xs
xsm
sm
md
lg

WEEE และ RoHS:ระเบียบใหม่ EU...ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับตัว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ท่ามกลางกระแสเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่เน้นลดภาษีอากรขาเข้า เพื่อผลประโยชน์การค้าของทุกฝ่ายที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ยังมีอีกหลายมาตรการด้านต่างๆ ที่ไม่ใช่มาตรการภาษีอากร (Non-Tariff Barrier : NTB) ใช้เพื่อเป็นปราการปกป้องผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมในประเทศของตน

ดูเหมือนมาตรการสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญ ทั้งเชิงป้องกัน (Preventive Approach) และเชิงแก้ไข (Corrective Approach) มักจะใช้กับสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ

สินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นหนึ่งในสินค้าอุตสาหกรรม ที่มีมาตรการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น หาผู้รับผิดชอบกำจัดขยะไฮเทค (e-Waste) ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่หมดอายุใช้งา ซึ่งเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยมา

การเน้นจำกัดหรืองดใช้สารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุด กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (European Union : EU) เริ่มประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste, Electrical and Electronic Equipment : WEEE) และระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHS)

ระเบียบทั้ง 2 บัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบจากสารอันตรายที่ตกค้างในขยะไฮเทค

WEEE : ระเบียบใหม่มุ่งแสวงหา “ผู้รับผิดชอบ”
ประมาณการณ์ ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union : EU) ขยะไฮเทคเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 6 ล้านตัน1 อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ที่มีประมาณ 12 ล้านตันต่อปี1 โดยเฉพาะอังกฤษ ปริมาณขยะไฮเทคต่อประชากรหนึ่งคน จะอยู่ที่ปีละประมาณ 14 กิโลกรัม 90%2 ของขยะไฮเทคในอังกฤษ กำจัดด้วยการฝังกลบ หรือเผาทำลาย ค่าใช้จ่ายกำจัดขยะไฮเทคในประเทศเดียวนี้ ประมาณการณ์ที่ 455 ล้านปอนด์ หรือประมาณกว่า 3,300 ล้านบาทแต่ละปี3

ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste, Electrical and Electronic Equipment : WEEE) จึงถือกำเนิด เพื่อหาผู้รับผิดชอบสนับสนุนค่าใช้จ่ายจัดการขยะไฮเทค ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่หมดอายุใช้งาน ในประเทศสมาชิก EU

โดยมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ทั้งที่ใช้ภายในบ้าน และในอุตสาหกรรมที่จำหน่ายในตลาด EU โดยจำแนกประเภทไว้ 10 ประเภท ดังนี้

1.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เตา
ไฟฟ้า เป็นต้น

1.2 เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านขนาดเล็ก เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องเป่าผม เป็นต้น
1.3 อุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่อง
คำนวณ เครื่องโทรสาร เป็นต้น

1.4 เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นซีดี เป็นต้น
1.5 อุปกรณ์แสงสว่าง เช่น หลอดฟลูโอเรสเซนต์ หลอดโซเดียม เป็นต้น

1.6 เครื่องมือไฟฟ้า เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า จักรเย็บผ้าไฟฟ้า เป็นต้น
1.7 ของเล่นและอุปกรณ์กีฬาที่ใช้ไฟฟ้า เช่น วีดีโอเกมส์ ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นต้น
1.8 อุปกรณ์การแพทย์ เช่น อุปกรณ์ทางรังสีวิทยาแบบต่างๆ เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1 : Wuppertal Institute for Climate, Environment, Energy, Döppersberg, Germany
2 : Rufus Green, Reed Elsevier Public Company, London, UK
3 : Envirowise, a UK government’s program by AEA Technology Plc., UK (www.envirowise.gov.uk )

1.9 อุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัด แผงควบคุมต่างๆ เป็นต้น
1.10เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่อง ATM เครื่องจำหน่ายเครื่องดื่มบรรจุ
กระป๋อง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ระเบียบ WEEE ยังมีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ บางประเภท เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการทหาร เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม อุปกรณ์หรือเครื่องมือการแพทย์ที่ใช้ฝัง หรือยึดติดกับร่างกาย รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นชิ้นส่วนประกอบย่อยอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้น

ระเบียบดังกล่าวประกาศสิงหาคม กำหนดให้ผู้ผลิต (Producers) ที่หมายความรวมถึงผู้ผลิตสินค้าเอง (manufauturers) หรือว่าจ้างผลิต และจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ตนเอง หรือผู้ส่งออก/นำเข้าไปตลาด EU เชิงพาณิชย์

