รอยเตอร์ - แม้ใช้วาจาก้าวร้าวดุดันตอบโต้การทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือมาทุกครั้ง แต่เอาเข้าจริง ดูเหมือนทางเลือกของ “ทรัมป์” ในการจัดการกับความท้าทายนี้ค่อนข้างมีจำกัด ไม่แตกต่างจากผู้ครอบครองห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวคนก่อนๆ
ทางเลือกของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สำหรับการปราบพยศเปียงยางที่ล่าสุดเพิ่งคุยฟุ้งถึงความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) เมื่อวันอังคาร (4 ก.ค.) ซึ่งเป็นวันชาติของอเมริกานั้น พอจะจำแนกออกเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ การปฏิบัติการลับ การเจรจาทางการทูต และการใช้กำลังทหาร
**มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ**
เกาหลีเหนือทุกวันนี้จัดเป็นประเทศที่ถูกแซงก์ชันหนักที่สุดอยู่แล้ว กระนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า มาตรการลงโทษของอเมริกาและนานาชาติไม่อาจยับยั้งความคืบหน้าในการพัฒนาศักยภาพอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดงได้
ยุทธศาสตร์ของทรัมป์ในเรื่องเกาหลีเหนือในเวลานี้ มุ่งโฟกัสที่การเพิ่มมาตรการลงโทษให้ดุดันขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงการคว่ำบาตรไม่ให้นำเข้าน้ำมัน การแบนสายการบิน การสกัดเรือขนสินค้า และการลงโทษธนาคารจีนที่ทำธุรกิจกับเปียงยาง
ในคำแถลงเมื่อวันอังคาร(4) เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ยังประกาศว่า ประเทศใดๆ ที่อ้าแขนรับแรงงานเกาหลีเหนือ ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือการทหารแก่เกาหลีเหนือ หรือล้มเหลวในการปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างสมบูรณ์นั้น ถือว่า กำลังช่วยเหลือรัฐที่เป็นอันตรายรายนี้
ทว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันยังสงสัยว่า ปักกิ่งจะเต็มใจเพิ่มความกดดันเกาหลีเหนือแค่ไหน แม้ไม่พอใจที่ระยะหลังมานี้เปียงยางขยันทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์เหลือเกินก็ตาม
เหตุผลอาจเนื่องมาจากปักกิ่งกลัวว่า หากเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายจะทำให้ชาวโสมแดงทะลักเข้าแผ่นดินใหญ่ และจีนต้องเข้าไปจัดการกับสถานการณ์วุ่นวายบนคาบสมุทรเกาหลี
**การปฏิบัติการลับ**
อเมริกาเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในใช้ไวรัสคอมพิวเตอร์ “สตักซ์เน็ต” ที่อิสราเอลจัดหาให้ ในการทำลายเครื่องหมุนเหวี่ยงเพื่อเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมในโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ทว่าเมื่อนำมาประยุกต์ใช้โจมตีโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกลับพบความล้มเหลวทั้งสองครั้ง คือ ในปี 2009 และ 2010
อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงของอเมริกาบอกว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะระบบสื่อสารของเกาหลีเหนือนั้นลึกลับที่สุดและตัดขาดโดดเดี่ยวจากโลกภายนอก ซึ่งทำให้หน่วยข่าวกรองอเมริกันไม่สามารถล่วงรู้กลไกการทำงานภายในรัฐบาลโสมแดง
อย่างไรก็ดี วอชิงตันมีแผนสองด้วยการใช้แนวทางกึ่งปิดลับ นั่นคือการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์หรือการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปิดการทำงานของขีปนาวุธเกาหลีเหนือในระหว่างหรือหลังจากมันถูกปล่อยออกมาไม่นาน
ความล้มเหลวในการทดสอบขีปนาวุธหลายครั้งของเกาหลีเหนือในช่วงไม่นานมานี้ ทำให้มีการคาดเดากันว่า อเมริกาลงมือปฏิบัติการกึ่งปิดลับเช่นนี้แล้ว นอกจากนั้นเมื่อต้นปี หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ยังรายงานว่า กองทัพสหรัฐฯ กำลังทุ่มเทกับระบบป้องกันขีปนาวุธที่อาจเกี่ยวข้องกับการบ่อนทำลาย มากกว่าการใช้ระบบขีปนาวุธสกัดกั้น
