ระบุภาครัฐเปิดเสรีสุราพื้นบ้าน 2 ปี ส่งผลกระทบผู้ผลิตสุราแช่-ไวน์ผลไม้-สุรากลั่นเจ๊งระนาว โรงงานทางภาคเหนือปิดปีละ10 แห่ง ย้ำชาวบ้านเป็นหนี้นอกระบบ-ธกส.เพียบ เพราะทนพิษแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว หลังรัฐเรียกเก็บภาษีลิตรละ 70 บาท พร้อมต้องสร้างโรงงานให้ได้มาตรฐาน “ผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ” ฟันธงมาตรการกวาดล้างเหล้าเถื่อนให้หมดปี48 ยิ่งทำให้แห่กลับผลิตเหล้าเถื่อนเกลื่อนเมือง
(วานนี้) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย และผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ จัดงานโครงการมหกรรมเครื่องดื่มจากภูมิปัญญาชาวบ้านแห่งชาติ ครั้งที่ 5 โดยมีหัวข้อการสัมมนา”เรื่องเปิดเสรีสุราพื้นบ้าน 2 ปี ชาวบ้านได้หรือเสีย” ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นางเตือนจิตต์ วนะไชยเกียรติ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย เปิดเผยถึงภาพรวมผู้ผลิตสุรากลั่นและสุราพื้นบ้านและไวน์ผลไม้ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ประกอบการทั้งสามประเภทจากที่มีอยู่ราว 10,000 ราย นับตั้งแต่มีการเปิดเสรีผลิตเหล้าพื้นบ้านมาตั้งแต่ 2 มกราคม 2546 ปัจจุบันนี้จำนวนผู้ผลิตเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตสุราแช่และไวน์ผลไม้เหลือเพียง10% จากทั้งหมด 1,000 ราย ในขณะที่ผู้ผลิตสุรากลั่นเชื่อว่ายังเหลืออยู่มากตามชุมชนต่างๆ
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้ผลิตสุราแช่และไวน์ผลไม้เหลือน้อยลง เพราะระบบการจัดเก็บภาษีซึ่งเก็บในอัตราลิตรละ 70 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตราใกล้เคียงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และด้านการตลาดที่เข้มงวดมากขึ้น
การผลิตสุรากลั่นและสุราแช่ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมานานแล้ว แต่ชาวบ้านเริ่มทำอย่างจริงจังเมื่อปี 2542 จนกระทั่งในปี 2545 ตลาดเหล้ามีมูลค่า 1.5-1.6 แสนล้านบาท โดยการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ถูกแย่งส่วนแบ่งไปเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี 2546 สุราแช่และสุรากลั่นเข้ามาแย่งส่วนแบ่งมากขึ้นถึง 4-4.5 หมื่นล้านบาท แต่ภายหลังจากที่ทางภาครัฐต้องการเข้ามาควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานส่งผลให้ชาวบ้านแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะต้องนำเงินมาลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์
อย่างไรก็ตามนางเตือนจิตต์ ได้กล่าวแนะนำว่า ผู้ประกอบการสุราแช่และสุรากลั่นควรที่จะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ในส่วนของการทำตลาดนั้นควรที่จะกลับมาที่จุดเริ่มต้นของการผลิตสาโท คือเพื่อจำหน่ายเฉพาะในชุมชนก่อนและควรที่จะจำหน่ายให้เป็นในเชิงวัฒนธรรมเป็นการปูพรมไปก่อน
นายประนอม เชิมชัยภูมิ ผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ กล่าวเสริมว่า การที่ภาครัฐเข้ามาควบคุมการผลิตสุรากลั่นและสุราแช่ของชาวบ้าน โดยวางระบบการผลิตจะต้องมีโรงงานที่ได้มาตรฐานจากเดิมการผลิตจะอยู่ในครัวเรือน การจัดบ่อบำบัดน้ำเสีย รวมแล้วต้องใช้งบลงทุน 1 แสนบาท อีกทั้งจะต้องมีระบบบัญชีที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ชาวบ้านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจ้างบุคคลากรมากขึ้น กลายเป็นว่าการที่ภาครัฐเปิดเสรีให้ชาวบ้านสามารถผลิตสุราแช่และสุรากลั่นได้แต่กลับเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น
“หลังจากมีการเปิดเสรีผลิตสุราแช่และกลั่น ชาวบ้านกู้เงินจากสหกรณ์,ธกส.และกู้หนีนอกระบบ เพื่อมาลงทุนและซื้ออุปกรณ์การผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ขณะนี้มีชาวบ้านเป็นหนี้สินจากการผลิตสุราแช่และสุรากลั่นเพิ่มขึ้น เพราะเงื่อนไขของภาครัฐมีความซับซ้อนและล้วนแต่เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ชาวบ้านทั้งนั้น”
ทั้งนี้ภาครัฐบาลนำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังได้ประกาศกวาดล้างผู้ผลิตเหล้าเถื่อนให้หมดไปภายในปี 2548 ซึ่งการประกาศดังกล่าวยิ่งจะบีบให้ชาวบ้านกลับไปสู่การผลิตอย่างเดิมคือเหล้าเถื่อนมากขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องเข้าระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเมื่อเข้าสู่ระบบจะต้องเสียภาษีให้แก่สรรพสามิตร
