NEO วอนรัฐมอบดาบ สสปน. ให้มีอำนาจตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จหวังเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ในการดึงลูกค้าจัดงานแสดงสินค้าเข้ามาในประเทศ อ้างอยู่ในตลาดนี้มานาน รู้ปัญหาและความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ ล่าสุดประกาศแยกตัวจากออกมาเป็นบริษัทในเครือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ฯ หวังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน และลุยตลาดในต่างประเทศ ฝัน 5 ปี ขึ้นแท่น 1 ใน 5 ของผู้จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด(NEO) กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ให้ชัดเจนกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในการที่จะไปเชิญชวนลูกค้ากลุ่มจัดประชุมสัมมนา และเอ็กซิบิชั่น เข้ามาจัดในประเทศไทยได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกลุ่มจัดงานเอ็กซิบิชั่น จะต้องมีเรื่องของการนำเข้าเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จะต้องผ่านด่านศุลกากร รวมถึงการอำนวยความสะดวกอื่นๆ ตามรูปแบบของแต่ละงาน ซึ่งปัจจุบัน สสปน.จะต้องนำความต้องการเหล่านี้เสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งคราวไป ทำให้การทำงานอาจไม่คล่องตัวเท่าที่ควร และเกิดความล่าช้าได้
“ในยุคปัจจุบันที่ทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง สิงคโปร์ หรือฮ่องกง ที่ต้องการลูกค้ากลุ่มจัดประชุมสัมมนาและเอ็กซิบิชั่นเข้ามาจัดงานยังประเทศของตน นอกจากความพร้อมของแต่ละประเทศแล้ว ปัจจัยที่สำคัญประกอบการตัดสินใจเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ การอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ ที่เขาเหล่านั้นจะได้รับ หาก สสปน.มีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จ ประเทศไทยจะเป็นตัวเลือกของการจัดงานที่ดีไม่น้อยหน้าใคร และลูกค้ากลุ่มนี้ต้องยอมรับว่า มีการใช้จ่ายต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป หรือเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อคนต่อวัน ที่เรารู้ดีเพราะ มีโอกาสได้รับรองและทำงานกับลูกค้ากลุ่มนี้มานานกว่า 10 ปี ”
สำหรับในส่วนของบริษัท NEO ซึ่งได้แยกตัวจากฝ่าย ออกมาเป็นบริษัทในเครือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ เมื่อ กลางปี 2547
ล่าสุดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2548 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำงาน และเพิ่มโอกาสของการเติบโตทางธุรกิจ และสามารถออกรับงานในต่างประเทศได้ ส่วนการจัดงานในประเทศก็สามารถเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับงานได้นอกเหนือจากที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากนั้นยังสามารถออกไปรับงานจัดเอ็กซิบิชั่น ให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้
ด้านการเติบโตบริษัทวางเป้าหมายภายใน 5 ปี นับจากนี้ไป จะขึ้นอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 ของผู้จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บริษัท ได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์รวม 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาดและการแข่งขัน โดยวางแผนใช้สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการตลาดเชิงรุกมากขึ้น เลือกใช้สื่อที่มีคุณภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาด เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น VNU Exhibition Europe จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้จัดแสดงสินค้าติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก เพื่อขอสนับสนุนระบบข้อมูลข่าวสาร และ Positive Actions สื่อจากประเทศอังกฤษ มาช่วยสนับสนุนด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ และข้อมูลข่าวสารในตลาดต่างประเทศ
2.มุ่งพัฒนาคุณภาพและสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ โดยสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดงานตามแนวคิดการตลาดเฉพาะกลุ่ม พัฒนากรอบความคิด และไฮไลต์ของงานให้ทันสมัยสอดรับกับนโยบายหลักของประเทศ ศึกษาพัฒนาโครงการใหม่ๆ
และ 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการ ปรับโครงสร้างองค์กร ให้มีความคล่องตัว การกระจายอำนาจ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้เบ็ดเสร็จภายในทีม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน รวมถึงเสริมทักษะความรู้ให้บุคลากรตลอดเวลา
นางลัดดา กล่าวอีกว่า ในส่วนของแผนงานปี 2548 แผนการตลาด จะแบ่งโครงการสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1.แผนโครงการในประเทศ กำหนดจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการขนาดใหญ่ 6 โครงการ เน้นผู้ประกอบการในประเทศ และ 2. แผนตลาดต่างประเทศ โดยการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ที่มุ่งเน้นผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ที่เข้ามาจัดงานในประเทศไทย เช่น งาน VIV Asia
นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะนำผู้ประกอบการไทยในกลุ่มเอสเอ็มอี ไปแสดงสินค้าและนิทรรศการในต่างประเทศ เบื้องต้นเน้นเดินสายในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้นยังมีแผนเชิญชวนผู้ประกอบการต่างประเทศเข้ามาแสดงสินค้าในไทย เช่น เกาหลี จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในแผนงาน 6 โครงการผู้ประกอบการในประเทศ และ 1 โครงการผู้ประกอบการจากต่างประเทศ สามารถทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนได้เป็นจำนวนมากกว่า 4,000 ล้านบาท เพราะมีต่างชาติเข้ามาจับจ่าย และซื้อสินค้าภายในงาน และร่วมแสดงสินค้าด้วย
