ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
การที่องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข เปิดตัวผลิตภัณฑ์ครีมจีพีโอ เคอร์มินท์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ“ครีมหน้าเด้ง”นับว่าเปิดหน้าใหม่ให้วงการเครื่องสำอางไทย เป็นการเปิดตลาดให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบการผลิต ซึ่งแสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของสมุนไพรไทย
สมุนไพรต่างๆ นับเป็นวัตถุดิบสำคัญการผลิตเวชสำอาง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิต และความสำเร็จการศึกษาวิจัย เพื่อนำประโยชน์ของสมุนไพร ใช้ในเชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์
ประเทศไทยยังจะเป็นที่จับตามอง ในฐานะอีกประเทศ ที่จะมีบทบาทส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ปัจจุบัน ตลาดเวชสำอาง แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เป็นผลจากผู้บริโภคเริ่มสนใจผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมคุณสมบัติเครื่องสำอาง และ/หรือยาไว้ด้วยกัน นับเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่วงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น
ทำให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอางธรรมชาติ (Natural Cosmeceuticals) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องไม่มีส่วนผสม เช่น กลิ่น สี สารปรุงแต่ง สารที่ทำให้คงสภาพ ตัวทำละลาย เป็นต้น ที่เป็นสารสังเคราะห์ รวมทั้งยังต้องไม่มีการฉายรังสี ไม่มีการใช้วัตถุดิบปนเปื้อน หรือตัดแต่งพันธุกรรม และไม่ใช้สัตว์ทดลอง การใช้สัตว์ทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ และอาการแพ้ ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นใหม่
ปัจจัยสำคัญผลักดันธุรกิจผลิตเวชสำอางขยายตัวรวดเร็ว คือความต้องการผู้บริโภค ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมี การผลิตต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นับเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในธุรกิจเครื่องสำอาง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำให้เกิดธุรกิจผลิตอาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รวมคุณสมบัติอาหาร และ/หรือยา ไว้ด้วยกัน
ทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางต้องเร่งปรับปรุง และคิดค้นสูตรการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบ โดยเฉพาะการวิจัยสรรพคุณสมุนไพรต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับระดับสากล
ผลที่ตามมา คือผู้บริโภคเชื่อถือผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น นับว่าการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา จะมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะดึงผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ
นอกจากนี้ การแพร่ระบาดโรคต่างๆ ในปศุสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชมากขึ้น เช่น โรควัวบ้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภท ใช้ไขวัวเป็นวัตถุดิบ เป็นต้น ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ได้รับความนิยมมาก คือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิว โดยเฉพาะสรรพคุณป้องกันความเหี่ยวย่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม และผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์ จะระบุถึงวัตถุดิบจากธรรมชาติ รวมถึงสรรพคุณชัดเจน
สิ่งที่เป็นข้อจำกัด หรือปัจจัยพึงระวังอย่างมาก เลือกใช้วัตถุดิบธรรมชาติประเภทใดก็ตาม คือความเพียงพอและสม่ำเสมอ ทั้งในแง่ปริมาณ คุณภาพ ราคา และความปลอดภัยผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงสมุนไพรที่เลือกใช้เป็นวัตถุดิบธุรกิจเวชสำอาง ต้องมีคุณสมบัติที่กล่าวมาครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม การพึ่งเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่ทำให้ข้อจำกัดธุรกิจเวชสำอางเหล่านี้ลดลงได้ แต่ผู้ผลิตเวชสำอาง ต้องระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากปัจจุบัน มีข้อบังคับข้อมูลฉลากสินค้า ที่ต้องระบุส่วนผสมผลิตภัณฑ์ ว่ามีการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมหรือไม่