**การทูต**
อเมริกาและเกาหลีเหนือห่างเหินจากการเจรจากันมา 7 ปีเต็ม โดยที่คณะบริหารของทรัมป์บอกว่า เปิดกว้างสำหรับการเจรจาทางการทูต แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้น
ขณะเดียวกัน แม้จีนเห็นด้วยว่า ควรเพิ่มบทลงโทษผ่านมติของยูเอ็นหลังจากเกาเหลีเหนือทดสอบไอซีบีเอ็มเมื่อวันอังคาร(4) แต่ในคำแถลงร่วมระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียในวันเดียวกัน ยังคงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายกลับสู่โต๊ะเจรจา
ภายใต้ข้อเสนอของปักกิ่งนั้น เกาหลีเหนือต้องระงับโครงการขีปนาวุธและนิวเคลียร์ แลกเปลี่ยนกับที่อเมริกาและเกาหลีใต้พักการซ้อมรบขนาดใหญ่ ซึ่งวอชิงตันและโซลระบุว่า มีความสำคัญต่อการคงความพร้อมในการป้องกันตัว ขณะที่เปียงยางยืนกรานเช่นกันว่า โครงการอาวุธของตนมีไว้เพื่อป้องกันการคุกคามและการรุกรานจากอเมริกา
**การใช้กำลังทหาร**
ทางเลือกทางทหารสำหรับทรัมป์มีตั้งแต่การปิดล้อมทางทะเลเพื่อเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการแซงก์ชัน ไปจนถึงการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือด้วยจรวดร่อน และปฏิบัติการที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นซึ่งพุ่งเป้าในการโค่นล้มคิม จองอึน
ขณะที่เกาหลีเหนือนั้นขู่ว่าจะทำลายล้างอเมริกาอย่างไม่ปรานี ถ้าตนเองถูกโจมตีก่อน
อย่างไรก็ตาม เจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เตือนว่า ผลลัพธ์จากปฏิบัติการทางทหารอาจน่าสลดใจจากระดับความรุนแรงอย่างเหลือเชื่อ และว่า ปฏิบัติการทางทหารของอเมริกาจะนำมาซึ่งความเสี่ยงอย่างเลวร้ายต่อเกาหลีใต้
เช่นเดียวกัน เอช.อาร์. แมคมาสเตอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ชี้ว่า การใช้กำลังทหารจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และว่า ถึงเวลาแล้วที่อเมริกาจะใช้มาตรการทั้งหมดที่มี ยกเว้นตัวเลือกทางทหาร เพื่อพยายามแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างสันติ
ทางเลือกของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สำหรับการปราบพยศเปียงยางที่ล่าสุดเพิ่งคุยฟุ้งถึงความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) เมื่อวันอังคาร (4 ก.ค.) ซึ่งเป็นวันชาติของอเมริกานั้น พอจะจำแนกออกเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ การปฏิบัติการลับ การเจรจาทางการทูต และการใช้กำลังทหาร
**มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ**
เกาหลีเหนือทุกวันนี้จัดเป็นประเทศที่ถูกแซงก์ชันหนักที่สุดอยู่แล้ว กระนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า มาตรการลงโทษของอเมริกาและนานาชาติไม่อาจยับยั้งความคืบหน้าในการพัฒนาศักยภาพอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดงได้
ยุทธศาสตร์ของทรัมป์ในเรื่องเกาหลีเหนือในเวลานี้ มุ่งโฟกัสที่การเพิ่มมาตรการลงโทษให้ดุดันขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงการคว่ำบาตรไม่ให้นำเข้าน้ำมัน การแบนสายการบิน การสกัดเรือขนสินค้า และการลงโทษธนาคารจีนที่ทำธุรกิจกับเปียงยาง
ในคำแถลงเมื่อวันอังคาร(4) เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ยังประกาศว่า ประเทศใดๆ ที่อ้าแขนรับแรงงานเกาหลีเหนือ ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือการทหารแก่เกาหลีเหนือ หรือล้มเหลวในการปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างสมบูรณ์นั้น ถือว่า กำลังช่วยเหลือรัฐที่เป็นอันตรายรายนี้
ทว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันยังสงสัยว่า ปักกิ่งจะเต็มใจเพิ่มความกดดันเกาหลีเหนือแค่ไหน แม้ไม่พอใจที่ระยะหลังมานี้เปียงยางขยันทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์เหลือเกินก็ตาม
