ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ ยืนยันไม่ปรับราคาค่าโดยสาร แม้ต้นทุนจากราคาน้ำมันสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ยอมรับสามารถประคองตัวได้ จากปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นที่เกาะสมุยกว่าร้อยละ 35 ขณะเดียวกันเดินหน้าเปิด 2 เส้นทางบินใหม่เซิ่นเจิ้นของจีน และเกาะมัลดีฟส์ หวังมีส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ หรือ บางกอกแอร์เวยส์ กล่าวว่า ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการธุรกิจการบินทุกรายทั่วโลก โดยยอมรับว่าปัจจัยจากราคาน้ำมันได้ทำให้ต้นทุนดำเนินการจากราคาเชื้อเพลิงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนอื่นสูงถึงร้อยละ 50 แล้ว อย่างไรก็ตาม บางกอกแอร์เวยส์ยืนยันจะไม่ปรับราคาค่าโดยสาร โดยเชื่อว่าจะยังสามารถประคองตัวอยู่ได้ จากปัจจัยที่การท่องเที่ยวของไทยปีนี้ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นเส้นทางการบินหลักของบางกอกแอร์เวยส์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานมากนัก
“เชื่อว่ารายได้ของบางกอกแอร์เวยส์ในปีนี้จะขยายตัวกว่าร้อยละ 25-30 เป็นเงินกว่า 6,000 ล้านบาท และเชื่อว่าจะสามารถรักษาผลกำไรให้เติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 เหมือนในตลอด 10 ปีที่ผ่านมาได้ ซึ่งบางกอกแอร์เวยส์พอใจกับตัวเลขนี้ เพราะนับจากเริ่มดำเนินกิจการ สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศกว่า 8.6 ล้านคน คิดเป็นเงินตราเข้าประเทศกว่า 170,000 ล้านบาท” นพ.ปราเสริฐ กล่าว
สำหรับแผนงานที่จะนำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผู้อำนวยการใหญ่บางกอกแอร์เวยส์ กล่าวว่า แม้บางกอกแอร์เวยส์จะมีแผนงานไว้ แต่คาดว่าจะยังคงไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยนัก และธุรกิจการบินก็มีปัจจัยลบทำให้เกิดความไม่แน่นอนมาตลอด
ในโอกาสเดียวกัน บางกอกแอร์เวยส์ได้เปิดเส้นทางการบินพร้อมกัน 2 จุดบิน คือ เมืองเซิ่นเจิ้นของจีน ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีศักยภาพสูง ถือเป็นเมืองท่าที่เป็นคาร์โก้สำคัญ โดยการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลจีน และเกาะมัลดีฟส์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมานักท่องเที่ยวต้องไปต่อเครื่องที่ประเทศญี่ปุ่นและกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เพื่อเดินทางไปมัลดีฟส์ ซึ่งการเปิดเส้นทางบินสู่มัลดีฟส์ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างน้อยร้อยละ 50 และจากเกาหลีใต้ร้อยละ 20 รวมถึงจากภูมิภาคอื่น สามารถมาท่องเที่ยวประเทศไทยและเดินทางต่อไปมัลดีฟส์ได้สะดวกขึ้น
สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบางกอกแอร์เวยส์ในอนาคตนั้น จะใช้กลยุทธ์ “แบบ 4 In 1” คือเน้นการขยายตัว 4 ด้านไปพร้อมกัน คือ การพัฒนาธุรกิจการบิน (แอร์ไลน์ ) การเพิ่มเส้นทางการบินใหม่ (Destination) การลงทุนพัฒนาท่าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้ บางกอกแอร์เวยส์ มีท่าอากาศยานในประเทศ 3 แห่ง และจะพิจารณาลงทุนสร้างท่าอากาศยานในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ทั้งในประเทศกัมพูชาและพม่า รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการบินอื่นๆ เช่น งานบริการภาคพื้นต่างๆ ซึ่งบริษัทชนะการประกวดราคาเป็นผู้ให้บริการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปแล้ว 2-3 กิจกรรม
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ หรือ บางกอกแอร์เวยส์ กล่าวว่า ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการธุรกิจการบินทุกรายทั่วโลก โดยยอมรับว่าปัจจัยจากราคาน้ำมันได้ทำให้ต้นทุนดำเนินการจากราคาเชื้อเพลิงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนอื่นสูงถึงร้อยละ 50 แล้ว อย่างไรก็ตาม บางกอกแอร์เวยส์ยืนยันจะไม่ปรับราคาค่าโดยสาร โดยเชื่อว่าจะยังสามารถประคองตัวอยู่ได้ จากปัจจัยที่การท่องเที่ยวของไทยปีนี้ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นเส้นทางการบินหลักของบางกอกแอร์เวยส์ มีนักท่องเที่ยวเดินทางโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานมากนัก
“เชื่อว่ารายได้ของบางกอกแอร์เวยส์ในปีนี้จะขยายตัวกว่าร้อยละ 25-30 เป็นเงินกว่า 6,000 ล้านบาท และเชื่อว่าจะสามารถรักษาผลกำไรให้เติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 เหมือนในตลอด 10 ปีที่ผ่านมาได้ ซึ่งบางกอกแอร์เวยส์พอใจกับตัวเลขนี้ เพราะนับจากเริ่มดำเนินกิจการ สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศกว่า 8.6 ล้านคน คิดเป็นเงินตราเข้าประเทศกว่า 170,000 ล้านบาท” นพ.ปราเสริฐ กล่าว
สำหรับแผนงานที่จะนำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผู้อำนวยการใหญ่บางกอกแอร์เวยส์ กล่าวว่า แม้บางกอกแอร์เวยส์จะมีแผนงานไว้ แต่คาดว่าจะยังคงไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยนัก และธุรกิจการบินก็มีปัจจัยลบทำให้เกิดความไม่แน่นอนมาตลอด
ในโอกาสเดียวกัน บางกอกแอร์เวยส์ได้เปิดเส้นทางการบินพร้อมกัน 2 จุดบิน คือ เมืองเซิ่นเจิ้นของจีน ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีศักยภาพสูง ถือเป็นเมืองท่าที่เป็นคาร์โก้สำคัญ โดยการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลจีน และเกาะมัลดีฟส์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมานักท่องเที่ยวต้องไปต่อเครื่องที่ประเทศญี่ปุ่นและกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เพื่อเดินทางไปมัลดีฟส์ ซึ่งการเปิดเส้นทางบินสู่มัลดีฟส์ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นอย่างน้อยร้อยละ 50 และจากเกาหลีใต้ร้อยละ 20 รวมถึงจากภูมิภาคอื่น สามารถมาท่องเที่ยวประเทศไทยและเดินทางต่อไปมัลดีฟส์ได้สะดวกขึ้น
สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบางกอกแอร์เวยส์ในอนาคตนั้น จะใช้กลยุทธ์ “แบบ 4 In 1” คือเน้นการขยายตัว 4 ด้านไปพร้อมกัน คือ การพัฒนาธุรกิจการบิน (แอร์ไลน์ ) การเพิ่มเส้นทางการบินใหม่ (Destination) การลงทุนพัฒนาท่าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้ บางกอกแอร์เวยส์ มีท่าอากาศยานในประเทศ 3 แห่ง และจะพิจารณาลงทุนสร้างท่าอากาศยานในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ทั้งในประเทศกัมพูชาและพม่า รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการบินอื่นๆ เช่น งานบริการภาคพื้นต่างๆ ซึ่งบริษัทชนะการประกวดราคาเป็นผู้ให้บริการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปแล้ว 2-3 กิจกรรม