xs
xsm
sm
md
lg

ชมชุดภาพประกอบตัดสินใจ:เปิดประสบการณ์ข้ามแดนสุดโหดกับ “โตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์เหลืองมะนาว” บนเรือหางยาวเข้าสู่เวเนฯ ประเทศที่เคยศิวิไลซ์ภายใต้ฮูโก ชาเวซ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

การข้ามแดนสุด challenge ของนักเดินทางชาวดัตช์ในปี 2015 เข้าสู่เวเนซุเอลา ซึ่งปัจจุบันนี้มีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจขั้นร้ายแรง
เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - Karin-Marijke และ Coen สองนักผจญภัยไร้พรมแดนชาวดัตช์เปิดเผยประสบการณ์ข้ามแดนที่ไม่เหมือนใครด้วยการขับโตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์คู่ใจข้ามพรมแดนจากโคลัมเบียเข้าสู่เวเนซุเอลา ประเทศที่น่าทึ่งท่ามกลางความศิวิไลซ์และอิทธิพลของฮูโก ชาเวซ ต้องระทึกไปกับด่านตรวจระหว่างพรมแดนที่ต้องการเอกสารมากไปกว่าพาสปอร์ตและใบคำร้องขอผ่านแดน รวมไปถึงส่งแลนด์ครุยเซอร์สีเหลืองมะนาวคู่ใจอยู่บนเรือหางยาวท้องถิ่นที่เห็นแล้วต้องอึ้ง

บันทึกการเดินทางของ Karin-Marijke และ Coen สองนักผจญภัยไร้พรมแดนชาวดัตช์และโตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์สีเหลืองมะนาว ได้บันทึกเรื่องราวบนเว็บไซต์นักเดินทาง http://www.landcruisingadventure.com บอกเล่าถึงประสบการณ์สุดโหดลุยดินแดนอาณาจักรฮูโก ชาเวซเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่สองชาวดัตช์จากโลกตะวันตกต้องทึ่งถึงสิ่งที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน

คนทั้งคู่ต้องการเดินทางข้ามพรมแดนจากฝั่งโคลอมเบียเข้าสู่พรมแดนเวเนซุเอลาในช่วงปี 2015 ซึ่งพบว่าในขณะที่นักผจญภัยไร้พรมแดนทั้งสองได้เขียนขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2015 เป็นช่วงเวลาที่พรมแดนทั้งหมดถูกปิดลงเนื่องมาจากคำสั่งของประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ที่ได้ลงนามออกคำสั่งในราวเดือนสิงหาคมเนื่องมาจากทหารลาดตระเวนเวเนฯ ถูกกลุ่มลักลอบโจมตีจากกลุ่มติดอาวุธแอบลักลอบขนสินค้าเถื่อนข้ามพรมแดน

โดย Karin-Marijke และ Coen ได้รับทราบข่าวการปิดพรมแดนจากกลุ่มนักเดินทางที่ได้ข้ามจากฝั่งบราซิลบริเวณจุดข้ามแดนซานตา อีเลนา (Santa Elena) และได้รับการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่า พวกเขามีสิทธิสามารถเดินทางออกนอกเวเนซุเอลาโดยผ่านทางจุดข้ามแดนติดต่อประเทศโคลอมเบียในฐานะนักท่องเที่ยวต่างชาติได้

แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนนักเดินทางชาวดัตช์ได้กล่าวให้ความเห็นว่า สิทธิข้ามแดนออกนอกประเทศเวเนฯ ในฐานะนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จริงหรือไม่นั้นอาจ...จะเป็นเพียงแค่ทฤษฎีเท่านั้น เพราะความเป็นจริงแล้วบริเวณพรมแดนของเวเนฯ อยู่ภายใต้กฎหมายอัยการศึก และมีทหารประจำอยู่จำนวนมากให้พบเห็นโดยทั่วไป และกลุ่มทหารเวเนฯ จะไม่ยอมให้ผู้ใดสามารถผ่านข้ามแดนไปได้จนกว่าจะเห็นหนังสืออนุญาตจากประธานาธิบดีเวเนฯ นิโคลัส มาดูโรเสียก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังคงเป็นเช่นนั้นเพราะพรมแดนเวเนฯ ที่ติดกับโคลอมเบียยังคงปิดตัวต่อไป และเปิดเพียง 2 ครั้งในเดือนกรกฎาคม 2016 เพื่อให้ประชาชนชาวเวเนฯ สามารถข้ามแดนเข้าไปเลือกซื้ออาหารได้เท่านั้น

