ผู้จัดการรายสัปดาห์ - การควบรวมกิจการระหว่าง 2 มหาอำนาจโรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กับอีจีวี ถูกมองเป็นเพียงปฐมบทแรกของการรุกฆาตอุตสาหกรรม บันเทิงไทย ก่อนที่จะรุกคืบไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ฟิตเนส โบว์ลิ่ง คารา-โอเกะ และหนังแผ่น ...แหล่งทำเงินใหม่ที่กำลังจะบุกเข้า ไปในอนาคต จับตา ! ย่างก้าวการกิน รวบธุรกิจบันเทิงไทย ภายใต้ ชื่อ "เมเจอร์"
ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ของ วิชา พูลวรลักษณ์ กับอีจีวี ที่มี วิชัย พูลวรลักษณ์ เป็นเจ้าของนั้น เป็นข่าวใหญ่ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ธุรกิจแทบทุกฉบับ เพราะไม่มีใครคิดว่า "ทั้งคู่" ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานานจะจับมือกันได้ เพราะรู้กันมานานแล้วว่า "พูลวรลักษณ์" ทั้ง 2 สายนี้ แยกทางกันเดินมานานแล้ว
การแยกทางกันเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาของ "จำเริญ-เจริญ" ส่งผลให้การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ของเมืองไทยแบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กับ อีจีวี" แม้สายแรกจะหันเหไปทำธุรกิจห้างสรรพสินค้า "เวลโก" และไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ผิดกับฝ่ายหลังที่มุ่งอยู่กับธุรกิจโรงภาพยนตร์เพียงอย่างเดียว แต่ท้ายที่สุดฝ่ายแรกกลับประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมากกว่า เห็นได้จากการครองส่วนแบ่งตลาดโรงหนังสูงถึง 50% ขณะที่อีกฝ่ายมีเพียง 20% เท่านั้น
ภายหลังจากการรวมกิจการกันแล้วเท่ากับตระกูลพูลวรลักษณ์จะกุมธุรกิจโรงหนังถึงกว่า 70% ส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขนาดนี้ ย่อมส่งผลต่อผู้เล่นในตลาดเดียวกันไม่มากก็น้อย ที่เห็นแน่นอนคือ เอสเอฟ ซีเนมา ของค่ายสหมงคลฟิล์มที่กำลังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเมเจอร์อยู่ในขณะนี้
ปัจจุบันหัวใจการแข่งขันของธุรกิจโรงหนังยังอยู่ที่ P ตัวที่ 3 หรือ Place คือ ใครสามารถขยายสาขาเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุดคนนั้นเป็นผู้ชนะ เนื่องจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่เลือกดูหนังจากโรงภาพยนตร์ที่เดินทางสะดวกสบายเป็นหลัก โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯที่การจรจรติดขัด ทำให้คนต้องเลือกดูหนังในบริเวณใกล้เคียงเป็นหลัก ทำให้แผนการขยายตลาดของเมเจอร์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตยังมุ่งเน้นการขยายโรงภาพยนตร์ไปยังแหล่งชุมชน จากปัจจุบันเมเจอร์มีจำนวนโรงภาพยนตร์มากถึง 130 โรง จาก 15 สาขา ส่วนอีจีวีมีเพียง 99 โรง จาก 11 สาขา โดยสาขาที่จะพขยายเพิ่มขึ้นนั้นอาจเป็นโรงภาพยนตร์ไซส์เล็กเพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึง และการลงทุนมากขึ้น เช่นเดียวกับค่ายเอสเอฟ ซีเนม่า ที่มีแผนจะขยายโรงหนังในเครือให้ครบ 75 โรง หรือประมาณ 2 หมื่นที่นั่ง รวมมูลค่าการลงทุน 1.5 พันล้านบาทเช่นกัน
แม้ว่าการควบรวมจะยังไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานี้มากนัก คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าภาพการกำหนดบทบาททางการตลาดของเมเจอร์จะชัดเจนขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้น กลยุทธ์การแข่งขันจะขยับมาให้ความสำคัญกับ P ตัวที่สอง หรือ Price มากขึ้น เนื่องจากการมีโรงภาพยนตร์จำนวนมากจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการลดน้อยลง
ขณะเดียวกันการมีโรงหนังจำนวนมาก กับการเป็นผู้นำเข้าหนังเอง จะทำให้เมเจอร์มีพลังในการต่อรองกับบรรดาค่ายหนังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเมเจอร์ หรือแม้แต่ค่ายอินดิ้ ทำให้ได้ต้นทุนของหนังถูกลงไป ที่สำคัญการขยับฐานะเป็นผู้นำเข้าหนังทำให้เมเจอร์ไม่ต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับเจ้าของหนังเหมือนเดิมอีก แต่จะรับรายได้จากการเข้าฉายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
การรวมของเมเจอร์และอีจีวีครั้งนี้ย่อมส่งผลไปถึงธุรกิจโรงหนังรายเล็กรายน้อย หรือแม้แต่รายใหญ่ในต่างจังหวัดจะต้องได้รับผลกระทบเข้าไปด้วย เพราะทั้งเมเจอร์ และอีจีวี ต่างก็มีแผนรุกตลาดต่างจังหวัดเพื่อแย่งส่วนแบ่งให้มากขึ้น เนื่องจากตลาดกรุงเทพฯเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ความน่ากลัวของเมเจอร์นับต่อจากนี้ไม่ได้อยู่ที่การขยับขึ้นราคาค่าชมภาพยนตร์ แต่อยู่ที่การลดราคาค่าชมภาพยนตร์ต่างหาก เพราะเมื่อใดที่กลยุทธ์ "ราคา" ถูกนำมาใช้ย่อมส่งแรงสะเทือนไปถึงโรงภาพยนตร์ค่ายเล็กและค่ายใหญ่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัดอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมที่อ่อนไหวต่อราคาเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งเมเจอร์สามารถตอบสนองในเรื่อง "ความสะดวกสบาย" ในการเข้าชม เพราะมีสาขาให้เลือกมากกว่าแล้ว ยิ่งทำให้เมเจอร์เสมือนถือหมากเหนือคู่แข่งไม่ใช่เพียง 2 ขุมเท่านั้น แต่น่าจะเหนือกว่าทั้งกระดานด้วยซ้ำ
