นักเรียนนับร้อยประท้วงในกรุงธากาวันอังคาร (22 ก.ค.) เรียกร้องหาความยุติธรรม ความรับผิดชอบและการชดเชยให้แก่ครอบครัวเหยื่อเคราะห์ร้าย รวมทั้งให้ระงับการฝึกบิน หลังจากเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศบังกลาเทศตกลงในโรงเรียนแห่งหนึ่งใกล้เมืองหลวงเมื่อวันจันทร์ (21) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 31 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน 25 คน และครู 1 คน
เหยื่อในเหตุการณ์นี้นอกเหนือจากนักเรียนแล้ว ยังมี มาเฮริน ชอว์ดรี ครูที่เสียชีวิตจากแผลไฟไหม้ระหว่างพยายามช่วยนำนักเรียนกว่า 20 คนออกจากอาคารเรียน ขณะที่นักบินซึ่งขับเครื่องบินลำที่เกิดเหตุก็สิ้นชีพเช่นกัน
วันอังคาร (22) เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงตรวจตราเฝ้าระวังสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ในย่านอุตระ ที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่นในกรุงธากา ขณะที่กองทัพระบุว่าเริ่มสอบสวนหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้แล้ว
บังกลาเทศประกาศให้มีการไว้อาลัยในวันอังคาร และลดธงชาติลงครึ่งเสาทั่วประเทศ
เหตุการณ์เครื่องบินตกที่โรงเรียนและวิทยาลัยไมล์สโตนเมื่อวันจันทร์คราวนี้ ทำให้อาคารเรียน 2 ชั้นลุกไหม้ เจ้าหน้าที่เผยว่า สามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตออกมาได้ 171 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน โดยจำนวนมากมีแผลถูกไฟไหม้ พวกเขาได้รับการช่วยเหลือและนำออกจากที่เกิดเหตุด้วยเฮลิคอปเตอร์ รถพยาบาล รถสามล้อเครื่อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและพ่อแม่ผู้ปกครองที่ช่วยกันอุ้มออกมา

สำหรับนักเรียนซึ่งชุมนุมประท้วงหน้าสถานที่เกิดเหตุในโรงเรียนดังกล่าวในวันอังคาร ได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยชื่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างถูกต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ครอบครัวเหยื่อ และเรียกร้องให้กองทัพอากาศระงับการใช้เครื่องบินฝึกที่ล้าสมัยและไม่ปลอดภัยทันที
นักเรียนเหล่านั้นยังกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงทุบตีพวกเขาและทำร้ายร่างกายครูหลายคนเมื่อวันจันทร์ และในเวลาต่อมานักเรียนเหล่านั้นต่างโกรธแค้นที่ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาล 2 คนที่เดินทางไปยังที่เกิดเหตุสั่งให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นไปซ่อนตัว
นอกจากนี้ยังมีนักเรียนอีกหลายร้อยคนเดินขบวนไปยังที่ทำการรัฐบาลในธากา เรียกร้องให้ที่ปรึกษาด้านการศึกษาลาออก เนื่องจากความล่าช้าในการประกาศยกเลิกการสอบที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกับพิธีไว้อาลัยช่วงเช้าวันอังคาร
ซายีดูร์ เราะห์มาน ผู้ช่วยพิเศษของมูฮัมหมัด ยูนุส ผู้นำรัฐบาลเฉพาะกาลของบังกลาเทศ เผยว่า ในวันอังคารยังมีผู้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 78 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน
ขณะเดียวกัน ร่างผู้เสียชีวิตบางส่วนจำเป็นต้องตรวจดีเอ็นเอเนื่องจากถูกไฟคลอกจนระบุตัวไม่ได้