และในการเดินทางครั้งนั้นของ Karin-Marijke และ Coen พวกเขาถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่พรมแดนบริเวณใกล้กับมาราไกโบ (Maracaibo) เหมือนเช่นเดียวกับนักเดินทางชาวอาร์เจนตินา ซึ่งในสถานการณ์ที่ดีที่สุดคือพรมแดนเปิดรอผู้เดินทางเมื่อไปถึง แต่อย่างไรก็ตาม 2 นักเดินทางชาวดัตช์เตือนว่าอย่าให้เจ้าหน้าที่พรมแดนซานตา อีเลนาให้ความหวังอย่างลมๆ แล้งๆ เด็ดขาด

ทั้งนี้ ในบันทึกการเดินทางของคนทั้งคู่พบว่าพวกเขาเดินทางอยู่ในเวเนซุเอลาเป็นเวลา 136 วันทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน 2015 และตั้งแต่กรกฎาคมไปจนถึงกันยายน 2015 โดยในการรายงานชิ้นนี้จะขอเล่าเฉพาะประสบการณ์ข้ามแดนสุดโหดจากโคลอมเบียมายังเวเนซุเอลาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการปิดพรมแดนระหว่างสองประเทศ

ในการเดินทางเข้าสู่เวเนฯ ในช่วงแรก (มีนาคม-เมษายน) Karin-Marijke และ Coen ใช้เวลาการเดินทางในเวเนซุเอลาทั้งหมด 45 วัน โดยพวกเขาเดินทางจากโคลอมเบียเพื่อไปยังปวยร์โตไออากูโช (Puerto Ayacucho) ในฝั่งเวเนซุเอลา และต่อไปยัง San Fernando de Apure และต่อจากนั้นเดินทางผ่าน Los Llanos ไปยังเทือกเขาแอนดีส และลาโก คาราไกโบ (Lago Maracaibo) และจากที่นี่ไปต่อทางตะวันออกเข้าสู่ Ciudad Bolívar ก่อนเลี้ยวไปทางใต้สู่ Gran Sabana ก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศเวเนซุเอลาเพื่อเข้าสู่บราซิลต่อไป

ความไม่ธรรมดาในการเข้าสู่ดินแดนของฮูโก ชาเวซเริ่มมาจากที่คนทั้งคู่ต้องส่งโตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์สีเหลืองมะนาวคู่ใจขึ้นเรือเฟอร์รีท้องถิ่นที่ไม่ต่างจากเรือหางยาวในไทยเท่าใดนัก โดยพบว่าเรือลำนี้ถูกสร้างมาจากไม้แต่ขนาดกว้างกว่าเรือหางยาวในไทย และบริเวณส่วนหน้าของตัวเรือมีความกว้างและยาวเพียงพอสำหรับขนาดรถแลนด์ครุยเซอร์คันนี้จอดนิ่งไม่เคลื่อนไหวอยู่ได้ โดยพบว่ามีการใช้แผ่นไม้จำนวน 2 แผ่นรองไว้ด้านล่าง ซึ่งกั้นอยู่บริเวณล้อหน้าทั้งสอง และพบว่า 1 ใน 2 ของนักผจญภัยชาวดัตช์นั่งสงบอยู่ภายในตัวรถโดยไม่หวาดหวั่น ในขณะที่ลูกเรือท้องถิ่นอีก 2 คนอยู่บริเวณด้านท้ายของเรือที่กำลังจะเทียบฝั่งในไม่ช้า

