ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าจับตามอง นอกจากจะเป็นพืชน้ำมันที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน เนยเทียม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
อนาคต ปาล์มน้ำมันยังจะมีบทบาทสำคัญใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งคาดว่าจะเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันอนาคต ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญ
การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะส่งเสริมเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ และเพียงพอกับการผลิตไบโอดีเซล โดยส่งเสริมปลูกปาล์มพันธุ์ดีแทนที่สวนยางเก่า และต้นปาล์มอายุมาก รวมทั้งที่นารกร้าง
ยังจะเน้นส่งเสริมใช้เทคโนโลยีผลิต และเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวความต้องการ ผลผลิตปาล์มน้ำมันใช้เป็นพลังงานทดแทนอนาคต
การผลิตปาล์มน้ำมันในตลาดโลก
ปัจจุบัน ประเทศปลูกปาล์มน้ำมัน 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างจากพืชน้ำมันประเภทอื่นๆที่ปลูกกันกว้างขวางทั่วโลก เนื่องจากพื้นที่ปลูกเหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน จะอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 10 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร หรืออย่างสูงไม่เกิน 20 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร
การผลิตปาล์มน้ำมันขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันหลักของโลก คือมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 21.1 ล้านไร่และ 15 ล้านไร่ตามลำดับ คิดเป็น 31.3% และ 22.2% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันรวมของโลก
ส่วนประเทศไทย ยังมีปริมาณการผลิตน้อยมาก พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 1.4 ล้านไร่ หรือ 0.02% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจ คือการเพิ่มผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันของไทยเฉลี่ยต่อไร่ช่วงปี 2530-2545 เพิ่มสูงกว่าประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของไทย น่าจะมีโอกาสสูงขึ้นอีก จนใกล้เคียงมาเลเซียช่วง 3-6 ปีข้างหน้า
กลุ่มพืชให้น้ำมันที่สำคัญในตลาดโลก มี 4 พืช คือ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง เรปซีดและทานตะวัน เมื่อเทียบราคาต้นทุนผลิต ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น มีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบภัยธรรมชาติน้อย เมื่อเทียบพืชอายุสั้นอื่นๆ
ลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 20 ปี นอกจากนี้ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้นตาม
ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำผลผลิตต่อพื้นที่สูง ราคาซื้อขายในตลาดไม่สูง เสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อย สามารถผลิตปริมาณมาก เพื่อรองรับความต้องการการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้
พื้นที่ปลูกได้ในโลกนี้มีจำกัด ไทยอยู่จุดได้เปรียบ ปลูกได้ดี ประกอบกับน้ำมันปาล์ม ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอี และวิตามินเอ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ สามารถสกัด และใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมใช้โอเลฟินเป็นวัตถุดิบ และอื่นๆ ซึ่งเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย
ผลผลิตเพิ่ม…ตามยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูก
ปีนี้ เนื้อที่ให้ผลปาล์มน้ำมัน 1.869 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3.9% เพิ่มขึ้น 69,358 ไร่ ผลผลิตประมาณ 5.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 371,987 ตัน เพิ่มขึ้น 7.6% ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อกำลังผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องปัจจุบัน ที่มีความต้องการน้ำมันปาล์มประมาณ 10.81 ล้านตันต่อปี
เนื้อที่ปาล์มน้ำมันแยกรายภาค
ประเทศ/ภาคเนื้อที่ให้ผล (ไร่)ผลผลิต (ตัน)
25462547%เพิ่ม/ลด25462547%เพิ่ม/ลด
รวมทั้งประเทศ1,799,1501,868,5083.94,903,3835,275,3707.6
ภาคกลาง122,385128,0144.6298,803308,3693.2
ภาคใต้1,676,7651,740,4943.8460,4584,967,0017.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตั้งแต่ปี 2542 รัฐบาลส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูก และสนับสนุนปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเพื่อทดแทนต้นปาล์มพันธุ์ไม่ดีอายุมากกว่า 20 ปี ประกอบกับราคาผลปาล์มน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง จูงใจเกษตรกรดูแลรักษา
ส่งผลภาพรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบัน รัฐบาลมียุทธศาสตร์อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันปี 2547–2572 เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันปาล์มเคียงคู่ผู้นำระดับโลก อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย
รวมทั้งนโยบายกำหนดให้ปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศ ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ปี 2572 โดยจะปลูกเพิ่มปีละ 400,000 ไร่ แบ่งเวลาดำเนินการเป็น 5 ระยะๆ ละ 5 ปี
ช่วง 5 ปีแรก ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั่วประเทศจาก 2.04 ล้านไร่ปีนี้ เป็น 3.67 ล้านไร่ ปี 2552 คาดผลปาล์มสดเพิ่มเป็น 6.54 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 1.18 ล้านตัน
โดยจะส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเขตนาร้าง 0.888 ล้านไร่ ไร่ร้าง 0.156 ล้านตัน และปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพาราเขตไม่เหมาะสมปลูกยางพารา 0.462 ล้านไร่ จะเร่งรัดพัฒนาสวนปาล์มน้ำมันเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนเกิดอุตสาหกรรมจากการแปรรูปอย่างง่าย เป็นการแปรรูปมูลค่าสูง
โดยเฉพาะการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อทดแทนพลังงานราคาแพงขณะนี้ นอกจากนี้ ตั้งคณะกรรมการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มครบวงจร รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ ตั้งเมืองปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดนโยบายส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันทั่วประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัย หรือทดสอบว่า จะปลูกปาล์มน้ำมันได้หรือไม่ ยกเว้นจังหวัดภาคใต้ และภาคตะวันออก
กรมวิชาการเกษตรศึกษาทดสอบแล้วว่า ปลูกปาล์มน้ำมันได้เหมาะสม ทั้งพื้นที่ ลักษณะดิน และปริมาณน้ำฝนเพียงพอ หากจะขยายการปลูกปาล์มน้ำมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ภาคตะวันตก และเหนือ
จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องศึกษาวิจัยความเหมาะสมพื้นที่สภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะความเพียงพอปริมาณน้ำฝน ปาล์มน้ำมันเหมากับการปลูกเขตฝนตกชุก หากปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีช่วงแล้งยาวนาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อสภาพต้นปาล์มโตช้า และให้ผลผลิตต่ำ
เคยศึกษาปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปว่า การปลูกปาล์มน้ำมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะให้น้ำมันปาล์มเพียง 10-12% ต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราต่ำ เมื่อเทียบกับการปลูกในภาคใต้และตะวันออก ที่ให้น้ำมันประมาณ 19-20% ต่อกิโลกรัม เท่ากับความคุ้มทุนต่างกันมาก
หากปลูกมาก จะมีปัญหาล้นตลาดได้ รวมทั้งหากสนับสนุนให้ปลูกกันมากพื้นที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้จากพื้นที่เหล่านี้ ต้นทุนสูงขึ้นอีก
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์ม…หลากอุตสาหกรรมรองรับ
เมื่อได้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันเกษตรกรส่งเข้าโรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ หลังจากนั้น โรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบส่งต่อโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านบริโภคและอุปโภค
อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากปาล์มน้ำมัน จำแนกได้ 8 ประเภท คือ อุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคในรูปน้ำมันพืช 58.6% ของปริมาณน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ทั้งหมด น้ำมันปาล์ม ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันพืชในไทย 66%
รองลงมา เป็นส่วนแบ่งตลาดน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว และอื่นๆ 17% 5% และ 12% ตามลำดับ อุตสาหกรรมสบู่ (10.1%) อุตสาหกรรมของว่างและขนมขบเคี้ยว (9.4%) อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (6.4%)
อุตสาหกรรมนมข้นหวานและนมจืด (4.8%) อุตสาหกรรมครีมเทียม (1.4%) อุตสาหกรรมเนยขาวและเนยเทียม (1%) และอุตสาหกรรมอุปโภคอื่นๆ เช่น พลาสติก เครื่องสำอาง น้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ เป็นต้น (8.3%)
ปัจจุบัน ไทยผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณปีละ 700,000-800,000 ตัน การบริโภคส่วนใหญ่ เป็นน้ำมันพืช ที่เหลือ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การบริโภคในประเทศ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ต่อปี ขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้น ไม่เป็นไปตามสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบได้อนาคต แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ยังไม่สามารถใช้ได้กว้างขวาง และหลากหลาย
สถานภาพผลิตปาล์มน้ำมันของไทย ยังไม่เพียงพอความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้ต้องพึ่งการนำเข้า ภายใต้การอนุมัติเป็นครั้งคราว ซึ่งรัฐบาลกำหนดข้อจำกัดปริมาณและระยะเวลานำเข้าแต่ละปี รวมทั้งการนำเข้าภายใต้โควตาเปิดตลาด ตามพันธะผูกพันองค์การการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความต้องการน้ำมันปาล์มส่วนเกินแต่ละปี ถูกชดเชยจากการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย โดยเฉพาะช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศมีส่วนต่างราคาน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูง
ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศผันผวน นอกจากนี้ ระยะหลัง ผู้ค้าน้ำมันปาล์มบางราย อาศัยการควบคุมไม่เข้มงวด ลักลอบนำน้ำมันปาล์มบางส่วน ที่นำเข้าเพื่อส่งออกขายในประเทศ จากเดิม ที่การนำเข้าเพื่อส่งออกประเทศที่ 3 เช่น จีน พม่า อินเดีย เป็นต้น
ปัจจัย 2 ประการเกื้อหนุนราคาน้ำมันปาล์มกลั่นสำเร็จรูปในมาเลเซียราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มกลั่นในไทยค่อนข้างมาก และกฎระเบียบต่างๆ เปิดโอกาสหาประโยชน์จากส่วนนี้ได้ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ปล่อยให้ผู้ค้าบางรายใช้เขตส่งเสริมการส่งออกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม นำเข้าน้ำมันปาล์มเข้ามาขายในประเทศแข่งกับโรงกลั่นน้ำมันปาล์มในประเทศ เป็นต้น
เป็นช่องทางทำให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นผิดปกติ โดยเฉพาะปี 2546 ซึ่งส่งผลกระทบอุตสาหกรรมปาล์มในประเทศ กระเทือนเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
การแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์เรียกประชุมส่วนราชการและเอกชน กำหนดว่าตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์ม ต้องรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในประเทศด้วย เป็นการแก้ปัญหาตรงจุด จะช่วยบรรเทาปัญหาความผันผวนราคาปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ในประเทศ
การแปรรูปน้ำมันปาล์ม การใช้ประโยชน์เนื้อไม้จากต้นปาล์ม และวัสดุพลอยได้อื่นๆ ในไทย ยังมีการวิจัยและพัฒนาน้อยมาก ซึ่งเท่ากับความสามารถการแข่งขันของไทย ด้านแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่า ยังต่ำ เมื่อเทียบกับมาเลเซีย
หากไทยแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญ ผลักดันขีดความสามารถการแข่งขันของไทย ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่โดดเด่น เนื่องจากปัจจุบัน ใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มในประเทศมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันประเภทอื่นๆ
รวมทั้งยังเป็นพืชน้ำมันที่สร้างรายได้ส่งออกสูงสุดในบรรดาพืชน้ำมันทั้งหมด อย่างไรก็ตาม น้ำมันปาล์มสกัดจากเมล็ดใน ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ในประเทศ ทั้งๆ ที่เป็นน้ำมันคุณภาพเหมาะสำหรับแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำมันมะพร้าว
ดังนั้น ไทยควรพัฒนาการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มสกัดจากเมล็ดใน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์แทนการส่งออก
ไบโอดีเซล…พลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์ม
ไบโอดีเซล ได้จากการเอาน้ำมันพืช ผสมกับแอลกอฮอล์ การทดลองใช้ไบโอดีเซล ศึกษามานานแล้ว หลายประเทศ ผลิตเป็นการค้าแล้ว เช่น ประเทศแถบยุโรปและแคนาดา จะใช้น้ำมันจากเรปซีด (rapeseed) สหรัฐฯ ใช้จากถั่วเหลือง มาเลเซีย นำน้ำมันปาล์มดิบผลิตเป็นไบโอดีเซล ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ เป็นต้น
การนำน้ำมันปาล์ม ผสมกับน้ำมันดีเซลสัดส่วนเหมาะสม ที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้ลดการใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว ประมาณการความต้องการไบโอดีเซลทั่วโลก แนวโน้มเพิ่มจาก 1 ล้านตันปี 2545 เป็น 18 ล้านตันปี 2563 กระทรวงพลังงานของไทย ตั้งเป้าหมายปริมาณผลิตไบโอดีเซล 176 ล้านลิตรปี 2549 และ 722 ล้านลิตรปี 2554
กระบวนการนำน้ำมันปาล์มทำไบโอดีเซล ไม่สลับซับซ้อน เพราะใช้ได้ทั้งน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ โดยเฉพาะการใช้น้ำมันปาล์มดิบ เพียงแค่เติมสารปรุงแต่ง ตามหลักการทางเคมี ก็จะได้ไบโอดีเซลประมาณ 78-80% ซึ่งใช้เป็นน้ำมันดีเซล หรือผสมน้ำมันดีเซล ใช้กับรถยนต์ หรือเครื่องจักรกลต่างๆ ได้อีก 20% จะได้กรีเซอรัล (Glyceral) ใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีก เช่น อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น
ปัจจุบัน ในประเทศ มีโรงงานต้นแบบไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน 2 แห่ง ดังนี้
1. โรงงานต้นแบบของกองทัพเรือ ซึ่งวางแผนอนาคตจะวิจัย ผลิต และใช้ไบโอดีเซลครบวงจร โครงการวิจัยและพัฒนาใช้ก๊าซเอ็นจีวีกับเครื่องยนต์ดีเซลฯ ของกองทัพเรือ ใช้วัตถุดิบน้ำมันปาล์มเถื่อน ที่กรมศุลกากรยึดได้ ซึ่งมีกำลังผลิต 2 พันลิตร/วัน
