ไอศกรีมโฮมเมดคึกคัก ผู้ประกอบการรายเก่าดิ้นปรับตัวหนีคู่แข่งใหม่ เน้นขยายสแตนด์อโลน โบนิโต้ฝันไกลสุดซุ่มเจรจาพันธมิตรต่างประเทศหวังส่งแบรนด์โกอินเตอร์ ด้านไอเบอร์รี่ปรับกลยุทธ์ทำตลาดใหม่แตกไลน์ “สมูท เบอร์รี่” เสริมทัพกว่า 60 เมนู พร้อมเพิ่มเมนูแต่งหน้าไอศกรีมพิเศษ ดันยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 30% ส่วนเอเต้หันหาทำเลนอกห้างหลังเจอกฎรัฐ พร้อมสั่งปิด 2 สาขาไม่ทำยอด 2 แห่ง เซ็นทรัลบางนา และอีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่
ตั้งแต่ปี 2545 ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มเปิดตลาดไอศกรีมโฮมเมดด้วยการปั้นแบรนด์อย่างจริงจังมากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อป้อนให้กับภัตตาคาร ร้านอาหารหรือโรงแรมต่างๆ จนถึงช่วงนี้ภาวะการแข่งขันของธุรกิจนี้ก็เริ่มรุนแรง มีคู่แข่งเข้ามาทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยจากการคาดการณ์ของผู้ประกอบการหลายรายระบุว่าตลาดไอศกรีมโฮมเมดมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี มีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดรวมไอศกรีมพรีเมียม 1,500 ล้านบาท
ในปีนี้ผู้ประกอบการยุคแรกของตลาดนี้จึงเร่งปรับทิศการทำตลาดเพื่อรองรับคู่แข่งใหม่ และการปรับตัวของเจ้าตลาดไอศกรีมพรีเมียมยักษ์ใหญ่อย่างสเวนเซ่นส์ และบาสกิ้น รอบบิ้นด้วย
โบนิโต้ฝันบุกตลาดตปท.
นายชัยยา ทักษะวณิช ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดาวิตร แอนด์ ซันส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโฮมเมด โบนิโต้ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า หลังจากที่บริษัทปั้นแบรนด์โบนิโต้ทำตลาดในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2545 มีแผนที่จะขายแฟรนไชส์ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากัน 2-3 รายกับนักลงทุนชาวออสเตรเลีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกาที่จะเข้ามาเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ โดยคาดว่าจะสรุปการเจรจาดังกล่าวได้ภายในต้นปี 2548
หากบริษัทขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะต้องขยายกำลังการผลิตของโรงงานที่จากเดิมสามารถผลิตได้ 200 ตัน/ปี เพิ่มอีก 50%
สำหรับแผนทำตลาดในประเทศไทย ทำเลในกรุงเทพฯ บริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเอง 100% แต่ตลาดต่างจังหวัดอาจจะทยอยขายแฟรนไชส์ให้กับผู้ที่สนใจ โดยต่อไปจะเน้นขยายสาขาแบบร้านนั่งทานมากกว่าคีออสเหมือนในอดีต เพราะปัจจุบันตลาดไอศกรีมพรีเมียมขยายตัวมาก และทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมรับประทานไอศกรีมโฮมเมดมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมของคนไทยยังนิยมนั่งทานในร้านมากกว่าเดินรับประทาน
ช่วงก่อนท้ายปีนี้มีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่อีก 3 แห่ง จากปัจจุบันมี 6 สาขา ทำให้สิ้นปีจะมีสาขาครบ 9 แห่งตามเป้าหมายที่วางไว้ และตั้งแต่ปีหน้าบริษัทจะรุกขยายสาขามากขึ้นวางแผนจะเปิดปีละ 5-10 สาขา ตามทำเลใหม่ๆ อาทิ รถไฟฟ้า ศูนย์การประชุมต่างๆ พร้อมกับตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะต้องมีสาขาทั้งหมด 30 สาขา หากเป็นสาขาแบบคีออสจะมีพื้นที่ขนาด 15 ตร.ม. ร้านนั่งทาน มีขนาดพื้นที่ 30 ตร.ม. ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาทใกล้เคียงกันทั้ง 2 รูปแบบ
ยอดขายในปีนี้คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 100% จากการเปิดสาขาใหม่และการขยายตัวของสาขาเดิม ซึ่งปี 2546 ที่ผ่านมายอดขายของบริษัทเติบโต 50% แบ่งเป็นตลาดฟู้ดเซอร์วิส 40% และตลาดผู้บริโภค 60%
ไอเบอร์รี่ดึงเมนู“สมูท”เสริม
นางสาวอัจฉรา บุรารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเบอร์รี่ โฮมเมด จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโอมเมด ไอเบอร์รี่ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมาไอเบอร์รี่เริ่มปรับกลยุทธการทำตลาดด้วยการแตกไลน์เมนูใหม่เป็นกลุ่มน้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ “สมูท เบอร์รี่” ประมาณ 60 เมนู เพื่อเพิ่มยอดขายให้เติบโตแบบก้าวกระโดดตามกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค
ในส่วนของไอศกรีมยังเพิ่มการแต่งหน้าไอศกรีมหรือทอปปิ้งเข้ามาช่วยกระตุ้นยอดขาย จากเดิมที่ไอเบอร์รี่จะเน้นจำหน่ายแต่ไอศกรีมเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ยอดขายเติบโตค่อนข้างน้อย โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.นี้ และในช่วงแรกจะมีเมนูสำหรับไอศกรีม 13 เมนู และคาดว่าหลังจากปรับครั้งนี้แล้วจะช่วยทำให้ยอดขายปีนี้เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% จากอัตราการเติบโตปกติอยู่ที่ 20%
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ไอเบอร์รี่ต้องเร่งปรับตัวหลังจากที่เข้ามาทำตลาดได้ประมาณ 4-5 ปีแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการที่ตลาดไอศกรีมโฮมเมดมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีคู่แข่งใหม่เข้ามาทำตลาดค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องรักษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ไว้
ด้านการขยายสาขาจะเน้นเปิดในกรุงเทพฯ เป็นหลัก โดยจะเน้นสาขาสแตนด์อโลนในแหล่งชอปปิ้ง มอลล์ที่ใกล้แหล่งชุมชน ถึงแม้ว่าจะเป็นทำเลที่มีคนน้อยกว่าศูนย์การค้า แต่เป็นทำเลที่สามารถสร้างแบรนด์และยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ อีกทั้งไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาการเปิดปิด สามารถควบคุมเองได้ ซึ่งที่ผ่านมาไอเบอร์รี่จะเปิดสาขาควบคู่ไปกับชอปปิ้ง มอลล์ของกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์และได้รับผลตอบรับที่ดี
บริษัทจะเน้นขยายสาขาแบบร้านนั่งทานมากกว่าคีออส เพราะสามารถให้บริการได้หลากหลาย โดยมีพื้นที่เฉลี่ย 40-60 ตร.ม. ใช้งบลงทุนประมาณ 1-3 ล้านบาท ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 สาขา มี 3 สาขาเป็นแบบคีออส คือ เดอะมอลล์ บางกะปิ, เซ็นทรัล ชิดลม และดิเอ็มโพเรียม ตั้งเป้าภายใน 5 ปีจะต้องมีสาขาเพิ่มอีกอย่างน้อย 10-15 แห่ง โดยวางแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม 2-3 สาขาต่อปี
ส่วนสาขาต่างจังหวัดจะมองจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งล่าสุด ได้เปิดสาขาที่เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต เป็นสาขาแรกในต่างจังหวัด แต่บริษัทยังไม่มีแผนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์
เอเต้ปรับทิศเปิดสแตนด์อโลน
นายสุชน ก่อเกษมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโฮมเมด เอเต้ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า กลยุทธ์การทำตลาดในปีนี้ของเอเต้หลังจากที่เข้ามาทำตลาดไอศกรีมโฮมเมดตั้งแต่เมื่อปี 2545 วางแผนที่จะเปิดสาขาสแตนด์อโลนมากกว่าในศูนย์การค้า โดยจะเลือกทำเลที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก อาทิ สีลม สุขุมวิท ทั้งนี้ เป็นเพราะสามารถควบคุมเวลาเปิด-ปิดได้เอง ไม่ต้องขึ้นตามเวลาของศูนย์การค้า
โดยเฉพาะการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ปิดศูนย์การค้า ดิสเคานต์สโตร์เร็วขึ้นนั้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจไอศกรีม ซึ่งยอดขาย 8 เดือนแรกของเอเต้เติบโตเพียง 30% จากเป้าที่วางไว้ 40% จึงต้องเร่งสร้างยอดขายในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ เพื่อให้ยอดขายเป็นไปตามเป้า
นอกจากนี้ การเปิดสาขาในศูนย์การค้าหากได้ทำเลที่ไม่ดีก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็ตัดสินใจปิดสาขาเซ็นทรัล บางนา และเมื่อต้นปีก็ปิดสาขาอีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่ เนื่องจากจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการในจุดทำเลที่ตั้งของเอเต้น้อยมาก โดยในส่วนของสาขาอีจีวีถึงแม้ว่าจะอยู่ในทำเลใจกลางเมือง แต่หลังจากที่อีจีวีหันไปให้ความสำคัญกับสาขาเมโทรโพลิส ราชดำริมากกว่าและเน้นจัดกิจกรรมที่สาขาดังกล่าวแทนที่อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่ ส่งผลให้ยอดขายลดลงมากจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันเอเต้มีสาขาทั้งหมด 8 สาขา คีออส 1 สาขาที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และเตรียมขยายร้านที่สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าวเพิ่มเป็นเท่าตัวจาก 40 ตร.ม. เป็น 70-80 ตร.ม. ซึ่งในปีหน้าวางแผนที่จะเปิดสาขาใหม่อีก 2-3 แห่ง