แผนกินรวบหนังแผ่น
ปัจจุบัน "เสี่ยเจียง" หรือ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อาจเป็นขาใหญ่ในวงการภาพยนตร์เมืองไทย แต่ต่อไปอาจไม่ใช่แล้ว เมื่อทางเมเจอร์กำลังขยายบทบาทมาเป็นผู้นำเข้าหนังด้วยคน แน่นอนว่าบทบาทใหม่ของเมเจอร์ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่การนำเข้ามาฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการขายเป็นหนังแผ่นด้วย
สัญญาณการข้ามสายของเมเจอร์เริ่มแจ่มชัดเมื่อร่วมกับค่ายนนทนันท์ ผู้นำเข้าหนังอิสระรายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อนำเข้าหนังจากค่ายอิสระ หรืออินดี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญเมื่อเดือนที่ผ่านมา "วิชา" เพิ่งไปเดินสายชอปปิ้งภาพยนตร์ดีๆกับ "มือดีของเสี่ย" คนหนึ่งที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ว่ากันว่าหนังแต่ละเรื่องที่ "วิชา" ควักเงินซื้อมานี้ ถูกกว่าที่เสี่ยเจียงเคยซื้อมาค่อนข้างมาก เนื่องจากไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์หลายต่อหลายทอด
แน่นอนว่าการทำของ "วิชา" ครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจมายัง "เสี่ยเจียง" เป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันตลาดหนังแผ่น (ซื้อ-ขาย-เช่า-คาราโอเกะ) มีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท จึงไม่แปลกที่จะมีผู้เล่นจำนวนมากร่วมวงในสมรภูมินี้ โดยมี เสี่ยเจียง ณ สหมงคลฟิล์ม เป็นผู้เล่นรายใหญ่สุด ด้วยความที่มีภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศผ่านมือนับร้อยเรื่องในแต่ละปี แถมแต่ละเรื่องเป็นหนังค่อนข้างโดดเด่น และทำเงินเมื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ได้ในระดับ 50-100 ล้านบาท จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น kill bill, เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ทั้ง 3 ภาค หากคิดเฉพาะภาคสุดท้าย เดอะ รีเทิร์น ออฟ เดอะ คิง มีรายได้ถึง 193 ล้านบาท, องก์บาก กวาดรายได้ไป 94 ล้านบาท, เดอะ มาเธอร์ 47 ล้านบาท ฯลฯ ซึ่งรายได้ของกลุ่มสหมงคลฟิล์มในช่วงปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินเข้ากระเป๋าเฉพาะที่ฉายในโรงภาพยนตร์กว่า 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนหนังในประเทศกับหนังไทยอย่างละ 50 : 50
ขนาดเป็นหนังใหญ่ยังทำเงินขนาดนี้ มิต้องพักสงสัยเลยว่าเมื่อมาเป็นหนังแผ่นจะทำยอดขายถล่มทลายขนาดไหน เนื่องจากหนังแผ่นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการชมได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็มีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่แม้จะเข้าชมในโรงภาพยนตร์แล้ว แต่ก็ชอบสะสมหนังดีๆไว้ครอบครอง ทำให้ทางกลุ่มสหมลคลฟิล์มมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์หนังให้กับผู้ผลิตหนังแผ่นในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินนับร้อยล้านบาท ว่ากันว่าเม็ดเงินที่ค่ายนี้ขายลิขสิทธิ์หนังแต่ละเรื่องสูงถึง 5-10 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับเกรดของหนัง
"แรกๆหนังไทยของสหมงคลฟิล์มขายไม่ถึง 10 ล้านบาท แต่ตอนนี้ขยับราคาขึ้นไปมากกว่า 10 ล้านบาท แต่ละปีค่ายนี้ซื้อหนังเป็น 100 เรื่อง ที่สำคัญตอนนี้ยังกวาดผู้กำกับหนังไทยมาเป็นพันธมิตรอีก คุณลองคิดดูซิว่าแต่ละปีค่ายนี้จะมีเงินเข้ากระเป๋าสักขนาดไหน" แหล่งข่าวในวงการ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" พร้อมขยายความว่า "เม็ดเงินมหาศาลขนาดนี้ ไม่มีทางที่เมเจอร์จะปล่อยให้คนอื่นโกยคนเดียวอยู่แล้ว โดยเฉพาะในสภาวะที่ทั้งคู่ไม่กินเส้นกันอย่างนี้ จับตาดูให้ดีๆหากเมเจอร์นำเข้าหนังเมื่อไร วันนั้นเขาต้องบุกหนังแผ่นด้วย ยิ่งตอนนี้เขามีไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ด้วย ทำให้ภาพของเมเจอร์ในวันนี้ไม่เป็นรองเสี่ยเจียงเท่าไร"
หากพิจารณาการทำตลาดหนังแผ่นของเสี่ยเจียงในวันนี้ ดูเหมือนว่าจะคลายพลังในการรุกลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขาดพันธมิตรผู้ซื้อลิขสิทธิ์รายสำคัญ อย่าง แมงป่อง ที่เพิ่งสะบั้นรักไปเมื่อราวต้นปีที่ผ่านมา แว่วว่ามูลเหตุของการหมางเมินกันเช่นนี้มาจากการที่ "ใครบางคน" แอบนำลิขสิทธิ์ที่ให้กับแมงป่องไปขายให้กับบริษัทเอพีเอส และอีวีเอส อีกต่อหนึ่ง สำหรับคู่ควงรายใหม่ของค่ายสหมงคลฟิล์มที่ซื้อลิขสิทธิ์เป็นรายต่อไปก็คือ เจ บิกส์ บริษัทขายส่งรายใหญ่ที่มีถิ่นฐานบริเวณคลองถม
