ททท.เดินแผนโปรโมตไทยยกตัวป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย ประเดิมจัดงาน“เฮลท์ เอ็กซ์โป 2004” ครั้งที่ 1 ประกาศศักยภาพและความพร้อม พบนักท่องเที่ยวแห่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์และสปาสูง ส่งผลเม็ดเงินเติบโตปีละ 30-40% มาตั้งแต่ปี 2542 ล่าสุด ปี46-47 โกยเงินแล้ว 7,650 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 48-49เม็ดเงินสะพัดอีกกว่า 13,000 ล้านบาท เผยเตรียมจับมือกระทรวงสาธารณะสุข และกระทรวงแรงงานฯ พัฒนาบุคลากรด้านสปา หวังเพิ่มค่าแรงงานไทย
นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการ ฝ่ายสินค้าท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เพื่อต้องการประกาศความพร้อมให้ไทยเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย ททท.จึงได้จัดงาน “เฮลท์ เอ็กซ์โป 2004” ครั้งที่ 1 ขึ้นในเดือนตุลาคม 2547 ที่อิมแพคเมืองทองธานี งานดังกล่าวถือเป็นงานด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ,การรักษาโรคเฉพาะทาง และวิธีบำบัดโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมงานได้ ซึ่ง ททท.ได้ริเริ่มจัดขึ้นครั้งแรก จากที่ก่อนหน้านี้งานประเภทดังกล่าว จะเป็นงานเชิงวิชาการที่แสดงให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องได้เข้าชมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเป็นการตอบรับการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นการเดินทางเพื่อเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ เช่น ทำฟัน ผ่าตัด ศัลยกรรม รวมไปถึงการเข้ารับบริการสปา ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้มากถึง 4,290 ล้านบาทในปี 2545 ซึ่งเป็นการเติบโตจากปีก่อนหน้าเกือบ 40%
จากเม็ดเงินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ต่างชาติเริ่มให้ความเชื่อมั่นในระบบรักษาพยาบาลของวงการแพทย์ไทย จากก่อนหน้านี้ สิงคโปร์จะเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้าไปใช้บริการ ขณะเดียวกันในส่วนของบริการด้านสปาของไทย ก็เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มนักท่องเที่ยว ดังนั้นททท.จึงมองว่าควรให้ความสำคัญกับการโปรโมตประเทศไทยให้เป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย อย่างเป็นทางการ ซึ่งในวิธีการดำเนินงาน ททท.จะตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาดูแล อยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝ่ายสินค้าท่องเที่ยว ของททท. มีการจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ เพื่อจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นมาเอง อย่างงาน “เฮลท์ เอ็กซ์โป 2004” หรือไปร่วมเป็นผู้สนับสนุนในงานที่ภาคเอกชนเป็นผู้จัดขึ้น
วิธีการทำงานส่วนใหญ่จะประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณะสุข โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงโรงพยาบาลให้มีมาตรฐานด้านคุณภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ให้กระจายออกไปยังโรงพยาบาลสำคัญในเมืองหลักๆ โดยในเขตกรุงเทพจะมีโรงพยาบาล เอกชนขนาดใหญ่ 5-6 แห่ง ทำตลาดในด้านนี้อยู่แล้ว ส่วนโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางและเล็กก็มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมไทยเมดิคัลฮับ มีใบรับรองจากแพทย์สภา ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อถือ และเข้ามาใช้บริการ ส่วนทางด้านการตลาดททท.จะออดโรคโชว์ในต่างประเทศ ที่เป็นประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ซึ่งก่อนหน้านี้นักท่องเที่ยวจะรู้จักแค่สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย นอกจากนั้นในปี 2548 ททท.จะจัดทำโบวชัวร์เกี่ยวกับเมดิคัลและสปาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อประชาสัมพันธ์
นอกจากนั้น กระทรวงสาธารณะสุข จะร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน จัดฝึกอบรมบุคลากรด้านสปา เพื่อรองรับธุรกิจที่จะเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะด้วยบุคลิกลักษณะของคนไทย ที่มีการยิ้มแย้ม และอ่อนโยน ทำให้เราสามารถส่งออกแรงงานประเภทนี้ไปต่างประเทศได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแรงงานไทย ขณะเดียวกัน บุคคลากรเดิมที่มีอยู่จะถูกฝึกเลื่อนขั้นไปถึงการเป็นผู้ฝึกอบรมให้แก่รุ่นต่อๆไปได้
“ความหวังอีกอย่างหนึ่งของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว คือไทยต้องการเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย ขึ้นเป็นผู้นำด้านธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปา ทดแทนประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ซึ่งไทยได้เปรียบเรื่องของราคาที่ถูกกว่า 2-3 เท่า ขณะที่บริการเทียบเท่าหรือดีกว่า การยอมรับจากต่างชาติเริ่มมีให้เห็นตั้งแต่ปี 2542 จากเม็ดเงินรายได้ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 30-40 % มาถึงปัจจุบัน”
อย่างไรก็ตาม ในปี 2546-ปัจจุบัน ไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวรับบริการทางการแพทย์ ประมาณ 7,650 ล้านบาท และตั้งเป้ารายได้ในปี 2548-2549 จะเพิ่มเป็น 13,275 ล้านบาท
นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการ ฝ่ายสินค้าท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เพื่อต้องการประกาศความพร้อมให้ไทยเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย ททท.จึงได้จัดงาน “เฮลท์ เอ็กซ์โป 2004” ครั้งที่ 1 ขึ้นในเดือนตุลาคม 2547 ที่อิมแพคเมืองทองธานี งานดังกล่าวถือเป็นงานด้านเทคโนโลยีการแพทย์ ,การรักษาโรคเฉพาะทาง และวิธีบำบัดโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมงานได้ ซึ่ง ททท.ได้ริเริ่มจัดขึ้นครั้งแรก จากที่ก่อนหน้านี้งานประเภทดังกล่าว จะเป็นงานเชิงวิชาการที่แสดงให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องได้เข้าชมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเป็นการตอบรับการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นการเดินทางเพื่อเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ เช่น ทำฟัน ผ่าตัด ศัลยกรรม รวมไปถึงการเข้ารับบริการสปา ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้มากถึง 4,290 ล้านบาทในปี 2545 ซึ่งเป็นการเติบโตจากปีก่อนหน้าเกือบ 40%
จากเม็ดเงินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ต่างชาติเริ่มให้ความเชื่อมั่นในระบบรักษาพยาบาลของวงการแพทย์ไทย จากก่อนหน้านี้ สิงคโปร์จะเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้าไปใช้บริการ ขณะเดียวกันในส่วนของบริการด้านสปาของไทย ก็เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มนักท่องเที่ยว ดังนั้นททท.จึงมองว่าควรให้ความสำคัญกับการโปรโมตประเทศไทยให้เป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย อย่างเป็นทางการ ซึ่งในวิธีการดำเนินงาน ททท.จะตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาดูแล อยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝ่ายสินค้าท่องเที่ยว ของททท. มีการจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ เพื่อจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นมาเอง อย่างงาน “เฮลท์ เอ็กซ์โป 2004” หรือไปร่วมเป็นผู้สนับสนุนในงานที่ภาคเอกชนเป็นผู้จัดขึ้น
วิธีการทำงานส่วนใหญ่จะประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณะสุข โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงโรงพยาบาลให้มีมาตรฐานด้านคุณภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ให้กระจายออกไปยังโรงพยาบาลสำคัญในเมืองหลักๆ โดยในเขตกรุงเทพจะมีโรงพยาบาล เอกชนขนาดใหญ่ 5-6 แห่ง ทำตลาดในด้านนี้อยู่แล้ว ส่วนโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางและเล็กก็มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมไทยเมดิคัลฮับ มีใบรับรองจากแพทย์สภา ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อถือ และเข้ามาใช้บริการ ส่วนทางด้านการตลาดททท.จะออดโรคโชว์ในต่างประเทศ ที่เป็นประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ซึ่งก่อนหน้านี้นักท่องเที่ยวจะรู้จักแค่สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย นอกจากนั้นในปี 2548 ททท.จะจัดทำโบวชัวร์เกี่ยวกับเมดิคัลและสปาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อประชาสัมพันธ์
นอกจากนั้น กระทรวงสาธารณะสุข จะร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน จัดฝึกอบรมบุคลากรด้านสปา เพื่อรองรับธุรกิจที่จะเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะด้วยบุคลิกลักษณะของคนไทย ที่มีการยิ้มแย้ม และอ่อนโยน ทำให้เราสามารถส่งออกแรงงานประเภทนี้ไปต่างประเทศได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแรงงานไทย ขณะเดียวกัน บุคคลากรเดิมที่มีอยู่จะถูกฝึกเลื่อนขั้นไปถึงการเป็นผู้ฝึกอบรมให้แก่รุ่นต่อๆไปได้
“ความหวังอีกอย่างหนึ่งของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว คือไทยต้องการเป็นเมดิคัลฮับแห่งเอเชีย ขึ้นเป็นผู้นำด้านธุรกิจบริการทางการแพทย์และสปา ทดแทนประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ซึ่งไทยได้เปรียบเรื่องของราคาที่ถูกกว่า 2-3 เท่า ขณะที่บริการเทียบเท่าหรือดีกว่า การยอมรับจากต่างชาติเริ่มมีให้เห็นตั้งแต่ปี 2542 จากเม็ดเงินรายได้ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 30-40 % มาถึงปัจจุบัน”
อย่างไรก็ตาม ในปี 2546-ปัจจุบัน ไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวรับบริการทางการแพทย์ ประมาณ 7,650 ล้านบาท และตั้งเป้ารายได้ในปี 2548-2549 จะเพิ่มเป็น 13,275 ล้านบาท