อนาคต เป้าหมายจะพัฒนาเทคโนโลยีผลิตสูงขึ้น ระดับ Value chain ครบวงจร เช่น การใช้กรีเซอรัล (Glyceral) คือผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซล ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
ระยะยาว กองทัพเรือจะเริ่มปลูกปาล์มตามพื้นที่ฐานทัพริมทะเลต่างๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบ พร้อมทั้งจะนำโครงการนี้ สาธิตเทคโนโลยีให้ประชาชน และ สหกรณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. บริษัท ราชา-ไบโอดีเซล จำกัด สุราษฏร์ธานี เป็นของเอกชนที่ต้องการเป็นผู้บุกเบิก โรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ตั้งแต่ปี 2544 ช่วงวัตถุดิบอย่างมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ราคาถูก
โดยกองทัพเรือสนับสนุนด้านเทคนิค ความรู้ แต่เวลานี้ ปัญหาวัตถุดิบราคาสูง แต่บริษัทจะยังคงผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่อไป เพราะต้องการเป็นบริษัทต้นแบบแห่งแรก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนของประเทศ
รับซื้อน้ำมันใช้แล้ววันละ 20 ตัน ตกกิโลกรัมละ 12–13 บาท ผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ 20,000 ลิตร/วัน เมื่อผ่านกระบวนการผลิต แล้วจะตกอยู่ที่ราคา 20–25 บาท/ลิตร ใช้กับเรือข้ามฟาก 11 ลำ ผสมสัดส่วน 50–100%
แต่ไม่ได้ขายเชิงพาณิชย์ เพราะต้นทุนผลิตยังสูง หากอนาคต รัฐบาลสนับสนุนเหมือนญี่ปุ่น ที่บังคับให้ประชาชนต้องเก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วคืนให้โรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โอกาสธุรกิจก็จะมากขึ้น
การกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายใช้ไบโอดีเซล 3% ของการใช้น้ำมันดีเซลทั้งหมดปี 2554 หรือวันละ 2.4 ล้านลิตร
กลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้ใช้ไบโอดีเซล 2% ของปริมาณใช้น้ำมันดีเซล กลุ่มเป้าหมายแรก คือกลุ่มรถบรรทุก กำหนดให้ผสมไบโอดีเซล 2% คิดเป็นปริมาณน้ำมันปาล์มประมาณวันละ 1.6 ล้านลิตร โดยจะบังคับใช้พื้นที่เฉพาะปี 2549-2553 ปี 2554 เป็นต้นไป จะบังคับใช้ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญอีกประการผลิตไบโอดีเซลเวลานี้ คือวัตถุดิบ ถ้าจะใช้น้ำมันไบโอดีเซลทั้งระบบ ต้องใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันถึง 7 ล้านไร่ จากที่มีอยู่ปัจจุบันประมาณ 2 ล้านไร่ ดังนั้น กลยุทธ์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ผลักดันโครงการไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน
ต้นทุนผลิตสูงและการเปิดเขตการค้าเสรี…ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
แม้แนวโน้มอนาคตของปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สดใส เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายประเภทรองรับ ทั้งการบริโภเป็นน้ำมันพืช และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท
รวมทั้งความต้องการธุรกิจไบโอดีเซล เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ทำให้ไทยกำหนดยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับการขยายความต้องการน้ำมันปาล์ม แต่ปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอนาคต ดังนี้
1. ต้นทุนผลิตสูงเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน ไทยยังเสียเปรียบต้นทุนผลิตสูงกว่า กล่าวคือ ต้นทุนผลิตปาล์มน้ำมัน ต่ำราว 0.80-1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนผลิตของไทยสูงถึง 1.85-1.92 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจาก
- ผลผลิตปาล์มน้ำมันไทยที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด เกิดจากการขยายพื้นที่ปลูก ไม่ได้เกิดจากการพัฒนาประสิทธิภาพผลิต ด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เนื่องจากเกือบครึ่งของปาล์มน้ำมันที่ปลูกทั่วประเทศ เป็นสายพันธุ์ปาล์มคุณภาพต่ำ
ทั้งผลผลิตต่อไร่ และสัดส่วนให้น้ำมันเฉลี่ยเพียง 15-17% เทียบกับมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต และมีแผนพัฒนาปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพารา
มีการลงทุนปลูกสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ และมีโรงสกัดน้ำมันบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นการลงทุนครบวงจร รวมทั้งขยายการลงทุนไปอินโดนีเซียอีกด้วย ทำให้มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่ที่สุดของโลก
ข้อได้เปรียบอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมาเลเซีย เริ่มตั้งแต่สภาพอากาศเหมาะสม ปริมาณน้ำฝนเพียงพอช่วงที่ปาล์มต้องการ โดยเฉพาะช่วงออกผลปาล์มที่ปลูกเป็น "พันธุ์แท้" ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยเกือบ 2 เท่า ผลปาล์ม เปอร์เซ็นต์ให้น้ำมันสูงทุกช่วงอายุ และวางแผนผลิตเต็มรูปแบบตั้งแต่ต้น โดยโค่นต้นปาล์มทิ้งเมื่ออายุก่อนถึง 20 ปี และปลูกทดแทนต่อเนื่อง
ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ลงทุนผลิตครบวงจร ตั้งแต่สวนปาล์มน้ำมัน จนถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในบริษัท/กลุ่มบริษัทเดียวกัน จึงสามารถวางแผนผลิต และควบคุมต้นทุนผลิตได้มีประสิทธิภาพ
การที่สวนปาล์มมาเลเซีย ผลผลิตต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์ให้น้ำมันสูง ทำให้ต้นทุนผลิตปาล์มน้ำมัน ต่ำราว 0.80-1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนผลิตของไทยสูงถึง 1.85-1.92 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น นอกจากมาเลเซียจะเป็นยักษ์ใหญ่ผลิตน้ำมันปาล์มโลก ยังได้เปรียบในแข่งขันด้านราคา จากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
- แม้ต้นทุนผลิตน้ำมันปาล์มดิบไทยปัจจุบัน ใกล้เคียงกับมาเลเซีย คือ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม และ 10.80 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ แต่ต้นทุนน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ของไทยยังสูงกว่า
เพราะการผลิตของไทย เพื่อบริโภคโดยตรงส่วนใหญ่ ทำให้ต้องผลิตน้ำมันปาล์มคุณภาพสูง เนื่องจากต้องแข่งขันกับน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดน้ำมันพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน กล่าวคือ น้ำมันปาล์มไทย ต้องแยกไขมากกว่าน้ำมันปาล์มที่ผลิตในมาเลเซีย
ทำให้น้ำมันปาล์มมาเลเซียสีเข้ม และไขปนมากกว่าของไทย แต่เกรดน้ำมันต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อได้เปรียบของมาเลเซีย คือมีตลาดผลิตภัณฑ์ใช้ไขมันพิเศษ (Specialty Fat) และโอเลโอเคมีคอล (Oleochemical)
ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มในมาเลเซีย มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าผู้ผลิตน้ำมันปาล์มไทย อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบมาเลเซีย คือราคาน้ำมันดีเซลมาเลเซียอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่คุ้มจะนำผลิตไบโอดีเซล
แต่กรณีของไทย การนำน้ำมันปาล์มผลิตไบโอดีเซล คุ้มกว่าแยกไขจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ การส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลจากผลพลอยได้น้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันสเตียริน กรดไขมันปาล์ม เป็นต้น จะทำให้ต้นทุนผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย ใกล้เคียงกับมาเลเซียมากขึ้นระยะยาว