จากการขาดคู่ค้าคนสำคัญอย่างแมงป่อง เชื่อว่าอาจทำให้ความสามารถในการกระจายสินค้า และช่องทางจำหน่ายสินค้าของสหมงคลฟิล์มลดลงอย่างมาก เพราะคู่ค้าคนเดิมถือว่าเป็นผู้กุมช่องทางจำหน่ายอยู่ในมือจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเอาต์เลตของแมงป่องที่มีอยู่ถึง 170 กว่าแห่ง ตลอดจนช่องทางร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ อย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ปัจจุบันมีจำนวนร้านกว่า 2,300 ร้านค้า ถือเป็นช่องทางการจำหน่ายทรงประสิทธิภาพที่สุดในยุคปัจจุบัน
สิ่งที่น่าจับตาต่อไปก็คือ การร่วมมือกันระหว่างเมเจอร์กับแมงป่องที่หลายคนเชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต เพราะสายสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของเมเจอร์ และอีจีวี กับแมงป่อง ค่อนข้างราบรื่น และเป็นไปด้วยดี ดังจะเห็นได้จากหลายงานของแมงป่องจะมีผู้บริหารของทั้งสองค่ายไปร่วมงานอยู่เนืองๆ
การกินรวบธุรกิจหนังแผ่นของเมเจอร์คงจะราบรื่น ไร้ปัญหา หากเทียบกับค่ายสหมงคลฟิล์มที่น่าจะประสบอุปสรรคไม่น้อย เนื่องจากกลยุทธ์สำคัญของการเพิ่ม "ราคา" ให้กับหนังแผ่นก็คือ การได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ดีๆ และฉายนานๆ เพื่อ "อัพเกรด" หนัง
"แม้จะเป็นหนังดีแต่ถ้าฉายที่เอสเอฟอย่างเดียวคิดว่าคงไม่เกิด เพราะปัจจัยที่ทำให้คนดูหนังหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสะดวกสบาย ซึ่งหากฉายในโรงที่ไม่ดี หรือฉายเพียงชั่วระเวลาสั้นเครดิตหนังก็จะไม่เกิด และส่งผลไปถึงการทำหนังแผ่นด้วย เพราะผู้บริโภคไม่ตื่นเต้น เนื่องจากส่วนใหญ่มองว่า หนังที่เข้าฉายในโรงจะเป็นหนังที่ดี" แหล่งข่าวคนเดิม ให้ทัศนะ และว่า หากเป็นหนังฟอร์มดีบางเรื่องมียอดขายไม่ต่ำกว่า 5 แสนแผ่น
อย่างไรก็ตาม ผลของการที่เมเจอร์ขยับเข้ามาเป็นผู้นำเข้าหนังครั้งนี้ไม่ได้ก่อศึกเฉพาะค่ายสหมงคลฟิล์มเท่านั้น แต่ยังอาจมีผลต่อผู้นำเข้ารายย่อยที่ต้องบอกเลิกศาลา เนื่องจากขาดซึ่งอำนาจการต่อรอง ด้วยปริมาณหนังที่นำเข้ามาฉายไม่ได้มากมายเหมือนกับค่ายหนังใหญ่ 3 ค่าย ประกอบด้วย โคลัมเบียไทรสตาร์บัวนาวิสต้า ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ฟ็อกซ์ และยูไนเต็ดอินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ หรือยูไอพี ที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันแล้วมากกว่า 50-60% นอกจากนี้ผู้นำเข้ารายเล็กก็ไม่ได้มีโรงหนังของตัวเอง ยกเว้นเอสเอฟเท่านั้น แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่ามาก
เมเจอร์กินรวบธุรกิจโบว์ลิ่ง
ธุรกิจโบว์ลิ่งเป็นธุรกิจขาที่ 2 ที่เมเจอร์หมายมั่นปั้นมือว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ โดยในอดีตธุรกิจโบว์ลิ่งมักถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นแต่เมเจอร์เชื่อมั่นว่าโบว์ลิ่งจะเป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าโรงภาพยนตร์ด้วย เมเจอร์ต้องใช้เวลาสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจโบว์ลิ่งจนสามารถล้างภาพเก่าๆ ในอดีตได้
ปัจจุบันธุรกิจโบว์ลิ่งสร้างรายได้เป็นอันดับที่ 2 ให้กับเมเจอร์ด้วยสัดส่วน 12% จากสาขาเมเจอร์โบว์ที่มีอยู่ 9 แห่ง 224 เลน ซึ่งเมเจอร์มีแผนที่จะขยายธุรกิจโบว์ลิ่งไปสู่โรงภาพยนตร์ทั้ง 15 สาขา และจะมีการขยายสาขาสแตนอะโลนด้วย ประกอบกับการควบรวมกิจการกับอีจีวีซึ่งมีโบว์ลิ่งอยู่ 1 สาขา 28 เลน ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเมเจอร์จะขยายธุรกิจโบว์ลิ่งไปสู่งสาขาต่างๆของอีจีวีทั้ง 11 สาขา
ปีนี้เมเจอร์ลงทุน 200 ล้านบาทเพื่อขยายธุรกิจโบว์ลิ่งอีก 6 สาขา 90 เลน รวมแล้วสิ้นปีจะมีโบว์ลิ่ง 314 เลน โดยคาดว่าจะมีผลประกอบการในธุรกิจนี้สูงถึง 400 ล้านบาท คิดเป็น 40% ของธุรกิจโบว์ลิ่งโดยรวมที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ในขณะที่ปีหน้าจะทุ่มอีก 350 ล้านบาทขยายโบว์ลิ่งเพิ่มอีก 6 สาขาซึ่งหนึ่งในนั้นคือสยามพารากอนที่มีโบว์ลิ่งมากถึง 50 เลน รวมแล้วปีหน้าเมเจอร์โบว์จะมี 21 สาขา 490 เลน พร้อมกับวาดฝันว่าจะสามารถขยับส่วนแบ่งขึ้นมาอยู่ที่ 50% หรือประมาณ 500 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 30% ในขณะที่ตลาดรวมโบว์ลิ่งโตเพียง 10%
ทั้งนี้คู่แข่งในธุรกิจโบว์ลิ่งที่สำคัญคือ พี.เอส.โบว์ลิ่ง ที่มีอยู่ 10 สาขา 318 เลน ขยายสาขาไปตามการเติบโตของห้างต่างๆ เมื่อเทียบศักยภาพแล้วคงยากที่จะต่อกรกับเมเจอร์แม้ว่าปัจจุบันพีเอสจะมีจำนวนเลนที่มากกว่าแต่อีกไม่นานก็จะถูกเมเจอร์แซงหน้า ประกอบกับไลฟสไตล์ของคนรุ่นใหม่เวลาไปพักผ่อนมักเลือกที่ที่มีความบันเทิงครบวงจร นอกจากการโยนโบว์ลิ่งและรับประทานอาหารแล้ว หากมีคาราโอเกะหรือโรงภาพยนตร์รองรับแล้วน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าไปสถานที่ที่มีแต่โบว์ลิ่งอย่างเดียว
แผนในการขยายธุรกิจของเมเจอร์ส่อเจตนาอย่างชัดเจนว่าภายหลังการครองตลาดโรงภาพยนตร์อย่างเด็ดขาดแล้ว เมเจอร์เตรียมที่จะยึดธุรกิจโบว์ลิ่งในไม่ช้านี้
