ผู้จัดการรายสัปดาห์ - การที่ช่อง 5 เข็นบริษัท อาร์ทีเอฯ เข้าตลาดหุ้น กำลังกลายเป็น "ระเบิด" เวลาลูกใหม่ที่ "ทักษิณ" ต้องเร่งจัดการ เพราะครั้งนี้มีคนของ "ชินวัตร" เป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดัน ส่วนแผนการครั้งนี้ ผิดกฎหมาย หรือไม่ และใคร? ได้ประโยชน์สูงสุด
การนำเอาบริษัท ททบ.5 จำกัด(มหาชน) เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สะดุดมาแล้วในช่วงปลายปี 2546 หลังจากมีปัญหาในเรื่องโครงสร้างของตัวบริษัท บริษัท ททบ.5 โฉมใหม่ในนามบริษัท อาร์ ที เอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ที่เตรียมเข็นเข้าตลาดหุ้นอีกรอบได้กลายเป็นที่พิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมขณะนี้ หลังจากที่มีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวย การสถานีถึง 2 คน คือ พล.อ.ปรีชา เปรมาสวัสดิ์ เมื่อ 4 มิถุนายน และตั้ง พล.ท.สหชัย ชวนไชยสิทธิ์ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแทน แต่ในวันที่ 11 มิถุนายน ได้มีคำสั่งปลด พล.ท.สหชัย ออกและมีพล.ท.สรฤทธิ์ จันทราทิพย์ เข้ามารักษาการผู้อำนวยการแทน โดยการดำเนินการครั้งนี้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานกรรมการบริหารของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถูกออกแบบให้เป็นบริษัทเอกชนที่เข้ารับดูแลรายการ ขายเวลาโฆษณา ให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทั้งหมด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาดำเนินการในสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่มีการให้สัมปทานยาวนานถึง 30 ปี
บริษัท อาร์ทีเอฯ กลายเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม ด้วยเกรงว่ารูปแบบการดำเนินงานใน การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกองทัพบก และอาจเป็น การเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนเอกชนที่เข้าไปถือหุ้นก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระทั่งทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต้องให้มีการ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย กรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5
ช่อง 5 มีสิทธิ์ รอดทุก พ.ร.บ.?
ภายใต้การตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวขัดแย้งต่อกฎหมาย 3 ฉบับ ที่ประกอบด้วย พระ-ราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการ วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคม นาคม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 หรือไม่
แหล่งข่าวจากทำเนียบฯระบุว่าในส่วนของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ถือเป็นหน่วย งานที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบก มีความแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 9 ที่อยู่ในความดูแลขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
ช่อง 5 ไม่ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่น เพราะหากรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ต้องการจะแปรรูปจะต้องมีขั้นตอนที่ค่อนข้าง ละเอียดอ่อนกว่า เช่นต้องมีการนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือมีการกำหนดกรอบ ความชัดเจนของรัฐวิสาหกิจที่จะนำเอาทุนมาแปลงเป็นหุ้น
ดังนั้นการดำเนินงานของช่อง 5 จึงดำเนินการ ได้ตามโดยอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็น ประธานสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 โดยตำแหน่งอยู่แล้ว
แม้ว่ากองทัพบกภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม ที่มีบทบาทในการดูแลความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 ตามประกาศพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 ได้ให้เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไว้ว่า เนื่องจากปัจจุบันสมควรที่กระทรวงกลาโหมจะนำศักยภาพในด้านการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหารที่มีอยู่ มาช่วยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทัพและพัฒนาประเทศ สมควรกำหนดให้กระทรวงกลาโหมดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรและรักษาประโยชน์ของชาติ
พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงกรอบอำนาจหน้าที่หรือข้อจำกัดของกองทัพบกที่มีต่อการดำเนินการในสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในเครือข่ายของกองทัพบก ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสร้างความ มั่นคงให้ประเทศ เห็นได้จากช่วงที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อทำหน้าที่คัดเลือกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสช.) ตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ครั้งนั้นทางกองทัพบกพยายามที่จะขอกิจการ วิทยุและโทรทัศน์ไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ
การดำเนินงานด้วยการจัดตั้งบริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ที่ได้รับสัมปทานจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ให้ดูแลและจัดการในเรื่องเวลาของสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยง กสช. ที่จะเป็นผู้จัดสรรคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ใหม่ทั้งหมด การที่สถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่ได้มีการทำสัญญาไว้ก่อนที่ กสช. เกิดให้ ถือปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ทำไว้
เห็นได้จากช่อง 3 ที่ได้เร่งทำสัญญากับเอกชน อย่างบีอีซี เวิลด์ และช่อง 7 ทำสัญญากับบริษัทกรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์ ไว้เป็นระยะเวลา 30 ปีเช่นกัน กรณีของช่อง 5 ถือเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่เร่งดำเนินการก่อนที่ กสช. จะเกิดขึ้น
กลวิธีของช่อง 5 ไม่ผิดแต่ไม่ถูก
ประเด็นต่อมาคือเรื่องความเหมาะสมในทางธุรกิจที่คณะกรรมการตรวจสอบจะเข้ามาดูแลนั้น หากจะเทียบกับกรณีของช่อง 3 และช่อง 7 นั้นถือเป็นคนละกรณี เนื่องจากบริษัทที่เข้ามารับสัมปทานจากเจ้าของสถานีเป็นบริษัทเอกชนเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงไม่เกิดข้อครหามากนัก
ส่วนบริษัท ททบ.5 จำกัด(มหาชน) ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำกัด(มหาชน) โครงสร้างการถือหุ้นไม่ใช่ เอกชนทั้งหมด เพราะมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นด้วย และทางช่อง 5 ก็เป็นผู้ให้สัมปทานกับบริษัทนี้ ซึ่งเป็นทั้งผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานในเวลาเดียวกัน
ที่สำคัญคือโครงสร้างการถือหุ้นที่มีกลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้ามาร่วมถือหุ้นก่อนที่จะยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โครงสร้างดังกล่าวแตก ต่างจากการนำเอาหน่วยงานของรัฐเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ ที่มีการจัดตั้งบริษัทแล้วหน่วยงาน นั้นถือหุ้น 100% จากนั้นจึงจะมีการกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป(IPO) จึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องความไม่เหมาะสมในการดำเนินงาน เนื่องจากกลุ่มเอกชนที่เข้ามาร่วมถือหุ้นสัดส่วนสูงถึง 50% โดยมียักษ์ใหญ่ของวงการบันเทิงอย่างแกรมมี่ ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท อาร์ทีเอฯ เข้ามาถือหุ้นด้วย และยังมีกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองบางส่วน
ขณะที่กลุ่มทุนเอกชนเหล่านี้ได้ใส่เม็ดเงินเข้ามากว่า 300 ล้านบาท และต้องเสียหายกว่า 300 ล้านบาทเช่นกันจากการลดทุนจดทะเบียน 660 ล้านบาท เหลือเพียง 10 ล้านบาท หลังจากบริษัทนี้มีภาระขาดทุนสะสมกว่า 700 ล้านบาท
"โดยหลักการทำธุรกิจทั่วไปแล้ว เมื่อรู้อยู่เต็ม อกว่าจะต้องขาดทุนเกือบ 100% แล้วใครจะเข้าลง ทุน เว้นแต่มีเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้นอกรอบ เห็นได้จากผู้ถือหุ้นเอกชนที่เสียหายจากการลดทุนแล้วก็ยังเต็มใจถือหุ้นต่อ"
การตัดสินใจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้สินของบริษัท ดูจะกลายเป็น สิ่งที่ค้างคาใจผู้คนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกรณีที่บริษัท ททบ.5 ในขณะนั้น เข้าไปกู้เงินจากธนาคารทหารไทยราว 1.7 พันล้านบาท แต่กลับนำเงินที่ได้ทั้งหมดไปให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5 ทั้งหมดแล้วให้ช่อง 5 ปล่อยกู้กลับมายังบริษัท ททบ.5 อีกครั้ง สุดท้ายด้วยอำนาจของผู้บัญชาการทหารบกได้สั่งให้มีการหักกลบลบหนี้ระหว่างบริษัท อาร์ทีเอฯ (ททบ.5) เพื่อให้ตัวบริษัทมีสถานะที่ปลอดหนี้ แต่ภาระหนี้ดังกล่าวตกอยู่กับช่อง 5 ทั้งหมด
