xs
xsm
sm
md
lg

ผลวิจัยใหม่พบ! คนเคยป่วยโควิดเสี่ยงติดเชื้อเดลตาน้อยกว่าคนฉีดไฟเซอร์ครบ 2 เข็ม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



งานวิจัยใหม่ของอิสราเอลพบคนที่เคยฟื้นไข้จากการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างการแพร่ระบาดระลอกก่อนหน้านี้ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตา ต่ำกว่าบุคคลที่ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์/ไบออนเทคครบ 2 เข็ม

ในการวิเคราะห์ขนานใหญ่ในโลกจริง เปรียบเทียบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติที่เกิดจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้ กับบุคคลที่ได้รับการปกป้องจากวัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน พบว่า การติดเชื้อซ้ำเกิดขึ้นน้อยกว่าค่อนข้างมาก

รายงานจากบรรดานักวิจัยล่าสุด ถือว่าสวนทางกับผลการศึกษาต่างๆ ก่อนหน้านี้ในอิสราเอล ซึ่งพบว่าการฉีดวัคซีนมอบการป้องกันดีกว่าการติดเชื้อ แต่ที่ผ่านมา ผลการศึกษาเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับตัวกลายพันธุ์เดลตา

ผลการศึกษานี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับคนไข้ในเคยเอาชนะในศึกต่อสู้กับโควิด-19 แต่ขณะเดียวกัน มันกลายเป็นความท้าทายใหม่สำหรับคนพึ่งพิงวัคซีนโดยเฉพาะ โดยผลการศึกษาพบว่าคนที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคมีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตามากกว่าคนที่หายป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 6 เท่า

นอกจากนี้แล้ว คนที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทค ยังมีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตาแบบแสดงอาการ มากกว่าคนที่หายป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 7 เท่า

"ผลการวิเคราะห์นี้แสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติมอบการป้องกันการติดเชื้อ ติดเชื้อแบบแสดงอาการและอาการหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล สืบเนื่องจากตัวกลายพันธุ์เดลตา ได้ยาวนานและเข้มแข็งกว่า" พวกนักวิจัยระบุ

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังพบด้วยว่าภูมิคุ้มกันโควิด-19 ในบุคคลที่เคยติดเชื้อแล้ว ก็ลดลงเรื่อยๆ เช่นกันเมื่อเวลาผ่านไป

กระนั้นก็ตามความเสี่ยงเกิดเคสฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อ (vaccine-breakthrough) ในคนที่ฉีดวัคซีน มีมากกว่า 13 เท่า หากเปรียบเทียบเคยเคสติดเชื้อโควิด-19 แล้วติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 2021

ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีความเสี่ยงต่อโรคระบาดใหญ่มากกว่าคนที่เคยติดเชื้อก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก

ในผลวิจัย พบว่า การฉีดวัคซีนแค่เข็มเดียวให้แก่คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่คนกลุ่มนี้ได้เช่นกัน แม้ผลประโยชน์ระยะยาวของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด

ผลการศึกษาตีโพสต์ลงบนเว็บไซต์ medRxiv ในฐานะบทความก่อนตีพิมพ์ และยังไม่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ

(บลูมเบิร์ก/ฟอร์จูน)


กำลังโหลดความคิดเห็น