หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เผยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตือนภัยด้านการเกษตรขึ้นแล้วเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางธรรมชาติ ระบุปัญหาเบื้องต้นของระบบการเตือนภัยด้านการเกษตรอาจยังเห็นผลไม่ชัดเจนนักเนื่องจากยังขาดความคลอบคุมของระบบระหว่างหน่วยงาน คาดจะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายจากทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติด้านต่าง ๆ ต้องใช้งบถึง 100 ล้านบาท
นายภิรมย์ ศรีจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการประชุมสัมมนาระบบเตือนภัยด้านการเกษตรว่า การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมลภาวะ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลให้ความเสียหายเกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น ระบบเตือนภัยด้านการเกษตรจึงถูกกำหนดขึ้นเป็นภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
ทั้งนี้ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเตือนภัยด้านการเกษตรที่แยกเป็น 3 สาขา คือ ภัยธรรมชาติ ภัยด้านโรคระบาด และภัยทางเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีความชัดเจนในปี 2547 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตือนภัยด้านการเกษตรขึ้น โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นประธานและอธิบดีกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ รวมถึงตั้งศูนย์เตือนภัยด้านการเกษตรเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปของข้อมูลเชิงตัวเลขทั้งในรูปแบบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบฐานข้อมูล (MIS) หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย ระดับการเตือนภัยทั้งตามช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นในทุกรอบปี และช่วงเหตุการณ์ผิดปกติและประเมินความเสียหายการแจ้งเตือนภัย แต่ขณะนี้ระบบดังกล่าวยังประสบปัญหาในเรื่องของการรายงานผลมายังส่วนกลางได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ จึงทำให้การเตือนภัยการเกษตรล่วงหน้ายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การจัดประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ร่วมคิด แนะนำแนวทาง การแก้ไขปัญหาร่วมกันก็จะเป็นการทำให้กลไกการรายงานของแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านนายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ส.ศ.ก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปัญหาสำคัญที่ทำให้ระบบการเตือนภัยด้านการเกษตรยังเห็นผลไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังประสบปัญหาในเรื่องของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้แต่ละหน่วยงานในพื้นที่สามารถใช้ระบบการรายงานเข้ามายังส่วนกลางได้อย่างครอบคลุมและมีความรวดเร็ว เพื่อรายงานผลเสนอต่อผู้บริหารรับทราบในการกำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยต่าง ๆ อย่างทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการระบบเตือนภัยแล้วจำนวน 10 ล้านบาท ที่เป็นงบดำเนินการในเบื้องต้น ซึ่งหากจะทำให้ระบบดังกล่าวครอบคลุมในทุกพื้นที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายจากทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติด้านต่าง ๆ ต้องใช้ถึง 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ประชุมและมีมติในการนำโครงการจัดทำระบบเตือนภัยด้านการเกษตรอย่างครบวงจร
เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติงบประมาณดำเนินการ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2548 ระบบนี้จะเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถแจ้งเตือนภัยด้านการเกษตรได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะสามารถลดมูลค่าความเสียหายทางด้านผลผลิตทางการเกษตรของประเทศได้กว่าร้อยละ 50 จากมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ภัยด้านโรคระบาด และภัยทางเศรษฐกิจการเกษตร สร้างความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี เช่น สถานการณ์ภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากกันยายนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้พบว่าพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิงกว่า 8 ล้านไร่ โดยเฉพาะข้าวนาปีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เสียหายค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงถือว่าระบบเตือนภัยด้านการเกษตรสามารถใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างมากที่จะแจ้งเตือนสถานการณ์ภัยต่าง ๆ ล่วงหน้าในการเตรียมแผนรับมือ และป้องกันก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น
นายบัญชา สัตถาสาธุชนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำของแม่น้ำบางปะกงค่อนข้างน่าเป็นห่วงหลายพื้นที่เริ่มเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกหนัก ทำให้พื้นที่การเกษตรและผลผลิตของเกษตรกรได้รับความเสียหาย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำบางปะกงให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนและความต้องการใช้น้ำของเกษตรกร ตลอดจนเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกงระมัดระวังการใช้น้ำ และปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่หน่วยราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็มรุกในช่วงฤดูแล้งนี้
"ปีนี้ปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนบางปะกงค่อนข้างน้อย จึงเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกเข้ามาในแม่น้ำหนัก โดยล่าสุดวัดค่าความเค็มได้สูงถึง 8.95 กรัมต่อลิตร และรุกเข้ามาไกลถึง 120 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้กำชับให้กรมชลประทานทำการตรวจวัดค่าความเค็มของน้ำ และเฝ้าระวังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดแล้ว คาดว่าถ้าประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัดจะสามารถผ่านวิกฤตการณ์นี้ได้" นายบัญชา กล่าว
นายบัญชา กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลักสำคัญ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง พบว่ามีค่าความเค็มอยู่ในภาวะปกติที่ยังควบคุมได้และปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนที่อยู่เหนือแม่น้ำเหล่านั้นยังเพียงพอกับความต้องการใช้ประชาชนในพื้นที่คาดว่าประชาชนและพื้นที่การเกษตรที่ใช้น้ำจากแม่น้ำดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำบางปะกง อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทได้กำชับให้กรมชลประทานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เรื่องแผนการจัดสรรน้ำและความรู้เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัดให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำ และเกษตรกรตามลุ่มน้ำต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