ปัจจุบัน ในไทย โรงงานผลิตเครื่องสำอางประมาณ 300 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานร่วมทุนระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ 80% ที่เหลือ 20% เป็นของคนไทย ปริมาณเครื่องสำอางที่ผลิตได้ 70% จำหน่ายในประเทศ ที่เหลือ 30% จะส่งออก รวมทั้งยังนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องสำอางยี่ห้อที่มีชื่อเสียง
ทิศทางโรงงานผลิตเครื่องสำอางในประเทศ ต้องปรับตัวให้เหมาะกับความต้องการผู้บริโภค และสภาพการแข่งขันในตลาด เพื่อความอยู่รอด โรงงานขนาดกลาง-เล็กของคนไทย จะผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
ต่างจากสินค้าในท้องตลาด เพื่อจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับสินค้าโรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่ได้เปรียบ ทั้งแง่ต้นทุนและการตลาด ชึ่งเจาะตลาดแบบเฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า“นิชมาร์เก็ต” รวมทั้งสร้างตราสินค้าของตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ โรงงานผลิตเครื่องสำอางของคนไทยบางราย ปรับกลยุทธ์หันไปรับจ้างผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น พร้อมผลิตสินค้าตนเอง ออกจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศมากขึ้น เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะเลือกซื้อสินค้าที่คำนึงถึงคุณภาพ และราคา มากกว่าคำนึงว่า จะต้องเป็นยี่ห้อดังๆ เหมือนอดีต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กลยุทธ์ปรับตัวน่าสนใจมาก ซึ่งนอกจากปรับตัวเพื่อหาตลาดเฉพาะ หรือ“นิชมาร์เก็ต” และแสวงหาตลาดส่งออก ตลาดที่น่าสนใจมาก คือผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยเฉพาะเวชสำอาง ที่ใช้สมุนไพรหลากหลายชนิดเป็นวัตถุดิบ
สินค้ากลุ่มนี้ ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากตอบรับกับกระแสอิงธรรมชาติ โดยที่ไทยได้เปรียบในแง่ความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบสมุนไพร ที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางนานาชนิด ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งยกระดับมาตรฐานการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์เวชสำอางในประเทศ โดยมีโอกาสจะขยายตลาด ทั้งในและต่างประเทศ อย่างมาก
ปัจจุบัน เวชสำอางในประเทศ มูลค่าตลาดสูงถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ขยายตัวสูงถึง 30% ต่อปี ตลาดเครื่องสำอางจากสมุนไพร แบ่งเป็นกลุ่มยี่ห้อต่างประเทศ และกลุ่มที่ผลิตในประเทศ
จุดขายสำคัญที่น่าจับตามอง คือการสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้สอดคล้องกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เดิม ราคาเครื่องสำอางสมุนไพรที่วางจำหน่าย อยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะเครื่องสำอางสมุนไพรนำเข้า กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย จะเป็นผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ส่วนใหญ่ จะอยู่ในวัยทำงาน
แต่ปัจจุบัน ผู้ประกอบการพยายามขยายฐานลูกค้า เพื่อจับตลาดกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง และต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายตัวผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรระดับชาวบ้าน หรือกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก
สินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรกลุ่มนี้ ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเครื่องสำอางสมุนไพรนำเข้า ทำให้ได้รับการตอบรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งความนิยมของสถานเสริมความงาม ด้วยสมุนไพรที่เปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ตลาดเครื่องสำอางสมุนไพรขยายต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรที่ใช้ในประเทศ ราคาจำหน่ายจะต่ำกว่า ส่วนมากจะผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร โดยลักษณะการผลิตในครัวเรือน แต่ก็มีผู้ผลิตบางราย ที่ขยายกิจการไปผลิตระดับอุตสาหกรรม ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออก ตลาดต่างประเทศก็เริ่มนิยมเครื่องสำอางจากสมุนไพรมากขึ้นเช่นกัน
ปัจจุบัน ผู้ผลิตเวชสำอางไทยเริ่มรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยเน้นใช้ส่วนผสมการตลาด (Marketing Mix) คือผลิตภัณฑ์และสถานที่จำหน่าย โดยเพิ่มสูตรผสมสมุนไพรใหม่ๆ ผสมผสานวัตถุดิบ ทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
การปรับสูตรส่วนผสมใหม่ๆ ในเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาไม่รู้จักสมุนไพรไทย ส่วนจุดแข็งผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอางของไทย คือสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จัก และยอมรับสรรพคุณของคนไทยอยู่แล้ว
ส่วนการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ แม้ชาวต่างชาติจะยังไม่รู้จักสรรพคุณสมุนไพรไทยกว้างขวาง แต่ก็เป็นจุดเด่นสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์เวชสำอางไทย เนื่องจากใช้สมุนไพรใหม่ๆ และแปลกๆ โดยเฉพาะสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับชาวต่างประเทศ
โดยศึกษาค้นคว้า และวิจัยสรรพคุณอ้างอิงได้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการยกระดับมาตรฐานเครื่องสำอางสมุนไพรไทยให้สูงขึ้น เป็นที่ยอมรับวงกว้าง และสร้างช่องทางจำหน่ายผ่านบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอางแต่ละประเทศ
ยังต้องเจรจาหาคู่ค้าใหม่ๆ จากการเปิดตัวงานแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดต่างประเทศที่น่าสนใจปัจจุบัน จะเป็นตลาดเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย สิงคโปร์ และประเทศย่านตะวันออกกลาง
เป้าหมายขยายตลาดเวชสำอางไทยระยะต่อไป ได้แก่ แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และยุโรป ผู้บริโภคเครื่องสำอางตลาดเหล่านี้ นิยมผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพิ่มขึ้น สอดรับกระแสรักษ์สุขภาพที่กำลังแพร่กระจายทั่วโลก
มูลค่าตลาดเวชสำอางตลาดโลกปีนี้ 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วนประมาณ 17% ของตลาดผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แยกได้เป็น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ (Skincare) 57.4% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Haircare) 21.3% แชมพู (Shampoo) 14.4% ครีมนวด (Conditioner) 5.3% และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการตกแต่ง (Styling Agents) 1.6%
คาดปี 2549 มูลค่าตลาดเวชสำอางจะเพิ่มเป็น 3,900 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 35% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตลาดใหญ่ที่สุดในโลกของเวชสำอาง คือสหรัฐฯ สัดส่วนประมาณ 35% ของมูลค่าการค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอาง รองลงมา คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส
ปัจจุบัน ธุรกิจเวชสำอางสนใจแหล่งสมุนไพรประเทศเขตร้อน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ ยังอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายสมุนไพร ที่เหมาะจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเวชสำอางประเภทต่างๆ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับไทย ในฐานะแหล่งสำคัญวัตถุดิบผลิตเวชสำอาง
การผลักดันให้ค้นคว้าวิจัย และพัฒนา จนกระทั่งผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ ออกมาได้ ผลิตภัณฑ์เวชสำอางของไทย ก็จะได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศและตลาดโลก
อนาคตตลาดเวชสำอาง หรือเครื่องสำอางสมุนไพรไทย แนวโน้มแจ่มใส ทั้งตลาดในและต่างประเทศ เนื่องจากได้ปัจจัยหนุนกระแสนิยมธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรไทย ต้องอาศัยจุดแข็ง ความได้เปรียบความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์วัตถุดิบสมุนไพร
รวมทั้งผลักดันสมุนไพรไทยเป็นที่รู้จัก และยอมรับของชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น การรุกคืบเปิดตลาดเวชสำอางต่างประเทศ ต้องอาศัยฐานผลิตและการตลาดที่เข้มแข็งในประเทศก่อน เพื่อจะสามารถก้าวแข่งขันกับเครื่องสำอางบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ โดยเจาะตลาดแบบเฉพาะเจาะจง หรือ“นิชมาร์เก็ต” จึงจะประสบความสำเร็จ