โดยไม่ได้หมายความรวมถึงผู้ค้าปลีก-ส่ง เป็นผู้รับผิดชอบสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการขยะไฮเทค ที่เกิดจากสินค้าที่ตนเป็นผู้ผลิต/ส่งออก/นำเข้า ซึ่งอาจเป็นไปได้ในรูปนำกลับประเทศไปทำลาย หรืออุดหนุนค่าใช้จ่าย (Financial Responsibility) ให้ผู้จัดการขยะไฮเทคประเทศนั้นๆ และทุกประเทศใน EU ต้องใช้ระเบียบนี้ อย่างช้าไม่เกินวันที่ 13 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป4 รายละเอียดปลีกย่อยของระเบียบ จะต่างกันตามแต่ละประเทศ

RoHS : มุ่งลดผลกระทบพิษภัยแฝงขยะไฮเทค
ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Harzardous Substances : RoHS) เป็นมาตรการจำกัดใช้สารอันตรายบางชนิด ที่ใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเข้าไปจำหน่ายในตลาด EU หลังกรกฎาคม ปี 25494

เนื่องจากสารอันตรายเหล่านี้ ล้วนมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หากแพร่กระจายลงสู่ดิน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งการกำจัด ก็มีใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ผู้ผลิตต้องลดการใช้ให้อยู่ในปริมาณจำกัด หรืองดใช้สารอันตราย 6 ชนิด ดังนี้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4 : UK Department of Trade and Industry, London, UK

ตะกั่ว(Lead) เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มานาน ใช้ฉาบจอแก้ว
หลอดรังสีแคโทด (Cathode Ray Tube : CRT) หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ และจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ ยังใช้บัดกรีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บนแผงวงจรไฟฟ้า

แคดเมี่ยม(Cadmium) พบในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัสดุกึ่งตัวนำ
(Semiconductors) อุปกรณ์ตรวจจับอินฟราเรด (Infrared Detectors) หลอดภาพรุ่นเก่า เป็นต้น

ยังใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก ประมาณการณ์ว่า ระหว่างปี 1997–2004 จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าหมดสภาพใช้งานทั่วโลกประมาณ 315 ล้านเครื่อง คิดเป็นปริมาณแคดเมี่ยมที่ต้องกำจัดประมาณ 9 แสนกิโลกรัม5

ปรอท (Mercury) ถูกใช้กว้างขวางในชิ้นส่วนไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัด
(Thermostat) รีเลย์ แบตเตอรี่ สวิทซ์ขนาดเล็กบนแผงวงจรอุปกรณ์ตรวจวัด (Measuring Equipment) ปรอทยังใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์การแพทย์ สื่อสาร โทรคมนาคม อีกด้วย

ประมาณการณ์ว่า ระหว่างปี 1997–2004 จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าหมดสภาพใช้งานทั่วโลกประมาณ 315 ล้านเครื่อง ปริมาณปรอทต้องกำจัดประมาณ 2 แสนกิโลกรัม5

เฮกซาวาเล้นท์โครเมี่ยม (Hexavalent Chromium or Chromium VI) เป็นสารใช้เคลือบ
โลหะ เพื่อป้องกันการผุกร่อนสำหรับชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลกทรอนิกส์ผลิตจากโลหะแผ่น และเป็นพิษต่อส่งแวดล้อม หากฝังกลบหรือเผาทำลายผิดวิธี

เครื่องคอมพิวเตอร์เก่าหมดสภาพใช้งานรวมประมาณ 315 ล้านเครื่อง ระหว่างปี 1997-2004 ปริมาณเฮกซาวาเล้นท์โครเมี่ยมต้องกำจัดประมาณ 5.5 แสนกิโลกรัม5

โพลี-โบรมิเนท-ไบเฟนิล (Poly Brominated Biphenyls : PBB) นิยมใช้ในอุตสาหกรรม
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นสารทนไฟ (Flame-Retardants) ซึ่งใช้ผสมในเนื้อพลาสติกที่ใช้เป็นส่วนประกอบ เช่น แผงวงจร (Printed Circuit Board) ข้อต่อไฟฟ้า
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5: Californians Against Waste Foundation, Sacramento, California, USA

(Connectors) สายไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นพลาสติก เช่น โครงฝาครอบเครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ทั้งที่ใช้ในสำนักงาน และที่ใช้ในบ้าน เป็นต้น

