เอพี/MGRออนไลน์ – กรุงเทพฯนานกว่าสัปดาห์ที่ตกอยู่ในวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ที่ต่างเห็นคนทั่วไปสวมหน้ากากป้องกันทั่วไปตามท้องถนนจากการที่มาตรการรับมือของรัฐบาลที่ไม่ได้ผลในการแก้ปัญหา กรีนพีซออกมาโวย สถานการณ์ที่เป็นชี้รัฐบาลล้มเหลว ชำแหละมาตรฐานความปลอดภัยของรัฐที่ตั้งสำหรับค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินไปโดยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมงถือยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แตกต่างจากชาติอื่นๆเช่นสหรัฐฯตั้งอยู่ที่ 35 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
เอพีรายงานวันนี้(21 ม.ค)ว่า ในขณะที่คลื่นหมอกควันได้ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้ากรุงเทพฯในวันจันทร์(20) ค่าระดับมลพิษของฝุ่น PM2.5 พุ่งขึ้นสูงถึง 95 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรช่วงบ่ายของบางพื้นที่ อ้างอิงจากกรมควบคุมมลพิษที่ได้อธิบายว่า ***เป็นระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ*** ซึ่งระดับมาตราฐานความปลอดภัยของรัฐค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในเวลา 24 ชั่วโมง
ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่หากเข้าสู่ร่างกายสามารถเดินทางเข้าไปถึงอวัยวะปอดได้และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดลมระยะสั้น และปัญหาสุขภาพอื่นๆในระยะยาว
ปัญหาวิกฤตค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯเกิดมาจากอากาศปิดและอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กจำนวนมากที่ออกมาจากท่อไอเสียรถและกิจกรรมอื่นๆ อ้างอิงจากการแถลงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประลอง ดำรงค์ ในงานแถลงข่าววันจันทร์(20) และเขาชี้ต่อว่า หมอกควันพิษถูกปิดกั้นใกล้พื้นจากอากาศอบอุ่นที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า “การผกผันกลับของอุณหภูมิ” หรือ Inversion
เอพีชี้ว่าชาวกรุงเทพฯเริ่มหมดความอดทนจากมาตรการที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐในการแก้ปัญหา โดยโพลที่ทำโดยสถาบันนิดาที่ถูกเผยแพร่ในวันอาทิตย์(19) ชี้ว่า 81% ของคนกรุงเทพฯที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,256 คนนั้นระบุว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล มีเพียง 2.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่เห็นด้วยกับความพยายามของภาครัฐ
ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษออกแผนปฎิบัติมาตรการแห่งชาติจำนวน 52 หน้าเมื่อตุลาคมเพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษฝุ่น แต่ทว่ายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า มีมาตราการมากน้อยเพียงใดที่ได้ถูกบังคับใช้ เพราะส่วนใหญ่ของแผนเป็นการให้แนวทางแก่หน่วยงานรัฐ แต่มีการหารือถึงการเตือนหรือวิธีวัดสารที่ทำให้เกิดมลพิษ (pollutant)
การเผาในที่โล่งแจ้งถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการทำให้เกิดหมอกควันพิษนอกกรุงเทพฯ ทั้งนี้พบว่านอกเหนือจากกรุงเทพฯแล้วจังหวัดในภาคกลางและภาคเหนือถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันพิษเช่นกัน
ผู้อำนวยการกลุ่มกรีนพีซประเทศไทย ธารา บัวคําศรี (Tara Buakamsri) ออกมาชี้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของรัฐบาลนั้นล้มเหลว
“พวกเขาแน่นอนย่อมต้องคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงแค่ไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ และหลังจากนั้นจะจบลง ดังนั้นจึงไม่มีมาตรการที่แน่นอนในระยะยาวออกมาจากรัฐบาล” คุณธารากล่าว
และได้ชี้ต่อไปถึงปัญหาระดับมาตรฐานความปลอดภัยค่าฝุ่น PM2.5 ของภาครัฐนั้นสูงเกินไป โดยระบุว่า “ระดับนั้นไม่สามารถปกป้องสุขภาพของประชาชนได้” พร้อมกับเรียกร้องให้ลดค่ามาตรฐานความปลอดภัยให้ต่ำลง โดยให้ตั้งอยู่ที่ 35 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่า สหรัฐฯ
ซึ่งในวันนี้(21) โฆษกกรุงเทพมหานคร ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง แถลงออกมาตรการรับวิกฤตฝุ่น PM2.5 อ้างอิงจากการรายงานของ MGRออนไลน์ พบว่ามีการสั่งปิดโรงเรียนเป็นเวลา 1 วันในวันพรุ่งนี้(22)สำหรับโรงเรียที่อยู่ภายใต้สังกัดจำนวน 437 โรง เพื่อลดการออกมาสัมผัสฝุ่นละออง
ในแถลงการณ์ตามมาตรการ 4 ข้อยังรวมไปถึงออกคำสั่งบุคลากรกว่า 2 หมื่นคนของกทม. ให้มาทำงานตอน 10 โมงเช้าแทน หวังลดปริมาณรถช่วงเวลาเร่งด่วนและลดการเกิดฝุ่นพิษจากการจราจร ซึ่งในการแถลงโฆษกกรุงเทพฯชี้ว่า เชื่อว่าวิกฤตฝุ่นพิษในเหมืองหลวงเกิดมาจากการจราจรมากกว่าการเผาในที่โล่งแจ้ง โดยระบุว่า เกิดมาจากไอเสียรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 72%