เหตุผลอาจเนื่องมาจากปักกิ่งกลัวว่า หากเศรษฐกิจเกาหลีเหนือล่มสลายจะทำให้ชาวโสมแดงทะลักเข้าแผ่นดินใหญ่ และจีนต้องเข้าไปจัดการกับสถานการณ์วุ่นวายบนคาบสมุทรเกาหลี
**การปฏิบัติการลับ**
อเมริกาเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในใช้ไวรัสคอมพิวเตอร์ “สตักซ์เน็ต” ที่อิสราเอลจัดหาให้ ในการทำลายเครื่องหมุนเหวี่ยงเพื่อเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมในโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ทว่าเมื่อนำมาประยุกต์ใช้โจมตีโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกลับพบความล้มเหลวทั้งสองครั้ง คือ ในปี 2009 และ 2010
อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงของอเมริกาบอกว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะระบบสื่อสารของเกาหลีเหนือนั้นลึกลับที่สุดและตัดขาดโดดเดี่ยวจากโลกภายนอก ซึ่งทำให้หน่วยข่าวกรองอเมริกันไม่สามารถล่วงรู้กลไกการทำงานภายในรัฐบาลโสมแดง
อย่างไรก็ดี วอชิงตันมีแผนสองด้วยการใช้แนวทางกึ่งปิดลับ นั่นคือการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์หรือการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปิดการทำงานของขีปนาวุธเกาหลีเหนือในระหว่างหรือหลังจากมันถูกปล่อยออกมาไม่นาน
ความล้มเหลวในการทดสอบขีปนาวุธหลายครั้งของเกาหลีเหนือในช่วงไม่นานมานี้ ทำให้มีการคาดเดากันว่า อเมริกาลงมือปฏิบัติการกึ่งปิดลับเช่นนี้แล้ว นอกจากนั้นเมื่อต้นปี หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ยังรายงานว่า กองทัพสหรัฐฯ กำลังทุ่มเทกับระบบป้องกันขีปนาวุธที่อาจเกี่ยวข้องกับการบ่อนทำลาย มากกว่าการใช้ระบบขีปนาวุธสกัดกั้น
**การทูต**
อเมริกาและเกาหลีเหนือห่างเหินจากการเจรจากันมา 7 ปีเต็ม โดยที่คณะบริหารของทรัมป์บอกว่า เปิดกว้างสำหรับการเจรจาทางการทูต แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้น
ขณะเดียวกัน แม้จีนเห็นด้วยว่า ควรเพิ่มบทลงโทษผ่านมติของยูเอ็นหลังจากเกาเหลีเหนือทดสอบไอซีบีเอ็มเมื่อวันอังคาร(4) แต่ในคำแถลงร่วมระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียในวันเดียวกัน ยังคงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายกลับสู่โต๊ะเจรจา
ภายใต้ข้อเสนอของปักกิ่งนั้น เกาหลีเหนือต้องระงับโครงการขีปนาวุธและนิวเคลียร์ แลกเปลี่ยนกับที่อเมริกาและเกาหลีใต้พักการซ้อมรบขนาดใหญ่ ซึ่งวอชิงตันและโซลระบุว่า มีความสำคัญต่อการคงความพร้อมในการป้องกันตัว ขณะที่เปียงยางยืนกรานเช่นกันว่า โครงการอาวุธของตนมีไว้เพื่อป้องกันการคุกคามและการรุกรานจากอเมริกา
**การใช้กำลังทหาร**
ทางเลือกทางทหารสำหรับทรัมป์มีตั้งแต่การปิดล้อมทางทะเลเพื่อเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการแซงก์ชัน ไปจนถึงการโจมตีโรงงานนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือด้วยจรวดร่อน และปฏิบัติการที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นซึ่งพุ่งเป้าในการโค่นล้มคิม จองอึน
ขณะที่เกาหลีเหนือนั้นขู่ว่าจะทำลายล้างอเมริกาอย่างไม่ปรานี ถ้าตนเองถูกโจมตีก่อน
อย่างไรก็ตาม เจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เตือนว่า ผลลัพธ์จากปฏิบัติการทางทหารอาจน่าสลดใจจากระดับความรุนแรงอย่างเหลือเชื่อ และว่า ปฏิบัติการทางทหารของอเมริกาจะนำมาซึ่งความเสี่ยงอย่างเลวร้ายต่อเกาหลีใต้
เช่นเดียวกัน เอช.อาร์. แมคมาสเตอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ชี้ว่า การใช้กำลังทหารจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และว่า ถึงเวลาแล้วที่อเมริกาจะใช้มาตรการทั้งหมดที่มี ยกเว้นตัวเลือกทางทหาร เพื่อพยายามแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างสันติ