โพลี-โบรมิเนท-ไดเฟนิล-อีเทอร์ (Poly Brominated Diphenyl Ethers : PBDE) นิยมใช้
เป็นสารทนไฟเช่นเดียวกับ PBB ใช้ผสมในชิ้นส่วนพลาสติก ทั้งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

บางกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังคงไม่สามารถหาวัสดุใหม่ทดแทนได้ ระเบียบ RoHSอาจมีข้อยกเว้นบางกรณี เช่น

•ใช้สารโลหะหนักต้องห้าม เนื่องจากไม่สามารถหาวัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น ใช้ปรอทผลิต
หลอดไฟฟ้าบางประเภท ใช้ตะกั่วผลิตหลอดภาพโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ ตะกั่วที่เป็นส่วนผสมในเนื้อโลหะบางชนิด เป็นต้น

•ใช้ตะกั่วเป็นวัสดุบัดกรี สำหรับ Server หรือระบบเก็บข้อมูล จะยกเว้นถึงปี 25536
•ใช้ตะกั่วเป็นวัสดุบัดกรีอุปกรณ์ระบบเครือข่ายงาน (Network) เช่น อุปกรณ์สับเปลี่ยน
สัญญาณ (Switching) ส่งสัญญาณ (Signaling) เป็นต้น จะยกเว้นจนกว่าจะมีประกาศแก้ไขเพิ่มเติม

•ใช้สารอันตราย 6 ประเภทดังกล่าวรูปแบบอื่นๆ ที่มีข้อพิสูจน์เทคนิค ว่ายังไม่สามารถหา
วัสดุอื่นดีกว่า ทดแทนได้

ผลกระทบอาจเกิดกับผู้ส่งออกไทยเนื่องจาก WEEE และ RoHS
ผู้ผลิต/ส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปเข้าตลาด EU อาจได้รับผลกระทบด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากประกาศใช้ระเบียบ WEEE เนื่องจากบางประเทศ EU อาจกำหนดให้ผู้ผลิต หรือผู้ใช้สินค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบ หรือรับผิดชอบร่วมกัน อุดหนุนค่าใช้จ่ายกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสินค้าที่ได้จำหน่ายออกไปอยู่ในความครอบครองผู้ใช้สินค้าก่อนวันที่ 13 สิงหาคม 25487

-------- -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6 : Environmantal & Occupational Risk Management Inc.(EORM), Sunnyvale, California, USA
7 : UK Department of Trade and Industry, London, UK

และผู้ผลิตต้องผู้รับผิดชอบทั้งหมด อุดหนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว

สำหรับซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสินค้าที่จำหน่ายออกไปอยู่ในความครอบครองผู้ใช้สินค้าหลังจากวันที่ 13 สิงหาคม 25487 ทุกประเทศตลาด EU การประกาศใช้ระเบียบ RoHS จะส่งผลกระทบผู้ประกอบการไทย ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Original Equipment Manufacturers :OEM) เข้าตลาด EU

หากไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องระเบียบ RoHS ทันเวลา อาจทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ใน EU และอาจไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปตลาดEUได้อีกต่อไป หากไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับระเบียบ RoHS ได้

สำหรับผู้ส่งออกชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาจได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้ระเบียบ RoHS เช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น แต่สำหรับผู้ผลิต หรือผู้ส่งออกชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลิตหรือส่งออกป้อนผู้ผลิต OEM ทั้งในและต่างประเทศ ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของตนไปตลาดEU

หากไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของตนให้สอดคล้องกับระเบียบ RoHS ทันเวลา อาจทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการ OEM ไม่สามารถรอได้ อาจหันไปสั่งซื้อจากผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งจากประเทศอื่น ที่ได้คุณภาพ ตามระเบียบ RoHS เพื่อให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาด EU ดำเนินการต่อได้

หรืออาจทำให้ผู้ประกอบการไทย ไม่สามารถจำหน่ายชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ประกอบการ OEM รายนั้นๆ ได้อีกต่อไป หากไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของตน ให้เป็นไปตามระเบียบ RoHS

ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนสู่ตลาดโลกมานาน EU เป็นตลาดหลักอีกตลาด ที่แนวโน้มดีขึ้นเรื่อยมา โดยปี 2546 ยอดส่งออกรวมประมาณ 1,165,722.96 ล้านบาท