เมเจอร์แผ่อิทธิพลครองฟิตเนส
ด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของ วิชา พูลวรลักษณ์ บอสใหญ่แห่งอาณาจักรเมเจอร์ ที่พยายามขยายธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่งตั้งแต่ครั้งทำห้างเซฟโก้ ก็มีการสร้างศูนย์อาหาร และโรงภาพยนตร์ไว้ในห้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ในยุคนั้น ครั้นพอมาทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็มีการต่อยอดธุรกิจที่ต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น การทำโฆษณาในโรงภาพยนตร์ การทำธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ การซื้อหุ้นสยามฟิวเจอร์เพื่อเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจบันเทิงไปสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างปรกฏการณ์ที่ไม่มีใครเคยคิดว่าธุรกิจโรงภาพยนตร์กับฟิตเนสจะไปด้วยกันได้ โดยการซื้อหุ้น 49% ของแคลิฟอร์เนียฟิตเนส
เมื่อเมเจอร์เข้าสู่ธุรกิจใดแล้วหมายความว่าต้องเต็มที่ ฟิตเนสก็เช่นกัน จากเดิมที่แคลิฟอร์เนียฟิตเนสเข้ามาตั้งสาขาในเมืองไทยที่สีลมก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะขยายสาขา จนเมเจอร์เข้ามาถือหุ้นก็เริ่มรุกธุรกิจฟิตเนสด้วยการแทรกซึมไปตามสาขาของเมเจอร์ ผสมผสานไปกับแนวคิดของ เอริค เลอวีน ประธานกรรมการบริหาร แคลิฟอร์เนียฟิตเนส ที่มองว่าฟิตเนสเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนจึงกระจายสาขาไปตามอาคารสำนักงานต่างๆ รวมถึงมีแผนที่จะแทรกซึมสาขาไปสู่แหล่งชุมชน ซึ่งชื่อชั้นของแคลิฟอร์เนียฟิตเนสบวกกับความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคไทยของเมเจอร์แล้วทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับฟิตเนสเฟิร์สทที่ฝันว่าจะเป็นผู้นำตลาด โดยปีนี้ฟิตเนสเฟิร์สทตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 12 สาขา ในขณะที่แคลิฟอร์เนียวางแผนขยายสาขาในเมเจอร์ 4 สาขาในปีนี้และเพิ่มอีก 6-8 สาขาในปีหน้า
ประกอบกับการที่อีจีวีมีเยสฟิตเนสอยู่ในมือ อาจมีการทำโปรโมชั่นสมาชิกแคลิฟอร์เนียฟิตเนสและเยสฟิตเนส สามารถใช้บริการร่วมกันได้ หรือไม่ก็อาจจะมีการควบรวมธุรกิจฟิตเนสตามมา แน่นอนว่าบทสรุปคงไม่ต่างจากการควบรวมเมเจอร์กับอีจีวี เพียงแต่ประเด็นนี้อาจจะต้องรอดูรายละเอียดอีกทีเพราะถ้ามีการควบรวมหมายความว่าแคลิฟอร์เนียร์ฟิตเนสอาจจะต้องเพิ่มทุน ซึ่งต้องดูการเพิ่มทุนนี้ว่าใครจะลงทุนเพิ่ม เพราะปัจจุบันเมเจอร์ถือหุ้สูงถึง 49% ถ้าเมเจอร์เป็นฝ่ายเพิ่มทุนอีก ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเชื่อว่า เอริค คงไม่ยอมให้ธุรกิจที่สร้างมากับมือหลุดลอยไปแน่ ดังนั้นถ้าจะให้การควบรวมธุรกิจฟิตเนสไร้ปัญหาทั้งคู่จะลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาสัดส่วนในการถือครองหุ้นเท่าเดิมคือ 51:49
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจทำให้ วิชา ต้องสร้างพันธมิตร สร้างอำนาจต่อรองเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ การควบรวมธุรกิจโรงภาพยนตร์เป็นเพียงปฐมบทของอาณาจักรเมเจอร์เท่านั้น ธุรกิจอื่นๆกำลังถูกสร้างอำนาจการต่อรองด้วยการเป็นผู้กำหนดทิศทางตลาด เพราะการทำธุรกิจก็เหมือนสมรภูมิรบ ถ้าไม่สวมบทเป็นฝ่ายรุกก็จะกลายเป็นผู้ตั้งรับ ขาดอำนาจในการต่อรอง หากมองการรุกในธุรกิจฟิตเนส ทั้งของเมเจอร์ ในแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส และ อีจีวี ใน เยส ฟิตเนส ถือว่าน่ากลัวทีเดียว เพราะจะว่าไปแล้วสภาพโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสในบ้านเรามีเพียงแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส และฟิตเนส เฟิร์สท เท่านั้นที่ทำธุรกิจอย่างจริงจัง โดยอาศัย Core Benefit ในเรื่องให้คนมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีมาเป็นจุดขาย
ภายหลังการเข้ามาของ เยส ฟิตเนส ทำให้ธุรกิจนี้น่าสนใจเพิ่มขึ้น เพราะเป็นการสกัดจุดอ่อนของธุรกิจนี้ไปจนหมด เพราะปัญหาของธุรกิจนี้เท่าที่ประสบมาก็คือ สมาชิกไม่ค่อยยอมต่ออายุหลังจากที่อายุสมาชิกหมดลง เนื่องจากเห็นว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ทั้งที่ในใจต้องการมีสุขภาพที่ดีก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ เยส ฟิตเนส เลือกใช้กลยุทธ์นำความบันเทิง และความสนุกสนานมาเป็นจุดขายสำคัญให้กับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นจุดขายที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน
เยส ฟิตเนส ใช้งบการตลาดสูงถึง 18 ล้านบาท สูงกว่าบรรดาผู้เล่นรายอื่นๆในตลาดรวมกัน ตั้งเป้าว่าภายในปีแรกจะมียอดสมาชิกถึง 4,000 คน
