ครม.เร่งรัดกระทรวงพลังงานให้เดินหน้าโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน หรือแลนด์บริดจ์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ รมว.พลังงานระบุโครงการจะก่อสร้างภายใน 2 ปี และแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 53 โดยโรงกลั่นน้ำมันจะอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น ส่วนท่อน้ำมันจะฝังลงบนดินและทะเล เพื่อไม่ให้กระทบสภาพแวดล้อม และการท่องเที่ยว
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันนี้ (16 ก.ค.) ได้รับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินงานจัดตั้งเขตปลอดอากรที่ศรีราชา (ศรีราชา ฮับ) และโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน หรือแลนด์บริดจ์ โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเดินหน้าโครงการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค
สำหรับการจัดตั้งเขตปลอดอากรที่ศรีราชา แนวทางที่จะดำเนินการต่อไป คือ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าที่ได้รับอนุญาต 3 ราย และผู้ประกอบการค้าน้ำมันที่ส่งออกอยู่แล้ว ให้เข้ามาทำการค้าในเขตปลอดอากร เช่น การจัดหาคลังน้ำมันให้เพียงพอกับการทำธุรกรรมในเขตปลอดอากร และการอำนวยความสะดวกในการผสมน้ำมัน และการมีระบบภาษีและบัญชีที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมน้ำมัน รวมทั้งการมีระบบการเงินที่เอื้อต่อการทำธุรการค้าน้ำมัน
ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ กระทรวงพลังงานได้เสนอความก้าวหน้าของโครงการเข้าสู่ที่ประชุม เช่น การสร้างท่อน้ำมันขนาด 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ระยะทาง 250 กม. เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยจุดรับน้ำมันฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และจุดปลายท่อที่ฝั่งตะวันออกจะอยู่ที่บ้านทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ การก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ โดยจะมีการเตรียมการก่อสร้างภายใน 2 ปี และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2553
นอกจากนี้ ครม.ยังมีความเห็นว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หากมีโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการ และเห็นควรว่าตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น สำหรับฝั่งตะวันตก จะมีเฉพาะทุ่นรับน้ำมันกลางทะเล และคลังเก็บน้ำมัน โดยลักษณะของท่อน้ำมันจะฝังลงใต้ดินทั้งบนบกและในทะเล เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพแวดล้อมและทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว
สำหรับความคืบหน้าในการเจรจาหาผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศนั้น หลังจากที่กระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเจรจากับผู้ผลิตน้ำมันในต่างประเทศหลายครั้ง ขณะนี้มีประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และคูเวต สนใจที่จะร่วมลงทุนและใช้ประโยชน์จากโครงการแลนด์บริดจ์แล้ว
ส่วนแผนการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันของกระทรวงพลังงานนั้น โครงการจะตั้งอยู่ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 500,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้งบประมาณลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำร่วมกับพันธมิตรต่างชาติ หาก ครม.เห็นชอบในวันนี้ และมีการเดินหน้าก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2551 โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อหนุนกับโครงการแลนด์บริดจ์เป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการขนส่งน้ำมันจากอำเภอศรีราชา มาสู่พื้นที่ภาคใต้เฉลี่ยถึง 15 สตางค์ต่อลิตร และรองรับความต้องการน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้และทั่วประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยประมาณการว่า ในปี 2555 ไทยจะขาดแคลนน้ำมันและต้องการกำลังการผลิตชดเชยจากโรงกลั่นดังกล่าวไม่น้อยกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวัน
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันนี้ (16 ก.ค.) ได้รับทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินงานจัดตั้งเขตปลอดอากรที่ศรีราชา (ศรีราชา ฮับ) และโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน หรือแลนด์บริดจ์ โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเดินหน้าโครงการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค
สำหรับการจัดตั้งเขตปลอดอากรที่ศรีราชา แนวทางที่จะดำเนินการต่อไป คือ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าที่ได้รับอนุญาต 3 ราย และผู้ประกอบการค้าน้ำมันที่ส่งออกอยู่แล้ว ให้เข้ามาทำการค้าในเขตปลอดอากร เช่น การจัดหาคลังน้ำมันให้เพียงพอกับการทำธุรกรรมในเขตปลอดอากร และการอำนวยความสะดวกในการผสมน้ำมัน และการมีระบบภาษีและบัญชีที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมน้ำมัน รวมทั้งการมีระบบการเงินที่เอื้อต่อการทำธุรการค้าน้ำมัน
ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ กระทรวงพลังงานได้เสนอความก้าวหน้าของโครงการเข้าสู่ที่ประชุม เช่น การสร้างท่อน้ำมันขนาด 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ระยะทาง 250 กม. เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยจุดรับน้ำมันฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และจุดปลายท่อที่ฝั่งตะวันออกจะอยู่ที่บ้านทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ การก่อสร้างจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ โดยจะมีการเตรียมการก่อสร้างภายใน 2 ปี และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2553
นอกจากนี้ ครม.ยังมีความเห็นว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หากมีโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการ และเห็นควรว่าตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น สำหรับฝั่งตะวันตก จะมีเฉพาะทุ่นรับน้ำมันกลางทะเล และคลังเก็บน้ำมัน โดยลักษณะของท่อน้ำมันจะฝังลงใต้ดินทั้งบนบกและในทะเล เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพแวดล้อมและทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว
สำหรับความคืบหน้าในการเจรจาหาผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศนั้น หลังจากที่กระทรวงพลังงานได้เดินทางไปเจรจากับผู้ผลิตน้ำมันในต่างประเทศหลายครั้ง ขณะนี้มีประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และคูเวต สนใจที่จะร่วมลงทุนและใช้ประโยชน์จากโครงการแลนด์บริดจ์แล้ว
ส่วนแผนการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันของกระทรวงพลังงานนั้น โครงการจะตั้งอยู่ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 500,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้งบประมาณลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำร่วมกับพันธมิตรต่างชาติ หาก ครม.เห็นชอบในวันนี้ และมีการเดินหน้าก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2551 โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อหนุนกับโครงการแลนด์บริดจ์เป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถลดต้นทุนการขนส่งน้ำมันจากอำเภอศรีราชา มาสู่พื้นที่ภาคใต้เฉลี่ยถึง 15 สตางค์ต่อลิตร และรองรับความต้องการน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้และทั่วประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยประมาณการว่า ในปี 2555 ไทยจะขาดแคลนน้ำมันและต้องการกำลังการผลิตชดเชยจากโรงกลั่นดังกล่าวไม่น้อยกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวัน