รมว.พลังงานยืนยันไม่เคยเข้าไปแทรกแซงให้โรงกลั่นน้ำมันลดค่าการกลั่นลง แต่ต้องการให้สะท้อนต้นทุนและค่าประกอบการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านบริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับนโยบายลดค่าการกลั่น ระบุไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการประหยัดพลังงาน แต่อาจจะกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแทน
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระแสข่าวที่ออกมาว่า รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเพื่อกดดันให้โรงกลั่นน้ำมันลดค่าการกลั่นลงนั้น ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นการไปใช้ประโยชน์ในเรื่องราคาหุ้น โดยเชิญชวนให้มีการซื้อขายหุ้นกันมากเวลานี้ แต่ยืนยันว่าค่าการกลั่น ค่าการตลาด ยังคงเป็นไปตามกลไกตลาดเหมือนเดิม เพราะราคาที่ตกลงกันได้ก็เป็นเรื่องของเอกชน โดยส่วนต่างที่เหลือรัฐบาลจะเข้าไปสนับสนุน แต่รัฐบาลก็ต้องดูแลตัวเลขให้สะท้อนกับความเป็นจริงทั้งต้นทุนและค่าประกอบการ โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้ประกอบการช่วยกันดูต้นทุนที่แท้จริงว่าควรเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ส่วนแนวโน้มค่าการกลั่นนั้น ก็ยังเป็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งขณะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปยังกว้างกันมาก ดังนั้น จึงเข้าไปดูและปรึกษาหารือกันว่า สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปควรจะเป็นอย่างไรและต้องสร้างความพอใจให้แก่ทุกฝ่ายไม่ใช่ไปลดหรือปรับอะไร และการที่รัฐบาลเข้าไปตรึงราคาน้ำมัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนและบอกตัวเลขการชดเชยตลอด และขณะนี้ผู้ประกอบการก็ได้ประโยชน์จากการชดเชยราคาน้ำมันจากรัฐบาลตลอดเวลา
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงนโยบายการลดค่าการกลั่นของกระทรวงพลังงาน ว่า การลดค่าการกลั่นถือเป็นการแทรกแซงจากภาครัฐ ที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการลดการใช้พลังงาน เพราะไม่มีผลอะไรต่อประชาชนผู้บริโภคเลย แต่ช่วยในเรื่องของการลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันเท่านั้น อีกทั้งการลดค่าการกลั่นลง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก็จะมีผลต่อการลดภาระชดเชยราคาน้ำมันประมาณ 30 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันฯ มากนัก ดังนั้น ภาครัฐควรจะปล่อยให้โรงกลั่นมีการแข่งขันกันอย่างเสรีมากกว่า
“ช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันต่างๆ ล้วนประสบปัญหาการดำเนินงานมาตลอดและต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ หากรัฐเข้ามาแทรกแซงตลาด นอกจากจะไม่ช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันแล้ว ยังอาจจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ที่อาจจะลังเลกับหลักเกณฑ์ของภาครัฐ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจลงทุนได้ในอนาคต” นายธีรพจน์กล่าว
ประธานบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปีนี้น่าจะปรับตัวอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี จึงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไรกับราคาน้ำมัน แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรจะทบทวนการชดเชยราคาน้ำมัน โดยลดการชดเชยราคาน้ำมันที่ไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและยังชดเชยราคาน้ำมันเฉพาะบางภาคเศรษฐกิจ เช่น ภาคการขนส่ง ส่วนภาคการประมงขณะนี้รัฐบาลมีโครงการน้ำมันเขียวช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลยังมีนโยบายรักษาระดับราคาน้ำมันให้ต่ำต่อไป ก็อาจจะมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในประเทศได้ เพราะเมื่อราคาน้ำมันในประเทศต่ำ แต่ราคาในต่างประเทศสูง โรงกลั่นน้ำมันก็จะสนใจส่งออกน้ำมันมากขึ้น และมีผลกระทบต่อน้ำมันในประเทศขาดแคลนได้ ยกเว้นรัฐบาลจะออกกฎเกณฑ์มาบังคับห้ามการส่งออกน้ำมันด้วย
ก่อนหน้านี้ นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุว่า เร็วๆ นี้ สนพ.จะประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยการตรึงราคาน้ำมันแก่โรงกลั่นน้ำมัน โดยจะจ่ายค่าการกลั่นต่ำกว่าค่าการกลั่นของสิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลงประมาณ 30 สตางค์ต่อลิตร ซึ่ง สนพ. ระบุราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของไทยปัจจุบันคำนวณในอัตราที่อิงกับอัตรานำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ แต่น้ำมันในประเทศไม่มีค่าประกันภัยและค่าขนส่งเหมือนกับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่มีอัตรารวม 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กองทุนน้ำมันฯ จึงลดการจ่ายชดเชยราคาน้ำมันที่ไม่มีต้นทุนการจ่ายจริง ในเรื่องค่าขนส่งและประกันภัย สำหรับค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 47 อยู่ที่ 0.9306 บาทต่อลิตร
