คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไปศึกษาแนวทางการดูแลสินค้าลำไยแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกจนถึงการจำหน่ายเพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้ชัดเจน โดยในอนาคตจะมีแต่ละหน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลสินค้าเกษตรที่สำคัญแต่ละชนิด ซึ่งจะช่วยลดการใช้มาตรการแทรกแซงราคาจากภาครัฐได้
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ไปศึกษารายละเอียดของการเข้าไปดูแลสินค้าเกษตรประเภทลำไยแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกจนถึงการจำหน่ายว่าจะดำเนินการได้มากน้อยเพียงใดและดำเนินการในรูปแบบใดเพื่อยกระดับราคาลำไยให้สูงขึ้น ซึ่งจะถือเป็นโครงการนำร่องของการยกระดับราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ยังเป็นการแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำแบบถาวร โดย ธ.ก.ส.จะเข้าไปดูแลรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียวตั้งแต่ต้นจนถึงการนำออกไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้โดยไม่ถูกกีดกันหรือถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอีกด้วย
“คชก.เห็นว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีความเหมาะสมที่จะดูแลสินค้าลำไยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้ครบวงจรได้ ซึ่งการมอบหมายให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ดูแลสินค้าลำไยแบบครบวงจรนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกษตรกรโดยไม่ต้องใช้แนวทางแทรกแซงราคาอีก” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว
นายวราเทพ กล่าวอีกว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยในอนาคตจะให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลหรือรับผิดชอบสินค้าเกษตรเป็นรายสินค้า โดยไม่ต้องเข้ามาผ่านกระบวนการรับจำนำตามมติ คชก. เช่นในปัจจุบันอีก ทำให้เกิดศักยภาพและทำให้เกษตรกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะมีเจ้าภาพเข้าไปดูแลแบบเป็นรูปธรรมจะทำให้ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ส่วนบทบาทหน้าที่ของ คชก. จะเปลี่ยนไป เป็นคณะกรรมการที่คอยกำกับดูแลสินค้าเกษตรต่างๆ เช่นเดิม แต่การให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในการเข้าไปช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรแทนการรับจำนำโดยผ่าน ธ.ก.ส. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) หรือองค์การคลังสินค้า (อคส.) ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีและดูแลได้ทั่วถึงมากกว่า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แนวทางการทำงานของ ธ.ก.ส.ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งยังเน้นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลเข้าไปดูแลและยกระดับเกษตรกรไทย ซึ่งนอกจากงานที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันทั้งการต่อยอดโครงการหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การให้เงินกู้แก่วิสาหกิจชุมชน การปลูกป่า ชำระหนี้แล้ว ยังเน้นในเรื่องของการสร้างชุมชนให้เข็มแข็งด้วย
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ไปศึกษารายละเอียดของการเข้าไปดูแลสินค้าเกษตรประเภทลำไยแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกจนถึงการจำหน่ายว่าจะดำเนินการได้มากน้อยเพียงใดและดำเนินการในรูปแบบใดเพื่อยกระดับราคาลำไยให้สูงขึ้น ซึ่งจะถือเป็นโครงการนำร่องของการยกระดับราคาสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ยังเป็นการแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำแบบถาวร โดย ธ.ก.ส.จะเข้าไปดูแลรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียวตั้งแต่ต้นจนถึงการนำออกไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้โดยไม่ถูกกีดกันหรือถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ ที่สำคัญยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอีกด้วย
“คชก.เห็นว่าในพื้นที่ภาคเหนือมีความเหมาะสมที่จะดูแลสินค้าลำไยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้ครบวงจรได้ ซึ่งการมอบหมายให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ดูแลสินค้าลำไยแบบครบวงจรนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกษตรกรโดยไม่ต้องใช้แนวทางแทรกแซงราคาอีก” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว
นายวราเทพ กล่าวอีกว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยในอนาคตจะให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลหรือรับผิดชอบสินค้าเกษตรเป็นรายสินค้า โดยไม่ต้องเข้ามาผ่านกระบวนการรับจำนำตามมติ คชก. เช่นในปัจจุบันอีก ทำให้เกิดศักยภาพและทำให้เกษตรกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะมีเจ้าภาพเข้าไปดูแลแบบเป็นรูปธรรมจะทำให้ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ส่วนบทบาทหน้าที่ของ คชก. จะเปลี่ยนไป เป็นคณะกรรมการที่คอยกำกับดูแลสินค้าเกษตรต่างๆ เช่นเดิม แต่การให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในการเข้าไปช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรแทนการรับจำนำโดยผ่าน ธ.ก.ส. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) หรือองค์การคลังสินค้า (อคส.) ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีและดูแลได้ทั่วถึงมากกว่า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แนวทางการทำงานของ ธ.ก.ส.ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งยังเน้นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลเข้าไปดูแลและยกระดับเกษตรกรไทย ซึ่งนอกจากงานที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันทั้งการต่อยอดโครงการหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกร การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การให้เงินกู้แก่วิสาหกิจชุมชน การปลูกป่า ชำระหนี้แล้ว ยังเน้นในเรื่องของการสร้างชุมชนให้เข็มแข็งด้วย