“กิฟฟารีน” หนึ่งในบอร์ดขายตรงและตลาดแบบตรงเปิดฉากโต้ TDIA ระบุนั่งแท่นบอร์ดมีหน้าที่ช่วยร่างกฎหมายลูก 12 ฉบับ และให้ข้อมูลธุรกิจขายตรง แต่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ อย่างกรณีกรีนแพลนเน็ต แอมเวย์และกิฟฟารีนวอล์กเอาต์และไม่ได้ร่วมลงมติ ฝ่ายTDIA จัดสัมมนาประชาพิจารณ์ชี้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยที่บอร์ดเป็นตัวแทนจากเอกชน ด้านชมรมนักธุรกิจขายตรงไทยแตกคอกับ TDIA
นางสาวเบญจวรรณ สุขประพฤติ นายกสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) เปิดเผยถึงการจัดงานสัมมนาประชาพิจารณ์ ภายใต้หัวข้อ “โปร่งใสหรือไม่ถ้ายังมีพ่อค้าคนกลางนั่งในบอร์ดขายตรง” เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยได้เชิญตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็น อาทิ นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองนิติการและปฏิบัติราชการ หัวหน้าขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) , นายวิโรจน์ ณ บางช้าง กรรมการพัฒนากฎหมายของสคบ. , นายพิศิษฐ์ แทนทิว ตัวแทนจากคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง และนายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนจากภาคกฎหมาย
โดยความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ร่วมสัมมนาต่างไม่เห็นด้วยที่คณะกรรมการขายตรงที่เป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียกับการตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ประกอบกับการที่พ่อค้าขายตรงเป็นบอร์ดทำให้การบริหารงานมีความไม่น่าเชื่อถือเกิดขึ้น และเกิดความไม่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจขายตรงไทย อาทิ การตัดสินใจบางอย่างของบอร์ดเครือข่ายต่างชาติจะตัดสินใจและกำหนดเพียงฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ได้ดูรูปแบบการทำธุรกิจของขายตรงไทยที่ส่วนมากจะเป็นระบบไบนารีหรือขายตรงแบบ 2 ชั้น
นอกจากนี้ทางสมาคมฯยังได้มีการทำประชาพิจารณ์หัวข้อดังกล่าว โดยให้มีคนในแวดวงธุรกิจขายตรงกว่า 2,000 คนร่วมกรอกแบบสอบถาม ซึ่งขณะนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายในอาทิตย์นี้จะทราบและสรุปผลการทำประชาพิจารณ์ได้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการดำเนินงานหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป
ขณะที่นางนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน”ว่า การที่เรา (นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัดและนางนลิณี) เข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงมาจากการคัดเลือกของคณะรัฐมนตรี ซึ่งคัดเลือกจากการที่นายปรีชาเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และกิฟฟารีนเองก็เป็นตัวแทนคนไทยที่ดำเนินธุรกิจขายตรง โดยหน้าที่หลักของเรา คือ ช่วยกันร่างกฎหมายลูกของธุรกิจขายตรง 12 ฉบับ ซึ่งบางเรื่องทางคณะกรรมการยังมีข้อมูลไม่เพียงพอหรือมีข้อข้องใจ ฝ่ายเราก็มีหน้าที่ตอบคำถามและให้ข้อมูลที่ถูกต้องไป โดยที่เรา 2 คนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจอย่างที่เป็นข่าว
อย่างกรณีบริษัท กรีนแพลนเน็ต 108 คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ กระทรวงยุติธรรมจับกุมในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนประธานกรรมการ บริษัทกิฟฟารีน กล่าวว่า เรา 2 คนก็เดินออกจากที่ประชุม โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่อย่างใด ซึ่งมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเรามีอำนาจตัดสินใจ หรือกรณีที่เราเสนอไปว่าผู้จำหน่ายอิสระที่จะไปเสนอขายสินค้าตามบ้าน ควรจะมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง เพื่อที่ประชาชนจะได้เชื่อถือและไม่ถูกหลอกลวง แต่คนอื่นกลับมองว่าเรามีอำนาจในการตัดสินใจ เฉพาะเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ
ทั้งนี้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมขายตรงในไทยจะดูแลและบริหารโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ. และมีคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นผู้มีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยตำแหน่งคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงมีวาระ 2 ปีและหมดวาระลงในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะมีการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมชุดใหม่เกิดขึ้น
ด้าน แหล่งข่าวจากชมรมนักธุรกิจขายตรงไทย เปิดเผยว่า เดิมทีชมรมฯเคยได้เคยร่วมมือและแสดงแนวคิดร่วมกันกับสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) ในการเสนอให้เอกชนพ้นจากตำแหน่งบอร์ดหรือคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง แต่ปัจจุบันนี้กลับมีความคิดเห็นในทิศทางตรงกันข้ามและสนับสนุนที่มีบอร์ดจากเอกชนนั่งแท่นเป็นคณะกรรมการ เพราะมองว่าธุรกิจขายตรงยังมีความสับสนในเรื่องของกระบวนการต่างๆ และบางเรื่องยังคลุมเครือและไม่มีทิศทางชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามาจากการที่ภาครัฐได้รับข้อมูลจากภาคเอกชนไม่เพียงพอ และมองว่าหากไม่ให้มีเอกชนดำรงตำแหน่งบอร์ดจะยิ่งทำให้ปัญหาความไม่เข้าใจเนื้องานของในธุรกิจขายตรงเพิ่มมากขึ้น