การที่องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข เปิดตัวผลิตภัณฑ์ครีมจีพีโอ เคอร์มินท์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ“ครีมหน้าเด้ง”นับว่าเปิดหน้าใหม่ให้วงการเครื่องสำอางไทย เป็นการเปิดตลาดให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้สมุนไพรเป็นวัตถุดิบการผลิต ซึ่งแสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของสมุนไพรไทย
สมุนไพรต่างๆ นับเป็นวัตถุดิบสำคัญการผลิตเวชสำอาง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิต และความสำเร็จการศึกษาวิจัย เพื่อนำประโยชน์ของสมุนไพร ใช้ในเชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์
ประเทศไทยยังจะเป็นที่จับตามอง ในฐานะอีกประเทศ ที่จะมีบทบาทส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ปัจจุบัน ตลาดเวชสำอาง แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เป็นผลจากผู้บริโภคเริ่มสนใจผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
เวชสำอาง (Cosmeceuticals) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมคุณสมบัติเครื่องสำอาง และ/หรือยาไว้ด้วยกัน นับเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่วงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น
ทำให้ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เวชสำอางธรรมชาติ (Natural Cosmeceuticals) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องไม่มีส่วนผสม เช่น กลิ่น สี สารปรุงแต่ง สารที่ทำให้คงสภาพ ตัวทำละลาย เป็นต้น ที่เป็นสารสังเคราะห์ รวมทั้งยังต้องไม่มีการฉายรังสี ไม่มีการใช้วัตถุดิบปนเปื้อน หรือตัดแต่งพันธุกรรม และไม่ใช้สัตว์ทดลอง การใช้สัตว์ทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ และอาการแพ้ ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นใหม่
ปัจจัยสำคัญผลักดันธุรกิจผลิตเวชสำอางขยายตัวรวดเร็ว คือความต้องการผู้บริโภค ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมี การผลิตต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นับเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในธุรกิจเครื่องสำอาง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำให้เกิดธุรกิจผลิตอาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รวมคุณสมบัติอาหาร และ/หรือยา ไว้ด้วยกัน
ทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางต้องเร่งปรับปรุง และคิดค้นสูตรการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบ โดยเฉพาะการวิจัยสรรพคุณสมุนไพรต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับระดับสากล
ผลที่ตามมา คือผู้บริโภคเชื่อถือผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น นับว่าการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา จะมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะดึงผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ
นอกจากนี้ การแพร่ระบาดโรคต่างๆ ในปศุสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชมากขึ้น เช่น โรควัวบ้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภท ใช้ไขวัวเป็นวัตถุดิบ เป็นต้น ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ได้รับความนิยมมาก คือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิว โดยเฉพาะสรรพคุณป้องกันความเหี่ยวย่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม และผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์ จะระบุถึงวัตถุดิบจากธรรมชาติ รวมถึงสรรพคุณชัดเจน
สิ่งที่เป็นข้อจำกัด หรือปัจจัยพึงระวังอย่างมาก เลือกใช้วัตถุดิบธรรมชาติประเภทใดก็ตาม คือความเพียงพอและสม่ำเสมอ ทั้งในแง่ปริมาณ คุณภาพ ราคา และความปลอดภัยผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงสมุนไพรที่เลือกใช้เป็นวัตถุดิบธุรกิจเวชสำอาง ต้องมีคุณสมบัติที่กล่าวมาครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม การพึ่งเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่ทำให้ข้อจำกัดธุรกิจเวชสำอางเหล่านี้ลดลงได้ แต่ผู้ผลิตเวชสำอาง ต้องระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากปัจจุบัน มีข้อบังคับข้อมูลฉลากสินค้า ที่ต้องระบุส่วนผสมผลิตภัณฑ์ ว่ามีการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมหรือไม่
ปัจจุบัน ในไทย โรงงานผลิตเครื่องสำอางประมาณ 300 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานร่วมทุนระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ 80% ที่เหลือ 20% เป็นของคนไทย ปริมาณเครื่องสำอางที่ผลิตได้ 70% จำหน่ายในประเทศ ที่เหลือ 30% จะส่งออก รวมทั้งยังนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องสำอางยี่ห้อที่มีชื่อเสียง
ทิศทางโรงงานผลิตเครื่องสำอางในประเทศ ต้องปรับตัวให้เหมาะกับความต้องการผู้บริโภค และสภาพการแข่งขันในตลาด เพื่อความอยู่รอด โรงงานขนาดกลาง-เล็กของคนไทย จะผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
ต่างจากสินค้าในท้องตลาด เพื่อจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับสินค้าโรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่ได้เปรียบ ทั้งแง่ต้นทุนและการตลาด ชึ่งเจาะตลาดแบบเฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า“นิชมาร์เก็ต” รวมทั้งสร้างตราสินค้าของตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ โรงงานผลิตเครื่องสำอางของคนไทยบางราย ปรับกลยุทธ์หันไปรับจ้างผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น พร้อมผลิตสินค้าตนเอง ออกจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศมากขึ้น เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะเลือกซื้อสินค้าที่คำนึงถึงคุณภาพ และราคา มากกว่าคำนึงว่า จะต้องเป็นยี่ห้อดังๆ เหมือนอดีต
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กลยุทธ์ปรับตัวน่าสนใจมาก ซึ่งนอกจากปรับตัวเพื่อหาตลาดเฉพาะ หรือ“นิชมาร์เก็ต” และแสวงหาตลาดส่งออก ตลาดที่น่าสนใจมาก คือผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยเฉพาะเวชสำอาง ที่ใช้สมุนไพรหลากหลายชนิดเป็นวัตถุดิบ
สินค้ากลุ่มนี้ ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากตอบรับกับกระแสอิงธรรมชาติ โดยที่ไทยได้เปรียบในแง่ความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบสมุนไพร ที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางนานาชนิด ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งยกระดับมาตรฐานการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์เวชสำอางในประเทศ โดยมีโอกาสจะขยายตลาด ทั้งในและต่างประเทศ อย่างมาก
ปัจจุบัน เวชสำอางในประเทศ มูลค่าตลาดสูงถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ขยายตัวสูงถึง 30% ต่อปี ตลาดเครื่องสำอางจากสมุนไพร แบ่งเป็นกลุ่มยี่ห้อต่างประเทศ และกลุ่มที่ผลิตในประเทศ
จุดขายสำคัญที่น่าจับตามอง คือการสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้สอดคล้องกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เดิม ราคาเครื่องสำอางสมุนไพรที่วางจำหน่าย อยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะเครื่องสำอางสมุนไพรนำเข้า กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย จะเป็นผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป ส่วนใหญ่ จะอยู่ในวัยทำงาน
แต่ปัจจุบัน ผู้ประกอบการพยายามขยายฐานลูกค้า เพื่อจับตลาดกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง และต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายตัวผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรระดับชาวบ้าน หรือกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก
สินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรกลุ่มนี้ ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเครื่องสำอางสมุนไพรนำเข้า ทำให้ได้รับการตอบรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งความนิยมของสถานเสริมความงาม ด้วยสมุนไพรที่เปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ตลาดเครื่องสำอางสมุนไพรขยายต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรที่ใช้ในประเทศ ราคาจำหน่ายจะต่ำกว่า ส่วนมากจะผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร โดยลักษณะการผลิตในครัวเรือน แต่ก็มีผู้ผลิตบางราย ที่ขยายกิจการไปผลิตระดับอุตสาหกรรม ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออก ตลาดต่างประเทศก็เริ่มนิยมเครื่องสำอางจากสมุนไพรมากขึ้นเช่นกัน
ปัจจุบัน ผู้ผลิตเวชสำอางไทยเริ่มรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยเน้นใช้ส่วนผสมการตลาด (Marketing Mix) คือผลิตภัณฑ์และสถานที่จำหน่าย โดยเพิ่มสูตรผสมสมุนไพรใหม่ๆ ผสมผสานวัตถุดิบ ทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
การปรับสูตรส่วนผสมใหม่ๆ ในเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาไม่รู้จักสมุนไพรไทย ส่วนจุดแข็งผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอางของไทย คือสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จัก และยอมรับสรรพคุณของคนไทยอยู่แล้ว
ส่วนการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ แม้ชาวต่างชาติจะยังไม่รู้จักสรรพคุณสมุนไพรไทยกว้างขวาง แต่ก็เป็นจุดเด่นสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์เวชสำอางไทย เนื่องจากใช้สมุนไพรใหม่ๆ และแปลกๆ โดยเฉพาะสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับชาวต่างประเทศ
โดยศึกษาค้นคว้า และวิจัยสรรพคุณอ้างอิงได้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการยกระดับมาตรฐานเครื่องสำอางสมุนไพรไทยให้สูงขึ้น เป็นที่ยอมรับวงกว้าง และสร้างช่องทางจำหน่ายผ่านบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอางแต่ละประเทศ
ยังต้องเจรจาหาคู่ค้าใหม่ๆ จากการเปิดตัวงานแสดงสินค้านานาชาติ ตลาดต่างประเทศที่น่าสนใจปัจจุบัน จะเป็นตลาดเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย สิงคโปร์ และประเทศย่านตะวันออกกลาง
เป้าหมายขยายตลาดเวชสำอางไทยระยะต่อไป ได้แก่ แอฟริกาใต้ สหรัฐฯ และยุโรป ผู้บริโภคเครื่องสำอางตลาดเหล่านี้ นิยมผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพิ่มขึ้น สอดรับกระแสรักษ์สุขภาพที่กำลังแพร่กระจายทั่วโลก
มูลค่าตลาดเวชสำอางตลาดโลกปีนี้ 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สัดส่วนประมาณ 17% ของตลาดผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง แยกได้เป็น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ (Skincare) 57.4% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Haircare) 21.3% แชมพู (Shampoo) 14.4% ครีมนวด (Conditioner) 5.3% และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการตกแต่ง (Styling Agents) 1.6%
คาดปี 2549 มูลค่าตลาดเวชสำอางจะเพิ่มเป็น 3,900 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 35% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตลาดใหญ่ที่สุดในโลกของเวชสำอาง คือสหรัฐฯ สัดส่วนประมาณ 35% ของมูลค่าการค้าผลิตภัณฑ์เวชสำอาง รองลงมา คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส
ปัจจุบัน ธุรกิจเวชสำอางสนใจแหล่งสมุนไพรประเทศเขตร้อน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ ยังอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายสมุนไพร ที่เหมาะจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเวชสำอางประเภทต่างๆ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับไทย ในฐานะแหล่งสำคัญวัตถุดิบผลิตเวชสำอาง
การผลักดันให้ค้นคว้าวิจัย และพัฒนา จนกระทั่งผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่างๆ ออกมาได้ ผลิตภัณฑ์เวชสำอางของไทย ก็จะได้รับการยอมรับ ทั้งในประเทศและตลาดโลก
อนาคตตลาดเวชสำอาง หรือเครื่องสำอางสมุนไพรไทย แนวโน้มแจ่มใส ทั้งตลาดในและต่างประเทศ เนื่องจากได้ปัจจัยหนุนกระแสนิยมธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรไทย ต้องอาศัยจุดแข็ง ความได้เปรียบความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์วัตถุดิบสมุนไพร
รวมทั้งผลักดันสมุนไพรไทยเป็นที่รู้จัก และยอมรับของชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น การรุกคืบเปิดตลาดเวชสำอางต่างประเทศ ต้องอาศัยฐานผลิตและการตลาดที่เข้มแข็งในประเทศก่อน เพื่อจะสามารถก้าวแข่งขันกับเครื่องสำอางบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ โดยเจาะตลาดแบบเฉพาะเจาะจง หรือ“นิชมาร์เก็ต” จึงจะประสบความสำเร็จ