บันทึกการเดินทางของ Karin-Marijke และ Coen กล่าวว่า พวกเขาได้ใช้บริการข้ามฝั่งจาก Puerto Carreño ในฝั่งโคลอมเบียเพื่อเข้าสู่ Puerto Paez ในเวเนซุเอลา ซึ่งเป็นจุดข้ามพรมแดนเกือบใต้สุด และถือเป็นสิ่งท้าทายของคนทั้งคู่นับตั้งแต่เริ่มต้นการเดินทางท่องโลกของคนทั้งคู่ในปี 2003 โดยพบว่าต้องใช้เวลาถึง 12 วันในการนำรถยนต์แลนด์ครุยเซอร์คู่ใจจากฝั่งโคลอมเบียของแม่น้ำเมตา (Meta River) เพื่อไปยังอีกฝั่งที่อยู่ในเวเนซุเอลา ***แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ นักเดินทางทั้งสองได้เตือนว่า อย่าเพิ่งท้อใจ เพราะในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ต้องใช้ถึง 12 วันก็เป็นได้ หากนักเดินทางรู้ล่วงหน้าว่า “ต้องจัดการสิ่งใด โดยใช้อะไร เพื่อไปติดต่อกับใคร” เท่านั้น***

และเพื่อความรวดเร็วและความทึ่งในความยากลำบากการข้ามพรมแดน ทั้ง Karin-Marijke และ Coen จึงได้จดบันทึกเป็นข้อๆ ให้แก่ผู้สนใจที่ต้องการความท้าทายระดับขั้นเทพ หรืออาจจะมากกว่านั้นเนื่องจากในปัจจุบันนี้ (2016) เวเนซุเอลายังคงปิดพรมแดนติดต่อระหว่างโคลอมเบีย และไม่ทราบว่าจะเปิดเมื่อใด…

***รวบรวมเอกสาร***

#1 ติดต่อกับสำนักงานเหล่านี้ในฝั่งโคลอมเบีย

DIAN สำนักงานศุลกากรโคลอมเบีย : เพื่อทำให้แน่ใจว่าเอกสารสำหรับรถยนต์คู่ใจพร้อมใช้งาน
กงสุลเวเนฯ : ติดต่อแบบฟอร์มทุกประเภทที่จำเป็นสำหรับการนำรถข้ามแดน ซึ่งในประสบการณ์ของ Karin-Marijke และ Coen พบว่าพวกเขาต้องการเอกสารเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ คือเอกสารประกันภัยบุคคนที่ 3 ของบริษัทประกันภัยเวเนฯ และเอกสารการซื้อรถของคนทั้งคู่
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง : เพื่อประทับตราหนังสือเดินทาง
Policia de sijin : เพื่อรับ VIN สำหรับรถที่นำข้ามแดน

#2 ไปยัง ปวยร์โตไออากูโช (Puerto Ayacucho) ในฝั่งเวเนซุเอลา เพื่อติดต่อศุลกากรที่นั่น

ทั้งนี้ การข้ามแดนเข้าสู่เวเนซุเอลามี 2 ช่องทางด้วยกัน ซึ่งต่างต้องพึ่งเรือข้ามฟากทั้งสิ้น โดยนักเดินทางชาวดัตช์ทั้งสองกล่าวว่า ช่องทางแรกคือ

# 2.1 เรือเร็ว จาก Pto Carreño ไปยัง Casuarito ซึ่งใช้เวลาการเดินทางราว 1 ชม. แต่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 18,000 เปโซ โดยอยู่ในฝั่งโคลอมเบีย และหลังจากที่ออกจากเรือเร็วลำนี้แล้ว คนทั้งสองต้องใช้บริการเรือลำเล็กอีกทอดที่เรียกว่า บองโก (bongo) เพื่อข้ามแม่น้ำไปยัง Muelle of Pto Ayacucho โดยมีสนนราคาราว 40-100 โบลิวาร์ ขึ้นอยู่กับดวงว่าจะพบคนขับชาวโคลอมเบียหรือชาวเวเนฯ และจากจุดนี้นักเดินทางทั้งหลายไม่ต้องตกใจ เพราะจะมีด่านตรวจคนเข้าเมืองเวเนฯ ตั้งรออยู่เบื้องหน้า ซึ่งจะทำการประทับตราอนุญาตเข้าเมือง และอีก 500 เมตรถัดไปตามทางยาวถนนจะเป็นที่ตั้งของศุลกากรเวเนฯ หรือ SENIAT

