วานนี้ (24 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักนายกรัฐมนตรี จัดการประชุมสัมมนาภายใต้หัวข้อ “การควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน” และ “โฆษณาอย่างไรให้ถูกกฎหมายและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค” โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา กรมประชาสัมพันธ์ และสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยร่วมสัมมนา
นางสาวสุวณี เรืองศิริ นิติกร 8ว. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางอย.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 2) ว่าด้วยเรื่องคำเตือนในโฆษณาตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นี้ โดยได้ประกาศใช้คำเตือนโฆษณา 6 คำเตือนใหม่ ประกอบด้วย 1. การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง 2. การดื่มสุราเป็นอันตรายต่อสุขภาพและบั่นทอนสติสัมปชัญญะ 3. ดื่มสุรา ทำให้ตับแข็งและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 4. เมาแล้วขับ อาจพิการและตายได้ 5. ดื่มสุรา อาจทำให้ขาดสติและเสียชีวิต และ6. ดื่มสุรา ผิดศีลข้อ 5
ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้จริงหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยคาดว่าอย่างเร็วสุดจะประกาศใช้จริงก่อนกลางเดือนเม.ษ.หรือก่อนช่วงสงกรานต์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองด้วยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะต้องแสดงคำเตือนตั้งแต่ 1 – 6 เวียนไปตามลำดับให้ครบทุกคำเตือนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานโฆษณา โดยจะให้ใช้คำเตือนหนึ่งๆ ได้ไม่เกินระยะเวลา 1 ปี สำหรับการโฆษณาที่เผยแพร่อยู่ก่อนแล้ว และไม่เป็นไปตามประกาศนี้ให้โฆษณาต่อไปได้ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้จริง
ขณะที่ 3 คำเตือนโฆษณาที่เคยประกาศใช้ตั้งแต่ก.ย. 2546 ประกอบด้วย 1. การดื่มสุราแล้วขับขี่รถจะเป็นอันตรายและผิดกฎหมาย 2. การจำหน่ายสุราแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ผิดกฎหมาย และ 3. การดื่มสุราเป็นอันตรายต่อสุขภาพและบั่นทอนสติสัมปชัญญะ ให้ยกเลิกการใช้
“ที่ผ่านมาอย.ให้ผู้ประกอบการเลือกคำเตือนในการโฆษณาเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้คำเตือนที่ 2 อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนคำเตือนที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นโทษของเครื่องดื่มชนิดนี้กลับมีผู้ประกอบการเลือกใช้น้อยที่สุด” นางสาวสุวณีกล่าว
การออก 6 คำเตือนโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ใหม่ในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี (พ.ย. 2547) ได้สั่งการให้มีการทบทวนคำเตือนดังกล่าวใหม่เพื่อจูงใจให้คนไม่ดื่มสุรา และเห็นชัดถึงอันตรายและโทษของการดื่มสุรา ที่ส่งผลกระทบถึงตนเอง ครอบครัว และบุคคลอื่น
ด้านนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวต่อว่า นอกจากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนแล้ว ยังเตรียมที่ควบคุมโฆษณาเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูขายของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายออกโฆษณาใหม่ที่มีเนื้อหาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในเรื่องความสามารถของเครื่องปรับอากาศที่ช่วยปรับสภาพอากาศหรือฟอกอากาศให้สะอาดบริสุทธิ์ได้
“ในวันที่ 31 มี.ค.จะเรียกผู้ประกอบการทุกรายร่วมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ โดยก่อนหน้านี้ได้ลงโทษผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศ 2 รายที่โฆษณาเกินจริง หลังจากใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบมาตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะที่โฆษณาของผู้ประกอบการหลายอื่นที่ออกอากาศอยู่นั้นถือว่าอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงเช่นกัน แต่ด้วยกระบวนการของระบบราชการอาจจะทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการลงโทษได้”
ส.โฆษณาจับสถิติเอเยนซี่แหกกฎ
นายวิทวัส ชัยปาณี อุปนายกฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพโฆษณา สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปีนี้สมาคมฯ มีแผนที่จะทำสถิติการทำผิดกฎระเบียบเผยแพร่การโฆษณาของทั้งผู้ประกอบและเอเยนซี่ เพื่อให้หน่วยงานรัฐพิจารณาการทำผิดดังกล่าวเป็นรายนิติบุคคลแทนมองและกำหนดบทลงโทษแบบภาพรวมเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำตามกฎไม่ได้รับความยุติธรรม และบางกฎหมายที่ออกก็จะส่งผลถึงภาพรวมของทั้งธุรกิจนั้น โดยจะทดลองจับสถิติ 3 เดือนแล้วจึงจะนำมาหารือเพื่อกำหนดแนวทางต่อไป ซึ่งเริ่มนับมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแล้ว
อีกทั้ง สมาคมฯ ยังมีเป้าหมายที่จะให้เอเยนซี่และผู้ประกอบการกำกับดูแลและควบคุมตัวเองมากกว่าให้หน่วยงานรัฐเข้ามากำหนดกรอบ ซึ่งทางกรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานแรกที่เปิดกว้างให้กับแนวคิดดังกล่าวด้วยการยกเลิกกบว.ที่เคยมี แต่ทั้งนี้เอเยนซี่และผู้ประกอบการเองต้องร่วมมือกันไม่ล้ำเส้นกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐวางไว้
โดยที่ผ่านมาหลังจากมีมาตรการคุมเข้มเครื่องดื่มทั้งผสมแอลกอฮอล์และผสมกาเฟอีนนั้น กลุ่มเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนถือว่าปฎิบัติตามมาตรการของหน่วยรัฐได้สูงถึง 95% ขณะที่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ยังทำได้ไม่มีนัก เพราะยังเห็นได้ชัดว่ามีความพยายามล้ำเส้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมทั้งตลาด