นายภิรมย์ ศรีจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการประชุมสัมมนาระบบเตือนภัยด้านการเกษตรว่า การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมลภาวะ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลให้ความเสียหายเกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น ระบบเตือนภัยด้านการเกษตรจึงถูกกำหนดขึ้นเป็นภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ
ทั้งนี้ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเตือนภัยด้านการเกษตรที่แยกเป็น 3 สาขา คือ ภัยธรรมชาติ ภัยด้านโรคระบาด และภัยทางเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีความชัดเจนในปี 2547 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตือนภัยด้านการเกษตรขึ้น โดยมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นประธานและอธิบดีกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ รวมถึงตั้งศูนย์เตือนภัยด้านการเกษตรเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปของข้อมูลเชิงตัวเลขทั้งในรูปแบบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และระบบฐานข้อมูล (MIS) หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย ระดับการเตือนภัยทั้งตามช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นในทุกรอบปี และช่วงเหตุการณ์ผิดปกติและประเมินความเสียหายการแจ้งเตือนภัย แต่ขณะนี้ระบบดังกล่าวยังประสบปัญหาในเรื่องของการรายงานผลมายังส่วนกลางได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ จึงทำให้การเตือนภัยการเกษตรล่วงหน้ายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การจัดประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ร่วมคิด แนะนำแนวทาง การแก้ไขปัญหาร่วมกันก็จะเป็นการทำให้กลไกการรายงานของแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านนายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ส.ศ.ก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปัญหาสำคัญที่ทำให้ระบบการเตือนภัยด้านการเกษตรยังเห็นผลไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังประสบปัญหาในเรื่องของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้แต่ละหน่วยงานในพื้นที่สามารถใช้ระบบการรายงานเข้ามายังส่วนกลางได้อย่างครอบคลุมและมีความรวดเร็ว เพื่อรายงานผลเสนอต่อผู้บริหารรับทราบในการกำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยต่าง ๆ อย่างทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการระบบเตือนภัยแล้วจำนวน 10 ล้านบาท ที่เป็นงบดำเนินการในเบื้องต้น ซึ่งหากจะทำให้ระบบดังกล่าวครอบคลุมในทุกพื้นที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายจากทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติด้านต่าง ๆ ต้องใช้ถึง 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ประชุมและมีมติในการนำโครงการจัดทำระบบเตือนภัยด้านการเกษตรอย่างครบวงจร
เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติงบประมาณดำเนินการ ซึ่งคาดว่าปลายปี 2548 ระบบนี้จะเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถแจ้งเตือนภัยด้านการเกษตรได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยจะสามารถลดมูลค่าความเสียหายทางด้านผลผลิตทางการเกษตรของประเทศได้กว่าร้อยละ 50 จากมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ภัยด้านโรคระบาด และภัยทางเศรษฐกิจการเกษตร สร้างความเสียหายกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี เช่น สถานการณ์ภัยแล้งที่ต่อเนื่องจากกันยายนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้พบว่าพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิงกว่า 8 ล้านไร่ โดยเฉพาะข้าวนาปีในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เสียหายค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงถือว่าระบบเตือนภัยด้านการเกษตรสามารถใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างมากที่จะแจ้งเตือนสถานการณ์ภัยต่าง ๆ ล่วงหน้าในการเตรียมแผนรับมือ และป้องกันก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น
นายบัญชา สัตถาสาธุชนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำของแม่น้ำบางปะกงค่อนข้างน่าเป็นห่วงหลายพื้นที่เริ่มเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกหนัก ทำให้พื้นที่การเกษตรและผลผลิตของเกษตรกรได้รับความเสียหาย ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำบางปะกงให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนและความต้องการใช้น้ำของเกษตรกร ตลอดจนเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกงระมัดระวังการใช้น้ำ และปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่หน่วยราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็มรุกในช่วงฤดูแล้งนี้
"ปีนี้ปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนบางปะกงค่อนข้างน้อย จึงเกิดปัญหาน้ำเค็มรุกเข้ามาในแม่น้ำหนัก โดยล่าสุดวัดค่าความเค็มได้สูงถึง 8.95 กรัมต่อลิตร และรุกเข้ามาไกลถึง 120 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้กำชับให้กรมชลประทานทำการตรวจวัดค่าความเค็มของน้ำ และเฝ้าระวังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดแล้ว คาดว่าถ้าประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัดจะสามารถผ่านวิกฤตการณ์นี้ได้" นายบัญชา กล่าว
นายบัญชา กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลักสำคัญ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง พบว่ามีค่าความเค็มอยู่ในภาวะปกติที่ยังควบคุมได้และปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนที่อยู่เหนือแม่น้ำเหล่านั้นยังเพียงพอกับความต้องการใช้ประชาชนในพื้นที่คาดว่าประชาชนและพื้นที่การเกษตรที่ใช้น้ำจากแม่น้ำดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำบางปะกง อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาทได้กำชับให้กรมชลประทานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เรื่องแผนการจัดสรรน้ำและความรู้เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัดให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำ และเกษตรกรตามลุ่มน้ำต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้