บทความเรื่อง : ให้ไต้หวันช่วยสร้างระบบสาธารณสุขทั่วโลกที่มีความยืดหยุ่นและครอบคลุมมากขึ้น
เขียนโดย นายเฉิน สือจง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2564 สถิติผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สะสมมากกว่า 126 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2.7 ล้านคน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก และเป็นภัยคุกคามต่อความพยายามของนานาประเทศในการบรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN)
เนื่องจากไต้หวันอยู่ใกล้กับประเทศจีน เคยมีการคาดการณ์ว่า ไต้หวันอาจเป็นหนึ่งในดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไต้หวันมีบทเรียนจากการต่อสู้กับโรคซาร์ส (SARS) ในปี 2546 ไต้หวันเห็นว่าโรคอุบัติใหม่ชนิดนี้มีความรุนแรงและแพร่กระจายเร็วกว่าทุกภาคส่วนทั่วโลกจะคำนึงถึงได้ ในปี 2563 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไต้หวัน อยู่ที่ 3.11% และไตรมาสที่ 4 ของปีดังกล่าวยังขยายตัวถึง 4.94%
ทั้งนี้ ประชาชนชาวไต้หวันให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลและความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการยับยั้งโรคระบาดของไต้หวัน รัฐบาลกำหนดมาตรการการควบคุมโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ข้อมูลถูกต้องและทันท่วงที คุ้มครองความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพส่วนบุคคล ทั้งยังยึดหลักความเป็นธรรมให้การคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง (รวมถึงแรงงานข้ามชาติ) เป็นลำดับแรก ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของประชาชนในเชิงรุก ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ไต้หวันให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านสุขภาพ อีกทั้งยังต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เคยลิดรอนเสรีภาพการแสดงออก การชุมนุม และมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของประชาชน
เมื่อเร็วๆ นี้ เชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์แพร่กระจายตัว ทำให้เกิดความตึงเครียดในหลายประเทศ ในขณะเดียวกัน ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์กำลังถึงจุดอิ่มตัว สำหรับกรณีนี้ ไต้หวันมีประสบการณ์อันล้ำค่าที่สามารถแบ่งปันให้กับทั่วโลก หลังจากการระบาดของโรค SARS ไต้หวันได้จัดตั้ง “เครือข่ายการแพทย์ป้องกันโรคติดต่อ (Infectious Disease Prevention Medical Network, CDCMN)” ควบคุมและกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันควบคุมโรคระบาดจาก 6 ภาคส่วน มีโรงพยาบาลมากกว่า 100 แห่งทั่วไต้หวัน เข้าร่วมเครือข่าย ทั้งหมด 22 จังหวัด โดยแต่ละจังหวัดมีการคัดเลือกโรงพยาบาลหนึ่งโรงเป็นโรงพยาบาลหลักในการรับมือกับโรงระบาด การดำเนินงานของเครือข่ายนี้มีกฎหมายรับรอง รัฐบาลสามารถกำหนดให้โรงพยาบาลในเครือข่ายนี้รับรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อ โดยการพิจารณาจากความต้องการด้านสาธารณสุขและการดูแลผู้ป่วย ข้อเท็จจริงก็พิสูจน์ให้เห็นว่ากลไกนี้มีส่วนช่วยในการรักษาระบบสาธารณสุขและช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตจากเหตุการระบาดของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
การระบาดของโรคโควิด-19 พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่า ไต้หวันไม่ควรถูกกีดกันอยู่นอกเครือข่ายองค์การอนามัยโลก ไต้หวันยังเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยคุกคามจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทั่วโลก จากผลกระทบของโรคระบาด ไต้หวันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนาและการผลิตในการรักษาทางชีวการแพทย์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว (รวมถึงวัคซีนต้านโควิด-19 สองตัวที่กำลังอยู่ในช่วงการทดลองระยะที่สอง) ดังนั้น หากไต้หวันเข้าร่วมแพลตฟอร์มน้ำยาตรวจหาเชื้อ วัคซีนและยารักษาโควิด-19 ของทั่วโลก แน่นอนว่าจะสร้างคุณูปการต่อสังคมและหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับนานาประเทศ
ไต้หวันขอเรียกร้องให้ WHO และทุกฝ่ายยืนหยัดสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วม WHO ให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุม กลไก และกิจกรรมของ WHO อย่างเต็มที่ ร่วมมือกับประเทศทั่วโลกเพื่อดำเนินการตามกฎบัตรของ WHO : “สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์” และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ : “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
เขียนโดย นายเฉิน สือจง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2564 สถิติผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สะสมมากกว่า 126 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2.7 ล้านคน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก และเป็นภัยคุกคามต่อความพยายามของนานาประเทศในการบรรลุถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN)
เนื่องจากไต้หวันอยู่ใกล้กับประเทศจีน เคยมีการคาดการณ์ว่า ไต้หวันอาจเป็นหนึ่งในดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไต้หวันมีบทเรียนจากการต่อสู้กับโรคซาร์ส (SARS) ในปี 2546 ไต้หวันเห็นว่าโรคอุบัติใหม่ชนิดนี้มีความรุนแรงและแพร่กระจายเร็วกว่าทุกภาคส่วนทั่วโลกจะคำนึงถึงได้ ในปี 2563 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไต้หวัน อยู่ที่ 3.11% และไตรมาสที่ 4 ของปีดังกล่าวยังขยายตัวถึง 4.94%
ทั้งนี้ ประชาชนชาวไต้หวันให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลและความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการยับยั้งโรคระบาดของไต้หวัน รัฐบาลกำหนดมาตรการการควบคุมโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ข้อมูลถูกต้องและทันท่วงที คุ้มครองความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพส่วนบุคคล ทั้งยังยึดหลักความเป็นธรรมให้การคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง (รวมถึงแรงงานข้ามชาติ) เป็นลำดับแรก ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของประชาชนในเชิงรุก ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ไต้หวันให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านสุขภาพ อีกทั้งยังต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เคยลิดรอนเสรีภาพการแสดงออก การชุมนุม และมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของประชาชน
เมื่อเร็วๆ นี้ เชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์แพร่กระจายตัว ทำให้เกิดความตึงเครียดในหลายประเทศ ในขณะเดียวกัน ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์กำลังถึงจุดอิ่มตัว สำหรับกรณีนี้ ไต้หวันมีประสบการณ์อันล้ำค่าที่สามารถแบ่งปันให้กับทั่วโลก หลังจากการระบาดของโรค SARS ไต้หวันได้จัดตั้ง “เครือข่ายการแพทย์ป้องกันโรคติดต่อ (Infectious Disease Prevention Medical Network, CDCMN)” ควบคุมและกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันควบคุมโรคระบาดจาก 6 ภาคส่วน มีโรงพยาบาลมากกว่า 100 แห่งทั่วไต้หวัน เข้าร่วมเครือข่าย ทั้งหมด 22 จังหวัด โดยแต่ละจังหวัดมีการคัดเลือกโรงพยาบาลหนึ่งโรงเป็นโรงพยาบาลหลักในการรับมือกับโรงระบาด การดำเนินงานของเครือข่ายนี้มีกฎหมายรับรอง รัฐบาลสามารถกำหนดให้โรงพยาบาลในเครือข่ายนี้รับรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อ โดยการพิจารณาจากความต้องการด้านสาธารณสุขและการดูแลผู้ป่วย ข้อเท็จจริงก็พิสูจน์ให้เห็นว่ากลไกนี้มีส่วนช่วยในการรักษาระบบสาธารณสุขและช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตจากเหตุการระบาดของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
การระบาดของโรคโควิด-19 พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่า ไต้หวันไม่ควรถูกกีดกันอยู่นอกเครือข่ายองค์การอนามัยโลก ไต้หวันยังเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยคุกคามจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทั่วโลก จากผลกระทบของโรคระบาด ไต้หวันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนาและการผลิตในการรักษาทางชีวการแพทย์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว (รวมถึงวัคซีนต้านโควิด-19 สองตัวที่กำลังอยู่ในช่วงการทดลองระยะที่สอง) ดังนั้น หากไต้หวันเข้าร่วมแพลตฟอร์มน้ำยาตรวจหาเชื้อ วัคซีนและยารักษาโควิด-19 ของทั่วโลก แน่นอนว่าจะสร้างคุณูปการต่อสังคมและหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับนานาประเทศ
ไต้หวันขอเรียกร้องให้ WHO และทุกฝ่ายยืนหยัดสนับสนุนไต้หวันเข้าร่วม WHO ให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุม กลไก และกิจกรรมของ WHO อย่างเต็มที่ ร่วมมือกับประเทศทั่วโลกเพื่อดำเนินการตามกฎบัตรของ WHO : “สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์” และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ : “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”