คำแถลงจากกองทัพอากาศบังกลาเทศระบุว่า เครื่องบินที่ตกเป็นเครื่องบินสำหรับฝึกบินรุ่น เอฟ-7 บีจีไอที่ผลิตในจีน และ “ขัดข้องทางเทคนิค” หลังจากเครื่องทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศเอ.เค. คันดาเกอร์ เมื่อเวลา 13.06 น.วันจันทร์
ในคำแถลงบอกว่า การบินครั้งนี้เป็นการบินเดี่ยวครั้งแรกของเรืออากาศโทโมฮัมเหม็ด ตูกีร์ อิสลาม เพื่อให้สำเร็จหลักสูตรการฝึกบิน และเขาพยายามสุดความสามารถในการบังคับเครื่องออกจากบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น
อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า นักบินผู้นี้สามารถดีดตัวเองออกจากเครื่องก่อนที่เครื่องบินจะพุ่งชนโรงเรียนหรือไม่
สำหรับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-7 บีจีไอ ถือเป็นรุ่นสุดท้ายในตระกูลเครื่องบินขับไล่ เฉิงตู เจ-7/เอฟ-7 ที่ผลิตในจีน ตามข้อมูลของ เจนส์ อินฟอร์เมชั่น กรุ๊ป เฉิงตู เจ-7/เอฟ-7 คือเวอร์ชั่นซึ่งแดนมังกรผลิตโดยได้ไลเซนซ์จาก มิก-21ในยุคสหภาพโซเวียต
บังกลาเทศได้ลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องบินรุ่นนี้รวมทั้งสิ้น 16 ลำเมื่อปี 2011 และซึ่งทางการจีนได้ส่งมอบจนครบถ้วนในปี 2013
ในส่วนของโรงเรียนไมล์สโตนนั้น อยู่ห่างจากฐานทัพอากาศประมาณ 11 กิโลเมตร ในย่านที่มีผู้คนหนาแน่นใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ร้านค้าและบ้านเรือนจำนวนมาก
โศกนาฏกรรมนี้ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกในเมืองหลวงของบังกลาเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2008 เครื่องบินฝึกเอฟ-7 ตกบริเวณนอกธากา ทำให้นักบินเสียชีวิตหลังดีดตัวออกจากเครื่องเนื่องจากพบว่า เครื่องบินมีปัญหาทางเทคนิค
(ที่มา: เอพี, รอยเตอร์)
เหยื่อในเหตุการณ์นี้นอกเหนือจากนักเรียนแล้ว ยังมี มาเฮริน ชอว์ดรี ครูที่เสียชีวิตจากแผลไฟไหม้ระหว่างพยายามช่วยนำนักเรียนกว่า 20 คนออกจากอาคารเรียน ขณะที่นักบินซึ่งขับเครื่องบินลำที่เกิดเหตุก็สิ้นชีพเช่นกัน
วันอังคาร (22) เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงตรวจตราเฝ้าระวังสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ในย่านอุตระ ที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่นในกรุงธากา ขณะที่กองทัพระบุว่าเริ่มสอบสวนหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้แล้ว
บังกลาเทศประกาศให้มีการไว้อาลัยในวันอังคาร และลดธงชาติลงครึ่งเสาทั่วประเทศ
เหตุการณ์เครื่องบินตกที่โรงเรียนและวิทยาลัยไมล์สโตนเมื่อวันจันทร์คราวนี้ ทำให้อาคารเรียน 2 ชั้นลุกไหม้ เจ้าหน้าที่เผยว่า สามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตออกมาได้ 171 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน โดยจำนวนมากมีแผลถูกไฟไหม้ พวกเขาได้รับการช่วยเหลือและนำออกจากที่เกิดเหตุด้วยเฮลิคอปเตอร์ รถพยาบาล รถสามล้อเครื่อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและพ่อแม่ผู้ปกครองที่ช่วยกันอุ้มออกมา
