เอเอฟพี – อดีตผู้นำฝีปากกล้ามาเลเซียเตือนค่าดอลลาร์รอวันล่ม ฉุดเศรษฐกิจโลกพังพินาศ เมื่อเงินตราอเมริกันถูกปฏิเสธในฐานะตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยน แนะปัญหาอาจแก้ได้ หากสหรัฐฯมีผู้นำที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการพยายามลดยอดขาดดุล
มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีแดนเสือเหลืองคนล่าสุด ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จากการแนะนำให้มาเลเซียใช้นโยบายผูกริงกิตกับดอลลาร์ในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-1998 กล่าวว่า ทองคำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการเป็นตัวกลางสำหรับการค้าโลกในปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์เดอะ สตาร์ฉบับวันพุธรายงานว่า อดีตนายกฯมาเลเซีย บอกกับที่ประชุมประธานบริหารราว 650 คนจาก 30 ประเทศที่โกตา คินาบาลู บนเกาะบอร์เนียวว่า ที่ดอลลาร์ยังรักษาค่าไว้ได้ขณะนี้ เป็นเพราะมีความกังวลกันว่า เศรษฐกิจโลกอาจพังราบเป็นหน้ากลอง หากเงินตราสหรัฐฯถูกปฏิเสธ
“แต่หายนะจะมาถึงในวันหนึ่ง เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจสูงสุดของโลกยังไม่สามารถจ่ายหนี้ที่พอกพูนถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ได้”
มหาเธร์ ซึ่งเคยควบตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง เชื่อว่าธนาคารกลางทั่วโลกกำลังลดสัดส่วนดอลลาร์ในทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งสงสัยว่า ขณะนี้มาเลเซียก็กำลังหันไปสำรองเงินตราสกุลอื่นด้วยเช่นกัน
เขายังแสดงความเห็นส่วนตัวโดยเตือนว่า หากอเมริกันชนไม่เปลี่ยนแปลงตัวประธานาธิบดีไปเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีความพยายามแก้ปัญหาการขาดดุลของประเทศ สหรัฐฯจะมีปัญหารุนแรงกับค่าเงินดอลลาร์
มหาเธร์กล่าวกับเหล่าซีอีโอว่า เป็นที่น่าสงสัยว่า ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะสามารถฟื้นความแข็งแกร่งเดิมได้หรือไม่ หากคณะบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ไม่เห็นเหตุผลสมควรที่จะลดยอดขาดดุล
ทั้งนี้ เนื่องจากยอดขาดดุลมหาศาลหมายความว่า ดอลลาร์จะไม่มีฐานสนับสนุน แต่ที่ยังเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างประเทศ ก็เพราะคนบางส่วนยังยอมรับชำระเงินด้วยดอลลาร์
“แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราจะเลิกถือดอลลาร์ และเสนอให้ใช้ทองคำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทน”
ขณะเดียวกัน หากบริษัทต่างๆ ไม่ต้องการขาดทุน ก็ควรยืนยันที่จะจ่ายด้วยเงินสกุลอื่นๆ อาทิ ยูโร หรือดอลลาร์ในมูลค่าเท่ากับยูโร
ทั้งนี้ มหาเธร์เคยถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน และผูกริงกิตกับดอลลาร์เมื่อปี 1998 แต่หลังจากนั้น อดีตผู้นำแดนเสือเหลืองผู้นี้ก็ได้รับคำชมจากนักเศรษฐศาสตร์ รวมถึงไอเอ็มเอฟ ในการรับมือกับวิกฤตการเงินเอเชีย
เดือนมกราคมที่ผ่านมา มหาเธร์ ซึ่งลงจากเก้าอี้เมื่อเดือนตุลาคม 2003 หลังครองอำนาจนานถึง 22 ปี ได้ก่อกระแสปั่นป่วนในมาเลเซีย ด้วยการประสานเสียงกับผู้เชี่ยวชาญอีกหลายคน เรียกร้องทางการกัวลาลัมเปอร์ทบทวนมาตรการตรึงริงกิตกับดอลลาร์ในอัตราตายตัว 3.8 ริงกิตต่อดอลลาร์ โดยให้เหตุผลว่าเงินตราสหรัฐฯมีมูลค่าลดต่ำลง
มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีแดนเสือเหลืองคนล่าสุด ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จากการแนะนำให้มาเลเซียใช้นโยบายผูกริงกิตกับดอลลาร์ในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-1998 กล่าวว่า ทองคำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการเป็นตัวกลางสำหรับการค้าโลกในปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์เดอะ สตาร์ฉบับวันพุธรายงานว่า อดีตนายกฯมาเลเซีย บอกกับที่ประชุมประธานบริหารราว 650 คนจาก 30 ประเทศที่โกตา คินาบาลู บนเกาะบอร์เนียวว่า ที่ดอลลาร์ยังรักษาค่าไว้ได้ขณะนี้ เป็นเพราะมีความกังวลกันว่า เศรษฐกิจโลกอาจพังราบเป็นหน้ากลอง หากเงินตราสหรัฐฯถูกปฏิเสธ
“แต่หายนะจะมาถึงในวันหนึ่ง เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจสูงสุดของโลกยังไม่สามารถจ่ายหนี้ที่พอกพูนถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ได้”
มหาเธร์ ซึ่งเคยควบตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง เชื่อว่าธนาคารกลางทั่วโลกกำลังลดสัดส่วนดอลลาร์ในทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งสงสัยว่า ขณะนี้มาเลเซียก็กำลังหันไปสำรองเงินตราสกุลอื่นด้วยเช่นกัน
เขายังแสดงความเห็นส่วนตัวโดยเตือนว่า หากอเมริกันชนไม่เปลี่ยนแปลงตัวประธานาธิบดีไปเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีความพยายามแก้ปัญหาการขาดดุลของประเทศ สหรัฐฯจะมีปัญหารุนแรงกับค่าเงินดอลลาร์
มหาเธร์กล่าวกับเหล่าซีอีโอว่า เป็นที่น่าสงสัยว่า ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะสามารถฟื้นความแข็งแกร่งเดิมได้หรือไม่ หากคณะบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ไม่เห็นเหตุผลสมควรที่จะลดยอดขาดดุล
ทั้งนี้ เนื่องจากยอดขาดดุลมหาศาลหมายความว่า ดอลลาร์จะไม่มีฐานสนับสนุน แต่ที่ยังเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างประเทศ ก็เพราะคนบางส่วนยังยอมรับชำระเงินด้วยดอลลาร์
“แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราจะเลิกถือดอลลาร์ และเสนอให้ใช้ทองคำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทน”
ขณะเดียวกัน หากบริษัทต่างๆ ไม่ต้องการขาดทุน ก็ควรยืนยันที่จะจ่ายด้วยเงินสกุลอื่นๆ อาทิ ยูโร หรือดอลลาร์ในมูลค่าเท่ากับยูโร
ทั้งนี้ มหาเธร์เคยถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน และผูกริงกิตกับดอลลาร์เมื่อปี 1998 แต่หลังจากนั้น อดีตผู้นำแดนเสือเหลืองผู้นี้ก็ได้รับคำชมจากนักเศรษฐศาสตร์ รวมถึงไอเอ็มเอฟ ในการรับมือกับวิกฤตการเงินเอเชีย
เดือนมกราคมที่ผ่านมา มหาเธร์ ซึ่งลงจากเก้าอี้เมื่อเดือนตุลาคม 2003 หลังครองอำนาจนานถึง 22 ปี ได้ก่อกระแสปั่นป่วนในมาเลเซีย ด้วยการประสานเสียงกับผู้เชี่ยวชาญอีกหลายคน เรียกร้องทางการกัวลาลัมเปอร์ทบทวนมาตรการตรึงริงกิตกับดอลลาร์ในอัตราตายตัว 3.8 ริงกิตต่อดอลลาร์ โดยให้เหตุผลว่าเงินตราสหรัฐฯมีมูลค่าลดต่ำลง