จุดนี้เองทำให้แนวทางในการแก้ปัญหาให้กับ อาร์ทีเอฯ กลายเป็นการสร้างภาระหนี้ให้กับช่อง 5 แทนซึ่งช่อง 5 ในความรู้สึกของผู้คนทั่วไปก็หมาย ถึงกองทัพบกนั่นเอง ยิ่งมีเรื่องของกลุ่มเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ประโยชน์ที่ช่อง 5 หรือกอง ทัพควรจะได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับกลาย มาเป็นการเจือจานกลุ่มทุนเอกชนไปด้วย
ความซับซ้อนของวิธีการกู้ยืมเงินของ บริษัท ททบ.5 ในขณะนั้นแล้วส่งผ่านไปยังช่อง 5 นั้น การหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นในทางธุรกิจสถานะความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีการทำสัญญาระหว่างกันยังไม่ได้หมดไป ภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อสัญญายังต้องมีอยู่โดยเฉพาะสัญญาที่มีต่อสถาบันการเงิน ซึ่งเรื่องนี้อาจจะถูกตั้งคำถามในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานได้ ในเรื่องของจุดประสงค์ในการใช้เงิน
หวั่นหุ้น IPO ตกอยู่ในมือทุนกลุ่มเดิม
แม้ที่ปรึกษาทางการเงินอย่าง บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด(มหาชน) หรือแอสเซท พลัส เดิมจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นโดยการเพิ่มทุนให้หุ้นกับช่อง 5 ฟรี อีก 500 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้ช่อง 5 กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 71.13% ส่วนที่จะกระจายหุ้นให้กับประชาชนอีก 170 ล้านหุ้น คิดเป็น 23.94% ขณะที่กลุ่มเอกชนเหลือสัดส่วนเพียง 4.93% เท่านั้น
"หากกลุ่มเอกชนเป็นมีสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 5% จริง นับได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะนอกจากต้องสูญเงินจากการลดทุนแล้วยังต้องหาเงินก้อนใหม่เข้ามาเพิ่มทุนอีก"
จากช่องว่างในการกระจายหุ้นให้กับประชาชน (IPO) ที่การกระจายหุ้นจริงๆ นั้น ไม่ถึงมือนักลงทุน รายย่อยจริง ที่ผ่านมาส่วนใหญ่หุ้นที่เตรียมเข้าจดทะเบียนใหม่จะตกอยู่กับผู้มีอุปการคุณ หรือลูกค้า รายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่กระจายหุ้น ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าหุ้น IPO เหล่านั้นอาจจะมีชื่อของแกรมมี่และลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ที่เคยให้แอสเซท พลัส นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อหุ้นในส่วนนี้ หากเป็นเช่นนั้นจริงส่วนของเอกชนที่ได้รับการเสียหายจากการลดทุนจดทะเบียน ก็อาจจะได้รับการชดเชยอย่างดีจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
แผนการแปรรูป มุ่งดึงมืออาชีพเข้าบริหาร
อย่างไรก็ดีในการกระทำของช่อง 5 ครั้งนี้ แหล่งข่าวจากกองทัพบก ระบุว่า เป็นเจตนาดีของกองทัพ ที่ต้องการให้ สถานีช่อง 5 มีโอกาสแข่ง ขันกับช่อง อื่น ๆ เพราะหากให้ช่อง 5 อยู่ภายใต้กองทัพ จะทำให้การบริหารงานไม่มีอิสระ และหมด โอกาสที่จะแข่งขัน
"โครงสร้างที่ทำออกมาเป็นลำดับนั้น เราต้อง การทำในรูปมืออาชีพจริงๆ ผู้บริหารทั้งหมดจะไม่ใช่ คนมียศเข้ามากุมอำนาจอีกต่อไป แต่เราจะใช้มืออาชีพ เหมือนกับที่อ.ส.ม.ท.ดึงมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เข้ามาบริหาร และเราเชื่อว่าคนที่เหมาะสมก็จะประกาศรับสมัครซึ่งจะไม่ใช่คนใดคนหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นแน่นอน"
ดังนั้นแผนงานที่อาร์เอที ฯวางไว้ก็คือ ผังรายการออกมาได้ในช่วงกรกฎาคม ถึงต้นปี 2548 จะเน้นผู้ผลิตรายการที่มีทุนหนาก่อน จากนั้นจะเข้า สู่แผนระยะ 2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จึงจะให้โอกาสรายเล็กๆ เข้ามาผลิตรายการให้ เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับสถานีต่อไป
แต่แผนงานที่ททบ.5 หรืออีกนัยหนึ่ง บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้วางไว้ทั้งในเรื่องการเข้าตลาดหุ้น การดึงมืออาชีพเข้า มาบริหารในรูปเอกชนนั้น ก็ต้องสะดุด และเฝ้ารอผลการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งมี พล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ เป็นประธาน ก่อน และหากผลการพิจารณาไม่พบความผิดก็จะทำให้ททบ.5 กลายเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กลุ่มทุน ได้จัดทำไว้ แต่ถ้าผิดขั้นตอนของกฎหมาย ทุกอย่าง ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