สำหรับนักเรียนซึ่งชุมนุมประท้วงหน้าสถานที่เกิดเหตุในโรงเรียนดังกล่าวในวันอังคาร ได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยชื่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างถูกต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ครอบครัวเหยื่อ และเรียกร้องให้กองทัพอากาศระงับการใช้เครื่องบินฝึกที่ล้าสมัยและไม่ปลอดภัยทันที
นักเรียนเหล่านั้นยังกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงทุบตีพวกเขาและทำร้ายร่างกายครูหลายคนเมื่อวันจันทร์ และในเวลาต่อมานักเรียนเหล่านั้นต่างโกรธแค้นที่ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาล 2 คนที่เดินทางไปยังที่เกิดเหตุสั่งให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นไปซ่อนตัว
นอกจากนี้ยังมีนักเรียนอีกหลายร้อยคนเดินขบวนไปยังที่ทำการรัฐบาลในธากา เรียกร้องให้ที่ปรึกษาด้านการศึกษาลาออก เนื่องจากความล่าช้าในการประกาศยกเลิกการสอบที่จัดขึ้นในช่วงเดียวกับพิธีไว้อาลัยช่วงเช้าวันอังคาร
ซายีดูร์ เราะห์มาน ผู้ช่วยพิเศษของมูฮัมหมัด ยูนุส ผู้นำรัฐบาลเฉพาะกาลของบังกลาเทศ เผยว่า ในวันอังคารยังมีผู้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 78 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน
ขณะเดียวกัน ร่างผู้เสียชีวิตบางส่วนจำเป็นต้องตรวจดีเอ็นเอเนื่องจากถูกไฟคลอกจนระบุตัวไม่ได้
คำแถลงจากกองทัพอากาศบังกลาเทศระบุว่า เครื่องบินที่ตกเป็นเครื่องบินสำหรับฝึกบินรุ่น เอฟ-7 บีจีไอที่ผลิตในจีน และ “ขัดข้องทางเทคนิค” หลังจากเครื่องทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศเอ.เค. คันดาเกอร์ เมื่อเวลา 13.06 น.วันจันทร์
ในคำแถลงบอกว่า การบินครั้งนี้เป็นการบินเดี่ยวครั้งแรกของเรืออากาศโทโมฮัมเหม็ด ตูกีร์ อิสลาม เพื่อให้สำเร็จหลักสูตรการฝึกบิน และเขาพยายามสุดความสามารถในการบังคับเครื่องออกจากบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น
อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า นักบินผู้นี้สามารถดีดตัวเองออกจากเครื่องก่อนที่เครื่องบินจะพุ่งชนโรงเรียนหรือไม่
สำหรับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-7 บีจีไอ ถือเป็นรุ่นสุดท้ายในตระกูลเครื่องบินขับไล่ เฉิงตู เจ-7/เอฟ-7 ที่ผลิตในจีน ตามข้อมูลของ เจนส์ อินฟอร์เมชั่น กรุ๊ป เฉิงตู เจ-7/เอฟ-7 คือเวอร์ชั่นซึ่งแดนมังกรผลิตโดยได้ไลเซนซ์จาก มิก-21ในยุคสหภาพโซเวียต
บังกลาเทศได้ลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องบินรุ่นนี้รวมทั้งสิ้น 16 ลำเมื่อปี 2011 และซึ่งทางการจีนได้ส่งมอบจนครบถ้วนในปี 2013
ในส่วนของโรงเรียนไมล์สโตนนั้น อยู่ห่างจากฐานทัพอากาศประมาณ 11 กิโลเมตร ในย่านที่มีผู้คนหนาแน่นใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ร้านค้าและบ้านเรือนจำนวนมาก
โศกนาฏกรรมนี้ถือเป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกในเมืองหลวงของบังกลาเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2008 เครื่องบินฝึกเอฟ-7 ตกบริเวณนอกธากา ทำให้นักบินเสียชีวิตหลังดีดตัวออกจากเครื่องเนื่องจากพบว่า เครื่องบินมีปัญหาทางเทคนิค
(ที่มา: เอพี, รอยเตอร์)