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบจากผู้บริหารของเมเจอร์ และอีจีวีว่า จะทำอย่างไรกับฟิตเนสทั้ง 2 แบรนด์ แต่หากคงทั้งคู่ ซึ่งมีความแตกต่าง และมีจุดขาย จุดดี จุดเด่น ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ก็คงจะทำให้ผู้เล่นรายอื่นเหน็ดเหนื่อยไม่น้อย และโอกาสในการกินรวบฟิตเนสไทยก็มีอยู่สูงเช่นกัน
ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ของ วิชา พูลวรลักษณ์ กับอีจีวี ที่มี วิชัย พูลวรลักษณ์ เป็นเจ้าของนั้น เป็นข่าวใหญ่ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ธุรกิจแทบทุกฉบับ เพราะไม่มีใครคิดว่า "ทั้งคู่" ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานานจะจับมือกันได้ เพราะรู้กันมานานแล้วว่า "พูลวรลักษณ์" ทั้ง 2 สายนี้ แยกทางกันเดินมานานแล้ว
การแยกทางกันเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาของ "จำเริญ-เจริญ" ส่งผลให้การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ของเมืองไทยแบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กับ อีจีวี" แม้สายแรกจะหันเหไปทำธุรกิจห้างสรรพสินค้า "เวลโก" และไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ผิดกับฝ่ายหลังที่มุ่งอยู่กับธุรกิจโรงภาพยนตร์เพียงอย่างเดียว แต่ท้ายที่สุดฝ่ายแรกกลับประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมากกว่า เห็นได้จากการครองส่วนแบ่งตลาดโรงหนังสูงถึง 50% ขณะที่อีกฝ่ายมีเพียง 20% เท่านั้น
ภายหลังจากการรวมกิจการกันแล้วเท่ากับตระกูลพูลวรลักษณ์จะกุมธุรกิจโรงหนังถึงกว่า 70% ส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขนาดนี้ ย่อมส่งผลต่อผู้เล่นในตลาดเดียวกันไม่มากก็น้อย ที่เห็นแน่นอนคือ เอสเอฟ ซีเนมา ของค่ายสหมงคลฟิล์มที่กำลังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเมเจอร์อยู่ในขณะนี้
ปัจจุบันหัวใจการแข่งขันของธุรกิจโรงหนังยังอยู่ที่ P ตัวที่ 3 หรือ Place คือ ใครสามารถขยายสาขาเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุดคนนั้นเป็นผู้ชนะ เนื่องจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่เลือกดูหนังจากโรงภาพยนตร์ที่เดินทางสะดวกสบายเป็นหลัก โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯที่การจรจรติดขัด ทำให้คนต้องเลือกดูหนังในบริเวณใกล้เคียงเป็นหลัก ทำให้แผนการขยายตลาดของเมเจอร์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตยังมุ่งเน้นการขยายโรงภาพยนตร์ไปยังแหล่งชุมชน จากปัจจุบันเมเจอร์มีจำนวนโรงภาพยนตร์มากถึง 130 โรง จาก 15 สาขา ส่วนอีจีวีมีเพียง 99 โรง จาก 11 สาขา โดยสาขาที่จะพขยายเพิ่มขึ้นนั้นอาจเป็นโรงภาพยนตร์ไซส์เล็กเพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึง และการลงทุนมากขึ้น เช่นเดียวกับค่ายเอสเอฟ ซีเนม่า ที่มีแผนจะขยายโรงหนังในเครือให้ครบ 75 โรง หรือประมาณ 2 หมื่นที่นั่ง รวมมูลค่าการลงทุน 1.5 พันล้านบาทเช่นกัน
แม้ว่าการควบรวมจะยังไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลานี้มากนัก คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าภาพการกำหนดบทบาททางการตลาดของเมเจอร์จะชัดเจนขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้น กลยุทธ์การแข่งขันจะขยับมาให้ความสำคัญกับ P ตัวที่สอง หรือ Price มากขึ้น เนื่องจากการมีโรงภาพยนตร์จำนวนมากจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการลดน้อยลง
ขณะเดียวกันการมีโรงหนังจำนวนมาก กับการเป็นผู้นำเข้าหนังเอง จะทำให้เมเจอร์มีพลังในการต่อรองกับบรรดาค่ายหนังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายเมเจอร์ หรือแม้แต่ค่ายอินดิ้ ทำให้ได้ต้นทุนของหนังถูกลงไป ที่สำคัญการขยับฐานะเป็นผู้นำเข้าหนังทำให้เมเจอร์ไม่ต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับเจ้าของหนังเหมือนเดิมอีก แต่จะรับรายได้จากการเข้าฉายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
การรวมของเมเจอร์และอีจีวีครั้งนี้ย่อมส่งผลไปถึงธุรกิจโรงหนังรายเล็กรายน้อย หรือแม้แต่รายใหญ่ในต่างจังหวัดจะต้องได้รับผลกระทบเข้าไปด้วย เพราะทั้งเมเจอร์ และอีจีวี ต่างก็มีแผนรุกตลาดต่างจังหวัดเพื่อแย่งส่วนแบ่งให้มากขึ้น เนื่องจากตลาดกรุงเทพฯเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ความน่ากลัวของเมเจอร์นับต่อจากนี้ไม่ได้อยู่ที่การขยับขึ้นราคาค่าชมภาพยนตร์ แต่อยู่ที่การลดราคาค่าชมภาพยนตร์ต่างหาก เพราะเมื่อใดที่กลยุทธ์ "ราคา" ถูกนำมาใช้ย่อมส่งแรงสะเทือนไปถึงโรงภาพยนตร์ค่ายเล็กและค่ายใหญ่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัดอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมที่อ่อนไหวต่อราคาเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งเมเจอร์สามารถตอบสนองในเรื่อง "ความสะดวกสบาย" ในการเข้าชม เพราะมีสาขาให้เลือกมากกว่าแล้ว ยิ่งทำให้เมเจอร์เสมือนถือหมากเหนือคู่แข่งไม่ใช่เพียง 2 ขุมเท่านั้น แต่น่าจะเหนือกว่าทั้งกระดานด้วยซ้ำ
