เฮรัลด์ ทรีบูน - เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ธนาคารใหญ่ที่สุดของยุโรปตามมูลค่าตลาด อาจเป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่ก้าวสู่ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคล และบริการด้านการเงินภายใต้กฎหมายอิสลามของอินโดนีเซียที่กำลังขยายตัว
มาห์มูด อาบูชามมา หัวหน้าเอชเอสบีซี ชาริอะห์ ธุรกิจธนาคารอิสลามในอินโดนีเซียของเอชเอสบีซี กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า"
ก่อนหน้านี้ ในเดือนตุลาคมปี 2003 เอชเอสบีซีถือเป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกในแดนอิเหนา ที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน และปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทต่างๆ ตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งห้ามการจ่ายดอกเบี้ย และการลงทุนเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
นักลงทุนคาดว่า เอชเอสบีซีอาจต้องแข่งขันกับธนาคารจากตะวันตก อาทิ สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด และซิตี้กรุ๊ป รวมถึงธนาคารอาหรับและธนาคารจากเอเชียหลายแห่งในการแย่งชิงลูกค้าภายในตลาดแห่งนี้ ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชียรวมมูลค่า 222,000 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลของไฟแนนเชียล เซอร์วิสส์ ออโทริตี้ในอังกฤษระบุว่า สินทรัพย์ทั้งหมดที่ธนาคารอิสลามทั่วโลกดูแลอยู่ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 200,000-500,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 10-15% ต่อปี
สำหรับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกถึง 85% จากประชากรทั้งหมด 238 ล้านคน ธนาคารกลางแดนอิเหนาคาดการณ์ว่า สินทรัพย์ของธนาคารอิสลามจะขยายตัวมากกว่า 12 เท่า ภายในปี 2011 จาก 1,480 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา หรือน้อยกว่า 2% ของสินทรัพย์ธนาคารโดยรวม เป็น 18,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบัน เอชเอสบีซีเข้ามาบริหารสินทรัพย์ในอินโดนีเซียรวม 1,750 ล้านดอลลาร์
ตลาดแห่งนี้ยังมีธนาคารอิสลาม ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารใหญ่ๆ เข้ามาตั้งถึง 15 แห่ง โดยริซคูลเลาะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายธนาคารอิสลามของแบงก์ เนการา อินโดนีเซียชี้ว่า เกือบทุกปีจะต้องมีผู้เข้ามาตั้งธนาคารอิสลามในอินโดนีเซีย เนื่องจากตลาดแห่งนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และมีศักยภาพไม่จำกัด
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และสำนักงานกำกับดูแลตลาดทุนในกรุงจาการ์ตา รวมถึงนักวิชาการมุสลิมก็กำลังหาทางปรับกฎการจ่ายภาษี และข้อบังคับธนาคารเกี่ยวกับการจำนอง การออกตราสารหนี้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้ตามกฎหมายอิสลาม
มาห์มูด อาบูชามมา หัวหน้าเอชเอสบีซี ชาริอะห์ ธุรกิจธนาคารอิสลามในอินโดนีเซียของเอชเอสบีซี กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า"
ก่อนหน้านี้ ในเดือนตุลาคมปี 2003 เอชเอสบีซีถือเป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกในแดนอิเหนา ที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน และปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทต่างๆ ตามกฎหมายอิสลาม ซึ่งห้ามการจ่ายดอกเบี้ย และการลงทุนเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
นักลงทุนคาดว่า เอชเอสบีซีอาจต้องแข่งขันกับธนาคารจากตะวันตก อาทิ สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด และซิตี้กรุ๊ป รวมถึงธนาคารอาหรับและธนาคารจากเอเชียหลายแห่งในการแย่งชิงลูกค้าภายในตลาดแห่งนี้ ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชียรวมมูลค่า 222,000 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลของไฟแนนเชียล เซอร์วิสส์ ออโทริตี้ในอังกฤษระบุว่า สินทรัพย์ทั้งหมดที่ธนาคารอิสลามทั่วโลกดูแลอยู่ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 200,000-500,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 10-15% ต่อปี
สำหรับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกถึง 85% จากประชากรทั้งหมด 238 ล้านคน ธนาคารกลางแดนอิเหนาคาดการณ์ว่า สินทรัพย์ของธนาคารอิสลามจะขยายตัวมากกว่า 12 เท่า ภายในปี 2011 จาก 1,480 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา หรือน้อยกว่า 2% ของสินทรัพย์ธนาคารโดยรวม เป็น 18,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบัน เอชเอสบีซีเข้ามาบริหารสินทรัพย์ในอินโดนีเซียรวม 1,750 ล้านดอลลาร์
ตลาดแห่งนี้ยังมีธนาคารอิสลาม ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารใหญ่ๆ เข้ามาตั้งถึง 15 แห่ง โดยริซคูลเลาะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายธนาคารอิสลามของแบงก์ เนการา อินโดนีเซียชี้ว่า เกือบทุกปีจะต้องมีผู้เข้ามาตั้งธนาคารอิสลามในอินโดนีเซีย เนื่องจากตลาดแห่งนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และมีศักยภาพไม่จำกัด
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และสำนักงานกำกับดูแลตลาดทุนในกรุงจาการ์ตา รวมถึงนักวิชาการมุสลิมก็กำลังหาทางปรับกฎการจ่ายภาษี และข้อบังคับธนาคารเกี่ยวกับการจำนอง การออกตราสารหนี้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้ตามกฎหมายอิสลาม