ตั้งแต่ปี 2545 ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มเปิดตลาดไอศกรีมโฮมเมดด้วยการปั้นแบรนด์อย่างจริงจังมากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อป้อนให้กับภัตตาคาร ร้านอาหารหรือโรงแรมต่างๆ จนถึงช่วงนี้ภาวะการแข่งขันของธุรกิจนี้ก็เริ่มรุนแรง มีคู่แข่งเข้ามาทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยจากการคาดการณ์ของผู้ประกอบการหลายรายระบุว่าตลาดไอศกรีมโฮมเมดมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% ต่อปี มีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดรวมไอศกรีมพรีเมียม 1,500 ล้านบาท
ในปีนี้ผู้ประกอบการยุคแรกของตลาดนี้จึงเร่งปรับทิศการทำตลาดเพื่อรองรับคู่แข่งใหม่ และการปรับตัวของเจ้าตลาดไอศกรีมพรีเมียมยักษ์ใหญ่อย่างสเวนเซ่นส์ และบาสกิ้น รอบบิ้นด้วย
โบนิโต้ฝันบุกตลาดตปท.
นายชัยยา ทักษะวณิช ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดาวิตร แอนด์ ซันส์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโฮมเมด โบนิโต้ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า หลังจากที่บริษัทปั้นแบรนด์โบนิโต้ทำตลาดในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2545 มีแผนที่จะขายแฟรนไชส์ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากัน 2-3 รายกับนักลงทุนชาวออสเตรเลีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกาที่จะเข้ามาเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ โดยคาดว่าจะสรุปการเจรจาดังกล่าวได้ภายในต้นปี 2548
หากบริษัทขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะต้องขยายกำลังการผลิตของโรงงานที่จากเดิมสามารถผลิตได้ 200 ตัน/ปี เพิ่มอีก 50%
สำหรับแผนทำตลาดในประเทศไทย ทำเลในกรุงเทพฯ บริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเอง 100% แต่ตลาดต่างจังหวัดอาจจะทยอยขายแฟรนไชส์ให้กับผู้ที่สนใจ โดยต่อไปจะเน้นขยายสาขาแบบร้านนั่งทานมากกว่าคีออสเหมือนในอดีต เพราะปัจจุบันตลาดไอศกรีมพรีเมียมขยายตัวมาก และทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมรับประทานไอศกรีมโฮมเมดมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคไอศกรีมของคนไทยยังนิยมนั่งทานในร้านมากกว่าเดินรับประทาน
ช่วงก่อนท้ายปีนี้มีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่อีก 3 แห่ง จากปัจจุบันมี 6 สาขา ทำให้สิ้นปีจะมีสาขาครบ 9 แห่งตามเป้าหมายที่วางไว้ และตั้งแต่ปีหน้าบริษัทจะรุกขยายสาขามากขึ้นวางแผนจะเปิดปีละ 5-10 สาขา ตามทำเลใหม่ๆ อาทิ รถไฟฟ้า ศูนย์การประชุมต่างๆ พร้อมกับตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะต้องมีสาขาทั้งหมด 30 สาขา หากเป็นสาขาแบบคีออสจะมีพื้นที่ขนาด 15 ตร.ม. ร้านนั่งทาน มีขนาดพื้นที่ 30 ตร.ม. ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาทใกล้เคียงกันทั้ง 2 รูปแบบ
ยอดขายในปีนี้คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 100% จากการเปิดสาขาใหม่และการขยายตัวของสาขาเดิม ซึ่งปี 2546 ที่ผ่านมายอดขายของบริษัทเติบโต 50% แบ่งเป็นตลาดฟู้ดเซอร์วิส 40% และตลาดผู้บริโภค 60%
ไอเบอร์รี่ดึงเมนู“สมูท”เสริม
นางสาวอัจฉรา บุรารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเบอร์รี่ โฮมเมด จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโอมเมด ไอเบอร์รี่ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมาไอเบอร์รี่เริ่มปรับกลยุทธการทำตลาดด้วยการแตกไลน์เมนูใหม่เป็นกลุ่มน้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ “สมูท เบอร์รี่” ประมาณ 60 เมนู เพื่อเพิ่มยอดขายให้เติบโตแบบก้าวกระโดดตามกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค
ในส่วนของไอศกรีมยังเพิ่มการแต่งหน้าไอศกรีมหรือทอปปิ้งเข้ามาช่วยกระตุ้นยอดขาย จากเดิมที่ไอเบอร์รี่จะเน้นจำหน่ายแต่ไอศกรีมเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ยอดขายเติบโตค่อนข้างน้อย โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.นี้ และในช่วงแรกจะมีเมนูสำหรับไอศกรีม 13 เมนู และคาดว่าหลังจากปรับครั้งนี้แล้วจะช่วยทำให้ยอดขายปีนี้เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% จากอัตราการเติบโตปกติอยู่ที่ 20%
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ไอเบอร์รี่ต้องเร่งปรับตัวหลังจากที่เข้ามาทำตลาดได้ประมาณ 4-5 ปีแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการที่ตลาดไอศกรีมโฮมเมดมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีคู่แข่งใหม่เข้ามาทำตลาดค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องรักษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ไว้
ด้านการขยายสาขาจะเน้นเปิดในกรุงเทพฯ เป็นหลัก โดยจะเน้นสาขาสแตนด์อโลนในแหล่งชอปปิ้ง มอลล์ที่ใกล้แหล่งชุมชน ถึงแม้ว่าจะเป็นทำเลที่มีคนน้อยกว่าศูนย์การค้า แต่เป็นทำเลที่สามารถสร้างแบรนด์และยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ อีกทั้งไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาการเปิดปิด สามารถควบคุมเองได้ ซึ่งที่ผ่านมาไอเบอร์รี่จะเปิดสาขาควบคู่ไปกับชอปปิ้ง มอลล์ของกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์และได้รับผลตอบรับที่ดี
บริษัทจะเน้นขยายสาขาแบบร้านนั่งทานมากกว่าคีออส เพราะสามารถให้บริการได้หลากหลาย โดยมีพื้นที่เฉลี่ย 40-60 ตร.ม. ใช้งบลงทุนประมาณ 1-3 ล้านบาท ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 สาขา มี 3 สาขาเป็นแบบคีออส คือ เดอะมอลล์ บางกะปิ, เซ็นทรัล ชิดลม และดิเอ็มโพเรียม ตั้งเป้าภายใน 5 ปีจะต้องมีสาขาเพิ่มอีกอย่างน้อย 10-15 แห่ง โดยวางแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม 2-3 สาขาต่อปี
ส่วนสาขาต่างจังหวัดจะมองจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งล่าสุด ได้เปิดสาขาที่เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต เป็นสาขาแรกในต่างจังหวัด แต่บริษัทยังไม่มีแผนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์
เอเต้ปรับทิศเปิดสแตนด์อโลน
นายสุชน ก่อเกษมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้บริหารร้านไอศกรีมโฮมเมด เอเต้ เปิดเผย “ผู้จัดการรายวัน” ว่า กลยุทธ์การทำตลาดในปีนี้ของเอเต้หลังจากที่เข้ามาทำตลาดไอศกรีมโฮมเมดตั้งแต่เมื่อปี 2545 วางแผนที่จะเปิดสาขาสแตนด์อโลนมากกว่าในศูนย์การค้า โดยจะเลือกทำเลที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก อาทิ สีลม สุขุมวิท ทั้งนี้ เป็นเพราะสามารถควบคุมเวลาเปิด-ปิดได้เอง ไม่ต้องขึ้นตามเวลาของศูนย์การค้า
โดยเฉพาะการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ปิดศูนย์การค้า ดิสเคานต์สโตร์เร็วขึ้นนั้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจไอศกรีม ซึ่งยอดขาย 8 เดือนแรกของเอเต้เติบโตเพียง 30% จากเป้าที่วางไว้ 40% จึงต้องเร่งสร้างยอดขายในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ เพื่อให้ยอดขายเป็นไปตามเป้า
นอกจากนี้ การเปิดสาขาในศูนย์การค้าหากได้ทำเลที่ไม่ดีก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็ตัดสินใจปิดสาขาเซ็นทรัล บางนา และเมื่อต้นปีก็ปิดสาขาอีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่ เนื่องจากจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการในจุดทำเลที่ตั้งของเอเต้น้อยมาก โดยในส่วนของสาขาอีจีวีถึงแม้ว่าจะอยู่ในทำเลใจกลางเมือง แต่หลังจากที่อีจีวีหันไปให้ความสำคัญกับสาขาเมโทรโพลิส ราชดำริมากกว่าและเน้นจัดกิจกรรมที่สาขาดังกล่าวแทนที่อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่ ส่งผลให้ยอดขายลดลงมากจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันเอเต้มีสาขาทั้งหมด 8 สาขา คีออส 1 สาขาที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และเตรียมขยายร้านที่สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าวเพิ่มเป็นเท่าตัวจาก 40 ตร.ม. เป็น 70-80 ตร.ม. ซึ่งในปีหน้าวางแผนที่จะเปิดสาขาใหม่อีก 2-3 แห่ง