นางสาวสุวณี เรืองศิริ นิติกร 8ว. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางอย.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 2) ว่าด้วยเรื่องคำเตือนในโฆษณาตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นี้ โดยได้ประกาศใช้คำเตือนโฆษณา 6 คำเตือนใหม่ ประกอบด้วย 1. การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง 2. การดื่มสุราเป็นอันตรายต่อสุขภาพและบั่นทอนสติสัมปชัญญะ 3. ดื่มสุรา ทำให้ตับแข็งและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 4. เมาแล้วขับ อาจพิการและตายได้ 5. ดื่มสุรา อาจทำให้ขาดสติและเสียชีวิต และ6. ดื่มสุรา ผิดศีลข้อ 5
ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้จริงหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยคาดว่าอย่างเร็วสุดจะประกาศใช้จริงก่อนกลางเดือนเม.ษ.หรือก่อนช่วงสงกรานต์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองด้วยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะต้องแสดงคำเตือนตั้งแต่ 1 – 6 เวียนไปตามลำดับให้ครบทุกคำเตือนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานโฆษณา โดยจะให้ใช้คำเตือนหนึ่งๆ ได้ไม่เกินระยะเวลา 1 ปี สำหรับการโฆษณาที่เผยแพร่อยู่ก่อนแล้ว และไม่เป็นไปตามประกาศนี้ให้โฆษณาต่อไปได้ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้จริง
ขณะที่ 3 คำเตือนโฆษณาที่เคยประกาศใช้ตั้งแต่ก.ย. 2546 ประกอบด้วย 1. การดื่มสุราแล้วขับขี่รถจะเป็นอันตรายและผิดกฎหมาย 2. การจำหน่ายสุราแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ผิดกฎหมาย และ 3. การดื่มสุราเป็นอันตรายต่อสุขภาพและบั่นทอนสติสัมปชัญญะ ให้ยกเลิกการใช้
“ที่ผ่านมาอย.ให้ผู้ประกอบการเลือกคำเตือนในการโฆษณาเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้คำเตือนที่ 2 อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนคำเตือนที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นโทษของเครื่องดื่มชนิดนี้กลับมีผู้ประกอบการเลือกใช้น้อยที่สุด” นางสาวสุวณีกล่าว
การออก 6 คำเตือนโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ใหม่ในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี (พ.ย. 2547) ได้สั่งการให้มีการทบทวนคำเตือนดังกล่าวใหม่เพื่อจูงใจให้คนไม่ดื่มสุรา และเห็นชัดถึงอันตรายและโทษของการดื่มสุรา ที่ส่งผลกระทบถึงตนเอง ครอบครัว และบุคคลอื่น
ด้านนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวต่อว่า นอกจากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนแล้ว ยังเตรียมที่ควบคุมโฆษณาเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูขายของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายออกโฆษณาใหม่ที่มีเนื้อหาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในเรื่องความสามารถของเครื่องปรับอากาศที่ช่วยปรับสภาพอากาศหรือฟอกอากาศให้สะอาดบริสุทธิ์ได้
“ในวันที่ 31 มี.ค.จะเรียกผู้ประกอบการทุกรายร่วมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ โดยก่อนหน้านี้ได้ลงโทษผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศ 2 รายที่โฆษณาเกินจริง หลังจากใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบมาตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะที่โฆษณาของผู้ประกอบการหลายอื่นที่ออกอากาศอยู่นั้นถือว่าอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงเช่นกัน แต่ด้วยกระบวนการของระบบราชการอาจจะทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการลงโทษได้”
ส.โฆษณาจับสถิติเอเยนซี่แหกกฎ
นายวิทวัส ชัยปาณี อุปนายกฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพโฆษณา สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปีนี้สมาคมฯ มีแผนที่จะทำสถิติการทำผิดกฎระเบียบเผยแพร่การโฆษณาของทั้งผู้ประกอบและเอเยนซี่ เพื่อให้หน่วยงานรัฐพิจารณาการทำผิดดังกล่าวเป็นรายนิติบุคคลแทนมองและกำหนดบทลงโทษแบบภาพรวมเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำตามกฎไม่ได้รับความยุติธรรม และบางกฎหมายที่ออกก็จะส่งผลถึงภาพรวมของทั้งธุรกิจนั้น โดยจะทดลองจับสถิติ 3 เดือนแล้วจึงจะนำมาหารือเพื่อกำหนดแนวทางต่อไป ซึ่งเริ่มนับมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแล้ว
อีกทั้ง สมาคมฯ ยังมีเป้าหมายที่จะให้เอเยนซี่และผู้ประกอบการกำกับดูแลและควบคุมตัวเองมากกว่าให้หน่วยงานรัฐเข้ามากำหนดกรอบ ซึ่งทางกรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานแรกที่เปิดกว้างให้กับแนวคิดดังกล่าวด้วยการยกเลิกกบว.ที่เคยมี แต่ทั้งนี้เอเยนซี่และผู้ประกอบการเองต้องร่วมมือกันไม่ล้ำเส้นกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐวางไว้
โดยที่ผ่านมาหลังจากมีมาตรการคุมเข้มเครื่องดื่มทั้งผสมแอลกอฮอล์และผสมกาเฟอีนนั้น กลุ่มเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนถือว่าปฎิบัติตามมาตรการของหน่วยรัฐได้สูงถึง 95% ขณะที่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ยังทำได้ไม่มีนัก เพราะยังเห็นได้ชัดว่ามีความพยายามล้ำเส้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้จะไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมทั้งตลาด