เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าครั้งเดียวเป็นทางยาวเกือบ 500 ไมล์ ข้าม 3 รัฐของอเมริกา และมันถูกจัดให้มีความยาวที่สุดในโลก
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ดับเบิลยูเอ็มโอ) แถลงเมื่อวันอังคาร (1 ก.พ.) ได้รับรองสถิติโลกใหม่ 2 ประเภทเกี่ยวกับเหตุการณ์ฟ้าผ่าต่างๆ ตามจุดล่อมแหลมทั้งในอเมริกเหนือและอเมริกาใต้
ข้อมูลของคณะกรรมการด้านสภาพอากาศและภูมิอากาศสุดขั้วขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พบว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2020 เกิดเหตุฟ้าผ่าครั้งเดียวครอบคลุมระยะทาง 477 ไมล์ (ประมาณ 767 กิโลเมตร) เหนือท้องฟ้ารัฐเทกซัส ลุยเซียนา และมิสซิสซิปปี จารึกสถิติเป็นฟ้าผ่าครั้งเดียวที่มีความยาวที่สุดในโลก
เมกะแฟลชครั้งนี้เทียบเท่ากับระยะทางระหว่างนิวยอร์ก ซิตี กับเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ และมันทำลายสถิติเดิม 440.6 ไมล์ (ประมาณ 709 กิโลเมตร) ที่เกิดขึ้นในบราซิล เมื่อปี 2018
Shocking! Within this cluster of storms, a single lightning bolt captured by @NOAASatellites in April 2020 was recently certified by the @WMO as the world’s longest flash on record with a distance of 477 miles. MORE: https://t.co/LdDQ0Avdll #Megaflash #Lightning #Weather pic.twitter.com/FzD9ShfnRR— NOAA (@NOAA) February 1, 2022
WMO has verified 2 new world records for a⚡️lightning #megaflash
Longest distance single flash of 768 km (477.2 miles) across southern #USA - 60 kilometres MORE than old record
Greatest duration of 17.102 seconds over #Uruguay and northern #Argentina https://t.co/6AzyzTgMIO pic.twitter.com/VqUgxEDHB2— World Meteorological Organization (@WMO) February 1, 2022
ในปี 2020 เช่นกัน ได้เกิดฟ้าผ่าครั้งเดียวเหนือท้องฟ้าในอุรุกวัยและทางเหนือของอาร์เจนตินา เป็นเวลานานถึง 17.1 วินาที ทุบสถิติโลกเดิมซึ่งอยู่ที่ 16.7 วินาที
รันดอลล เคอร์เวนีย์ หัวหน้าฝ่ายบันทึกเพื่อยืนยันขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าวว่า ฟ้าผ่าปกติทั่วไปมักมีความยาวไม่มากไปกว่า 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) และกินเวลาไม่ถึง 1 วินาที "เหตุการณ์ฟ้าฝ่าทั้ง 2 ครั้งที่ทำลายสถิติ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ผิดธรรดาอย่างมาก"
อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่ามันเป็นฟ้าผ่าจากเมฆสู่เมฆ อยู่เหนือจากพื้นดินหลายพันฟุต ดังนั้นจึงไม่มีใครได้รับอันตราย เคอร์เวนีย์ กล่าว
เคอร์เวนีย์ ระบุต่อว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับสภาวะโลกร้อน และถูกสังเกตพบและได้รับการยืนยันผ่านดาวเทียมใหม่ซึ่งติดตั้งเทคโนโลยีติดตามสภาพอากาศ
"ทั้งสองภูมิกาคเป็นไม่กี่สถานที่ในโลกที่มีแนวโน้มเกิดพายุรุนแรงที่สามารถก่อสิ่งที่เราเรียกว่า เมกะแฟลช" เคอร์เวนีย์ ระบุ
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เพตเตริ ทาลาส เลขาธิการใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เตือนว่า "ฟ้าผ่าคือความอันตรายใหญ่หลวง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายในแต่ละปี" พร้อมระบุว่า การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญ ช่วยเน้นย้ำความกังวลเกี่ยวกับ "กระแสไฟฟ้าในก้อนเมฆ ซึ่งฟ้าผ่าสามารถเดินไปในระยะทางที่ไกลมากๆ"
รอน โฮลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้าผ่า สมาชิกคณะกรรมการขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เสริมว่า "เหตุการณ์ฟ้าฝ่าครั้งใหญ่และกินเวลานานไม่ใช่เหตุการณ์โดดๆ แต่มันเกิดขึ้นระหว่างฝนฟ้าคะนอง ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง มันคือช่วงเวลาที่ต้องหาสถานที่ปลอดภัยจากฟ้าผ่า"
(ที่มา : นิวยอร์กเดลินิวส์/ซีบีเอสนิวส์)