นางสาวเบญจวรรณ สุขประพฤติ นายกสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) เปิดเผยถึงการจัดงานสัมมนาประชาพิจารณ์ ภายใต้หัวข้อ “โปร่งใสหรือไม่ถ้ายังมีพ่อค้าคนกลางนั่งในบอร์ดขายตรง” เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยได้เชิญตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็น อาทิ นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองนิติการและปฏิบัติราชการ หัวหน้าขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) , นายวิโรจน์ ณ บางช้าง กรรมการพัฒนากฎหมายของสคบ. , นายพิศิษฐ์ แทนทิว ตัวแทนจากคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง และนายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนจากภาคกฎหมาย
โดยความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ร่วมสัมมนาต่างไม่เห็นด้วยที่คณะกรรมการขายตรงที่เป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียกับการตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ประกอบกับการที่พ่อค้าขายตรงเป็นบอร์ดทำให้การบริหารงานมีความไม่น่าเชื่อถือเกิดขึ้น และเกิดความไม่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจขายตรงไทย อาทิ การตัดสินใจบางอย่างของบอร์ดเครือข่ายต่างชาติจะตัดสินใจและกำหนดเพียงฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ได้ดูรูปแบบการทำธุรกิจของขายตรงไทยที่ส่วนมากจะเป็นระบบไบนารีหรือขายตรงแบบ 2 ชั้น
นอกจากนี้ทางสมาคมฯยังได้มีการทำประชาพิจารณ์หัวข้อดังกล่าว โดยให้มีคนในแวดวงธุรกิจขายตรงกว่า 2,000 คนร่วมกรอกแบบสอบถาม ซึ่งขณะนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ทั้งหมดแล้ว คาดว่าภายในอาทิตย์นี้จะทราบและสรุปผลการทำประชาพิจารณ์ได้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการดำเนินงานหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป
ขณะที่นางนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน”ว่า การที่เรา (นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัดและนางนลิณี) เข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงมาจากการคัดเลือกของคณะรัฐมนตรี ซึ่งคัดเลือกจากการที่นายปรีชาเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และกิฟฟารีนเองก็เป็นตัวแทนคนไทยที่ดำเนินธุรกิจขายตรง โดยหน้าที่หลักของเรา คือ ช่วยกันร่างกฎหมายลูกของธุรกิจขายตรง 12 ฉบับ ซึ่งบางเรื่องทางคณะกรรมการยังมีข้อมูลไม่เพียงพอหรือมีข้อข้องใจ ฝ่ายเราก็มีหน้าที่ตอบคำถามและให้ข้อมูลที่ถูกต้องไป โดยที่เรา 2 คนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจอย่างที่เป็นข่าว
อย่างกรณีบริษัท กรีนแพลนเน็ต 108 คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ กระทรวงยุติธรรมจับกุมในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนประธานกรรมการ บริษัทกิฟฟารีน กล่าวว่า เรา 2 คนก็เดินออกจากที่ประชุม โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่อย่างใด ซึ่งมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเรามีอำนาจตัดสินใจ หรือกรณีที่เราเสนอไปว่าผู้จำหน่ายอิสระที่จะไปเสนอขายสินค้าตามบ้าน ควรจะมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง เพื่อที่ประชาชนจะได้เชื่อถือและไม่ถูกหลอกลวง แต่คนอื่นกลับมองว่าเรามีอำนาจในการตัดสินใจ เฉพาะเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจ
ทั้งนี้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมขายตรงในไทยจะดูแลและบริหารโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ. และมีคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นผู้มีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยตำแหน่งคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรงมีวาระ 2 ปีและหมดวาระลงในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะมีการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมชุดใหม่เกิดขึ้น
ด้าน แหล่งข่าวจากชมรมนักธุรกิจขายตรงไทย เปิดเผยว่า เดิมทีชมรมฯเคยได้เคยร่วมมือและแสดงแนวคิดร่วมกันกับสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย (TDIA) ในการเสนอให้เอกชนพ้นจากตำแหน่งบอร์ดหรือคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง แต่ปัจจุบันนี้กลับมีความคิดเห็นในทิศทางตรงกันข้ามและสนับสนุนที่มีบอร์ดจากเอกชนนั่งแท่นเป็นคณะกรรมการ เพราะมองว่าธุรกิจขายตรงยังมีความสับสนในเรื่องของกระบวนการต่างๆ และบางเรื่องยังคลุมเครือและไม่มีทิศทางชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามาจากการที่ภาครัฐได้รับข้อมูลจากภาคเอกชนไม่เพียงพอ และมองว่าหากไม่ให้มีเอกชนดำรงตำแหน่งบอร์ดจะยิ่งทำให้ปัญหาความไม่เข้าใจเนื้องานของในธุรกิจขายตรงเพิ่มมากขึ้น