ปีนี้ มกราคม–มิถุนายน ยอดส่งออกรวมประมาณ 694,206.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 10.81% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แม้การส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย จะไม่ครอบคลุมครบทั้ง 10 ประเภท ตามที่ระบุใน WEEE

เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางรายการ ไม่ได้ผลิตในไทย แต่ก็ต้องให้ความสำคัญผลกระทบที่จะเกิดจากระเบียบใหม่ตลาด EU ดังกล่าว อย่างมากด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7 : UK Department of Trade and Industry, London, UK

มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาด EU เทียบกับมูลค่าส่งออกรวม (รายปี)
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์25452546 2547 (ม.ค. - มิ.ย.)
EUส่งออกรวมสัดส่วน(%)EUส่งออกรวมสัดส่วน(%)EUส่งออกรวมสัดส่วน(%)เปลี่ยน*แปลง(%)
เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด
ใหญ่12,319.8367,320.0818.3021,589.6884,440.2125.5619,840.1068,946.1928.7743.90
อุปกรณ์สารสนเทศ16,441.2965,425.2625.1216,866.4372,703.3123.2010,878.5839,289.1427.6815.10
เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์
ภายในบ้าน9,648.7277,060.9912.5211,659.0471,383.6316.339,094.2841,747.3721.7842.42

อุปกรณ์ตรวจวัด หรือ
ควบคุม4,740.0440,644.5211.668,050.3146,248.3317.044,880.4427,163.4717.9631.82

ชิ้นส่วนไฟฟ้า20,265.45212,215.069.5420,740.15226,164.639.1713,504.9579,777.3816.923.72
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์90,918.58581,569.3415.63104,833.77644,467.1816.2752,110.65333,960.9815.608.91
เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด
เล็ก1,148.6916,925.456.781,204.2816,495.777.301,762.1411,424.2715.4225.39
หลอดไฟฟ้า222.403,558.296.25241.273,819.906.31105.371,896.875.553.29
มูลค่ารวม155,705.001,064,718.9914.62185,184.931,165,722.9615.88112,176.51694,206.6616.1610.81

ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กรมศุลกากร และจากการรวบรวมของศูนย์วิจัยกสิกรไทย
* : เป็นการเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกของปีนี้ช่วงเดือน มกราคม – มิถุนายน กับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546

ตารางข้างต้น มูลค่าส่งออกของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาด EU เฉลี่ยประมาณ 15% ของยอดส่งออกรวมแต่ละปีที่ผ่านมา แต่นับจากนี้ ความสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับ WEEE และ RoHS ของผู้ประกอบการไทย จะเป็นอีกปัจจัย ที่มีผลต่อแนวโน้มส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาด EU

กลุ่มผู้ประกอบการไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้ระเบียบทั้ง 2 จำแนกได้ 3 กลุ่มดังนี้

1.อุตสาหกรรมที่แนวโน้มจะได้รับผลกระทบ คือกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สัดส่วนส่งออก
ตลาด EU ค่อนข้างสูง ล่าสุด ครึ่งแรกปีนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ มูลค่าส่งออกตลาด EU 19,840.10 ล้านบาท 28.77% ของมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งหมด

กลุ่มอุปกรณ์สารสนเทศ มูลค่าส่งออกตลาด EU 10,878.58 ล้านบาท 27.68% ของมูลค่าส่งออกอุปกรณ์สารสนเทศทั้งหมด และกลุ่มเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน มูลค่าส่งออกตลาด EU 9,094.28 ล้านบาท 21.78% ของมูลค่าส่งออกเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านทั้งหมด

กลุ่มอุปกรณ์สารสนเทศ และกลุ่มเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน (Home Electronics) นอกจากจะได้รับผลกระทบจากระเบียบข้อบังคับ WEEE ยังได้รับผลกระทบจากการแข่งขันค่อนข้างสูง

โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนแปลงรุ่น หรือเสื่อมความนิยม ค่อนข้างเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้มีสินค้ารุ่นเก่าเสื่อมความนิยม กลายเป็นขยะไฮเทคจำนวนมาก ที่ต้องกำจัดต่อไป ซึ่งจะต่างจากกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่สินค้ามักจะมีอายุใช้งานนานกว่า และพลวัตเปลี่ยนแปลงช้ากว่า

2.อุตสาหกรรมที่แนวโน้มจะได้รับผลกระทบรองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมที่
สัดส่วนส่งออกตลาด EU ระหว่าง 10-20% ของมูลค่าส่งออกรวมแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุม

ช่วงครึ่งแรกปีนี้ มูลค่าส่งออกตลาด EU 4,880.44 ล้านบาท 17.96% ของการส่งออกอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมทั้งหมด กลุ่มชิ้นส่วนไฟฟ้า มูลค่าส่งออกตลาด EU 13,504.95 ล้านบาท 16.92% ของมูลค่าส่งออกชิ้นส่วนไฟฟ้าทั้งหมด

กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าส่งออกตลาด EU 52,110.65 ล้านบาท 15.60% ของมูลค่าส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก มูลค่าส่งออก 1,762.14 ล้านบาท 15.42% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กทั้งหมด

กลุ่มชิ้นส่วนไฟฟ้าและกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก แม้จะมีสัดส่วนส่งออกตลาด EU ไม่สูงนัก แต่อาจได้รับผลกระทบจากการแข่งขันสูงในตลาด EU จากคู่แข่งประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ 2 กลุ่มนี้ ไม่มีเทคโนโลยีซับซ้อนมากนัก

3.อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนส่งออก
ตลาด EU ต่ำกว่า 10% ของมูลค่าส่งออกรวมแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กลุ่มผู้ผลิตหลอดไฟฟ้า ช่วงครึ่งแรก มูลค่าส่งออกตลาด EU 105.37 ล้านบาท 5.5% ของการส่งออกหลอดไฟฟ้าทั้งหมด

แม้ปริมาณส่งออกยังไม่สูงนัก แต่ควรให้ความสำคัญระเบียบทั้ง 2 นี้ เพื่อรองรับขยายตลาด EU และเตรียมพร้อมสำหรับมาตรการที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่อาจมีเพิ่มเติมอนาคต

WEEE กับ RoHS…2 ระเบียบใหม่…ที่ผู้ส่งออกไทยต้องปรับตัวตาม
การเร่งปรับตัวให้สอดคล้องตามระเบียบ WEEE and RoHS ของผู้ประกอบการไทย ควรเร่งดำเนินการ เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากกลุ่มนี้ มูลค่าส่งออกตลาด EU สูง แนวโน้มมูลค่าส่งออกจะเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปตลาด EU ที่คาดว่าจะชะลอ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้า แต่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยปีนี้ ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณ 11% จากปีที่แล้ว

คาดที่ประมาณ 1,300,000 ล้านบาท เทียบกับ 1,165,722.96 ล้านบาทปี 2546 เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด EU อีกทั้งยกระดับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล

การปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าวของผู้ประกอบการ จึงควรดำเนินการจริงจัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปปัญหาอุปสรรค ตลอดจนประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงาน พร้อมทข้อเสนอแนะเตรียมการเพื่อรองรับ ดังนี้

1.ปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องกับ 2 มาตรการใหม่อียู เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการ ทั้งขนาดเล็กและกลางบางราย ยังเป็นสินค้าผลิตตามแบบ และเทคโนโลยีการผลิตรุ่นเก่า ที่ใช้กันมาแต่เดิมเป็นเวลานาน

เมื่อระเบียบข้อบังคับ ทั้ง WEEE และ RoHS มีผลบังคับใช้ทุกประเทศ EU ภายในสิงหาคม 2549 อาจกลายเป็นประเด็นหยิบยกโดยประเทศผู้นำเข้า เพื่อกีดกันนำเข้าในรูปชะลอ หรืองดสั่งซื้อ

ผู้ประกอบการควรเร่งปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับทั้ง 2 ระเบียบใหม่เร่งด่วน ผู้ประกอบการควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากการปรับปรุง ทั้งผลิตภัณฑ์และกรรมวิธีผลิต เป็นกระบวนการเกี่ยวข้องกับการทดลอง ทดสอบ และการศึกษาผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า ที่อาจใช้เวลานานดำเนินการ

2.ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคต่างประเทศส่วนน้อย หรือพัฒนาเทคโนโลยีกันขึ้นเองในวงจำกัด ด้วยข้อจำกัดเงินทุนเพื่อวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับส่งออก และพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงหน่วยงานที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการรูปแบบต่างๆ จะเป็นแหล่งข้อมูล และจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการได้อย่างดี

3.การรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน (Clustering) การ
ดำเนินการในรูปการรวมตัวกันกลุ่มวิสาหกิจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงอยู่ในวงจำกัด หรือเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในเครือข่ายธุรกิจเดียวกันส่วนใหญ่