นายประนอม กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาที่ภาครัฐควรจะทำเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านคือในเรื่องของภาษีมากที่สุด โดยทางผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือได้เตรียมยื่นข้อเสนอ โดยในกรณีที่ชาวบ้านผลิตจำหน่ายสุราแช่และสุรากลั่นเพื่อประเพณีและวัฒนธรรมก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษี แต่หากทำในเชิงพาณิชย์ถึงจะมีการเรียกเก็บภาษี
(วานนี้) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย และผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ จัดงานโครงการมหกรรมเครื่องดื่มจากภูมิปัญญาชาวบ้านแห่งชาติ ครั้งที่ 5 โดยมีหัวข้อการสัมมนา”เรื่องเปิดเสรีสุราพื้นบ้าน 2 ปี ชาวบ้านได้หรือเสีย” ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นางเตือนจิตต์ วนะไชยเกียรติ อุปนายกสมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย เปิดเผยถึงภาพรวมผู้ผลิตสุรากลั่นและสุราพื้นบ้านและไวน์ผลไม้ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ประกอบการทั้งสามประเภทจากที่มีอยู่ราว 10,000 ราย นับตั้งแต่มีการเปิดเสรีผลิตเหล้าพื้นบ้านมาตั้งแต่ 2 มกราคม 2546 ปัจจุบันนี้จำนวนผู้ผลิตเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตสุราแช่และไวน์ผลไม้เหลือเพียง10% จากทั้งหมด 1,000 ราย ในขณะที่ผู้ผลิตสุรากลั่นเชื่อว่ายังเหลืออยู่มากตามชุมชนต่างๆ
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้ผลิตสุราแช่และไวน์ผลไม้เหลือน้อยลง เพราะระบบการจัดเก็บภาษีซึ่งเก็บในอัตราลิตรละ 70 บาท ซึ่งถือว่าเป็นอัตราใกล้เคียงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และด้านการตลาดที่เข้มงวดมากขึ้น
การผลิตสุรากลั่นและสุราแช่ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมานานแล้ว แต่ชาวบ้านเริ่มทำอย่างจริงจังเมื่อปี 2542 จนกระทั่งในปี 2545 ตลาดเหล้ามีมูลค่า 1.5-1.6 แสนล้านบาท โดยการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ถูกแย่งส่วนแบ่งไปเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี 2546 สุราแช่และสุรากลั่นเข้ามาแย่งส่วนแบ่งมากขึ้นถึง 4-4.5 หมื่นล้านบาท แต่ภายหลังจากที่ทางภาครัฐต้องการเข้ามาควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานส่งผลให้ชาวบ้านแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะต้องนำเงินมาลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์
อย่างไรก็ตามนางเตือนจิตต์ ได้กล่าวแนะนำว่า ผู้ประกอบการสุราแช่และสุรากลั่นควรที่จะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ในส่วนของการทำตลาดนั้นควรที่จะกลับมาที่จุดเริ่มต้นของการผลิตสาโท คือเพื่อจำหน่ายเฉพาะในชุมชนก่อนและควรที่จะจำหน่ายให้เป็นในเชิงวัฒนธรรมเป็นการปูพรมไปก่อน
นายประนอม เชิมชัยภูมิ ผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ กล่าวเสริมว่า การที่ภาครัฐเข้ามาควบคุมการผลิตสุรากลั่นและสุราแช่ของชาวบ้าน โดยวางระบบการผลิตจะต้องมีโรงงานที่ได้มาตรฐานจากเดิมการผลิตจะอยู่ในครัวเรือน การจัดบ่อบำบัดน้ำเสีย รวมแล้วต้องใช้งบลงทุน 1 แสนบาท อีกทั้งจะต้องมีระบบบัญชีที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ชาวบ้านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจ้างบุคคลากรมากขึ้น กลายเป็นว่าการที่ภาครัฐเปิดเสรีให้ชาวบ้านสามารถผลิตสุราแช่และสุรากลั่นได้แต่กลับเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น
“หลังจากมีการเปิดเสรีผลิตสุราแช่และกลั่น ชาวบ้านกู้เงินจากสหกรณ์,ธกส.และกู้หนีนอกระบบ เพื่อมาลงทุนและซื้ออุปกรณ์การผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ขณะนี้มีชาวบ้านเป็นหนี้สินจากการผลิตสุราแช่และสุรากลั่นเพิ่มขึ้น เพราะเงื่อนไขของภาครัฐมีความซับซ้อนและล้วนแต่เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ชาวบ้านทั้งนั้น”
ทั้งนี้ภาครัฐบาลนำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังได้ประกาศกวาดล้างผู้ผลิตเหล้าเถื่อนให้หมดไปภายในปี 2548 ซึ่งการประกาศดังกล่าวยิ่งจะบีบให้ชาวบ้านกลับไปสู่การผลิตอย่างเดิมคือเหล้าเถื่อนมากขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องเข้าระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเมื่อเข้าสู่ระบบจะต้องเสียภาษีให้แก่สรรพสามิตร
นายประนอม กล่าวว่า สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาที่ภาครัฐควรจะทำเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านคือในเรื่องของภาษีมากที่สุด โดยทางผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือได้เตรียมยื่นข้อเสนอ โดยในกรณีที่ชาวบ้านผลิตจำหน่ายสุราแช่และสุรากลั่นเพื่อประเพณีและวัฒนธรรมก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษี แต่หากทำในเชิงพาณิชย์ถึงจะมีการเรียกเก็บภาษี