การนำเอาบริษัท ททบ.5 จำกัด(มหาชน) เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สะดุดมาแล้วในช่วงปลายปี 2546 หลังจากมีปัญหาในเรื่องโครงสร้างของตัวบริษัท บริษัท ททบ.5 โฉมใหม่ในนามบริษัท อาร์ ที เอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ที่เตรียมเข็นเข้าตลาดหุ้นอีกรอบได้กลายเป็นที่พิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมขณะนี้ หลังจากที่มีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวย การสถานีถึง 2 คน คือ พล.อ.ปรีชา เปรมาสวัสดิ์ เมื่อ 4 มิถุนายน และตั้ง พล.ท.สหชัย ชวนไชยสิทธิ์ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแทน แต่ในวันที่ 11 มิถุนายน ได้มีคำสั่งปลด พล.ท.สหชัย ออกและมีพล.ท.สรฤทธิ์ จันทราทิพย์ เข้ามารักษาการผู้อำนวยการแทน โดยการดำเนินการครั้งนี้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานกรรมการบริหารของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถูกออกแบบให้เป็นบริษัทเอกชนที่เข้ารับดูแลรายการ ขายเวลาโฆษณา ให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทั้งหมด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาดำเนินการในสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่มีการให้สัมปทานยาวนานถึง 30 ปี
บริษัท อาร์ทีเอฯ กลายเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม ด้วยเกรงว่ารูปแบบการดำเนินงานใน การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกองทัพบก และอาจเป็น การเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนเอกชนที่เข้าไปถือหุ้นก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระทั่งทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต้องให้มีการ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย กรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5
ช่อง 5 มีสิทธิ์ รอดทุก พ.ร.บ.?
ภายใต้การตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวขัดแย้งต่อกฎหมาย 3 ฉบับ ที่ประกอบด้วย พระ-ราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการ วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคม นาคม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 หรือไม่
แหล่งข่าวจากทำเนียบฯระบุว่าในส่วนของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ถือเป็นหน่วย งานที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบก มีความแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 9 ที่อยู่ในความดูแลขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
ช่อง 5 ไม่ถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่น เพราะหากรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ต้องการจะแปรรูปจะต้องมีขั้นตอนที่ค่อนข้าง ละเอียดอ่อนกว่า เช่นต้องมีการนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือมีการกำหนดกรอบ ความชัดเจนของรัฐวิสาหกิจที่จะนำเอาทุนมาแปลงเป็นหุ้น
ดังนั้นการดำเนินงานของช่อง 5 จึงดำเนินการ ได้ตามโดยอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็น ประธานสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 โดยตำแหน่งอยู่แล้ว
แม้ว่ากองทัพบกภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม ที่มีบทบาทในการดูแลความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 ตามประกาศพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 ได้ให้เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไว้ว่า เนื่องจากปัจจุบันสมควรที่กระทรวงกลาโหมจะนำศักยภาพในด้านการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหารที่มีอยู่ มาช่วยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทัพและพัฒนาประเทศ สมควรกำหนดให้กระทรวงกลาโหมดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรและรักษาประโยชน์ของชาติ
พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงกรอบอำนาจหน้าที่หรือข้อจำกัดของกองทัพบกที่มีต่อการดำเนินการในสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในเครือข่ายของกองทัพบก ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยสร้างความ มั่นคงให้ประเทศ เห็นได้จากช่วงที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อทำหน้าที่คัดเลือกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสช.) ตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ครั้งนั้นทางกองทัพบกพยายามที่จะขอกิจการ วิทยุและโทรทัศน์ไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ
การดำเนินงานด้วยการจัดตั้งบริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ที่ได้รับสัมปทานจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ให้ดูแลและจัดการในเรื่องเวลาของสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยง กสช. ที่จะเป็นผู้จัดสรรคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ใหม่ทั้งหมด การที่สถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่ได้มีการทำสัญญาไว้ก่อนที่ กสช. เกิดให้ ถือปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ทำไว้
เห็นได้จากช่อง 3 ที่ได้เร่งทำสัญญากับเอกชน อย่างบีอีซี เวิลด์ และช่อง 7 ทำสัญญากับบริษัทกรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์ ไว้เป็นระยะเวลา 30 ปีเช่นกัน กรณีของช่อง 5 ถือเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่เร่งดำเนินการก่อนที่ กสช. จะเกิดขึ้น
กลวิธีของช่อง 5 ไม่ผิดแต่ไม่ถูก
ประเด็นต่อมาคือเรื่องความเหมาะสมในทางธุรกิจที่คณะกรรมการตรวจสอบจะเข้ามาดูแลนั้น หากจะเทียบกับกรณีของช่อง 3 และช่อง 7 นั้นถือเป็นคนละกรณี เนื่องจากบริษัทที่เข้ามารับสัมปทานจากเจ้าของสถานีเป็นบริษัทเอกชนเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงไม่เกิดข้อครหามากนัก
ส่วนบริษัท ททบ.5 จำกัด(มหาชน) ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำกัด(มหาชน) โครงสร้างการถือหุ้นไม่ใช่ เอกชนทั้งหมด เพราะมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นด้วย และทางช่อง 5 ก็เป็นผู้ให้สัมปทานกับบริษัทนี้ ซึ่งเป็นทั้งผู้รับสัมปทานและผู้ให้สัมปทานในเวลาเดียวกัน
ที่สำคัญคือโครงสร้างการถือหุ้นที่มีกลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้ามาร่วมถือหุ้นก่อนที่จะยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โครงสร้างดังกล่าวแตก ต่างจากการนำเอาหน่วยงานของรัฐเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ ที่มีการจัดตั้งบริษัทแล้วหน่วยงาน นั้นถือหุ้น 100% จากนั้นจึงจะมีการกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป(IPO) จึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องความไม่เหมาะสมในการดำเนินงาน เนื่องจากกลุ่มเอกชนที่เข้ามาร่วมถือหุ้นสัดส่วนสูงถึง 50% โดยมียักษ์ใหญ่ของวงการบันเทิงอย่างแกรมมี่ ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท อาร์ทีเอฯ เข้ามาถือหุ้นด้วย และยังมีกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองบางส่วน
ขณะที่กลุ่มทุนเอกชนเหล่านี้ได้ใส่เม็ดเงินเข้ามากว่า 300 ล้านบาท และต้องเสียหายกว่า 300 ล้านบาทเช่นกันจากการลดทุนจดทะเบียน 660 ล้านบาท เหลือเพียง 10 ล้านบาท หลังจากบริษัทนี้มีภาระขาดทุนสะสมกว่า 700 ล้านบาท
"โดยหลักการทำธุรกิจทั่วไปแล้ว เมื่อรู้อยู่เต็ม อกว่าจะต้องขาดทุนเกือบ 100% แล้วใครจะเข้าลง ทุน เว้นแต่มีเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้นอกรอบ เห็นได้จากผู้ถือหุ้นเอกชนที่เสียหายจากการลดทุนแล้วก็ยังเต็มใจถือหุ้นต่อ"
การตัดสินใจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้สินของบริษัท ดูจะกลายเป็น สิ่งที่ค้างคาใจผู้คนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกรณีที่บริษัท ททบ.5 ในขณะนั้น เข้าไปกู้เงินจากธนาคารทหารไทยราว 1.7 พันล้านบาท แต่กลับนำเงินที่ได้ทั้งหมดไปให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5 ทั้งหมดแล้วให้ช่อง 5 ปล่อยกู้กลับมายังบริษัท ททบ.5 อีกครั้ง สุดท้ายด้วยอำนาจของผู้บัญชาการทหารบกได้สั่งให้มีการหักกลบลบหนี้ระหว่างบริษัท อาร์ทีเอฯ (ททบ.5) เพื่อให้ตัวบริษัทมีสถานะที่ปลอดหนี้ แต่ภาระหนี้ดังกล่าวตกอยู่กับช่อง 5 ทั้งหมด
