(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Oslo talks: President Duterte likely to walk the extra mile for peace
By Noel Tarrazona
16/08/2016
การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มกบฏเหมาอิสต์ (กองทัพประชาชนใหม่-พรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์) กำลังจะเริ่มขึ้นที่กรุงออสโล ในวันอาทิตย์ (20 ส.ค.) นี้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต นั้นทุ่มเทให้ความสำคัญกับการเดินทางสู่ความปรองดองนี้เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่าสำหรับเขาแล้วนี่คือสถานการณ์แห่งการวัดดวงกันเลยทีเดียว
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - ขณะที่การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับพวกกบฏเหมาอิสต์ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ตามที่ได้นัดหมายเตรียมการกันไว้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ก็ออกมาส่งเสียงเตือนพวกเขาว่า ถ้าหากพวกเขายังคงใช้กับระเบิดเพื่อโจมตีเล่นงานทหารและพลเรือนต่อไปแล้ว ก็อาจบังคับให้ฝ่ายรัฐบาลต้องถอนตัวออกจากการพูดจากันเหล่านี้
ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ยื่นคำขาดเช่นนี้ต่อพวกกบฏ ระหว่างที่เขากล่าวปราศรัยกับทหารในเมืองดาเวาซิตี้
เขากล่าวประณามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ (Communist Party of Philippines หรือ CPP) และกองทัพประชาชนใหม่ (New People’s Army หรือ NPA) ในการก่อเหตุวางกับระเบิดซึ่งสังหารทหารไป 4 คน ไม่นานนักหลังจากเขาประกาศหยุดยิงแต่ฝ่ายเดียวกับกลุ่มนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
กองทัพประชาชนใหม่นั้น เป็นหน่วยงานทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งนำโดย โฮเซ มาเรีย ซีซอน (Jose Maria Sison) ผู้ที่เวลานี้พำนักลี้ภัยในอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ประมาณกันว่าเอ็นพีเอมีกองกำลังจรยุทธ์ติดอาวุธที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ราว 4,000 คนในฟิลิปปินส์
การเสียชีวิตดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในระหว่างมีการต่อสู้กันระหว่างทหารฟิลิปปินส์กับพวกกบฎเอ็นพีเอในเมืองมอนคาโย (Monkayo Town) ของจังหวัดคอมโปสเตลลา แวลลีย์ (Compostella Valley Province) โดยที่มีทหาร 12 คนได้รับบาดเจ็บในการยิงต่อสู้กันเป็นเวลา 45 นาที
ดูเตอร์เตบอกว่า พวกกบฏเอ็นพีเอนั้นหยิ่งยโส และกำลังประพฤติตัวเหมือนเป็นแก๊งโจร
“อย่าใช้กับระเบิดเชียวนะ ถ้าผมได้ยินว่ามีการระเบิดขึ้นมาอีกครั้งเดียว ก็สวัสดีขอลาก่อนกันเลย และคณะเจรจาสันติภาพของพวกคุณ ก็กลับบ้านไปเลย อย่าไปสิ้นเปลืองเงินทองของพวกคุณที่นั่น แล้วก็มีแต่พูดจาอะไรไร้สาระดีกว่า” สำนักข่าวเอพีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของเขา
“ชาวคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ถ้าพวกคุณกำลังรับฟังอยู่นะ พวกคุณทำสงครามกับรัฐบาลมาเป็นเวลา 45 ปีแล้ว พวกคุณยังต้องการสู้รบไปอีก 45 ปีเหรอ?”
อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ยังคงเพิกเฉยไม่ใยดีกับการยื่นคำขาดไม่ให้ใช้กับระเบิดของดูเตอร์เต โดยบอกว่าดูเตอร์เตเพียงแต่กำลังต้องการปลอบขวัญทำให้กองทัพอยู่ในความสงบเท่านั้นเอง
ฝ่ายนี้กล่าวด้วยว่า จุดยืนของประธานาธิบดีดูเตอร์เตในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพกำลังเริ่มหวั่นไหวโลเลแล้ว หลังจากที่เขาเริ่มเดินทางไปเยี่ยมค่ายทหารในที่ต่างๆ ฝ่ายนี้ยังยืนยันอีกว่าการทำสงครามประชาชนคือเส้นทางในการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การปฏิวัติเสมอมา รวมทั้งยังเป็นการสะสมชัยชนะของพวกเขาด้วย
ลูอิส จาลันโดนี (Luis Jalandoni) ประธานของคณะเจรจาของฝ่ายกบฏที่ใช้นามองค์กรว่า แนวร่วมประชาชาติประชาธิปไตยแห่งฟิลิปปินส์ (National Democratic Front of the Philippines หรือ NDFP) บอกกับสื่อมวลชนว่า วัตถุระเบิดประเภทที่ใช้ในการโจมตีคราวนี้ ก็ไม่ใช่ประเภทที่ถูกห้ามจากพวกสนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งหลาย
“... การใช้กับระเบิดแบบที่จุดระเบิดโดยมีผู้ควบคุมนั้น ไม่ได้ละเมิดอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Convention) และสนธิสัญญาออตตาวา(Ottawa Treaty) แต่อย่างใด"”จาลันโดนี กล่าวยืนยัน
ทั้งนี้ฟิลิปปินส์เป็น 1 ในจำนวน 162 ประเทศซึ่งร่วมลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงออตตาวา และอนุสัญญานครเจนีวา ซึ่งมีเนื้อหาห้ามไม่ให้ใช้กับระเบิดในประเทศของพวกเขาเหล่านี้
ในความเห็นของแนวร่วม NDFP นั้น สนธิสัญญาระหว่างประเทศเหล่านี้ห้ามเพียงเฉพาะพวกวัตถุระเบิดที่ระเบิดขึ้นเมื่อมีเหยื่อเข้ามาจุดชนวน เป็นต้นว่าเดินเข้ามาเหยียบ เนื่องจากเป็นวัตถุระเบิดที่เล่นงานเป้าหมายอย่างไม่มีการจำแนกแยกแยะ
ขณะเดียวกับที่ความเป็นศัตรูกันระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับพวกกบฏเอ็นพีเอยังคงดำเนินต่อไป ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็กำลังเดินหน้าทำการรุกโจมตีพวกกบฏกลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ที่ประกอบอาวุธเต็มที่จำนวนราว 300 คนบนเกาะบาซิลัน (Basilan) ซึ่งก็เป็นสถานที่กบฏกลุ่มนี้กำลังกักกันตัวประกันชาวนอร์เวย์ 1 คนเอาไว้
มีรายงานว่าพวกกบฎอบูไซยาฟอย่างน้อย 50 คนทีเดียวถูกเข่นฆ่าไปนับตั้งแต่การสู้รบระลอกนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม
เฉกเช่นเดียวกับพวกกบฏเอ็นพีเอ นักรบกลุ่มอบูไซยาฟก็กำลังแสดงการท้าทายต่อคำเรียกร้องให้ยุติสงครามของดูเตอร์เต ซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวความคิดเอนเอียงไปทางเป็นฝ่ายซ้าย
ดูเตอร์เตกำลังอยู่ระหว่างการเดินทางตรวจเยือนพื้นที่สงครามแห่งต่างๆ ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และกำลังชักชวนหว่านล้อมให้ชุมชนต่างๆ ช่วยกันยุติการสู้รบขัดแย้ง
เขาอาจจะหันไปเลือกหนทางทำสงครามแบบเต็มขั้นกับพวกกลุ่มนักรบติดอาวุธ ก็ต่อเมื่อเห็นว่าการเจรจาล้มเหลว และนักรบติดอาวุธเหล่านี้ยังคงทาการโจมตีทหารและพลเรือนไม่ยอมหยุด