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระแสข่าวที่ออกมาว่า รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเพื่อกดดันให้โรงกลั่นน้ำมันลดค่าการกลั่นลงนั้น ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นการไปใช้ประโยชน์ในเรื่องราคาหุ้น โดยเชิญชวนให้มีการซื้อขายหุ้นกันมากเวลานี้ แต่ยืนยันว่าค่าการกลั่น ค่าการตลาด ยังคงเป็นไปตามกลไกตลาดเหมือนเดิม เพราะราคาที่ตกลงกันได้ก็เป็นเรื่องของเอกชน โดยส่วนต่างที่เหลือรัฐบาลจะเข้าไปสนับสนุน แต่รัฐบาลก็ต้องดูแลตัวเลขให้สะท้อนกับความเป็นจริงทั้งต้นทุนและค่าประกอบการ โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้ประกอบการช่วยกันดูต้นทุนที่แท้จริงว่าควรเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ส่วนแนวโน้มค่าการกลั่นนั้น ก็ยังเป็นไปตามความเป็นจริง ซึ่งขณะราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปยังกว้างกันมาก ดังนั้น จึงเข้าไปดูและปรึกษาหารือกันว่า สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปควรจะเป็นอย่างไรและต้องสร้างความพอใจให้แก่ทุกฝ่ายไม่ใช่ไปลดหรือปรับอะไร และการที่รัฐบาลเข้าไปตรึงราคาน้ำมัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนและบอกตัวเลขการชดเชยตลอด และขณะนี้ผู้ประกอบการก็ได้ประโยชน์จากการชดเชยราคาน้ำมันจากรัฐบาลตลอดเวลา
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงนโยบายการลดค่าการกลั่นของกระทรวงพลังงาน ว่า การลดค่าการกลั่นถือเป็นการแทรกแซงจากภาครัฐ ที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการลดการใช้พลังงาน เพราะไม่มีผลอะไรต่อประชาชนผู้บริโภคเลย แต่ช่วยในเรื่องของการลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการชดเชยราคาน้ำมันเท่านั้น อีกทั้งการลดค่าการกลั่นลง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก็จะมีผลต่อการลดภาระชดเชยราคาน้ำมันประมาณ 30 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันฯ มากนัก ดังนั้น ภาครัฐควรจะปล่อยให้โรงกลั่นมีการแข่งขันกันอย่างเสรีมากกว่า
“ช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา โรงกลั่นน้ำมันต่างๆ ล้วนประสบปัญหาการดำเนินงานมาตลอดและต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ หากรัฐเข้ามาแทรกแซงตลาด นอกจากจะไม่ช่วยให้เกิดการประหยัดน้ำมันแล้ว ยังอาจจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ที่อาจจะลังเลกับหลักเกณฑ์ของภาครัฐ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจลงทุนได้ในอนาคต” นายธีรพจน์กล่าว
ประธานบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในปีนี้น่าจะปรับตัวอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี จึงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไรกับราคาน้ำมัน แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า รัฐบาลควรจะทบทวนการชดเชยราคาน้ำมัน โดยลดการชดเชยราคาน้ำมันที่ไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและยังชดเชยราคาน้ำมันเฉพาะบางภาคเศรษฐกิจ เช่น ภาคการขนส่ง ส่วนภาคการประมงขณะนี้รัฐบาลมีโครงการน้ำมันเขียวช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลยังมีนโยบายรักษาระดับราคาน้ำมันให้ต่ำต่อไป ก็อาจจะมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในประเทศได้ เพราะเมื่อราคาน้ำมันในประเทศต่ำ แต่ราคาในต่างประเทศสูง โรงกลั่นน้ำมันก็จะสนใจส่งออกน้ำมันมากขึ้น และมีผลกระทบต่อน้ำมันในประเทศขาดแคลนได้ ยกเว้นรัฐบาลจะออกกฎเกณฑ์มาบังคับห้ามการส่งออกน้ำมันด้วย
ก่อนหน้านี้ นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุว่า เร็วๆ นี้ สนพ.จะประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยการตรึงราคาน้ำมันแก่โรงกลั่นน้ำมัน โดยจะจ่ายค่าการกลั่นต่ำกว่าค่าการกลั่นของสิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลงประมาณ 30 สตางค์ต่อลิตร ซึ่ง สนพ. ระบุราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของไทยปัจจุบันคำนวณในอัตราที่อิงกับอัตรานำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ แต่น้ำมันในประเทศไม่มีค่าประกันภัยและค่าขนส่งเหมือนกับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่มีอัตรารวม 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กองทุนน้ำมันฯ จึงลดการจ่ายชดเชยราคาน้ำมันที่ไม่มีต้นทุนการจ่ายจริง ในเรื่องค่าขนส่งและประกันภัย สำหรับค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 47 อยู่ที่ 0.9306 บาทต่อลิตร