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด(NEO) กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ให้ชัดเจนกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในการที่จะไปเชิญชวนลูกค้ากลุ่มจัดประชุมสัมมนา และเอ็กซิบิชั่น เข้ามาจัดในประเทศไทยได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกลุ่มจัดงานเอ็กซิบิชั่น จะต้องมีเรื่องของการนำเข้าเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จะต้องผ่านด่านศุลกากร รวมถึงการอำนวยความสะดวกอื่นๆ ตามรูปแบบของแต่ละงาน ซึ่งปัจจุบัน สสปน.จะต้องนำความต้องการเหล่านี้เสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งคราวไป ทำให้การทำงานอาจไม่คล่องตัวเท่าที่ควร และเกิดความล่าช้าได้
“ในยุคปัจจุบันที่ทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง สิงคโปร์ หรือฮ่องกง ที่ต้องการลูกค้ากลุ่มจัดประชุมสัมมนาและเอ็กซิบิชั่นเข้ามาจัดงานยังประเทศของตน นอกจากความพร้อมของแต่ละประเทศแล้ว ปัจจัยที่สำคัญประกอบการตัดสินใจเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ การอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ ที่เขาเหล่านั้นจะได้รับ หาก สสปน.มีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จ ประเทศไทยจะเป็นตัวเลือกของการจัดงานที่ดีไม่น้อยหน้าใคร และลูกค้ากลุ่มนี้ต้องยอมรับว่า มีการใช้จ่ายต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป หรือเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อคนต่อวัน ที่เรารู้ดีเพราะ มีโอกาสได้รับรองและทำงานกับลูกค้ากลุ่มนี้มานานกว่า 10 ปี ”
สำหรับในส่วนของบริษัท NEO ซึ่งได้แยกตัวจากฝ่าย ออกมาเป็นบริษัทในเครือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ เมื่อ กลางปี 2547
ล่าสุดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2548 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำงาน และเพิ่มโอกาสของการเติบโตทางธุรกิจ และสามารถออกรับงานในต่างประเทศได้ ส่วนการจัดงานในประเทศก็สามารถเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับงานได้นอกเหนือจากที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากนั้นยังสามารถออกไปรับงานจัดเอ็กซิบิชั่น ให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้
ด้านการเติบโตบริษัทวางเป้าหมายภายใน 5 ปี นับจากนี้ไป จะขึ้นอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 ของผู้จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บริษัท ได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์รวม 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาดและการแข่งขัน โดยวางแผนใช้สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการตลาดเชิงรุกมากขึ้น เลือกใช้สื่อที่มีคุณภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาด เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น VNU Exhibition Europe จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้จัดแสดงสินค้าติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก เพื่อขอสนับสนุนระบบข้อมูลข่าวสาร และ Positive Actions สื่อจากประเทศอังกฤษ มาช่วยสนับสนุนด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ และข้อมูลข่าวสารในตลาดต่างประเทศ
2.มุ่งพัฒนาคุณภาพและสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ โดยสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดงานตามแนวคิดการตลาดเฉพาะกลุ่ม พัฒนากรอบความคิด และไฮไลต์ของงานให้ทันสมัยสอดรับกับนโยบายหลักของประเทศ ศึกษาพัฒนาโครงการใหม่ๆ
และ 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการ ปรับโครงสร้างองค์กร ให้มีความคล่องตัว การกระจายอำนาจ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้เบ็ดเสร็จภายในทีม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน รวมถึงเสริมทักษะความรู้ให้บุคลากรตลอดเวลา
นางลัดดา กล่าวอีกว่า ในส่วนของแผนงานปี 2548 แผนการตลาด จะแบ่งโครงการสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1.แผนโครงการในประเทศ กำหนดจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการขนาดใหญ่ 6 โครงการ เน้นผู้ประกอบการในประเทศ และ 2. แผนตลาดต่างประเทศ โดยการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ที่มุ่งเน้นผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ที่เข้ามาจัดงานในประเทศไทย เช่น งาน VIV Asia
นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะนำผู้ประกอบการไทยในกลุ่มเอสเอ็มอี ไปแสดงสินค้าและนิทรรศการในต่างประเทศ เบื้องต้นเน้นเดินสายในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้นยังมีแผนเชิญชวนผู้ประกอบการต่างประเทศเข้ามาแสดงสินค้าในไทย เช่น เกาหลี จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในแผนงาน 6 โครงการผู้ประกอบการในประเทศ และ 1 โครงการผู้ประกอบการจากต่างประเทศ สามารถทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนได้เป็นจำนวนมากกว่า 4,000 ล้านบาท เพราะมีต่างชาติเข้ามาจับจ่าย และซื้อสินค้าภายในงาน และร่วมแสดงสินค้าด้วย