่อบรรลุเป้าหมายของบาเซิล II และสร้างสนามแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับธนาคารระหว่างประเทศ
กระนั้นก็ตาม ยังมีปัญหาบางข้อที่ไม่ได้รับการแก้ไข เช่น แนวทางที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในการกำกับดูแลกลุ่มกิจการธนาคารข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้กำกับดูแลในประเทศที่ตั้ง "สำนักงานใหญ่" ของกลุ่มกิจการนั้นๆ กับผู้กำกับดูแลในประเทศที่เป็นที่ตั้ง "สำนักงานสาขา" หรือ "ธุรกิจในเครือ"
ทอม เดอ สวาน ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของเอบีเอ็น แอมโร แบงก์ และอดีตประธานคณะกรรมการบาเซิล สำทับว่า บาเซิล II จะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามสำหรับธนาคารข้ามชาติ โดยเฉพาะปัญหาความแตกต่างของกฎระเบียบในเมืองแม่และสำนักงานสาขานอกประเทศ อันจะมีผลต่อการบรรลุกฎบาเซิล II
เดอ สวานยกตัวอย่างบางประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ที่นักการเมืองและผู้คุมกฎให้ความสำคัญกับอธิปไตยของชาติมากกว่ากฎระเบียบการธนาคารระหว่างประเทศ ขณะที่คัวรานาชี้ว่า อียูควรทุ่มเทมากกว่าประเทศอื่นในการบรรลุกฎบาเซิล II ส่วนประเทศกำลังพัฒนานั้นก็ควรรับข้อตกลงนี้ไปใช้เมื่อพร้อมเท่านั้น
อนึ่ง หลังจากถกเถียงกันอย่างดุเดือด ในที่สุดเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว คณะกรรมการบาเซิล ซึ่งประกอบด้วยนายธนาคารกลางและผู้กำกับดูแลจาก 13 ประเทศอุตสาหกรรม เห็นพ้องกันในกรอบโครงใหม่เพื่อสร้างหลักประกันว่า ธนาคารต่างๆ จะมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เหมาะสม
เจมี คารัวนา ประธานคณะกรรมการบาเซิลด้านการกำกับดูแลภาคการธนาคาร ระบุว่าขณะนี้ราว 100 ประเทศส่งสัญญาณว่า พร้อมบรรลุกฎดังกล่าวก่อนสิ้นทศวรรษนี้
คารัวนา ซึ่งนั่งตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางสเปนอยู่ด้วย เสริมว่าคณะกรรมการคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการปรับแต่งกฎบาเซิล II ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2006 เพื่อเริ่มนำไปใช้ในปีถัดไป และบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 2008
อย่างไรก็ดี เขาตั้งข้อสังเกตว่า กฎบาเซิล II อาจไม่สามารถเป็นกฎกติกาการธนาคารที่เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวกันในทุกประเทศ เนื่องจากความแตกต่างด้านระบบกฎหมาย แนวทางการดำเนินการในตลาด และเงื่อนไขทางธุรกิจ ดังนั้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลจึงควรกระชับความร่วมมือ เพื่อบรรลุเป้าหมายของบาเซิล II และสร้างสนามแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับธนาคารระหว่างประเทศ
กระนั้นก็ตาม ยังมีปัญหาบางข้อที่ไม่ได้รับการแก้ไข เช่น แนวทางที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในการกำกับดูแลกลุ่มกิจการธนาคารข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้กำกับดูแลในประเทศที่ตั้ง "สำนักงานใหญ่" ของกลุ่มกิจการนั้นๆ กับผู้กำกับดูแลในประเทศที่เป็นที่ตั้ง "สำนักงานสาขา" หรือ "ธุรกิจในเครือ"
ทอม เดอ สวาน ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของเอบีเอ็น แอมโร แบงก์ และอดีตประธานคณะกรรมการบาเซิล สำทับว่า บาเซิล II จะเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามสำหรับธนาคารข้ามชาติ โดยเฉพาะปัญหาความแตกต่างของกฎระเบียบในเมืองแม่และสำนักงานสาขานอกประเทศ อันจะมีผลต่อการบรรลุกฎบาเซิล II
เดอ สวานยกตัวอย่างบางประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ที่นักการเมืองและผู้คุมกฎให้ความสำคัญกับอธิปไตยของชาติมากกว่ากฎระเบียบการธนาคารระหว่างประเทศ ขณะที่คัวรานาชี้ว่า อียูควรทุ่มเทมากกว่าประเทศอื่นในการบรรลุกฎบาเซิล II ส่วนประเทศกำลังพัฒนานั้นก็ควรรับข้อตกลงนี้ไปใช้เมื่อพร้อมเท่านั้น
อนึ่ง หลังจากถกเถียงกันอย่างดุเดือด ในที่สุดเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว คณะกรรมการบาเซิล ซึ่งประกอบด้วยนายธนาคารกลางและผู้กำกับดูแลจาก 13 ประเทศอุตสาหกรรม เห็นพ้องกันในกรอบโครงใหม่เพื่อสร้างหลักประกันว่า ธนาคารต่างๆ จะมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เหมาะสม