การผลิตไบโอดีเซล จะช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล เนื่องจากไบโอดีเซล เป็นอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลขั้นพื้นฐาน (Basic Oleochemical) และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ จากโอเลโอเคมีคอล ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น ยา และเครื่องสำอาง
2. ผลกระทบเปิดเขตการค้าเสรี เนื่องจากปัจจุบัน ไทยผลิตปาล์มน้ำมันได้ในระดับเพียงพอกับการใช้ในประเทศเท่านั้น บางปี ยังต้องพึ่งการนำเข้า บางปี ก็ส่งออก แต่เป็นปริมาณน้อยมาก
ดังนั้น อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทย อยู่ในลักษณะตั้งรับ เพื่อปรับตัวให้สามรถแข่งขันด้านต้นทุนผลิต ทั้งจากน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง กล่าวคือ การเปิดเขตการค้าเสรีกรณีอาฟต้า ทำให้ผู้ที่เกี่ยวกับกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ รับผลกระทบอย่างมาก
ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ นอกจากนี้ อนาคต การเปิดเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการผลิตปาล์มน้ำมัน เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเมล็ด และน้ำมันถั่วเหลือง ที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ผลิตได้มากที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบการผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ปัจจุบัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย แต่ยังต่ำกว่ามาเลเซีย การเพิ่มประสิทธิภาพแปรรูปน้ำมันปาล์มและวัสดุพลอยได้อื่นๆ จากปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ยังเป็นจุดอ่อนสำคัญของไทย เนื่องจากไทยไม่มีการแปรรูปน้ำมันปาล์มแยกระหว่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม ทำให้การใช้ประโยชน์น้ำมันปาล์มไทย ยังไม่กว้าง และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่ามาเลเซีย
ผลประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ยังอยู่ในระดับได้เปรียบเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เนื่องจากทั้งราคาน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซีย
แต่ระยะยาว การที่ราคาผลปาล์มดิบที่เกษตรกรขายได้ของไทยแนวโน้มลดต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทย เสียเปรียบเกษตรกรมาเลเซียอย่างมาก จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบไทย ต้องปรับตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เพื่อลดส่วนต่างระหว่างราคาทะลายปาล์มสด ราคาน้ำมันปาล์มดิบ และราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ให้อยู่ในระดับที่ทุกขั้นตอนผลิต สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย
ศักยภาพอนาคต…ฝากความหวังกับยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่ยังคงแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคโดยตรงในรูปน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ และโอกาสใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ
อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบเพื่อทดแทนไขมันจากสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงปริมาณคลอเรสเตอรอล ทดแทนการใช้น้ำมันพืชราคาแพง และใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ น้ำมันปาล์ม ได้เปรียบน้ำมันพืชประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นน้ำมันพืชที่ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด
อุตสาหกรรมที่มีโอกาสและศักยภาพ คืออุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมนมแปลงไขมัน ผลิตเนยโกโก้เทียม น้ำมันสำหรับฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว คุกกี้และบิสกิต ไขเทียม และน้ำมันสำหรับผลิตเนยเทียมและเนยขาว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ทั้งภาครัฐบาลและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มต้องเร่งแก้ไข คือ
1. พัฒนาเพื่อยกระดับเปอร์เซนต์สกัดน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากปกติ การสกัดน้ำมันปาล์มดิบของไทย จะอยู่ในระดับ 14-16% ขณะที่มาเลเซีย สกัดน้ำมันปาล์มดิบ 17-19% การยกระดับสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ต้องเริ่มตั้งแต่เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพผลิต โดยเฉพาะพันธุ์ และเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว ส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพสกัดน้ำมันของโรงงาน
2. การจัดรวบรวม และทำฐานข้อมูลปริมาณผลิต ส่งออก นำเข้า และราคาผลิตภัณฑ์หลัก เป็นระบบ และจำแนกผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับมาเลเซีย ข้อมูลเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการวางแผนกำหนดนโยบายปาล์มน้ำมันของไทย
เนื่องจากปัจจุบัน ไทยยังขาดข้อมูลพื้นฐานปาล์มน้ำมัน เช่น ข้อมูลน้ำมันปาล์มดิบ ไม่สามารถทราบได้ว่า เป็นน้ำมันปาล์มดิบสกัดจากเนื้อปาล์มชั้นนอก (หีบแยก) หรือสกัดจากผลปาล์มรวมกัน (หีบรวม)
ส่วนข้อมูลที่ระบุว่าเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ควรแยกประเภทน้ำมันเช่นเดียวกับมาเลเซีย โดยแยกเป็น RBD Plam Olein, RBD Plam Stearin, PFAD (Plam Fatty Acid Destillate) และเก็บข้อมูลราคาแยกเช่นกัน
น้ำมันแต่ละประเภท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องแยกประเภทกัน การแยกข้อมูลน้ำมันปาล์มแต่ละประเภทชัดเจน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยได้อีกมาก
ข้อมูลที่สำคัญเช่นกัน คือข้อมูลต้นทุนผลิต ตั้งแต่ระดับผลิตปาล์มน้ำมัน สกัดน้ำมันปาล์ม และกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ข้อมูลเหล่านี้ สำคัญมากต่อการกำหนดนโยบายพัฒนาปาล์มน้ำมันไทย ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลถูกต้องและทันเหตุการณ์ จำเป็นอย่างยิ่งในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบของไทย
สรุป
ปาล์มน้ำมัน จัดเป็นพืชน้ำมันอนาคตสดใส และแนวโน้มขยายตัวความต้องการอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดดเด่น เทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากการขยายตัวอุตสาหกรรมที่ต้องการปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ
ทั้งน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ วางยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เป็นการขยายอุตสาหกรรมรองรับปาล์มน้ำมัน ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้น จากน้ำมันปาล์มนำเข้า เมื่อไทยต้องเปิดเสรีการค้า นอกจากขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับการผลิตไบโอดีเซล ไทยยังมีโอกาสปรับการผลิตปาล์มน้ำมัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งในแง่เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มเปอร์เซนต์ให้น้ำมัน แยกประเภทน้ำมันปาล์ม(น้ำมันจากเนื้อและเมล็ดใน) แนวทางเหล่านี้ จะขยายประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มในประเทศได้อีกหลากหลาย
