ทีซีซีเผยผลประกอบการสามไตรมาส คว้ารายได้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ 120 ล้านบาท คาดปีนี้โต 50% มั่นใจระบบ ลิขสิทธิ์เอิ้ออาทรเก็บต่ำมาก สมเหตุสมผลกับสมาชิก 40,000 ราย
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (ทีซีซี) ผู้ได้รับสิทธิในการบริหาร การจัดระบบอนุญาตเผยแพร่ และดูแลลิขสิทธิ์เพลงในเครือ อาร์.เอสฯ กว่า 20,000 บทเพลง ได้แถลงถึงผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของบริษัทว่า ธุรกิจของทีซีซีถือว่าเป็นธุรกิจปลายน้ำของอาร์.เอสฯที่ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จากร้านคาราโอเกะ สถานบันเทิง โรงแรม สายการบิน ฯลฯ และหลังจากที่เราดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง มาเป็นเวลาหนึ่งแล้วนั้น ณ วันนี้ถือว่าแนวทางการดำเนินงานจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ถือว่าไปได้ดี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เข้าใจในการทำงานของเรา และในส่วนของรายได้ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้ผลดำเนินการของปี 2546 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์รวม 100 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2547 นี้ คาดว่าผลการดำเนินงานน่าจะอยู่ที่ 140 – 150 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานของบริษัท นับว่าขยายตัวขึ้นในอัตราที่น่าพอใจและส่งผลดีต่อภาพรวมทั้งปี ซึ่งบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้ธุรกิจน่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 50 % โดยใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมา รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 120 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าพอใจ
“วิธีการดำเนินธุรกิจของทีซีซีนั้น เน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์นั้น ทีซีซีใช้แนวทางในการจัดเก็บ “ลิขสิทธิ์เอื้ออาทร” โดยหากคำนวณออกมาแล้วนั้นถือว่าอยู่ที่วันละ 8 – 12 บาทเท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผล ซึ่งผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของทีซีซีนั้นก็เข้าใจและยอมรับได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้สมาชิกของทีซีซีนั้นมีประมาณ 40,000 รายด้วยกัน
ส่วนการบังคับใช้กฎหมายก็ยังคงมีอยู่บ้าง เนื่องจากภายหลังแม้ว่าจะมีการเชิญชวนประสานงานเพื่อให้ผู้ประกอบการ ร้านค้า เข้ามาเป็นสมาชิกและชำระค่าลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการบางรายดื้อแพ่ง ไม่ยอมชำระค่าลิขสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ใช้งานลิขสิทธิ์ของเราอยู่บ้าง ซึ่งในส่วนนี้ทีซีซียังคงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรายนั้น ๆ อย่างไรก็ดี ตรงนี้ถือว่าเป็นส่วนน้อย เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเข้าใจดี ทั้งนี้เนื่องจากทางอาร์.เอสฯ ได้เน้นกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย และเพราะไม่ต้องการสร้างผลกระทบให้กับทุกฝ่าย
สำหรับเสียงร้องเรียนจากผู้ประกอบการ ร้านคาราโอเกะ กรณีเกี่ยวกับตัวแทนของทีซีซีผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากบริษัทในการจับกุมและดำเนินคดีผู้ละเมิด ที่มีพฤติกรรมที่ไม่สมควร อาทิ ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ รวมถึงข่มขู่ผู้ประกอบการทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้น ทางบริษัทต้องขอเรียนว่า จะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะหากตัวแทนคนใดมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทีซีซีก็จะเพิกถอนการเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัททันที และหากผู้ประกอบการต้องการร้องเรียน หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่โทร. 02-938-8000
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (ทีซีซี) ผู้ได้รับสิทธิในการบริหาร การจัดระบบอนุญาตเผยแพร่ และดูแลลิขสิทธิ์เพลงในเครือ อาร์.เอสฯ กว่า 20,000 บทเพลง ได้แถลงถึงผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของบริษัทว่า ธุรกิจของทีซีซีถือว่าเป็นธุรกิจปลายน้ำของอาร์.เอสฯที่ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จากร้านคาราโอเกะ สถานบันเทิง โรงแรม สายการบิน ฯลฯ และหลังจากที่เราดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง มาเป็นเวลาหนึ่งแล้วนั้น ณ วันนี้ถือว่าแนวทางการดำเนินงานจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ถือว่าไปได้ดี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เข้าใจในการทำงานของเรา และในส่วนของรายได้ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้ผลดำเนินการของปี 2546 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์รวม 100 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2547 นี้ คาดว่าผลการดำเนินงานน่าจะอยู่ที่ 140 – 150 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานของบริษัท นับว่าขยายตัวขึ้นในอัตราที่น่าพอใจและส่งผลดีต่อภาพรวมทั้งปี ซึ่งบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้ธุรกิจน่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 50 % โดยใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมา รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 120 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าพอใจ
“วิธีการดำเนินธุรกิจของทีซีซีนั้น เน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์นั้น ทีซีซีใช้แนวทางในการจัดเก็บ “ลิขสิทธิ์เอื้ออาทร” โดยหากคำนวณออกมาแล้วนั้นถือว่าอยู่ที่วันละ 8 – 12 บาทเท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผล ซึ่งผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของทีซีซีนั้นก็เข้าใจและยอมรับได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้สมาชิกของทีซีซีนั้นมีประมาณ 40,000 รายด้วยกัน
ส่วนการบังคับใช้กฎหมายก็ยังคงมีอยู่บ้าง เนื่องจากภายหลังแม้ว่าจะมีการเชิญชวนประสานงานเพื่อให้ผู้ประกอบการ ร้านค้า เข้ามาเป็นสมาชิกและชำระค่าลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการบางรายดื้อแพ่ง ไม่ยอมชำระค่าลิขสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ใช้งานลิขสิทธิ์ของเราอยู่บ้าง ซึ่งในส่วนนี้ทีซีซียังคงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรายนั้น ๆ อย่างไรก็ดี ตรงนี้ถือว่าเป็นส่วนน้อย เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเข้าใจดี ทั้งนี้เนื่องจากทางอาร์.เอสฯ ได้เน้นกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย และเพราะไม่ต้องการสร้างผลกระทบให้กับทุกฝ่าย
สำหรับเสียงร้องเรียนจากผู้ประกอบการ ร้านคาราโอเกะ กรณีเกี่ยวกับตัวแทนของทีซีซีผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากบริษัทในการจับกุมและดำเนินคดีผู้ละเมิด ที่มีพฤติกรรมที่ไม่สมควร อาทิ ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ รวมถึงข่มขู่ผู้ประกอบการทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้น ทางบริษัทต้องขอเรียนว่า จะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะหากตัวแทนคนใดมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทีซีซีก็จะเพิกถอนการเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัททันที และหากผู้ประกอบการต้องการร้องเรียน หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่โทร. 02-938-8000