การใช้น้ำมันสำเร็จรูปของคนไทยปี 47 ขยายตัวต่อเนื่องทุกผลิตภัณฑ์เฉลี่ยรวมร้อยละ 9 โดยความต้องการใช้น้ำมันเตาขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 22 ส่วนน้ำมันเบนซินขยายตัวต่ำสุดเพียงร้อยละ 0.7 เหตุเพราะน้ำมันแพงและผลพวงตรึงราคาดีเซล
นายวิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ในรอบปี 2547 ที่ผ่านมาสถานการณ์ทางด้านพลังงานมีความผันผวนมากเป็นไปตามสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และปัจจัยภายในประเทศในเรื่องของการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และความไม่สงบทางภาคใต้ แต่จากนโยบายและมาตรการทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลส่งผลให้การใช้พลังงานของประเทศยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น ตัวเลขประมาณการทั้งปี คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ที่ระดับ 116.0 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 น้ำมันที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันเตา วันละ 16.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 น้ำมันอากาศยาน วันละ 11.5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 น้ำมันดีเซลวันละ 53.3 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ก๊าซแอลพีจี วันละ 7.1 ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และน้ำมันเบนซิน วันละ 21.0 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
ทางด้านการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ที่ระดับ 131.7 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 8 โดยจะมีการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ระดับ 123.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และน้ำมันสำเร็จรูป 4.7 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ส่วนการส่งออกจะอยู่ที่ระดับ 18.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 แม้ว่าน้ำมันเบนซินจะมีการใช้ชะลอตัวลง แต่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วยังคงมีการใช้เพิ่มขึ้นสูง ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนรถยนต์ จากการใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงมาเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วแทน จึงขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงาน และเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล เพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ เพราะไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าเป็นมูลค่าเกือบ 500,000 ล้านบาท
สำหรับตัวเลขอย่างเป็นทางการ 11 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2547 ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ระดับ 115.6 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นการใช้เพิ่มขึ้นทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันก๊าด น้ำมันที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เนื่องจากมีการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในผลิตกระแสไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติ ที่มีข้อจำกัดเรื่องท่อส่ง น้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เป็นการใช้เพิ่มขึ้นในธุรกิจการท่องเที่ยว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในภาคการคมนาคมขนส่ง ส่วนน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง เพราะรัฐบาลได้ปล่อยราคาลอยตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม ประกอบกับมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานได้กำหนดให้สถานีบริการปิดเปิดการจำหน่ายตามเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาตลอด โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาการใช้ลดลงถึงร้อยละ 7 สำหรับก๊าซแอลพีจีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เช่นเดียวกัน เพราะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชะลอตัวลง
ทางด้านการนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นปริมาณ 137.5 ล้านลิตรต่อวัน มูลค่า 439, 060 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13 และ 40 ตามลำดับ และน้ำมันสำเร็จรูป 5.1 ล้านลิตรต่อวัน มูลค่า 5,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 96 และ 104 ตามลำดับ การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการนำน้ำมันดิบเข้าขบวนการกลั่นเพื่อผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น โดยโรงกลั่นมีการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปปริมาณ 131.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9
ส่วนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีการนำเข้าทดแทนน้ำมันที่ขาดหายไปจากการที่โรงกลั่นหลายแห่งปิดซ่อมบำรุง และการนำเข้าน้ำมันเตาในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงฤดูร้อน สำหรับการส่งออกมีปริมาณ 18.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกของน้ำมันเบนซินและก๊าซแอลพีจี
นายวิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ในรอบปี 2547 ที่ผ่านมาสถานการณ์ทางด้านพลังงานมีความผันผวนมากเป็นไปตามสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และปัจจัยภายในประเทศในเรื่องของการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และความไม่สงบทางภาคใต้ แต่จากนโยบายและมาตรการทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลส่งผลให้การใช้พลังงานของประเทศยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น ตัวเลขประมาณการทั้งปี คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ที่ระดับ 116.0 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 น้ำมันที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันเตา วันละ 16.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 น้ำมันอากาศยาน วันละ 11.5 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 น้ำมันดีเซลวันละ 53.3 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ก๊าซแอลพีจี วันละ 7.1 ล้านกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และน้ำมันเบนซิน วันละ 21.0 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7
ทางด้านการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปจะอยู่ที่ระดับ 131.7 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 8 โดยจะมีการนำเข้าน้ำมันดิบอยู่ที่ระดับ 123.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และน้ำมันสำเร็จรูป 4.7 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ส่วนการส่งออกจะอยู่ที่ระดับ 18.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 แม้ว่าน้ำมันเบนซินจะมีการใช้ชะลอตัวลง แต่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วยังคงมีการใช้เพิ่มขึ้นสูง ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนรถยนต์ จากการใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงมาเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วแทน จึงขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดพลังงาน และเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล เพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ เพราะไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าเป็นมูลค่าเกือบ 500,000 ล้านบาท
สำหรับตัวเลขอย่างเป็นทางการ 11 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2547 ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ระดับ 115.6 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นการใช้เพิ่มขึ้นทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันก๊าด น้ำมันที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เนื่องจากมีการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในผลิตกระแสไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติ ที่มีข้อจำกัดเรื่องท่อส่ง น้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เป็นการใช้เพิ่มขึ้นในธุรกิจการท่องเที่ยว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในภาคการคมนาคมขนส่ง ส่วนน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง เพราะรัฐบาลได้ปล่อยราคาลอยตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม ประกอบกับมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานได้กำหนดให้สถานีบริการปิดเปิดการจำหน่ายตามเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้การใช้น้ำมันเบนซินลดลงมาตลอด โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาการใช้ลดลงถึงร้อยละ 7 สำหรับก๊าซแอลพีจีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เช่นเดียวกัน เพราะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชะลอตัวลง
ทางด้านการนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นปริมาณ 137.5 ล้านลิตรต่อวัน มูลค่า 439, 060 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13 และ 40 ตามลำดับ และน้ำมันสำเร็จรูป 5.1 ล้านลิตรต่อวัน มูลค่า 5,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 96 และ 104 ตามลำดับ การนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการนำน้ำมันดิบเข้าขบวนการกลั่นเพื่อผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น โดยโรงกลั่นมีการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปปริมาณ 131.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9
ส่วนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีการนำเข้าทดแทนน้ำมันที่ขาดหายไปจากการที่โรงกลั่นหลายแห่งปิดซ่อมบำรุง และการนำเข้าน้ำมันเตาในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงฤดูร้อน สำหรับการส่งออกมีปริมาณ 18.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกของน้ำมันเบนซินและก๊าซแอลพีจี