ผู้บริหาร ปตท.ยืนยันความสนใจนำเข้าถังก๊าซจากจีน เพราะมีราคาต่ำกว่าถังก๊าซจากยุโรป ที่ไทยนำเข้าอยู่ในขณะนี้ประมาณร้อยละ 40 ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รถยนต์ที่สนใจเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติมีต้นทุนที่ต่ำลง แต่จะต้องรอกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณามาตรฐานการผลิตของจีนอีกครั้งว่า สามารถใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันจีนใช้มาตรฐานการผลิตที่แตกต่างจากไทย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเดินทางไปดูงานด้านการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า จีนมีนโยบายผลักดันให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในหลากหลายรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ เนื่องจากต้องการแสดงให้เห็นศักยภาพของการรักษาสภาพแวดล้อมของโลกต้อนรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 2008 ดังนั้น จีนจึงมีการพัฒนาการด้านที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติอัด หรือ CNG (Compresses Natural Gas) สำหรับประเทศไทย จะคุ้นเคยกับคำว่าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV (Natural Gas Vehicle) รวมไปจนถึงการพัฒนาด้านก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลว LNG (Liquefied Natural Gas)
“ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มให้ความสนใจกับ LNG มากขึ้น เพราะสามารถขนส่งได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก จากการใช้อุณหภูมิต่ำเปลี่ยนสภาพก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเหลว แต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถังบรรจุก๊าซก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษด้วย ซึ่งจีนเองก็มีโรงงานผลิตถังก๊าซ LNG ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทรถยนต์รายใหญ่มากมาย ทั้งเจเนอรัล มอเตอร์ เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู และอื่น ๆ ดังนั้น ปตท. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านพลังงาน และมีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในรูปของ LNG จึงสนใจมาดูงานทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติและการผลิตถังก๊าซของจีน” นายประเสริฐ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้รับจากบริษัท Beijing Tianhai Industry Co., Ltd (BTIC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตถังก๊าซ
ให้หลายประเทศ นายประเสริฐ ยอมรับว่า ยังต้องรอการพิจารณามาตรฐานการผลิตของบริษัทดังกล่าวอีกครั้ง ว่าจะผ่านการพิจารณาของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้มาตรฐานการผลิต ISO ขณะที่บริษัท BTIC ใช้มาตรฐานการผลิตของสหรัฐ ซึ่งถือว่ามีมาตรฐานแตกต่างกัน ดังนั้น จึงยังต้องรอความชัดเจนในด้านนโยบายอีกครั้ง ขณะที่อุปกรณ์ถังก๊าซที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันต้องนำเข้าจากยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งมีราคาแพง โดยเฉพาะราคาถังก๊าซของ BTIC มีราคาต่ำกว่าถึงร้อยละ 30-40 ดังนั้น หากไม่มีปัญหาด้านมาตรฐานการผลิตก็มีโอกาสสูงที่ ปตท. จะสั่งซื้อถังก๊าซจากประเทศจีนมาใช้ในอนาคต และจะทำให้รถยนต์ที่ต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีต้นทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่ำลงกว่าเดิมมาก
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวด้วยว่า สำหรับความเป็นไปได้ที่ ปตท. จะสร้างโรงงานผลิตถังก๊าซขึ้นเอง หรือเชิญบริษัทต่างชาติไปลงทุนในประเทศไทยนั้น คงต้องรอให้ความนิยมการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยมีมากกว่าปัจจุบัน เช่น มีความต้องการใช้ถังปีละประมาณ 300,000-400,000 ใบ แต่ขณะนี้ความนิยมในการใช้ก๊าซธรรมชาติยังมีอยู่น้อย ดังนั้น การนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า ปตท. จึงจะพยายามให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้น เนื่องจากก๊าซธรรมชาติได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สร้างมลภาวะน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น ๆ และยังมีความปลอดภัยสูงมาก ตลอดจนสามารถนำไปผลิตพลังงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ได้อีกมาก เช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติกับหัวรถจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง หรือการใช้เป็นพลังงานเพื่อใช้กับเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งการใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการหุงต้มในครัวเรือนด้วย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเดินทางไปดูงานด้านการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า จีนมีนโยบายผลักดันให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในหลากหลายรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ เนื่องจากต้องการแสดงให้เห็นศักยภาพของการรักษาสภาพแวดล้อมของโลกต้อนรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 2008 ดังนั้น จีนจึงมีการพัฒนาการด้านที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติอัด หรือ CNG (Compresses Natural Gas) สำหรับประเทศไทย จะคุ้นเคยกับคำว่าก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV (Natural Gas Vehicle) รวมไปจนถึงการพัฒนาด้านก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลว LNG (Liquefied Natural Gas)
“ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มให้ความสนใจกับ LNG มากขึ้น เพราะสามารถขนส่งได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก จากการใช้อุณหภูมิต่ำเปลี่ยนสภาพก๊าซธรรมชาติให้เป็นของเหลว แต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถังบรรจุก๊าซก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษด้วย ซึ่งจีนเองก็มีโรงงานผลิตถังก๊าซ LNG ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทรถยนต์รายใหญ่มากมาย ทั้งเจเนอรัล มอเตอร์ เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู และอื่น ๆ ดังนั้น ปตท. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านพลังงาน และมีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในรูปของ LNG จึงสนใจมาดูงานทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติและการผลิตถังก๊าซของจีน” นายประเสริฐ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้รับจากบริษัท Beijing Tianhai Industry Co., Ltd (BTIC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตถังก๊าซ
ให้หลายประเทศ นายประเสริฐ ยอมรับว่า ยังต้องรอการพิจารณามาตรฐานการผลิตของบริษัทดังกล่าวอีกครั้ง ว่าจะผ่านการพิจารณาของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันไทยใช้มาตรฐานการผลิต ISO ขณะที่บริษัท BTIC ใช้มาตรฐานการผลิตของสหรัฐ ซึ่งถือว่ามีมาตรฐานแตกต่างกัน ดังนั้น จึงยังต้องรอความชัดเจนในด้านนโยบายอีกครั้ง ขณะที่อุปกรณ์ถังก๊าซที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันต้องนำเข้าจากยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งมีราคาแพง โดยเฉพาะราคาถังก๊าซของ BTIC มีราคาต่ำกว่าถึงร้อยละ 30-40 ดังนั้น หากไม่มีปัญหาด้านมาตรฐานการผลิตก็มีโอกาสสูงที่ ปตท. จะสั่งซื้อถังก๊าซจากประเทศจีนมาใช้ในอนาคต และจะทำให้รถยนต์ที่ต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมีต้นทุนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่ำลงกว่าเดิมมาก
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวด้วยว่า สำหรับความเป็นไปได้ที่ ปตท. จะสร้างโรงงานผลิตถังก๊าซขึ้นเอง หรือเชิญบริษัทต่างชาติไปลงทุนในประเทศไทยนั้น คงต้องรอให้ความนิยมการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยมีมากกว่าปัจจุบัน เช่น มีความต้องการใช้ถังปีละประมาณ 300,000-400,000 ใบ แต่ขณะนี้ความนิยมในการใช้ก๊าซธรรมชาติยังมีอยู่น้อย ดังนั้น การนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า ปตท. จึงจะพยายามให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้น เนื่องจากก๊าซธรรมชาติได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สร้างมลภาวะน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น ๆ และยังมีความปลอดภัยสูงมาก ตลอดจนสามารถนำไปผลิตพลังงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ได้อีกมาก เช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติกับหัวรถจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง หรือการใช้เป็นพลังงานเพื่อใช้กับเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งการใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการหุงต้มในครัวเรือนด้วย