รอยเตอร์ - ผลการศึกษาวัคซีนเข็มกระตุ้นบริษัทซิโนฟาร์ม จากมหาวิทยาลัยจีนชื่อดังชี้พบมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมากในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
รอยเตอร์รายงานวันนี้ (20 ธ.ค.) ว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียว ตง (Shanghai Jiao Tong) และห้องวิจัยเชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มีฐานอยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เก่าที่มาจากห้องแล็บเมืองอู่ฮั่น
อย่างไรก็ตาม พบว่าประสิทธิภาพการป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในวัคซีนเข็มกระตุ้นของบริษัทซิโนฟาร์ม ที่มีชื่อว่า BBIBP-CorV พบว่ามีลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพป้องกันต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมของอู่ฮั่น รายงานจากการวิจัยที่เปิดเผยในวันเสาร์ (18)
รอยเตอร์รายงานว่า วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์มที่ชื่อว่า วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) และวัคซีนเข็มกระตุ้นของบริษัทที่มีชื่อว่า BBIBP-CorV ถือเป็นวัคซีน 2 ตัวที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในจีนและยังเป็นผู้นำการส่งออกในด้านวัคซีนโควิด-19 สัญชาติจีนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ พบว่าซิโนฟาร์มยังมีวัคซีนตัวที่ 2 ที่ใช้ภายในจีน
ในการศึกษาพบว่ามีการใช้ตัวอย่าง จำนวน 292 ตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จีนสำหรับการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของวัคซีนเข็มกระตุ้นซิโนฟาร์มที่ผู้รับจะได้รับเข็ม 3 ก็ต่อเมื่อได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 2 ห่างไปราว 8 เดือนถึง 9 เดือนแล้ว
ซึ่งหลังจาก 4 สัปดาห์พบว่า เซรุ่มตัวอย่างจาก 78.1% ของอาสาสมัครยังคงมีแอนติบอดี้ต่อต้านไวรัสโอมิครอน อ้างอิงจากนักวิจัยที่ได้กล่าวไว้ในการศึกษาที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบแบบเพียร์รีวิว
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียว ตง เตือนว่า ผลนั้นไม่เท่ากับวัคซีนเข็มกระตุ้นมีประสิทธิภาพดีมากน้อยเพียงใดในการป้องกันผู้ได้รับจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเนื่องมาจากการทำให้เป็นกลาง (neutralization) หรือทำให้หมดฤทธิ์เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการตอบโต้จากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์
และสำหรับการทดสอบก่อนหน้ากับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่น แสดงให้เห็นว่าราว 8 เดือนถึง 9 เดือนหลังจากได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มเข็มที่ 2 ความเคลื่อนไหวต่อการทำให้เป็นกลางนั้นแทบที่จะไม่สามารถตรวจจับได้ ขณะที่เข็มกระตุ้นจะช่วยอย่างมหาศาลในการเพิ่มขึ้นของการตอบโต้ รายงานจากผลการศึกษา