ยังความเสียเปรียบเชิงการแข่งขันให้ผู้ประกอบการบางราย ที่ไม่ได้ร่วมเครือข่ายธุรกิจกับใคร การรวมตัวกันของผู้ประกอบการ ในลักษณะรวมกลุ่มวิสาหกิจ จะช่วยให้ความเคลื่อนไหว หรือปรับตัวตามกระแสเปลี่ยนแปลงตลาด ทันสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาและการดำเนินการด้านต่างๆ ประสิทธิภาพดีขึ้น

เนื่องจากจะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมทั้งเพิ่มอำนาจต่อรองด้านต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เนื่องจากการดำเนินการ ที่ประสานงานทิศทางเดียวกัน

4.แสวงหาตลาดใหม่ เนื่องจาก EU เป็น 1 ในตลาดส่งออกหลักของไทย ที่แข่งขันสูง และ
คู่แข่งสำคัญจากหลายประเทศ ที่มีเทคโนโลยีพร้อมกว่า ผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดด้านศักยภาพพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต อาจต้องใช้เวลานาน ดำเนินการพัฒนา

อาจมีมาตรการสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ประกาศใช้เพิ่มเติมได้ภายหลัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต้นทุนสูง ต่อผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดเงินทุน การแสวงหาตลาดใหม่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก จึงควรจะดำเนินการจริงจัง เพื่อเพิ่มตลาดส่งออกใหม่ เพื่อชดเชย หรือเสริมส่วนแบ่งตลาดจากตลาด EU ที่อาจลดลง หากนำมาตรการเกี่ยวข้อง ที่เข้มงวดขึ้น ประกาศใช้เพิ่มเติมอนาคต

ผู้ประกอบการควรเริ่มดำเนินการเนิ่นๆ เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำรวจตลาด สร้างการรับรู้สินค้าเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนจากไทย อาจเป็นสิ่งใหม่ในตลาดภูมิภาคนั้นๆ

อีกทั้งคู่แข่งที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ครองตลาดแต่เดิม รวมทั้งกฎระเบียบ และข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจต่างกับประเทศอื่นๆ ที่ผู้ส่งออกเชี่ยวชาญ หรือคุ้นเคย ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใช้เวลาปรับตัว หรือสร้างความคุ้นเคยเป็นเวลานาน อีกทั้งคู่แข่งประเทศอื่นๆ มักจะมองหาตลาดส่งออกใหม่เพิ่มเติมเช่นกัน

สรุป
WEEE และ RoHS เป็นระเบียบข้อบังคับที่มีพื้นฐานบนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดปริมาณ หรืองดใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ส่งออกไทยและผู้ส่งออกประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ต้องปฏิบัติตาม

หากยังต้องการจะส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว จำหน่ายตลาดEU ผู้ส่งออกไทย ควรให้ความสำคัญ และเร่งดำเนินการจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องกฎระเบียบใหม่ประเทศคู่ค้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า แม้การดำเนินการดังข้อเสนอแนะที่กล่าวแล้ว อาจดูเป็นการลงทุนที่สูงสำหรับผู้ประกอบการบางราย เพียงเพื่อตลาดส่งออกเพียงตลาดเดียว และมีผลต่อต้นทุนสินค้าโดยตรง

แต่ผู้ประกอบการควรถือเป็นโอกาสปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากระเบียบข้อบังคับทั้ง 2 นี้ ถือกำเนิดจากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่สนใจทั่วโลก

จึงเป็นไปได้ ที่ประเทศอื่นๆ ทั้งที่เป็นตลาดส่งออกหลักอื่นๆ และตลาดส่งออกใหม่ในอนาคตของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากไทย จะนำแนวทางเดียวกับ WEEE และ RoHS ปรับใช้

เมื่อถึงเวลานั้น ผู้ส่งออกที่สามารถปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องระเบียบข้อบังคับทั้ง 2 นี้ได้ล่วงหน้า จะได้เปรียบอย่างยิ่ง รักษาตลาดเดิม และเพิ่มตลาดใหม่อนาคต

การดำเนินการดังกล่าว ควรจริงจัง โดยความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และทันสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทย ยังแข่งขันในตลาดโลกได้ และเพื่อให้อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังคงเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลัก สร้างรายได้เข้าประเทศงยั่งยืนสืบไป
กำลังโหลดความคิดเห็น