กรมวิชาการเกษตรเตรียมทำยุทธศาสตร์ข้าวเร่งพัฒนาระบบการจัดโซนนิ่งโดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้ดีและสามารถต้านทานโรคได้ พร้อมกันนี้ยังจะส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวและได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งในการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 กรมวิชาการเกษตรได้รับงบประมาณเพื่อการศึกษาวิจัยจำนวน 200 ล้านบาท จึงได้นำงบประมาณที่ได้รับบางส่วนไปทำการวิจัยเพื่อหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณลักษณะที่ดีและเหมาะสมในการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ โดยกรมวิชาการเกษตรจะเน้นให้พันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกต้องมีความต้านทานโรคหรือศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น เพลี้ยกระโดด ราสนิม เนื่องจากโรคและศัตรูพืชดังกล่าวมักสร้างความเสียหายให้กับข้าวของเกษตรกรเป็นประจำทุกปี ทำให้ผลผลิตข้าวไม่เป็นตามเป้าหมาย จำหน่ายได้ในราคาต่ำ ไม่คุ้มทุน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริมให้มีการใช้พันธุ์ข้าวที่ดีและต้านทานโรคแล้ว ระหว่างปีงบประมาณ 2548-2549 กรมวิชาการเกษตรยังมีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรทราบถึงผลกระทบของการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกทั้งต่อเกษตรกรและสภาพแวดล้อม และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในขั้นตอนการปลูกข้าวมากขึ้น โดยการลด ละ และเลิกการใช้สารเคมีจนถึงขั้นการเปลี่ยนเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม กรมไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จเพียงหน่วยงานเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโครงการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยกรมจะขึ้นทะเบียนนาข้าวที่ใช้วิธีเกษตรกรรมอินทรีย์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสะดวกต่อการเข้าไปสนับสนุนทั้งด้านปัจจัยการผลิต การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
นายฉกรรจ์ กล่าวอีกว่า แต่ละปีจะมีผลผลิตข้าวออกมาเป็นจำนวนมาก จนบางครั้งผลผลิตก็ล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ แต่หากคิดผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อรอบการผลิตแล้ว พบว่าผลผลิตยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ยังปลูกข้าวนอกพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ปลูกข้าวในพื้นที่ประสบปัญหาแห้งแล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน พื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ กรมวิชาการเกษตรจึงร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดทำโซนนิ่ง เพื่อให้เกษตรกรปลูกข้าวเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพราะจะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงตามเป้าหมาย ลดต้นทุนการผลิต จำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสมถือเป็นการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน
“ที่ผ่านมายอมรับว่าการจัดทำโซนนิ่งไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากหน่วยงานแต่ละหน่วยงานต่างทำงานต่อไปนี้ทุกหน่วยงานต้องหันกลับมาร่วมมือกันเพื่อจัดทำโซนนิ่งประสบความสำเร็จ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายฉกรรจ์ กล่าว
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวและได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งในการศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2548 กรมวิชาการเกษตรได้รับงบประมาณเพื่อการศึกษาวิจัยจำนวน 200 ล้านบาท จึงได้นำงบประมาณที่ได้รับบางส่วนไปทำการวิจัยเพื่อหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณลักษณะที่ดีและเหมาะสมในการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ โดยกรมวิชาการเกษตรจะเน้นให้พันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกต้องมีความต้านทานโรคหรือศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น เพลี้ยกระโดด ราสนิม เนื่องจากโรคและศัตรูพืชดังกล่าวมักสร้างความเสียหายให้กับข้าวของเกษตรกรเป็นประจำทุกปี ทำให้ผลผลิตข้าวไม่เป็นตามเป้าหมาย จำหน่ายได้ในราคาต่ำ ไม่คุ้มทุน
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากการส่งเสริมให้มีการใช้พันธุ์ข้าวที่ดีและต้านทานโรคแล้ว ระหว่างปีงบประมาณ 2548-2549 กรมวิชาการเกษตรยังมีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรทราบถึงผลกระทบของการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกทั้งต่อเกษตรกรและสภาพแวดล้อม และส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในขั้นตอนการปลูกข้าวมากขึ้น โดยการลด ละ และเลิกการใช้สารเคมีจนถึงขั้นการเปลี่ยนเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตาม กรมไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จเพียงหน่วยงานเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโครงการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยกรมจะขึ้นทะเบียนนาข้าวที่ใช้วิธีเกษตรกรรมอินทรีย์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสะดวกต่อการเข้าไปสนับสนุนทั้งด้านปัจจัยการผลิต การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
นายฉกรรจ์ กล่าวอีกว่า แต่ละปีจะมีผลผลิตข้าวออกมาเป็นจำนวนมาก จนบางครั้งผลผลิตก็ล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ แต่หากคิดผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อรอบการผลิตแล้ว พบว่าผลผลิตยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ยังปลูกข้าวนอกพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น ปลูกข้าวในพื้นที่ประสบปัญหาแห้งแล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน พื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ กรมวิชาการเกษตรจึงร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดทำโซนนิ่ง เพื่อให้เกษตรกรปลูกข้าวเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพราะจะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงตามเป้าหมาย ลดต้นทุนการผลิต จำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสมถือเป็นการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน
“ที่ผ่านมายอมรับว่าการจัดทำโซนนิ่งไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากหน่วยงานแต่ละหน่วยงานต่างทำงานต่อไปนี้ทุกหน่วยงานต้องหันกลับมาร่วมมือกันเพื่อจัดทำโซนนิ่งประสบความสำเร็จ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายฉกรรจ์ กล่าว