รัฐมนตรีมหาดไทยและกิจการรัฐบาลท้องถิ่น อิสมาเอล ซูเอโน (Ismael Sueno) และผู้บัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ (armed forces chief of staff) พล.อ.ริคาร์โด วิซายา (Ricardo Visaya) บอกกับหนังสือพิมพ์ เดอะฟิลิปปินส์สตาร์ (The Philippine Star) ว่า ดูเตอร์เตกระทั่งเคยขบคิดพิจารณาที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่กบฏต่างๆ ในทางภาคใต้ด้วยซ้ำ บุคคลทั้งสองเสริมว่าพวกเขาสนับสนุนแผนการของดูเตอร์เต โดยเห็นว่าเป็นหนทางดีที่สุดในการลดความรุนแรงในพื้นที่เหล่านี้
ก่อนหน้าที่จะได้รับชนะในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีเมืองดาเวาผู้พูดจาโผงผางแข็งกร้าวผู้นี้ เคยไปเยี่ยมค่ายต่างๆ ของพวกกบฎเอ็นพีเอ และแสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อชะตากรรมของคนเหล่านี้
อันที่จริงแล้ว เขานี่เองคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาหลายต่อหลายครั้งซึ่งนำไปสู่การปล่อยตัวประกันที่ถูกพวกกบฎจับตัวเอาไว้
การแก้ไขปัญหาการกบฏก่อความไม่สงบ คือหนึ่งในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดของดูเตอร์เต เหล่าประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาต่างประสบความล้มเหลวในการทำให้เกิดข้อตกลงสันติภาพอันถาวรกับพวกกบฎคอมมิวนิสต์
ดังนั้นเพื่อที่จะนำพวกเขาเข้ามาสู่โต๊ะเจรจา ดูเตอร์เตกระทั่งแต่งตั้งพวกผู้นำหัวเอียงซ้ายหลายคนให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ทรงอำนาจ เมื่อเขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว
มันจึงเป็นสถานการณ์ชนิดวัดดวงกันไปเลยสำหรับดูเตอร์เต ขณะที่วันเวลาแห่งการเจรจาที่กรุงออสโลกำลังขยับใกล้เข้ามา และเขาอาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพิ่มขึ้นอีกเพื่อไขว่คว้าให้สันติภาพมาอยู่ในกำมือ
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศอิสระ สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com
Oslo talks: President Duterte likely to walk the extra mile for peace
By Noel Tarrazona
16/08/2016
การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มกบฏเหมาอิสต์ (กองทัพประชาชนใหม่-พรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์) กำลังจะเริ่มขึ้นที่กรุงออสโล ในวันอาทิตย์ (20 ส.ค.) นี้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต นั้นทุ่มเทให้ความสำคัญกับการเดินทางสู่ความปรองดองนี้เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่าสำหรับเขาแล้วนี่คือสถานการณ์แห่งการวัดดวงกันเลยทีเดียว
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - ขณะที่การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับพวกกบฏเหมาอิสต์ กำลังจะเริ่มต้นขึ้นที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ตามที่ได้นัดหมายเตรียมการกันไว้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ก็ออกมาส่งเสียงเตือนพวกเขาว่า ถ้าหากพวกเขายังคงใช้กับระเบิดเพื่อโจมตีเล่นงานทหารและพลเรือนต่อไปแล้ว ก็อาจบังคับให้ฝ่ายรัฐบาลต้องถอนตัวออกจากการพูดจากันเหล่านี้
ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ยื่นคำขาดเช่นนี้ต่อพวกกบฏ ระหว่างที่เขากล่าวปราศรัยกับทหารในเมืองดาเวาซิตี้
เขากล่าวประณามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ (Communist Party of Philippines หรือ CPP) และกองทัพประชาชนใหม่ (New People’s Army หรือ NPA) ในการก่อเหตุวางกับระเบิดซึ่งสังหารทหารไป 4 คน ไม่นานนักหลังจากเขาประกาศหยุดยิงแต่ฝ่ายเดียวกับกลุ่มนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
กองทัพประชาชนใหม่นั้น เป็นหน่วยงานทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งนำโดย โฮเซ มาเรีย ซีซอน (Jose Maria Sison) ผู้ที่เวลานี้พำนักลี้ภัยในอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ประมาณกันว่าเอ็นพีเอมีกองกำลังจรยุทธ์ติดอาวุธที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ราว 4,000 คนในฟิลิปปินส์
การเสียชีวิตดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในระหว่างมีการต่อสู้กันระหว่างทหารฟิลิปปินส์กับพวกกบฎเอ็นพีเอในเมืองมอนคาโย (Monkayo Town) ของจังหวัดคอมโปสเตลลา แวลลีย์ (Compostella Valley Province) โดยที่มีทหาร 12 คนได้รับบาดเจ็บในการยิงต่อสู้กันเป็นเวลา 45 นาที
ดูเตอร์เตบอกว่า พวกกบฏเอ็นพีเอนั้นหยิ่งยโส และกำลังประพฤติตัวเหมือนเป็นแก๊งโจร
“อย่าใช้กับระเบิดเชียวนะ ถ้าผมได้ยินว่ามีการระเบิดขึ้นมาอีกครั้งเดียว ก็สวัสดีขอลาก่อนกันเลย และคณะเจรจาสันติภาพของพวกคุณ ก็กลับบ้านไปเลย อย่าไปสิ้นเปลืองเงินทองของพวกคุณที่นั่น แล้วก็มีแต่พูดจาอะไรไร้สาระดีกว่า” สำนักข่าวเอพีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของเขา
“ชาวคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ถ้าพวกคุณกำลังรับฟังอยู่นะ พวกคุณทำสงครามกับรัฐบาลมาเป็นเวลา 45 ปีแล้ว พวกคุณยังต้องการสู้รบไปอีก 45 ปีเหรอ?”
อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งฟิลิปปินส์ยังคงเพิกเฉยไม่ใยดีกับการยื่นคำขาดไม่ให้ใช้กับระเบิดของดูเตอร์เต โดยบอกว่าดูเตอร์เตเพียงแต่กำลังต้องการปลอบขวัญทำให้กองทัพอยู่ในความสงบเท่านั้นเอง
ฝ่ายนี้กล่าวด้วยว่า จุดยืนของประธานาธิบดีดูเตอร์เตในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพกำลังเริ่มหวั่นไหวโลเลแล้ว หลังจากที่เขาเริ่มเดินทางไปเยี่ยมค่ายทหารในที่ต่างๆ ฝ่ายนี้ยังยืนยันอีกว่าการทำสงครามประชาชนคือเส้นทางในการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การปฏิวัติเสมอมา รวมทั้งยังเป็นการสะสมชัยชนะของพวกเขาด้วย
ลูอิส จาลันโดนี (Luis Jalandoni) ประธานของคณะเจรจาของฝ่ายกบฏที่ใช้นามองค์กรว่า แนวร่วมประชาชาติประชาธิปไตยแห่งฟิลิปปินส์ (National Democratic Front of the Philippines หรือ NDFP) บอกกับสื่อมวลชนว่า วัตถุระเบิดประเภทที่ใช้ในการโจมตีคราวนี้ ก็ไม่ใช่ประเภทที่ถูกห้ามจากพวกสนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งหลาย
“... การใช้กับระเบิดแบบที่จุดระเบิดโดยมีผู้ควบคุมนั้น ไม่ได้ละเมิดอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Convention) และสนธิสัญญาออตตาวา(Ottawa Treaty) แต่อย่างใด"”จาลันโดนี กล่าวยืนยัน
ทั้งนี้ฟิลิปปินส์เป็น 1 ในจำนวน 162 ประเทศซึ่งร่วมลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงออตตาวา และอนุสัญญานครเจนีวา ซึ่งมีเนื้อหาห้ามไม่ให้ใช้กับระเบิดในประเทศของพวกเขาเหล่านี้
ในความเห็นของแนวร่วม NDFP นั้น สนธิสัญญาระหว่างประเทศเหล่านี้ห้ามเพียงเฉพาะพวกวัตถุระเบิดที่ระเบิดขึ้นเมื่อมีเหยื่อเข้ามาจุดชนวน เป็นต้นว่าเดินเข้ามาเหยียบ เนื่องจากเป็นวัตถุระเบิดที่เล่นงานเป้าหมายอย่างไม่มีการจำแนกแยกแยะ