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าจับตามอง นอกจากจะเป็นพืชน้ำมันที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน เนยเทียม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
อนาคต ปาล์มน้ำมันยังจะมีบทบาทสำคัญใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งคาดว่าจะเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันอนาคต ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญ
การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะส่งเสริมเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ และเพียงพอกับการผลิตไบโอดีเซล โดยส่งเสริมปลูกปาล์มพันธุ์ดีแทนที่สวนยางเก่า และต้นปาล์มอายุมาก รวมทั้งที่นารกร้าง
ยังจะเน้นส่งเสริมใช้เทคโนโลยีผลิต และเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวความต้องการ ผลผลิตปาล์มน้ำมันใช้เป็นพลังงานทดแทนอนาคต
การผลิตปาล์มน้ำมันในตลาดโลก
ปัจจุบัน ประเทศปลูกปาล์มน้ำมัน 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างจากพืชน้ำมันประเภทอื่นๆที่ปลูกกันกว้างขวางทั่วโลก เนื่องจากพื้นที่ปลูกเหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน จะอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 10 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร หรืออย่างสูงไม่เกิน 20 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร
การผลิตปาล์มน้ำมันขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันหลักของโลก คือมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 21.1 ล้านไร่และ 15 ล้านไร่ตามลำดับ คิดเป็น 31.3% และ 22.2% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันรวมของโลก
ส่วนประเทศไทย ยังมีปริมาณการผลิตน้อยมาก พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 1.4 ล้านไร่ หรือ 0.02% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจ คือการเพิ่มผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันของไทยเฉลี่ยต่อไร่ช่วงปี 2530-2545 เพิ่มสูงกว่าประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของไทย น่าจะมีโอกาสสูงขึ้นอีก จนใกล้เคียงมาเลเซียช่วง 3-6 ปีข้างหน้า
กลุ่มพืชให้น้ำมันที่สำคัญในตลาดโลก มี 4 พืช คือ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง เรปซีดและทานตะวัน เมื่อเทียบราคาต้นทุนผลิต ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น มีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบภัยธรรมชาติน้อย เมื่อเทียบพืชอายุสั้นอื่นๆ
ลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 20 ปี นอกจากนี้ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้นตาม
ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำผลผลิตต่อพื้นที่สูง ราคาซื้อขายในตลาดไม่สูง เสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อย สามารถผลิตปริมาณมาก เพื่อรองรับความต้องการการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้
พื้นที่ปลูกได้ในโลกนี้มีจำกัด ไทยอยู่จุดได้เปรียบ ปลูกได้ดี ประกอบกับน้ำมันปาล์ม ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอี และวิตามินเอ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ สามารถสกัด และใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมใช้โอเลฟินเป็นวัตถุดิบ และอื่นๆ ซึ่งเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย
ผลผลิตเพิ่ม…ตามยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูก
ปีนี้ เนื้อที่ให้ผลปาล์มน้ำมัน 1.869 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3.9% เพิ่มขึ้น 69,358 ไร่ ผลผลิตประมาณ 5.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 371,987 ตัน เพิ่มขึ้น 7.6% ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อกำลังผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องปัจจุบัน ที่มีความต้องการน้ำมันปาล์มประมาณ 10.81 ล้านตันต่อปี
เนื้อที่ปาล์มน้ำมันแยกรายภาค
ประเทศ/ภาคเนื้อที่ให้ผล (ไร่)ผลผลิต (ตัน)
25462547%เพิ่ม/ลด25462547%เพิ่ม/ลด
รวมทั้งประเทศ1,799,1501,868,5083.94,903,3835,275,3707.6
ภาคกลาง122,385128,0144.6298,803308,3693.2
ภาคใต้1,676,7651,740,4943.8460,4584,967,0017.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตั้งแต่ปี 2542 รัฐบาลส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูก และสนับสนุนปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเพื่อทดแทนต้นปาล์มพันธุ์ไม่ดีอายุมากกว่า 20 ปี ประกอบกับราคาผลปาล์มน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง จูงใจเกษตรกรดูแลรักษา
ส่งผลภาพรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบัน รัฐบาลมียุทธศาสตร์อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันปี 2547–2572 เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันปาล์มเคียงคู่ผู้นำระดับโลก อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย
รวมทั้งนโยบายกำหนดให้ปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศ ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 10 ล้านไร่ปี 2572 โดยจะปลูกเพิ่มปีละ 400,000 ไร่ แบ่งเวลาดำเนินการเป็น 5 ระยะๆ ละ 5 ปี
ช่วง 5 ปีแรก ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั่วประเทศจาก 2.04 ล้านไร่ปีนี้ เป็น 3.67 ล้านไร่ ปี 2552 คาดผลปาล์มสดเพิ่มเป็น 6.54 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 1.18 ล้านตัน
โดยจะส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีเขตนาร้าง 0.888 ล้านไร่ ไร่ร้าง 0.156 ล้านตัน และปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพาราเขตไม่เหมาะสมปลูกยางพารา 0.462 ล้านไร่ จะเร่งรัดพัฒนาสวนปาล์มน้ำมันเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนเกิดอุตสาหกรรมจากการแปรรูปอย่างง่าย เป็นการแปรรูปมูลค่าสูง
โดยเฉพาะการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อทดแทนพลังงานราคาแพงขณะนี้ นอกจากนี้ ตั้งคณะกรรมการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ เพื่อกำกับดูแลอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มครบวงจร รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ ตั้งเมืองปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดนโยบายส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันทั่วประเทศ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัย หรือทดสอบว่า จะปลูกปาล์มน้ำมันได้หรือไม่ ยกเว้นจังหวัดภาคใต้ และภาคตะวันออก
กรมวิชาการเกษตรศึกษาทดสอบแล้วว่า ปลูกปาล์มน้ำมันได้เหมาะสม ทั้งพื้นที่ ลักษณะดิน และปริมาณน้ำฝนเพียงพอ หากจะขยายการปลูกปาล์มน้ำมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ภาคตะวันตก และเหนือ
จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องศึกษาวิจัยความเหมาะสมพื้นที่สภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะความเพียงพอปริมาณน้ำฝน ปาล์มน้ำมันเหมากับการปลูกเขตฝนตกชุก หากปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีช่วงแล้งยาวนาน ทำให้มีความเสี่ยงต่อสภาพต้นปาล์มโตช้า และให้ผลผลิตต่ำ
เคยศึกษาปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปว่า การปลูกปาล์มน้ำมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะให้น้ำมันปาล์มเพียง 10-12% ต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราต่ำ เมื่อเทียบกับการปลูกในภาคใต้และตะวันออก ที่ให้น้ำมันประมาณ 19-20% ต่อกิโลกรัม เท่ากับความคุ้มทุนต่างกันมาก
หากปลูกมาก จะมีปัญหาล้นตลาดได้ รวมทั้งหากสนับสนุนให้ปลูกกันมากพื้นที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้จากพื้นที่เหล่านี้ ต้นทุนสูงขึ้นอีก
ความต้องการใช้น้ำมันปาล์ม…หลากอุตสาหกรรมรองรับ
เมื่อได้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันเกษตรกรส่งเข้าโรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ หลังจากนั้น โรงกลั่นน้ำมันปาล์มดิบส่งต่อโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านบริโภคและอุปโภค
อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากปาล์มน้ำมัน จำแนกได้ 8 ประเภท คือ อุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคในรูปน้ำมันพืช 58.6% ของปริมาณน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ทั้งหมด น้ำมันปาล์ม ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันพืชในไทย 66%
รองลงมา เป็นส่วนแบ่งตลาดน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว และอื่นๆ 17% 5% และ 12% ตามลำดับ อุตสาหกรรมสบู่ (10.1%) อุตสาหกรรมของว่างและขนมขบเคี้ยว (9.4%) อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (6.4%)
อุตสาหกรรมนมข้นหวานและนมจืด (4.8%) อุตสาหกรรมครีมเทียม (1.4%) อุตสาหกรรมเนยขาวและเนยเทียม (1%) และอุตสาหกรรมอุปโภคอื่นๆ เช่น พลาสติก เครื่องสำอาง น้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ เป็นต้น (8.3%)
ปัจจุบัน ไทยผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณปีละ 700,000-800,000 ตัน การบริโภคส่วนใหญ่ เป็นน้ำมันพืช ที่เหลือ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การบริโภคในประเทศ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ต่อปี ขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้น ไม่เป็นไปตามสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบได้อนาคต แนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ยังไม่สามารถใช้ได้กว้างขวาง และหลากหลาย
สถานภาพผลิตปาล์มน้ำมันของไทย ยังไม่เพียงพอความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้ต้องพึ่งการนำเข้า ภายใต้การอนุมัติเป็นครั้งคราว ซึ่งรัฐบาลกำหนดข้อจำกัดปริมาณและระยะเวลานำเข้าแต่ละปี รวมทั้งการนำเข้าภายใต้โควตาเปิดตลาด ตามพันธะผูกพันองค์การการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ความต้องการน้ำมันปาล์มส่วนเกินแต่ละปี ถูกชดเชยจากการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย โดยเฉพาะช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศมีส่วนต่างราคาน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูง
ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศผันผวน นอกจากนี้ ระยะหลัง ผู้ค้าน้ำมันปาล์มบางราย อาศัยการควบคุมไม่เข้มงวด ลักลอบนำน้ำมันปาล์มบางส่วน ที่นำเข้าเพื่อส่งออกขายในประเทศ จากเดิม ที่การนำเข้าเพื่อส่งออกประเทศที่ 3 เช่น จีน พม่า อินเดีย เป็นต้น
ปัจจัย 2 ประการเกื้อหนุนราคาน้ำมันปาล์มกลั่นสำเร็จรูปในมาเลเซียราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์มกลั่นในไทยค่อนข้างมาก และกฎระเบียบต่างๆ เปิดโอกาสหาประโยชน์จากส่วนนี้ได้ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ปล่อยให้ผู้ค้าบางรายใช้เขตส่งเสริมการส่งออกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม นำเข้าน้ำมันปาล์มเข้ามาขายในประเทศแข่งกับโรงกลั่นน้ำมันปาล์มในประเทศ เป็นต้น
เป็นช่องทางทำให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นผิดปกติ โดยเฉพาะปี 2546 ซึ่งส่งผลกระทบอุตสาหกรรมปาล์มในประเทศ กระเทือนเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
การแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์เรียกประชุมส่วนราชการและเอกชน กำหนดว่าตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์ม ต้องรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในประเทศด้วย เป็นการแก้ปัญหาตรงจุด จะช่วยบรรเทาปัญหาความผันผวนราคาปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ในประเทศ
การแปรรูปน้ำมันปาล์ม การใช้ประโยชน์เนื้อไม้จากต้นปาล์ม และวัสดุพลอยได้อื่นๆ ในไทย ยังมีการวิจัยและพัฒนาน้อยมาก ซึ่งเท่ากับความสามารถการแข่งขันของไทย ด้านแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่า ยังต่ำ เมื่อเทียบกับมาเลเซีย
หากไทยแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญ ผลักดันขีดความสามารถการแข่งขันของไทย ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่โดดเด่น เนื่องจากปัจจุบัน ใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มในประเทศมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันประเภทอื่นๆ
รวมทั้งยังเป็นพืชน้ำมันที่สร้างรายได้ส่งออกสูงสุดในบรรดาพืชน้ำมันทั้งหมด อย่างไรก็ตาม น้ำมันปาล์มสกัดจากเมล็ดใน ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ในประเทศ ทั้งๆ ที่เป็นน้ำมันคุณภาพเหมาะสำหรับแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำมันมะพร้าว
ดังนั้น ไทยควรพัฒนาการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มสกัดจากเมล็ดใน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์แทนการส่งออก
ไบโอดีเซล…พลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์ม
ไบโอดีเซล ได้จากการเอาน้ำมันพืช ผสมกับแอลกอฮอล์ การทดลองใช้ไบโอดีเซล ศึกษามานานแล้ว หลายประเทศ ผลิตเป็นการค้าแล้ว เช่น ประเทศแถบยุโรปและแคนาดา จะใช้น้ำมันจากเรปซีด (rapeseed) สหรัฐฯ ใช้จากถั่วเหลือง มาเลเซีย นำน้ำมันปาล์มดิบผลิตเป็นไบโอดีเซล ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ เป็นต้น
การนำน้ำมันปาล์ม ผสมกับน้ำมันดีเซลสัดส่วนเหมาะสม ที่จะใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้ลดการใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว ประมาณการความต้องการไบโอดีเซลทั่วโลก แนวโน้มเพิ่มจาก 1 ล้านตันปี 2545 เป็น 18 ล้านตันปี 2563 กระทรวงพลังงานของไทย ตั้งเป้าหมายปริมาณผลิตไบโอดีเซล 176 ล้านลิตรปี 2549 และ 722 ล้านลิตรปี 2554
กระบวนการนำน้ำมันปาล์มทำไบโอดีเซล ไม่สลับซับซ้อน เพราะใช้ได้ทั้งน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ โดยเฉพาะการใช้น้ำมันปาล์มดิบ เพียงแค่เติมสารปรุงแต่ง ตามหลักการทางเคมี ก็จะได้ไบโอดีเซลประมาณ 78-80% ซึ่งใช้เป็นน้ำมันดีเซล หรือผสมน้ำมันดีเซล ใช้กับรถยนต์ หรือเครื่องจักรกลต่างๆ ได้อีก 20% จะได้กรีเซอรัล (Glyceral) ใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีก เช่น อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น
ปัจจุบัน ในประเทศ มีโรงงานต้นแบบไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน 2 แห่ง ดังนี้
1. โรงงานต้นแบบของกองทัพเรือ ซึ่งวางแผนอนาคตจะวิจัย ผลิต และใช้ไบโอดีเซลครบวงจร โครงการวิจัยและพัฒนาใช้ก๊าซเอ็นจีวีกับเครื่องยนต์ดีเซลฯ ของกองทัพเรือ ใช้วัตถุดิบน้ำมันปาล์มเถื่อน ที่กรมศุลกากรยึดได้ ซึ่งมีกำลังผลิต 2 พันลิตร/วัน