จุดนี้เองทำให้แนวทางในการแก้ปัญหาให้กับ อาร์ทีเอฯ กลายเป็นการสร้างภาระหนี้ให้กับช่อง 5 แทนซึ่งช่อง 5 ในความรู้สึกของผู้คนทั่วไปก็หมาย ถึงกองทัพบกนั่นเอง ยิ่งมีเรื่องของกลุ่มเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ประโยชน์ที่ช่อง 5 หรือกอง ทัพควรจะได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับกลาย มาเป็นการเจือจานกลุ่มทุนเอกชนไปด้วย
ความซับซ้อนของวิธีการกู้ยืมเงินของ บริษัท ททบ.5 ในขณะนั้นแล้วส่งผ่านไปยังช่อง 5 นั้น การหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นในทางธุรกิจสถานะความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีการทำสัญญาระหว่างกันยังไม่ได้หมดไป ภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อสัญญายังต้องมีอยู่โดยเฉพาะสัญญาที่มีต่อสถาบันการเงิน ซึ่งเรื่องนี้อาจจะถูกตั้งคำถามในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงานได้ ในเรื่องของจุดประสงค์ในการใช้เงิน
หวั่นหุ้น IPO ตกอยู่ในมือทุนกลุ่มเดิม
แม้ที่ปรึกษาทางการเงินอย่าง บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด(มหาชน) หรือแอสเซท พลัส เดิมจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นโดยการเพิ่มทุนให้หุ้นกับช่อง 5 ฟรี อีก 500 ล้านหุ้น ซึ่งทำให้ช่อง 5 กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 71.13% ส่วนที่จะกระจายหุ้นให้กับประชาชนอีก 170 ล้านหุ้น คิดเป็น 23.94% ขณะที่กลุ่มเอกชนเหลือสัดส่วนเพียง 4.93% เท่านั้น
"หากกลุ่มเอกชนเป็นมีสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 5% จริง นับได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะนอกจากต้องสูญเงินจากการลดทุนแล้วยังต้องหาเงินก้อนใหม่เข้ามาเพิ่มทุนอีก"
จากช่องว่างในการกระจายหุ้นให้กับประชาชน (IPO) ที่การกระจายหุ้นจริงๆ นั้น ไม่ถึงมือนักลงทุน รายย่อยจริง ที่ผ่านมาส่วนใหญ่หุ้นที่เตรียมเข้าจดทะเบียนใหม่จะตกอยู่กับผู้มีอุปการคุณ หรือลูกค้า รายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่กระจายหุ้น ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าหุ้น IPO เหล่านั้นอาจจะมีชื่อของแกรมมี่และลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ที่เคยให้แอสเซท พลัส นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อหุ้นในส่วนนี้ หากเป็นเช่นนั้นจริงส่วนของเอกชนที่ได้รับการเสียหายจากการลดทุนจดทะเบียน ก็อาจจะได้รับการชดเชยอย่างดีจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
แผนการแปรรูป มุ่งดึงมืออาชีพเข้าบริหาร
อย่างไรก็ดีในการกระทำของช่อง 5 ครั้งนี้ แหล่งข่าวจากกองทัพบก ระบุว่า เป็นเจตนาดีของกองทัพ ที่ต้องการให้ สถานีช่อง 5 มีโอกาสแข่ง ขันกับช่อง อื่น ๆ เพราะหากให้ช่อง 5 อยู่ภายใต้กองทัพ จะทำให้การบริหารงานไม่มีอิสระ และหมด โอกาสที่จะแข่งขัน
"โครงสร้างที่ทำออกมาเป็นลำดับนั้น เราต้อง การทำในรูปมืออาชีพจริงๆ ผู้บริหารทั้งหมดจะไม่ใช่ คนมียศเข้ามากุมอำนาจอีกต่อไป แต่เราจะใช้มืออาชีพ เหมือนกับที่อ.ส.ม.ท.ดึงมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เข้ามาบริหาร และเราเชื่อว่าคนที่เหมาะสมก็จะประกาศรับสมัครซึ่งจะไม่ใช่คนใดคนหนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นแน่นอน"
ดังนั้นแผนงานที่อาร์เอที ฯวางไว้ก็คือ ผังรายการออกมาได้ในช่วงกรกฎาคม ถึงต้นปี 2548 จะเน้นผู้ผลิตรายการที่มีทุนหนาก่อน จากนั้นจะเข้า สู่แผนระยะ 2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จึงจะให้โอกาสรายเล็กๆ เข้ามาผลิตรายการให้ เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับสถานีต่อไป
แต่แผนงานที่ททบ.5 หรืออีกนัยหนึ่ง บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้วางไว้ทั้งในเรื่องการเข้าตลาดหุ้น การดึงมืออาชีพเข้า มาบริหารในรูปเอกชนนั้น ก็ต้องสะดุด และเฝ้ารอผลการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งมี พล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ เป็นประธาน ก่อน และหากผลการพิจารณาไม่พบความผิดก็จะทำให้ททบ.5 กลายเป็นบริษัทมหาชน ตามที่กลุ่มทุน ได้จัดทำไว้ แต่ถ้าผิดขั้นตอนของกฎหมาย ทุกอย่าง ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่