xs
xsm
sm
md
lg

ปธน.ดูเตอร์เตปากพล่อยทำผู้คนฟิลิปปินส์แตกตื่น แห่กักตุนสินค้าหนีตายโควิด-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เซาต์ไชนามอร์นิงโพสต์ - เกิดการแห่กักตุนสินค้าด้วยความตื่นตระหนกในหมู่คนรวย และพลเมืองรายได้ปานกลางในย่านกลางกรุงมะนิลา บางส่วนหนีไปซื้อในแถบชานเมือง จากคำพูดที่ก่อความตื่นกลัวของ โรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และ รัฐมนตรีสาธารณสุข

ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในฟิลิปปินส์ ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน กระตุ้นให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันเสาร์ (7 มี.ค) ยกระดับเตือนภัยสู่ “Code Red Sublevel 1” ก้าวย่างหนึ่งก่อนจะกำหนดกักกันโรคหรือปิดตายระดับชุมชน และวันต่อมา ประธานาธิบดี ดูเตอร์เต ได้ลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขทั่วประเทศ

ความกังวลของประชาชนมีมากขึ้น เมื่อ ฟรานซิสโก ดูกูเอ รัฐมนตรีสาธารณสุข บอกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะใช้มาตรการปิดการเข้าออกเมือง หากพบการแพร่เชื้้อระดับท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ฟิลิปิปนส์ยืนยันในวันพุธ (11 มี.ค.) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 16 ราย ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อภายในประเทศขยับขึ้นเป็น 49 คน


ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ดูเตอร์เต ได้เปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้เวลาการปราศรัยเกือบ 4 ชั่วโมง พยายามสร้างความอุ่นใจแก่ประชาชน โดยบอกว่าทุกยุคสมัยในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ล้วนแค่เผชิญกับโรคระบาดมาแล้วทั้งนั้น ในนั้นรวมถึงกาฬโรคและไข้หวัดใหญ่สเปน

คำพูดที่สร้างความตื่นตระหนกของประธานาธิบดี ก็คือ ถ้อยคำที่บอกว่ามันยังไม่ถึงเวลาที่จะกำหนดปิดตายเมืองหรือชุมชน “เพราะว่าการติดเชื้อของเรายังไม่ถึงขั้น” แต่เขาจะพิจารณาใช้มาตรการดังกล่าวหากมันถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตแตะระดับ 5,000-20,000 คน “แน่นอน ผมจะปิดตาย ด้วยโซ่ขนาดใหญ่” ผู้นำวัย 74 ปีกล่าว

แทนที่จะสร้างความรู้สึกอุ่นใจแก่ประชาชน ดูเหมือนคำแถลงของดูเตอร์เตจะก่อผลในทางตรงกันข้าม ด้วยซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ในกรุงมะนิลา เนืองแน่นไปด้วยผู้คนไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น โดยประชาชนแห่ซื้อกักตันสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาด, กระดาษชำระ, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อาหารกระป๋อง, น้ำดื่มบรรจุขวด หรือแม้กระทั่งเบียร์ จนเกลี้ยงชั้นวาง

ลูกค้าคนหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนามบอกว่าเธอตัดสินใจไปต่อแถวกักตุนสินค้า เพราะว่า “รัฐบาลสื่อสารไม่ชัดเจน” ส่วน ดอกเตอร์ แอนโธนีย์ ลีชอน ทนายความด้านปฏิรูประบบสาธารณสุข วิจารณ์คำพูดของดูเตอร์เต โดยบอกว่า “คำพูดของเขาหว่านเมล็ดแห่งความสับสน ในฐานะผู้นำ มันเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างแก่คนอื่นๆ”
กำลังโหลดความคิดเห็น