xs
xsm
sm
md
lg

In Pics :สุดขนลุก!! “ห่าตั๊กแตนหลายล้านตัว” ระบาดไปทั่วทั้งเคนยาหนักสุดในรอบ 70 ปี UN วอนนานาชาติให้งบฉุกเฉิน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - สหประชาชาติเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ช่วงลงมือสถานการณ์วิกฤตตั๊กแตนนับล้านตัวระบาดในเขตการเกษตรของแอฟริกาตะวันออก โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ของบฉุกเฉิน 70 ล้านดอลลาร์เพื่อแก้ปัญหา สุดขนลุกมองไปตรงไหนก็มีแต่ตักแตนมองไม่เห็นแม้แต่กิ่งไม้ที่จับ

เอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้(26 ม.ค)ว่า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO ได้ออกมาเรียกร้องของบฉุกเฉินจำนวน 70 ล้านดอลลาร์ในการต่อสู้ทางอากาศต่อวิกฤตตั๊กแตนระบาดซึ่งถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของไร่นาเลือกสวน โดยตั๊กแตนเหล่านี้เดินทางมาจากเอธิโอเปีย และโซมาเลีย และแพร่ระบาดไปทั่วทั้งเคนยา

เอเอฟพีชี้ว่ายูกันดาและซูดานใต้ที่เกิดวิกฤตภาวะอดอยากจากปัญหาสงครามกลางเมืองนั้นต่างประสบกับวิกฤตตั๊กแตนระบาดทั้งสิ้น

การระบาดในเคนยาถือว่าร้ายแรงมากที่สุดในรอบ 70 ปี ส่วนเอธิโอเปียและโซมาเลียถือว่าการระบาดครั้งนี้ร้ายแรงมากที่สุดในรอบ 25 ปี

ด้าน FAO เตือนว่าอย่างเร็วสุดคือเดือนพฤศจิกายน “เอธิโอเปีย” จะตกอยู่ในอันตราย และกล่าวเสริมต่อว่า หากว่าไม่มีการเข้าจัดการแล้วจำนวนของฝูงตั๊กแตนทั่วทั้งภูมิภาคอาจเพิ่มเป็น 500 เท่าได้ภายในมิถุนายน

“นี่ได้กลายเป็นมิติทางนานาชาติที่เป็นการคุกคามความมั่นคงด้านอาหารของอนุทวีปทั้งหมด” ฉู ดองหยู (Qu Dongyu ) ผู้อำนวนการใหญ่ FAO กล่าว

และได้เสริมอีกว่า “ทางเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคได้เริ่มปฎิบัติการลงมือควบคุมแต่ทว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นถูกมองว่าเป็นสเกลที่ใหญ่มากและถือเป็นภัยคุกคามฉุกเฉิน นอกเหนือไปจากนี้งบสนุนสนุนจากประชาคมโลกจำเป็นต้องได้รับเพื่อทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเครื่องมือและทรัพยากรตามที่ต้องการ”

Aggrey Bagiire รัฐมนตรีการเกษตรอุตสาหกรรมสัตว์และประมงของยูกันด ากล่าวว่า ฝูงตั๊กแตนจำนวนมหาศาลเป็นผลจากการที่ฝนตกหนักผิดปกติในปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นในแหล่งแพร่พันธุ์ของตั๊กแตนพื้นที่กึ่งกันดาร

ตามปกติแล้วตั๊กแตนมักจะอาศัยตามลำพังแต่ในเงื่อนไขที่ไม่ปกติตั๊กแตนจะรวมตัวเป็นฝูงขนาดใหญ่และจะเดินทางเปลี่ยนวิถีการกินของตัวเองและแม้แต่สีของพวกมัน ซึ่งฝูงตั๊กแตนที่ระบาดไปทั่วแอฟริกาตะวันออกมักจะมีสีชมพู

รัฐมนตรีการเกษตรยูกันดายังเปิดเผยว่า สถานการณ์ระบาดในเคนยานั้นควบคุมไม่ได้เป็นส่วนใหญ่เป็นเพราะความวิตกถึงความมั่นคงในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบริเวณพรมแดนติดโซมาเลียที่มีตั๊กแตนอยู่อย่างหนาแน่น

“เนื่องมาจากการควบคุมในปัจจุบันมีจำกัด อาจมีบางฝูงสามารถเดินทางไปทางทิศตะวันตก...ที่อาจมีศักยภาพและความเสี่ยงที่มีบางฝูงบุกเข้าไปในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูกันดา” เขากล่าวผ่านแถลงการณ์

FAO กล่าวว่าตั๊กแตนจะกินอาหารเท่ากับน้ำหนักตัวในแต่ละวัน ซึ่งหากฝูงมีขนาดใหญ่เท่ากับกรุงปารีสในแต่ละวันสามารถกินอาหารเท่ากับ 50% ของอาหารทั้งหมดที่บริโภคโดยประประชากรฝรั่งเศสทั้งประเทศทีเดียว

“ความเร็วของแมลงศัตรูทางการเกษตรและขนาดของการปรากฎตัวของพวกมันนั้นไปไกลเกินกว่าตามปกติที่พวกมันทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาตินั้นต้องตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัด” รายงานจากแถลงการณ์ของ FAO

ที่คิตูอี(Kotui) มุสยา(Musya) ชาวไร่ข้าวโพดเคนยากล่าวว่า ในแต่ละเย็นเขาต้องขับไล่ฝูงตั๊กแตนให้ออกนอกพื้นที่ไร่ แต่ยังไม่สามารถกำจัดภัยคุกคามออกไปได้ทั้งหมด “เราเลือกที่จะตีกลองอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยด้วยความหวังที่ว่าเราจะสามารถขับไล่พวกมันไปได้” และเสริมต่อว่า “มันได้ผลและมันก็บินเข้าไปในเขตไร่เพื่อนบ้านของเรา”


























กำลังโหลดความคิดเห็น