มกอช.สบช่องเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ออสเตรเลียสำเร็จ เตรียมผลักดันลำไย ลิ้นจี่ สับปะรดไทย ยึดตลาด ส่วนมังคุดมั่นใจแก้ปัญหาแมลงศัตรูได้ก่อนผลผลิตฤดูกาลใหม่เดือนธันวาคมนี้
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรของไทยประสบผลสำเร็จในการเปิดตลาดที่ประเทศออสเตรเลียภายหลังจากการลงนามเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ออสเตรเลีย อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะลำไย ลิ้นจี่ และสับปะรด ซึ่งสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าที่ออสเตรเลียกำหนด ซึ่งค่อนข้างจะเข้มงวดในมาตรฐานมาก
“จากการเข้าไปสำรวจที่ตลาดแฟลมมิงตันซึ่งเป็นตลาดประมูล ค้าส่ง และค้าปลีกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีการนำผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายประมาณร้อยละ 10 ของการผลไม้ที่จำหน่ายทั้งหมด ปรากฏว่าลำไยของไทยมียอดจำหน่ายอยู่ในอันดับต้นๆ เนื่องจากลำไยของไทยมีคุณภาพ รสชาติอร่อย” นายสมชาย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าสินค้าผักผลไม้ที่จำหน่ายในตลาดดังกล่าวประมาณร้อยละ 90% จะเป็นสินค้าท้องถิ่น เนื่องจากออสเตรเลียมีความหลากหลายของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ จึงสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้หลายชนิดและต้นทุนการผลิตไม่สูงอีกด้วย
สำหรับสินค้าเกษตรของไทยที่มีปัญหาในการส่งออกมากในขณะนี้คือมังคุด เนื่องจากมีการตรวจพบแมลงศัตรูพืชที่มีชีวิตติดไปด้วย แม้จะทำการกำจัดด้วยการเป่าลมแล้วก็ตาม ซึ่งประเทศไทยจะต้องเร่งแก้ไขโดยเร็วเพราะขบวนการตรวจสอบของออสเตรเลียนั้นได้มาตรฐานสากล มีความเป็นวิทยาศาสตร์ โดยจะมีการแยกตรวจอย่างชัดเจน ไม่ปะปนกับสินค้านำเข้าที่มาจากประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน
ดังนั้น จึงต้องย้อนมาดูขบวนการผลิตของไทยก่อนการส่งออกว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนสวนจนถึงโรงงานบรรจุ โดย มกอช. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ส่งออกไทยเพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยด่วย รวมทั้งจะประสานกับออสเตรเลียตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคขึ้นมาตรวจสอบขบวนการผลิต การบรรจุ และรักษาคุณภาพผลผลิต โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 ก่อนที่มังคุดฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรของไทยประสบผลสำเร็จในการเปิดตลาดที่ประเทศออสเตรเลียภายหลังจากการลงนามเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ออสเตรเลีย อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะลำไย ลิ้นจี่ และสับปะรด ซึ่งสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าที่ออสเตรเลียกำหนด ซึ่งค่อนข้างจะเข้มงวดในมาตรฐานมาก
“จากการเข้าไปสำรวจที่ตลาดแฟลมมิงตันซึ่งเป็นตลาดประมูล ค้าส่ง และค้าปลีกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีการนำผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายประมาณร้อยละ 10 ของการผลไม้ที่จำหน่ายทั้งหมด ปรากฏว่าลำไยของไทยมียอดจำหน่ายอยู่ในอันดับต้นๆ เนื่องจากลำไยของไทยมีคุณภาพ รสชาติอร่อย” นายสมชาย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าสินค้าผักผลไม้ที่จำหน่ายในตลาดดังกล่าวประมาณร้อยละ 90% จะเป็นสินค้าท้องถิ่น เนื่องจากออสเตรเลียมีความหลากหลายของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ จึงสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้หลายชนิดและต้นทุนการผลิตไม่สูงอีกด้วย
สำหรับสินค้าเกษตรของไทยที่มีปัญหาในการส่งออกมากในขณะนี้คือมังคุด เนื่องจากมีการตรวจพบแมลงศัตรูพืชที่มีชีวิตติดไปด้วย แม้จะทำการกำจัดด้วยการเป่าลมแล้วก็ตาม ซึ่งประเทศไทยจะต้องเร่งแก้ไขโดยเร็วเพราะขบวนการตรวจสอบของออสเตรเลียนั้นได้มาตรฐานสากล มีความเป็นวิทยาศาสตร์ โดยจะมีการแยกตรวจอย่างชัดเจน ไม่ปะปนกับสินค้านำเข้าที่มาจากประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน
ดังนั้น จึงต้องย้อนมาดูขบวนการผลิตของไทยก่อนการส่งออกว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนสวนจนถึงโรงงานบรรจุ โดย มกอช. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ส่งออกไทยเพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยด่วย รวมทั้งจะประสานกับออสเตรเลียตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคขึ้นมาตรวจสอบขบวนการผลิต การบรรจุ และรักษาคุณภาพผลผลิต โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 ก่อนที่มังคุดฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาด