เดอะมอลล์หวังปรับระดับภาพลักษณ์ "บิวตี้ ฮอลล์" โละแบรนด์เซลฟ์ ซีเลคชันออกยกแผนก ดึงแบรนด์อินเตอร์เข้าเสียบแทน พร้อมผุดโซน "เมน คอสเมติกส์" รับกระแสหนุ่มจ้าสำอาง ตั้งเป้าดันยอดสินค้าผู้ชายเพิ่มจาก 5 % เป็น 10% ชิมลางบางกะปิสาขาแรก มั่นใจหลังปรับยอดพุ่ง 50%
นางสาวทิพย์วิภา จันทภาษา ผู้จัดการอาวุโสสายบริหารสินค้า (บิวตี้ ฮอลล์) บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แผนการปรับภาพลักษณ์ให้กับเดอะมอลล์ บางกะปิที่เตรียมจะเปิดตัวในปลายเดือนก.ย.นี้ ในส่วนของบิวตี้ ฮอลล์จะเน้นแบรนด์เครื่องสำอางที่เป็นเคาน์เตอร์แบรนด์จริงๆ จึงต้องปรับแบรนด์เครื่องสำอางระดับวงกว้างหรือเครื่องสำอางที่เลือกซื้อด้วยตัวเองได้ (Self Selection) 7-8 แบรนด์ออก เพื่อสอดรับกับภาพลักษณ์ใหม่
รวมถึงการนำแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมอีก 10-20 แบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เครื่องสำอางระดับอินเตอร์ จากทั้งแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่ายอดขายของสาขานี้จะเติบโต 40-50% จากอัตราการเติบโตปกติ 30%
บิวตี้ ฮอลล์สาขาบางกะปิเป็นสาขานำร่องทดลองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำไปใช้กับการปรับบิวตี้ ฮอลล์สาขาอื่นๆ อาทิ ดิ เอ็มโพเรียม เดอะมอลล์ บางแค และเดอะมอลล์ ท่าพระตามแผนในปี 2548 โดยเป้าหมายยอดขายรวมในปีหน้าจะต้องเพิ่มอีก 20% หรือ 3,800 ล้านบาท จากเป้าหมายยอดขายในปี 2547 มูลค่า 3,200 ล้านบาท เติบโต 30%
"ดิ เอ็มโพเรียมเป็นสาขาที่ไม่มีเครื่องสำอางกลุ่มเซลฟ์ ซีเลคชันอยู่แล้ว การปรับจึงอยู่ในรูปแบบนำแบรนด์ใหม่เข้ามา และนำแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายไม่ดีออกประมาณ 10-15% และเพิ่มพื้นที่ขายให้มากขึ้น เพื่อรองรับแบรนด์เครื่องสำอางใหม่ จากเดิมที่มีแบรนด์เครื่องสำอางจำหน่ายอยู่ 70 แบรนด์ โดยมองว่าแบรนด์ที่ยังสามารถอยู่ได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อ 1 เดือนของ 1 เคาน์เตอร์" นางสาวทิพย์วิภากล่าว
ในขณะที่เดอะมอลล์ บางแค และท่าพระอาจจะยังต้องต้องการเครื่องสำอางที่เป็นเซลฟ์ ซีเลคชันอยู่ แต่กลุ่มเซลฟ์ ซีเลคชันจะต้องปรับตัวรับกับภาพลักษณ์ใหม่นี้เช่นกัน โดยการปรับปรุงบิ้วตี้ ฮอลล์คาดว่าจะใช้งบประมาณเฉลี่ยสาขาละ 100 ล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าที่จะปรับให้ครบทั้ง 7 สาขาภายใน 3-4 ปี จากนี้
นอกจากนี้บิ้วตี้ ฮอลล์ สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิยังแตกแผนก "เมน คอสเมติกส์" ขึ้นมารับกระแสตลาดเครื่องสำอางผู้ชายมาแรงด้วย โดยมีพื้นที่ 100 ตร.ม. เพื่อทดลองตลาดก่อนประมาณ 6-8 เดือน หากการตอบรับดีจะนำเมน คอสเมติกส์ไปยังบิวตี้ ฮอลล์สาขาอื่นๆ รวมถึงดิ เอ็มโพเรียม และสยามพารากอนที่จะเปิดในปลายปี 2548 ด้วย
ถึงแม้ว่าเคาน์เตอร์เครื่องสำอางในบิวตี้ ฮอลล์ปกติจะมีแบรนด์ที่แตกไลน์ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายเฉพาะแล้ว อาทิ ลังโคม ออห์ม, ชิเชโด้ เมน, คราแรงส์ เมน, ไบโอเธิร์ม ออห์ม, คลีนิกข์ เป็นต้น แต่เมน คอสเมติกส์ จะแยกแบรนด์ดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าผู้ชายจาก 5% เป็น 10%
ตลาดรวมธุรกิจเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์มีมูลค่า 8,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 20% และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพผิวพรรณ โดยเชื่อว่าแม้สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นก็จะไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ความงามของผู้บริโภค
นางสาวทิพย์วิภา จันทภาษา ผู้จัดการอาวุโสสายบริหารสินค้า (บิวตี้ ฮอลล์) บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แผนการปรับภาพลักษณ์ให้กับเดอะมอลล์ บางกะปิที่เตรียมจะเปิดตัวในปลายเดือนก.ย.นี้ ในส่วนของบิวตี้ ฮอลล์จะเน้นแบรนด์เครื่องสำอางที่เป็นเคาน์เตอร์แบรนด์จริงๆ จึงต้องปรับแบรนด์เครื่องสำอางระดับวงกว้างหรือเครื่องสำอางที่เลือกซื้อด้วยตัวเองได้ (Self Selection) 7-8 แบรนด์ออก เพื่อสอดรับกับภาพลักษณ์ใหม่
รวมถึงการนำแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมอีก 10-20 แบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เครื่องสำอางระดับอินเตอร์ จากทั้งแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่ายอดขายของสาขานี้จะเติบโต 40-50% จากอัตราการเติบโตปกติ 30%
บิวตี้ ฮอลล์สาขาบางกะปิเป็นสาขานำร่องทดลองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำไปใช้กับการปรับบิวตี้ ฮอลล์สาขาอื่นๆ อาทิ ดิ เอ็มโพเรียม เดอะมอลล์ บางแค และเดอะมอลล์ ท่าพระตามแผนในปี 2548 โดยเป้าหมายยอดขายรวมในปีหน้าจะต้องเพิ่มอีก 20% หรือ 3,800 ล้านบาท จากเป้าหมายยอดขายในปี 2547 มูลค่า 3,200 ล้านบาท เติบโต 30%
"ดิ เอ็มโพเรียมเป็นสาขาที่ไม่มีเครื่องสำอางกลุ่มเซลฟ์ ซีเลคชันอยู่แล้ว การปรับจึงอยู่ในรูปแบบนำแบรนด์ใหม่เข้ามา และนำแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายไม่ดีออกประมาณ 10-15% และเพิ่มพื้นที่ขายให้มากขึ้น เพื่อรองรับแบรนด์เครื่องสำอางใหม่ จากเดิมที่มีแบรนด์เครื่องสำอางจำหน่ายอยู่ 70 แบรนด์ โดยมองว่าแบรนด์ที่ยังสามารถอยู่ได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อ 1 เดือนของ 1 เคาน์เตอร์" นางสาวทิพย์วิภากล่าว
ในขณะที่เดอะมอลล์ บางแค และท่าพระอาจจะยังต้องต้องการเครื่องสำอางที่เป็นเซลฟ์ ซีเลคชันอยู่ แต่กลุ่มเซลฟ์ ซีเลคชันจะต้องปรับตัวรับกับภาพลักษณ์ใหม่นี้เช่นกัน โดยการปรับปรุงบิ้วตี้ ฮอลล์คาดว่าจะใช้งบประมาณเฉลี่ยสาขาละ 100 ล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าที่จะปรับให้ครบทั้ง 7 สาขาภายใน 3-4 ปี จากนี้
นอกจากนี้บิ้วตี้ ฮอลล์ สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิยังแตกแผนก "เมน คอสเมติกส์" ขึ้นมารับกระแสตลาดเครื่องสำอางผู้ชายมาแรงด้วย โดยมีพื้นที่ 100 ตร.ม. เพื่อทดลองตลาดก่อนประมาณ 6-8 เดือน หากการตอบรับดีจะนำเมน คอสเมติกส์ไปยังบิวตี้ ฮอลล์สาขาอื่นๆ รวมถึงดิ เอ็มโพเรียม และสยามพารากอนที่จะเปิดในปลายปี 2548 ด้วย
ถึงแม้ว่าเคาน์เตอร์เครื่องสำอางในบิวตี้ ฮอลล์ปกติจะมีแบรนด์ที่แตกไลน์ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายเฉพาะแล้ว อาทิ ลังโคม ออห์ม, ชิเชโด้ เมน, คราแรงส์ เมน, ไบโอเธิร์ม ออห์ม, คลีนิกข์ เป็นต้น แต่เมน คอสเมติกส์ จะแยกแบรนด์ดังกล่าวออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าผู้ชายจาก 5% เป็น 10%
ตลาดรวมธุรกิจเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์มีมูลค่า 8,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 20% และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพผิวพรรณ โดยเชื่อว่าแม้สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นก็จะไม่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ความงามของผู้บริโภค