ขณะเดียวกับที่ความเป็นศัตรูกันระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับพวกกบฏเอ็นพีเอยังคงดำเนินต่อไป ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็กำลังเดินหน้าทำการรุกโจมตีพวกกบฏกลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ที่ประกอบอาวุธเต็มที่จำนวนราว 300 คนบนเกาะบาซิลัน (Basilan) ซึ่งก็เป็นสถานที่กบฏกลุ่มนี้กำลังกักกันตัวประกันชาวนอร์เวย์ 1 คนเอาไว้
มีรายงานว่าพวกกบฎอบูไซยาฟอย่างน้อย 50 คนทีเดียวถูกเข่นฆ่าไปนับตั้งแต่การสู้รบระลอกนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม
เฉกเช่นเดียวกับพวกกบฏเอ็นพีเอ นักรบกลุ่มอบูไซยาฟก็กำลังแสดงการท้าทายต่อคำเรียกร้องให้ยุติสงครามของดูเตอร์เต ซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวความคิดเอนเอียงไปทางเป็นฝ่ายซ้าย
ดูเตอร์เตกำลังอยู่ระหว่างการเดินทางตรวจเยือนพื้นที่สงครามแห่งต่างๆ ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และกำลังชักชวนหว่านล้อมให้ชุมชนต่างๆ ช่วยกันยุติการสู้รบขัดแย้ง
เขาอาจจะหันไปเลือกหนทางทำสงครามแบบเต็มขั้นกับพวกกลุ่มนักรบติดอาวุธ ก็ต่อเมื่อเห็นว่าการเจรจาล้มเหลว และนักรบติดอาวุธเหล่านี้ยังคงทาการโจมตีทหารและพลเรือนไม่ยอมหยุด
รัฐมนตรีมหาดไทยและกิจการรัฐบาลท้องถิ่น อิสมาเอล ซูเอโน (Ismael Sueno) และผู้บัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ (armed forces chief of staff) พล.อ.ริคาร์โด วิซายา (Ricardo Visaya) บอกกับหนังสือพิมพ์ เดอะฟิลิปปินส์สตาร์ (The Philippine Star) ว่า ดูเตอร์เตกระทั่งเคยขบคิดพิจารณาที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่กบฏต่างๆ ในทางภาคใต้ด้วยซ้ำ บุคคลทั้งสองเสริมว่าพวกเขาสนับสนุนแผนการของดูเตอร์เต โดยเห็นว่าเป็นหนทางดีที่สุดในการลดความรุนแรงในพื้นที่เหล่านี้
ก่อนหน้าที่จะได้รับชนะในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีเมืองดาเวาผู้พูดจาโผงผางแข็งกร้าวผู้นี้ เคยไปเยี่ยมค่ายต่างๆ ของพวกกบฎเอ็นพีเอ และแสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อชะตากรรมของคนเหล่านี้
อันที่จริงแล้ว เขานี่เองคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาหลายต่อหลายครั้งซึ่งนำไปสู่การปล่อยตัวประกันที่ถูกพวกกบฎจับตัวเอาไว้
การแก้ไขปัญหาการกบฏก่อความไม่สงบ คือหนึ่งในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดของดูเตอร์เต เหล่าประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาต่างประสบความล้มเหลวในการทำให้เกิดข้อตกลงสันติภาพอันถาวรกับพวกกบฎคอมมิวนิสต์
ดังนั้นเพื่อที่จะนำพวกเขาเข้ามาสู่โต๊ะเจรจา ดูเตอร์เตกระทั่งแต่งตั้งพวกผู้นำหัวเอียงซ้ายหลายคนให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ทรงอำนาจ เมื่อเขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว
มันจึงเป็นสถานการณ์ชนิดวัดดวงกันไปเลยสำหรับดูเตอร์เต ขณะที่วันเวลาแห่งการเจรจาที่กรุงออสโลกำลังขยับใกล้เข้ามา และเขาอาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพิ่มขึ้นอีกเพื่อไขว่คว้าให้สันติภาพมาอยู่ในกำมือ
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศอิสระ สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com