แผนกินรวบหนังแผ่น
ปัจจุบัน "เสี่ยเจียง" หรือ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ อาจเป็นขาใหญ่ในวงการภาพยนตร์เมืองไทย แต่ต่อไปอาจไม่ใช่แล้ว เมื่อทางเมเจอร์กำลังขยายบทบาทมาเป็นผู้นำเข้าหนังด้วยคน แน่นอนว่าบทบาทใหม่ของเมเจอร์ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่การนำเข้ามาฉายในโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการขายเป็นหนังแผ่นด้วย
สัญญาณการข้ามสายของเมเจอร์เริ่มแจ่มชัดเมื่อร่วมกับค่ายนนทนันท์ ผู้นำเข้าหนังอิสระรายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อนำเข้าหนังจากค่ายอิสระ หรืออินดี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญเมื่อเดือนที่ผ่านมา "วิชา" เพิ่งไปเดินสายชอปปิ้งภาพยนตร์ดีๆกับ "มือดีของเสี่ย" คนหนึ่งที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ ว่ากันว่าหนังแต่ละเรื่องที่ "วิชา" ควักเงินซื้อมานี้ ถูกกว่าที่เสี่ยเจียงเคยซื้อมาค่อนข้างมาก เนื่องจากไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์หลายต่อหลายทอด
แน่นอนว่าการทำของ "วิชา" ครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจมายัง "เสี่ยเจียง" เป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันตลาดหนังแผ่น (ซื้อ-ขาย-เช่า-คาราโอเกะ) มีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท จึงไม่แปลกที่จะมีผู้เล่นจำนวนมากร่วมวงในสมรภูมินี้ โดยมี เสี่ยเจียง ณ สหมงคลฟิล์ม เป็นผู้เล่นรายใหญ่สุด ด้วยความที่มีภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศผ่านมือนับร้อยเรื่องในแต่ละปี แถมแต่ละเรื่องเป็นหนังค่อนข้างโดดเด่น และทำเงินเมื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ได้ในระดับ 50-100 ล้านบาท จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น kill bill, เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ทั้ง 3 ภาค หากคิดเฉพาะภาคสุดท้าย เดอะ รีเทิร์น ออฟ เดอะ คิง มีรายได้ถึง 193 ล้านบาท, องก์บาก กวาดรายได้ไป 94 ล้านบาท, เดอะ มาเธอร์ 47 ล้านบาท ฯลฯ ซึ่งรายได้ของกลุ่มสหมงคลฟิล์มในช่วงปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินเข้ากระเป๋าเฉพาะที่ฉายในโรงภาพยนตร์กว่า 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนหนังในประเทศกับหนังไทยอย่างละ 50 : 50
ขนาดเป็นหนังใหญ่ยังทำเงินขนาดนี้ มิต้องพักสงสัยเลยว่าเมื่อมาเป็นหนังแผ่นจะทำยอดขายถล่มทลายขนาดไหน เนื่องจากหนังแผ่นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการชมได้ดีกว่า ขณะเดียวกันก็มีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่แม้จะเข้าชมในโรงภาพยนตร์แล้ว แต่ก็ชอบสะสมหนังดีๆไว้ครอบครอง ทำให้ทางกลุ่มสหมลคลฟิล์มมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์หนังให้กับผู้ผลิตหนังแผ่นในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินนับร้อยล้านบาท ว่ากันว่าเม็ดเงินที่ค่ายนี้ขายลิขสิทธิ์หนังแต่ละเรื่องสูงถึง 5-10 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับเกรดของหนัง
"แรกๆหนังไทยของสหมงคลฟิล์มขายไม่ถึง 10 ล้านบาท แต่ตอนนี้ขยับราคาขึ้นไปมากกว่า 10 ล้านบาท แต่ละปีค่ายนี้ซื้อหนังเป็น 100 เรื่อง ที่สำคัญตอนนี้ยังกวาดผู้กำกับหนังไทยมาเป็นพันธมิตรอีก คุณลองคิดดูซิว่าแต่ละปีค่ายนี้จะมีเงินเข้ากระเป๋าสักขนาดไหน" แหล่งข่าวในวงการ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" พร้อมขยายความว่า "เม็ดเงินมหาศาลขนาดนี้ ไม่มีทางที่เมเจอร์จะปล่อยให้คนอื่นโกยคนเดียวอยู่แล้ว โดยเฉพาะในสภาวะที่ทั้งคู่ไม่กินเส้นกันอย่างนี้ จับตาดูให้ดีๆหากเมเจอร์นำเข้าหนังเมื่อไร วันนั้นเขาต้องบุกหนังแผ่นด้วย ยิ่งตอนนี้เขามีไท เอนเตอร์เทนเม้นท์ด้วย ทำให้ภาพของเมเจอร์ในวันนี้ไม่เป็นรองเสี่ยเจียงเท่าไร"
หากพิจารณาการทำตลาดหนังแผ่นของเสี่ยเจียงในวันนี้ ดูเหมือนว่าจะคลายพลังในการรุกลงไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขาดพันธมิตรผู้ซื้อลิขสิทธิ์รายสำคัญ อย่าง แมงป่อง ที่เพิ่งสะบั้นรักไปเมื่อราวต้นปีที่ผ่านมา แว่วว่ามูลเหตุของการหมางเมินกันเช่นนี้มาจากการที่ "ใครบางคน" แอบนำลิขสิทธิ์ที่ให้กับแมงป่องไปขายให้กับบริษัทเอพีเอส และอีวีเอส อีกต่อหนึ่ง สำหรับคู่ควงรายใหม่ของค่ายสหมงคลฟิล์มที่ซื้อลิขสิทธิ์เป็นรายต่อไปก็คือ เจ บิกส์ บริษัทขายส่งรายใหญ่ที่มีถิ่นฐานบริเวณคลองถม
จากการขาดคู่ค้าคนสำคัญอย่างแมงป่อง เชื่อว่าอาจทำให้ความสามารถในการกระจายสินค้า และช่องทางจำหน่ายสินค้าของสหมงคลฟิล์มลดลงอย่างมาก เพราะคู่ค้าคนเดิมถือว่าเป็นผู้กุมช่องทางจำหน่ายอยู่ในมือจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเอาต์เลตของแมงป่องที่มีอยู่ถึง 170 กว่าแห่ง ตลอดจนช่องทางร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ อย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ปัจจุบันมีจำนวนร้านกว่า 2,300 ร้านค้า ถือเป็นช่องทางการจำหน่ายทรงประสิทธิภาพที่สุดในยุคปัจจุบัน
