เอเอฟพี - อนุรักษ์สัตว์ป่าสิงคโปร์ประกาศวันอาทิตย์ (15 ส.ค.) ลูกแพนด้าด้วยวิธีการผสมเทียมโดยสวนสัตว์สิงคโปร์ตัวแรกคลอดออกมาในวันเสาร์ (14 ส.ค.) จากแม่แพนด้ายักษ์ เจีย เจีย วัย 12 ปี และจากเชื้อสเปิร์มแช่แข็งของไค ไค แพนด้ายักษ์เพศผู้วัย 13 ปี
เอเอฟพีรายงานวันนี้ (15 ส.ค.) ว่า เจีย เจีย (Jia Jia) แพนด้ายักษ์เพศเมียอายุ 12 ขวบได้ให้กำเนิดลูกแพนด้าที่เกิดขึ้นจากการผสมเทียมด้วยสเปิร์มแช่แข็งของแพนด้าเพศผู้วัย 13 ขบวบ ไค ไค (Kai Kai) ได้สำเร็จในวันเสาร์ (14) สร้างความดีใจไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนสัตว์สิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์แพนด้ายักษ์ด้วยวิธีการผสมเทียมได้เป็นครั้งแรก
ซึ่งหลังความล้มเหลวไม่กี่ครั้งเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้า พบว่า ผู้ดูแลประจำสวนสัตว์สิงคโปร์ได้ร่วมมือกันกับผู้เชี่ยวชาญแพนด้ายักษ์จากจีนตั้งความหวังว่าแพนด้าจะสามารถผสมพันธุ์กันได้ตามธรรมชาติแต่ในท้ายที่สุดตัดสินใจให้มีการเพาะพันธุ์แบบผสมเทียมแทน
เจิ้ง เหวิน ฮอร์ (Cheng Wen-Haur) ผู้ช่วยซีอีโออนุรักษ์สัตว์ป่าสิงคโปร์ กล่าวอย่างหนักแน่นว่า “การตั้งครรภ์ครั้งแรกและการให้กำเนิดลูกแพนด้าของเจีย เจีย ถือเป็นเข็มไมล์ที่สำคัญสำหรับพวกเราในการดูแลสัตว์ป่าที่เสียงสูญพันธุ์ชนิดนี้ในสิงคโปร์”
และเสริมต่อว่า “นี่เป็นผลของการดูแลสัตว์อย่างดี สนับสนุนด้วยวิทยาศาสตร์ทางการขยายพันธุ์ และย้ำด้วยความมุ่งมั่นในส่วนของเจ้าหน้าที่ของเราประกอบด้วยคำแนะนำที่ทรงคุณค่าของผู้เชี่ยวชาญแพนด้ายักษ์จากจีน”
ทั้งนี้ แพนด้ายักษ์ทั้งสองนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลจีนในการให้ยืมตัวเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยทั้งคู่เดินทางมายังสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2012
การขยายเผ่าพันธุ์แพนด้ายักษ์ทั้งในสวนสัตว์หรือในป่าตามธรรมชาตินั้นขึ้นชื่ออย่างร้ายกาจว่ามีความยากเป็นอย่างมากผู้เชี่ยวชาญเปิดเผย เนื่องมาจากมีจำนวนน้อยที่จะมีความรู้สึกต้องการผสมพันธุ์ หรือแม้กระทั่งหากว่าแพนด้าพร้อมยอมที่จะทำการผสมพันธุ์พวกมันยังคงสับสนไม่แน่ใจต้องทำอย่างใดเพื่อที่จะให้มีลูกน้อยออกมา เอเอฟพีชี้
และนอกจากนี้ โอกาสที่จะผสมยังยากมากเนื่องมาจากว่าช่วงเวลาการเป็นสัดสำหรับเพศเมียแพนด้านั้นเกิดขึ้นปีแค่ละครั้งโดยมีระยะเวลาราว 24-48 ชม.
แพนด้ายักษ์ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่ตกอยู่ในอันตรายองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) ที่เชื่อกันว่าในเวลานี้มีแพนด้ายักษ์ทั่วโลกแค่ไม่เกิน 2,000 ตัว