อนาคต เป้าหมายจะพัฒนาเทคโนโลยีผลิตสูงขึ้น ระดับ Value chain ครบวงจร เช่น การใช้กรีเซอรัล (Glyceral) คือผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซล ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
ระยะยาว กองทัพเรือจะเริ่มปลูกปาล์มตามพื้นที่ฐานทัพริมทะเลต่างๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบ พร้อมทั้งจะนำโครงการนี้ สาธิตเทคโนโลยีให้ประชาชน และ สหกรณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. บริษัท ราชา-ไบโอดีเซล จำกัด สุราษฏร์ธานี เป็นของเอกชนที่ต้องการเป็นผู้บุกเบิก โรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ตั้งแต่ปี 2544 ช่วงวัตถุดิบอย่างมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ราคาถูก
โดยกองทัพเรือสนับสนุนด้านเทคนิค ความรู้ แต่เวลานี้ ปัญหาวัตถุดิบราคาสูง แต่บริษัทจะยังคงผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่อไป เพราะต้องการเป็นบริษัทต้นแบบแห่งแรก ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนของประเทศ
รับซื้อน้ำมันใช้แล้ววันละ 20 ตัน ตกกิโลกรัมละ 12–13 บาท ผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ 20,000 ลิตร/วัน เมื่อผ่านกระบวนการผลิต แล้วจะตกอยู่ที่ราคา 20–25 บาท/ลิตร ใช้กับเรือข้ามฟาก 11 ลำ ผสมสัดส่วน 50–100%
แต่ไม่ได้ขายเชิงพาณิชย์ เพราะต้นทุนผลิตยังสูง หากอนาคต รัฐบาลสนับสนุนเหมือนญี่ปุ่น ที่บังคับให้ประชาชนต้องเก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วคืนให้โรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล โอกาสธุรกิจก็จะมากขึ้น
การกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายใช้ไบโอดีเซล 3% ของการใช้น้ำมันดีเซลทั้งหมดปี 2554 หรือวันละ 2.4 ล้านลิตร
กลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลจะส่งเสริมให้ใช้ไบโอดีเซล 2% ของปริมาณใช้น้ำมันดีเซล กลุ่มเป้าหมายแรก คือกลุ่มรถบรรทุก กำหนดให้ผสมไบโอดีเซล 2% คิดเป็นปริมาณน้ำมันปาล์มประมาณวันละ 1.6 ล้านลิตร โดยจะบังคับใช้พื้นที่เฉพาะปี 2549-2553 ปี 2554 เป็นต้นไป จะบังคับใช้ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญอีกประการผลิตไบโอดีเซลเวลานี้ คือวัตถุดิบ ถ้าจะใช้น้ำมันไบโอดีเซลทั้งระบบ ต้องใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันถึง 7 ล้านไร่ จากที่มีอยู่ปัจจุบันประมาณ 2 ล้านไร่ ดังนั้น กลยุทธ์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ผลักดันโครงการไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน
ต้นทุนผลิตสูงและการเปิดเขตการค้าเสรี…ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
แม้แนวโน้มอนาคตของปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สดใส เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายประเภทรองรับ ทั้งการบริโภเป็นน้ำมันพืช และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท
รวมทั้งความต้องการธุรกิจไบโอดีเซล เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ทำให้ไทยกำหนดยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับการขยายความต้องการน้ำมันปาล์ม แต่ปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มอนาคต ดังนี้
1. ต้นทุนผลิตสูงเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน ไทยยังเสียเปรียบต้นทุนผลิตสูงกว่า กล่าวคือ ต้นทุนผลิตปาล์มน้ำมัน ต่ำราว 0.80-1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนผลิตของไทยสูงถึง 1.85-1.92 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจาก
- ผลผลิตปาล์มน้ำมันไทยที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมด เกิดจากการขยายพื้นที่ปลูก ไม่ได้เกิดจากการพัฒนาประสิทธิภาพผลิต ด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เนื่องจากเกือบครึ่งของปาล์มน้ำมันที่ปลูกทั่วประเทศ เป็นสายพันธุ์ปาล์มคุณภาพต่ำ
ทั้งผลผลิตต่อไร่ และสัดส่วนให้น้ำมันเฉลี่ยเพียง 15-17% เทียบกับมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคต และมีแผนพัฒนาปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพารา
มีการลงทุนปลูกสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ และมีโรงสกัดน้ำมันบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นการลงทุนครบวงจร รวมทั้งขยายการลงทุนไปอินโดนีเซียอีกด้วย ทำให้มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่ที่สุดของโลก
ข้อได้เปรียบอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมาเลเซีย เริ่มตั้งแต่สภาพอากาศเหมาะสม ปริมาณน้ำฝนเพียงพอช่วงที่ปาล์มต้องการ โดยเฉพาะช่วงออกผลปาล์มที่ปลูกเป็น "พันธุ์แท้" ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยเกือบ 2 เท่า ผลปาล์ม เปอร์เซ็นต์ให้น้ำมันสูงทุกช่วงอายุ และวางแผนผลิตเต็มรูปแบบตั้งแต่ต้น โดยโค่นต้นปาล์มทิ้งเมื่ออายุก่อนถึง 20 ปี และปลูกทดแทนต่อเนื่อง
ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ลงทุนผลิตครบวงจร ตั้งแต่สวนปาล์มน้ำมัน จนถึงโรงกลั่นน้ำมันภายในบริษัท/กลุ่มบริษัทเดียวกัน จึงสามารถวางแผนผลิต และควบคุมต้นทุนผลิตได้มีประสิทธิภาพ
การที่สวนปาล์มมาเลเซีย ผลผลิตต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์ให้น้ำมันสูง ทำให้ต้นทุนผลิตปาล์มน้ำมัน ต่ำราว 0.80-1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนผลิตของไทยสูงถึง 1.85-1.92 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น นอกจากมาเลเซียจะเป็นยักษ์ใหญ่ผลิตน้ำมันปาล์มโลก ยังได้เปรียบในแข่งขันด้านราคา จากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
- แม้ต้นทุนผลิตน้ำมันปาล์มดิบไทยปัจจุบัน ใกล้เคียงกับมาเลเซีย คือ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม และ 10.80 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ แต่ต้นทุนน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ของไทยยังสูงกว่า
เพราะการผลิตของไทย เพื่อบริโภคโดยตรงส่วนใหญ่ ทำให้ต้องผลิตน้ำมันปาล์มคุณภาพสูง เนื่องจากต้องแข่งขันกับน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดน้ำมันพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน กล่าวคือ น้ำมันปาล์มไทย ต้องแยกไขมากกว่าน้ำมันปาล์มที่ผลิตในมาเลเซีย
ทำให้น้ำมันปาล์มมาเลเซียสีเข้ม และไขปนมากกว่าของไทย แต่เกรดน้ำมันต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อได้เปรียบของมาเลเซีย คือมีตลาดผลิตภัณฑ์ใช้ไขมันพิเศษ (Specialty Fat) และโอเลโอเคมีคอล (Oleochemical)
ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มในมาเลเซีย มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าผู้ผลิตน้ำมันปาล์มไทย อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบมาเลเซีย คือราคาน้ำมันดีเซลมาเลเซียอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่คุ้มจะนำผลิตไบโอดีเซล
แต่กรณีของไทย การนำน้ำมันปาล์มผลิตไบโอดีเซล คุ้มกว่าแยกไขจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ การส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลจากผลพลอยได้น้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันสเตียริน กรดไขมันปาล์ม เป็นต้น จะทำให้ต้นทุนผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย ใกล้เคียงกับมาเลเซียมากขึ้นระยะยาว