สิ่งที่น่าจับตาต่อไปก็คือ การร่วมมือกันระหว่างเมเจอร์กับแมงป่องที่หลายคนเชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต เพราะสายสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของเมเจอร์ และอีจีวี กับแมงป่อง ค่อนข้างราบรื่น และเป็นไปด้วยดี ดังจะเห็นได้จากหลายงานของแมงป่องจะมีผู้บริหารของทั้งสองค่ายไปร่วมงานอยู่เนืองๆ
การกินรวบธุรกิจหนังแผ่นของเมเจอร์คงจะราบรื่น ไร้ปัญหา หากเทียบกับค่ายสหมงคลฟิล์มที่น่าจะประสบอุปสรรคไม่น้อย เนื่องจากกลยุทธ์สำคัญของการเพิ่ม "ราคา" ให้กับหนังแผ่นก็คือ การได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ดีๆ และฉายนานๆ เพื่อ "อัพเกรด" หนัง
"แม้จะเป็นหนังดีแต่ถ้าฉายที่เอสเอฟอย่างเดียวคิดว่าคงไม่เกิด เพราะปัจจัยที่ทำให้คนดูหนังหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสะดวกสบาย ซึ่งหากฉายในโรงที่ไม่ดี หรือฉายเพียงชั่วระเวลาสั้นเครดิตหนังก็จะไม่เกิด และส่งผลไปถึงการทำหนังแผ่นด้วย เพราะผู้บริโภคไม่ตื่นเต้น เนื่องจากส่วนใหญ่มองว่า หนังที่เข้าฉายในโรงจะเป็นหนังที่ดี" แหล่งข่าวคนเดิม ให้ทัศนะ และว่า หากเป็นหนังฟอร์มดีบางเรื่องมียอดขายไม่ต่ำกว่า 5 แสนแผ่น
อย่างไรก็ตาม ผลของการที่เมเจอร์ขยับเข้ามาเป็นผู้นำเข้าหนังครั้งนี้ไม่ได้ก่อศึกเฉพาะค่ายสหมงคลฟิล์มเท่านั้น แต่ยังอาจมีผลต่อผู้นำเข้ารายย่อยที่ต้องบอกเลิกศาลา เนื่องจากขาดซึ่งอำนาจการต่อรอง ด้วยปริมาณหนังที่นำเข้ามาฉายไม่ได้มากมายเหมือนกับค่ายหนังใหญ่ 3 ค่าย ประกอบด้วย โคลัมเบียไทรสตาร์บัวนาวิสต้า ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ฟ็อกซ์ และยูไนเต็ดอินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ หรือยูไอพี ที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันแล้วมากกว่า 50-60% นอกจากนี้ผู้นำเข้ารายเล็กก็ไม่ได้มีโรงหนังของตัวเอง ยกเว้นเอสเอฟเท่านั้น แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่ามาก
เมเจอร์กินรวบธุรกิจโบว์ลิ่ง
ธุรกิจโบว์ลิ่งเป็นธุรกิจขาที่ 2 ที่เมเจอร์หมายมั่นปั้นมือว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ โดยในอดีตธุรกิจโบว์ลิ่งมักถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นแต่เมเจอร์เชื่อมั่นว่าโบว์ลิ่งจะเป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าโรงภาพยนตร์ด้วย เมเจอร์ต้องใช้เวลาสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจโบว์ลิ่งจนสามารถล้างภาพเก่าๆ ในอดีตได้
ปัจจุบันธุรกิจโบว์ลิ่งสร้างรายได้เป็นอันดับที่ 2 ให้กับเมเจอร์ด้วยสัดส่วน 12% จากสาขาเมเจอร์โบว์ที่มีอยู่ 9 แห่ง 224 เลน ซึ่งเมเจอร์มีแผนที่จะขยายธุรกิจโบว์ลิ่งไปสู่โรงภาพยนตร์ทั้ง 15 สาขา และจะมีการขยายสาขาสแตนอะโลนด้วย ประกอบกับการควบรวมกิจการกับอีจีวีซึ่งมีโบว์ลิ่งอยู่ 1 สาขา 28 เลน ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเมเจอร์จะขยายธุรกิจโบว์ลิ่งไปสู่งสาขาต่างๆของอีจีวีทั้ง 11 สาขา
ปีนี้เมเจอร์ลงทุน 200 ล้านบาทเพื่อขยายธุรกิจโบว์ลิ่งอีก 6 สาขา 90 เลน รวมแล้วสิ้นปีจะมีโบว์ลิ่ง 314 เลน โดยคาดว่าจะมีผลประกอบการในธุรกิจนี้สูงถึง 400 ล้านบาท คิดเป็น 40% ของธุรกิจโบว์ลิ่งโดยรวมที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ในขณะที่ปีหน้าจะทุ่มอีก 350 ล้านบาทขยายโบว์ลิ่งเพิ่มอีก 6 สาขาซึ่งหนึ่งในนั้นคือสยามพารากอนที่มีโบว์ลิ่งมากถึง 50 เลน รวมแล้วปีหน้าเมเจอร์โบว์จะมี 21 สาขา 490 เลน พร้อมกับวาดฝันว่าจะสามารถขยับส่วนแบ่งขึ้นมาอยู่ที่ 50% หรือประมาณ 500 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 30% ในขณะที่ตลาดรวมโบว์ลิ่งโตเพียง 10%
ทั้งนี้คู่แข่งในธุรกิจโบว์ลิ่งที่สำคัญคือ พี.เอส.โบว์ลิ่ง ที่มีอยู่ 10 สาขา 318 เลน ขยายสาขาไปตามการเติบโตของห้างต่างๆ เมื่อเทียบศักยภาพแล้วคงยากที่จะต่อกรกับเมเจอร์แม้ว่าปัจจุบันพีเอสจะมีจำนวนเลนที่มากกว่าแต่อีกไม่นานก็จะถูกเมเจอร์แซงหน้า ประกอบกับไลฟสไตล์ของคนรุ่นใหม่เวลาไปพักผ่อนมักเลือกที่ที่มีความบันเทิงครบวงจร นอกจากการโยนโบว์ลิ่งและรับประทานอาหารแล้ว หากมีคาราโอเกะหรือโรงภาพยนตร์รองรับแล้วน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าไปสถานที่ที่มีแต่โบว์ลิ่งอย่างเดียว
แผนในการขยายธุรกิจของเมเจอร์ส่อเจตนาอย่างชัดเจนว่าภายหลังการครองตลาดโรงภาพยนตร์อย่างเด็ดขาดแล้ว เมเจอร์เตรียมที่จะยึดธุรกิจโบว์ลิ่งในไม่ช้านี้
เมเจอร์แผ่อิทธิพลครองฟิตเนส
