กระทรวงพลังงานเตรียมประชุมผู้สนใจลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์เดือนสิงหาคมนี้ ระบุกลุ่มตะวันออกกลางไม่สนใจร่วมลงทุนท่อน้ำมัน หากไม่มีโครงการโรงกลั่นฯ จึงปรับแผนสร้างโรงกลั่นไม่ต่ำกว่า 500,000 บาร์เรล และเตรียมผุดปิโตรเคมีในอนาคต
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคมจะมีการหารือกับผู้สนใจร่วมทุนในโครงการแลนด์บริดจ์หรือโครงการวางท่อส่งน้ำมันเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ โดยทางจีนและเกาหลีใต้จะมาหารือในความคืบหน้า หลังจากที่กระทรวงพลังงานได้เดินทางไปโรดโชว์โครงการนี้ ซึ่งกลุ่มประเทศผู้บริโภคน้ำมันคือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แสดงความสนใจประเด็นที่โครงการนี้จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แต่เป็นห่วงเรื่องความสามารถทางการแข่งขันของโครงการและผลตอบแทนการลงทุน ในขณะที่จีนมีความสนใจการลงทุนโรงกลั่นและปิโตรเคมีด้วย
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และคูเวต แสดงความสนใจที่จะมาใช้ประโยชน์ในโครงการ แต่เห็นว่าน่าจะเป็นการลงทุนของผู้ซื้อน้ำมัน และเคยแสดงความสนใจลงทุนในโรงกลั่นน้ำมัน
นายพรชัย รุจิประภา รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท และเพื่อให้นักลงทุนทั้งกลุ่มผู้ใช้และกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันสนใจร่วมลงทุน ดังนั้น จึงควรเพิ่มเรื่องการสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีเข้ามาในโครงการนี้ จากเดิมมีเฉพาะโครงการท่อและคลังน้ำมัน ซึ่งโรงกลั่นฯ ควรจะมี 2 โรงกลั่นฯ ขนาดกำลังผลิตรวม 500,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มก่อสร้างในปี 2551 โดยกำลังผลิตของโรงกลั่นน้ำมันจะป้อนในประเทศประมาณ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งออก 200,000 บาร์เรลต่อวัน การที่มีการสร้างโรงกลั่นใหญ่ขึ้นจะทำให้คุ้มทุน และลดต้นทุนในเรื่องการขนส่งน้ำมันจาก 30 เซนต์สหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 14 เซนต์ต่อบาร์เรล หรือลดลง 16 เซนต์ ในขณะที่ท่อน้ำมันมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล และคลังน้ำมันที่ตะวันออก คือ ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จะมีความจุรวม 20 ล้านบาร์เรล
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคมจะมีการหารือกับผู้สนใจร่วมทุนในโครงการแลนด์บริดจ์หรือโครงการวางท่อส่งน้ำมันเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ โดยทางจีนและเกาหลีใต้จะมาหารือในความคืบหน้า หลังจากที่กระทรวงพลังงานได้เดินทางไปโรดโชว์โครงการนี้ ซึ่งกลุ่มประเทศผู้บริโภคน้ำมันคือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แสดงความสนใจประเด็นที่โครงการนี้จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แต่เป็นห่วงเรื่องความสามารถทางการแข่งขันของโครงการและผลตอบแทนการลงทุน ในขณะที่จีนมีความสนใจการลงทุนโรงกลั่นและปิโตรเคมีด้วย
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และคูเวต แสดงความสนใจที่จะมาใช้ประโยชน์ในโครงการ แต่เห็นว่าน่าจะเป็นการลงทุนของผู้ซื้อน้ำมัน และเคยแสดงความสนใจลงทุนในโรงกลั่นน้ำมัน
นายพรชัย รุจิประภา รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท และเพื่อให้นักลงทุนทั้งกลุ่มผู้ใช้และกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันสนใจร่วมลงทุน ดังนั้น จึงควรเพิ่มเรื่องการสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีเข้ามาในโครงการนี้ จากเดิมมีเฉพาะโครงการท่อและคลังน้ำมัน ซึ่งโรงกลั่นฯ ควรจะมี 2 โรงกลั่นฯ ขนาดกำลังผลิตรวม 500,000 บาร์เรลต่อวัน เริ่มก่อสร้างในปี 2551 โดยกำลังผลิตของโรงกลั่นน้ำมันจะป้อนในประเทศประมาณ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งออก 200,000 บาร์เรลต่อวัน การที่มีการสร้างโรงกลั่นใหญ่ขึ้นจะทำให้คุ้มทุน และลดต้นทุนในเรื่องการขนส่งน้ำมันจาก 30 เซนต์สหรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 14 เซนต์ต่อบาร์เรล หรือลดลง 16 เซนต์ ในขณะที่ท่อน้ำมันมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาร์เรล และคลังน้ำมันที่ตะวันออก คือ ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และบ้านบ่อดาน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จะมีความจุรวม 20 ล้านบาร์เรล