การผลิตไบโอดีเซล จะช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล เนื่องจากไบโอดีเซล เป็นอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอลขั้นพื้นฐาน (Basic Oleochemical) และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ จากโอเลโอเคมีคอล ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น ยา และเครื่องสำอาง
2. ผลกระทบเปิดเขตการค้าเสรี เนื่องจากปัจจุบัน ไทยผลิตปาล์มน้ำมันได้ในระดับเพียงพอกับการใช้ในประเทศเท่านั้น บางปี ยังต้องพึ่งการนำเข้า บางปี ก็ส่งออก แต่เป็นปริมาณน้อยมาก
ดังนั้น อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทย อยู่ในลักษณะตั้งรับ เพื่อปรับตัวให้สามรถแข่งขันด้านต้นทุนผลิต ทั้งจากน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง กล่าวคือ การเปิดเขตการค้าเสรีกรณีอาฟต้า ทำให้ผู้ที่เกี่ยวกับกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ รับผลกระทบอย่างมาก
ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ นอกจากนี้ อนาคต การเปิดเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการผลิตปาล์มน้ำมัน เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเมล็ด และน้ำมันถั่วเหลือง ที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ผลิตได้มากที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบการผลิตปาล์มน้ำมันระหว่างไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ปัจจุบัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย แต่ยังต่ำกว่ามาเลเซีย การเพิ่มประสิทธิภาพแปรรูปน้ำมันปาล์มและวัสดุพลอยได้อื่นๆ จากปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ยังเป็นจุดอ่อนสำคัญของไทย เนื่องจากไทยไม่มีการแปรรูปน้ำมันปาล์มแยกระหว่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม ทำให้การใช้ประโยชน์น้ำมันปาล์มไทย ยังไม่กว้าง และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เท่ามาเลเซีย
ผลประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ และโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ยังอยู่ในระดับได้เปรียบเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เนื่องจากทั้งราคาน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทย อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับมาเลเซีย
แต่ระยะยาว การที่ราคาผลปาล์มดิบที่เกษตรกรขายได้ของไทยแนวโน้มลดต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทย เสียเปรียบเกษตรกรมาเลเซียอย่างมาก จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบไทย ต้องปรับตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
เพื่อลดส่วนต่างระหว่างราคาทะลายปาล์มสด ราคาน้ำมันปาล์มดิบ และราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ให้อยู่ในระดับที่ทุกขั้นตอนผลิต สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย
ศักยภาพอนาคต…ฝากความหวังกับยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่ยังคงแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคโดยตรงในรูปน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ และโอกาสใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ
อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบเพื่อทดแทนไขมันจากสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงปริมาณคลอเรสเตอรอล ทดแทนการใช้น้ำมันพืชราคาแพง และใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ น้ำมันปาล์ม ได้เปรียบน้ำมันพืชประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นน้ำมันพืชที่ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด
อุตสาหกรรมที่มีโอกาสและศักยภาพ คืออุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมนมแปลงไขมัน ผลิตเนยโกโก้เทียม น้ำมันสำหรับฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว คุกกี้และบิสกิต ไขเทียม และน้ำมันสำหรับผลิตเนยเทียมและเนยขาว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ทั้งภาครัฐบาลและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มต้องเร่งแก้ไข คือ
1. พัฒนาเพื่อยกระดับเปอร์เซนต์สกัดน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากปกติ การสกัดน้ำมันปาล์มดิบของไทย จะอยู่ในระดับ 14-16% ขณะที่มาเลเซีย สกัดน้ำมันปาล์มดิบ 17-19% การยกระดับสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ต้องเริ่มตั้งแต่เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพผลิต โดยเฉพาะพันธุ์ และเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว ส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพสกัดน้ำมันของโรงงาน
2. การจัดรวบรวม และทำฐานข้อมูลปริมาณผลิต ส่งออก นำเข้า และราคาผลิตภัณฑ์หลัก เป็นระบบ และจำแนกผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับมาเลเซีย ข้อมูลเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการวางแผนกำหนดนโยบายปาล์มน้ำมันของไทย
เนื่องจากปัจจุบัน ไทยยังขาดข้อมูลพื้นฐานปาล์มน้ำมัน เช่น ข้อมูลน้ำมันปาล์มดิบ ไม่สามารถทราบได้ว่า เป็นน้ำมันปาล์มดิบสกัดจากเนื้อปาล์มชั้นนอก (หีบแยก) หรือสกัดจากผลปาล์มรวมกัน (หีบรวม)
ส่วนข้อมูลที่ระบุว่าเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ควรแยกประเภทน้ำมันเช่นเดียวกับมาเลเซีย โดยแยกเป็น RBD Plam Olein, RBD Plam Stearin, PFAD (Plam Fatty Acid Destillate) และเก็บข้อมูลราคาแยกเช่นกัน
น้ำมันแต่ละประเภท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องแยกประเภทกัน การแยกข้อมูลน้ำมันปาล์มแต่ละประเภทชัดเจน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยได้อีกมาก
ข้อมูลที่สำคัญเช่นกัน คือข้อมูลต้นทุนผลิต ตั้งแต่ระดับผลิตปาล์มน้ำมัน สกัดน้ำมันปาล์ม และกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ข้อมูลเหล่านี้ สำคัญมากต่อการกำหนดนโยบายพัฒนาปาล์มน้ำมันไทย ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลถูกต้องและทันเหตุการณ์ จำเป็นอย่างยิ่งในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบของไทย
สรุป
ปาล์มน้ำมัน จัดเป็นพืชน้ำมันอนาคตสดใส และแนวโน้มขยายตัวความต้องการอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดดเด่น เทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากการขยายตัวอุตสาหกรรมที่ต้องการปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ
ทั้งน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ วางยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เป็นการขยายอุตสาหกรรมรองรับปาล์มน้ำมัน ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้น จากน้ำมันปาล์มนำเข้า เมื่อไทยต้องเปิดเสรีการค้า นอกจากขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับการผลิตไบโอดีเซล ไทยยังมีโอกาสปรับการผลิตปาล์มน้ำมัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งในแง่เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มเปอร์เซนต์ให้น้ำมัน แยกประเภทน้ำมันปาล์ม(น้ำมันจากเนื้อและเมล็ดใน) แนวทางเหล่านี้ จะขยายประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มในประเทศได้อีกหลากหลาย