ด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของ วิชา พูลวรลักษณ์ บอสใหญ่แห่งอาณาจักรเมเจอร์ ที่พยายามขยายธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่งตั้งแต่ครั้งทำห้างเซฟโก้ ก็มีการสร้างศูนย์อาหาร และโรงภาพยนตร์ไว้ในห้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ในยุคนั้น ครั้นพอมาทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็มีการต่อยอดธุรกิจที่ต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น การทำโฆษณาในโรงภาพยนตร์ การทำธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ การซื้อหุ้นสยามฟิวเจอร์เพื่อเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจบันเทิงไปสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างปรกฏการณ์ที่ไม่มีใครเคยคิดว่าธุรกิจโรงภาพยนตร์กับฟิตเนสจะไปด้วยกันได้ โดยการซื้อหุ้น 49% ของแคลิฟอร์เนียฟิตเนส
เมื่อเมเจอร์เข้าสู่ธุรกิจใดแล้วหมายความว่าต้องเต็มที่ ฟิตเนสก็เช่นกัน จากเดิมที่แคลิฟอร์เนียฟิตเนสเข้ามาตั้งสาขาในเมืองไทยที่สีลมก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะขยายสาขา จนเมเจอร์เข้ามาถือหุ้นก็เริ่มรุกธุรกิจฟิตเนสด้วยการแทรกซึมไปตามสาขาของเมเจอร์ ผสมผสานไปกับแนวคิดของ เอริค เลอวีน ประธานกรรมการบริหาร แคลิฟอร์เนียฟิตเนส ที่มองว่าฟิตเนสเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนจึงกระจายสาขาไปตามอาคารสำนักงานต่างๆ รวมถึงมีแผนที่จะแทรกซึมสาขาไปสู่แหล่งชุมชน ซึ่งชื่อชั้นของแคลิฟอร์เนียฟิตเนสบวกกับความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคไทยของเมเจอร์แล้วทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับฟิตเนสเฟิร์สทที่ฝันว่าจะเป็นผู้นำตลาด โดยปีนี้ฟิตเนสเฟิร์สทตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 12 สาขา ในขณะที่แคลิฟอร์เนียวางแผนขยายสาขาในเมเจอร์ 4 สาขาในปีนี้และเพิ่มอีก 6-8 สาขาในปีหน้า
ประกอบกับการที่อีจีวีมีเยสฟิตเนสอยู่ในมือ อาจมีการทำโปรโมชั่นสมาชิกแคลิฟอร์เนียฟิตเนสและเยสฟิตเนส สามารถใช้บริการร่วมกันได้ หรือไม่ก็อาจจะมีการควบรวมธุรกิจฟิตเนสตามมา แน่นอนว่าบทสรุปคงไม่ต่างจากการควบรวมเมเจอร์กับอีจีวี เพียงแต่ประเด็นนี้อาจจะต้องรอดูรายละเอียดอีกทีเพราะถ้ามีการควบรวมหมายความว่าแคลิฟอร์เนียร์ฟิตเนสอาจจะต้องเพิ่มทุน ซึ่งต้องดูการเพิ่มทุนนี้ว่าใครจะลงทุนเพิ่ม เพราะปัจจุบันเมเจอร์ถือหุ้สูงถึง 49% ถ้าเมเจอร์เป็นฝ่ายเพิ่มทุนอีก ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเชื่อว่า เอริค คงไม่ยอมให้ธุรกิจที่สร้างมากับมือหลุดลอยไปแน่ ดังนั้นถ้าจะให้การควบรวมธุรกิจฟิตเนสไร้ปัญหาทั้งคู่จะลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาสัดส่วนในการถือครองหุ้นเท่าเดิมคือ 51:49
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจทำให้ วิชา ต้องสร้างพันธมิตร สร้างอำนาจต่อรองเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ การควบรวมธุรกิจโรงภาพยนตร์เป็นเพียงปฐมบทของอาณาจักรเมเจอร์เท่านั้น ธุรกิจอื่นๆกำลังถูกสร้างอำนาจการต่อรองด้วยการเป็นผู้กำหนดทิศทางตลาด เพราะการทำธุรกิจก็เหมือนสมรภูมิรบ ถ้าไม่สวมบทเป็นฝ่ายรุกก็จะกลายเป็นผู้ตั้งรับ ขาดอำนาจในการต่อรอง หากมองการรุกในธุรกิจฟิตเนส ทั้งของเมเจอร์ ในแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส และ อีจีวี ใน เยส ฟิตเนส ถือว่าน่ากลัวทีเดียว เพราะจะว่าไปแล้วสภาพโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสในบ้านเรามีเพียงแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส และฟิตเนส เฟิร์สท เท่านั้นที่ทำธุรกิจอย่างจริงจัง โดยอาศัย Core Benefit ในเรื่องให้คนมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีมาเป็นจุดขาย
ภายหลังการเข้ามาของ เยส ฟิตเนส ทำให้ธุรกิจนี้น่าสนใจเพิ่มขึ้น เพราะเป็นการสกัดจุดอ่อนของธุรกิจนี้ไปจนหมด เพราะปัญหาของธุรกิจนี้เท่าที่ประสบมาก็คือ สมาชิกไม่ค่อยยอมต่ออายุหลังจากที่อายุสมาชิกหมดลง เนื่องจากเห็นว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ทั้งที่ในใจต้องการมีสุขภาพที่ดีก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ เยส ฟิตเนส เลือกใช้กลยุทธ์นำความบันเทิง และความสนุกสนานมาเป็นจุดขายสำคัญให้กับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นจุดขายที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน
เยส ฟิตเนส ใช้งบการตลาดสูงถึง 18 ล้านบาท สูงกว่าบรรดาผู้เล่นรายอื่นๆในตลาดรวมกัน ตั้งเป้าว่าภายในปีแรกจะมียอดสมาชิกถึง 4,000 คน
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบจากผู้บริหารของเมเจอร์ และอีจีวีว่า จะทำอย่างไรกับฟิตเนสทั้ง 2 แบรนด์ แต่หากคงทั้งคู่ ซึ่งมีความแตกต่าง และมีจุดขาย จุดดี จุดเด่น ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ก็คงจะทำให้ผู้เล่นรายอื่นเหน็ดเหนื่อยไม่น้อย และโอกาสในการกินรวบฟิตเนสไทยก็มีอยู่สูงเช่นกัน