#2.2 เรือบองโก ซึ่งใช้เวลานานกว่า แต่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าเช่นกัน โดยเดินทางออกจาก Pto Carreño ไปยัง El Burro ในสนนราคา 3.000 เปโซ หรือ 200 โบลิวาร์ และจาก El Burro ไปยัง Pto Ayacucho โดยการโดยสารแท็กซี่ร่วมกับผู้โดยสารอื่นๆ ซึ่งใช้เวลา 1 ชม. ในราคา 180 ต่อหัว (จำนวน 4 คน และถ้าหากมีจำนวนน้อยกว่านี้ เห็นทีต้องพึ่งวิชาภาษาสเปนที่ร่ำเรียนมาจากในชั้น ต่อรองราคาอีกรอบ) ซึ่งจุดหมายปลายทางคือสถานีรถบัส แต่หากว่านักเดินทางโชคดีกว่านั้น อาจได้ต่อไปถึงย่านดาวน์ทาวน์ และหากโชคดีสุดๆ อาจได้เดินทางไปยัง El Muelle ซึ่งถึงแม้นักเดินทางจำเป็นต้องลงที่สถานีรถบัส แต่ Karin-Marijke และ Coen ชี้ว่ายังสามารถเดินทางต่อไป El Muelle ด้วยแท็กซี่ด้วยราคา 40-50 โบลิวาร์

#3 และเมื่อมาถึงสถานีรถบัส นักเดินทางสามารถซื้อประกันภัยจากบริษัทเวเนฯ โดยคนทั้งคู่ได้ซื้อประกันภัยระยะเวลา 1 ปีในราคา 936 โบลิวาร์

#4 และที่สำนักงานศุลกากรเวเนฯ SENIAT
ทั้ง Karin-Marijke และ Coen เตือนให้ทุกคนที่อ่านอยู่นี้เห็นควรที่ต้องทำสำเนาเอกสารทุกประเภทไว้ โดยคนทั้งคู่ต้องชำระในอัตรา 1% ศุลกากรภาษีของราคารถที่ต้องการนำเข้าประเทศ (และเป็นเหตุผลว่าเหตุใดทุกคนจึงต้องแสดงเอกสารการซื้อรถที่มีระบุราคาไว้) และในการที่จะชำระค่าธรรมเนียมนี้ได้ นักเดินทางจำเป็นต้องมีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และในการที่ต้องมีหมายเลขนี้ สิ่งแรกที่ต้องมีคือที่อยู่บ้านพักเสียก่อน โดยคนทั้งคู่ได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ยากนักหากติดขัดสิ่งใด ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรเวเนฯ ในเรื่องนั้นได้

และการชำระค่าธรรมเนียมสามารถชำระได้ที่ธนาคารในย่านดาวน์ทาวน์ โดยจาก 1% ที่ต้องจ่ายไป ครึ่งหนึ่งตกอยู่กับรัฐ และอีกครึ่งถูกส่งไปยังศุลกากรเวเนฯ ดังนั้นจึงเท่ากับว่านักเดินทางต้องโอนเงินเข้าสู่ 2 บัญชีแยกกัน เจ้าหน้าที่ธนาคาอัธยาศัยดีมาก สามารถช่วยเหลือได้ในเรื่องนี้เช่นกัน

ซึ่งหากเตรียมการทุกสิ่งล่วงหน้า Karin-Marijke และ Coen กล่าวว่า ใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น

***เดินทาง***
#5 ติดต่อหาเรือ และทำการข้ามแดน
ในประสบการณ์ของนักเดินทางชาวดัตช์ พบชายคนหนึ่งในฝั่งเวเนฯ ที่จะเสนอตัวช่วยนำรถข้ามฟาก แต่ทว่าเขาคิดราคาสุดโหดถึง 300 ดอลลาร์อเมริกัน และทำให้คนทั้งคู่ได้ข้อสรุปว่า “คนในฝั่งโคลอมเบียต่างเบื่อหน่ายในการที่ต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารและเงิน ส่วนในฝั่งเวเนฯ ไม่มีใครสนใจที่จะช่วยเหลือนำรถของคนทั้งคู่ข้ามฝั่ง” ถึงแม้จะได้รับข้อเสนอสุดโหดจากชายคนแรกก็ตาม

และในที่สุดนักเดินทางชาวดัตช์ได้ตอบรับข้อเสนอจากขาใหญ่ในท้องที่ ซึ่งรู้จักในนาม มิลาโมเรส (Milamores) หรือ Jaime Pedrado เป็นที่คุ้นเคยใน Puerto Carreño โดยสามารถเอ่ยถามคนทั่วไปในพื้นที่ได้ โดยชายผู้นี้ได้เสนอให้บริการนำรถยนต์โตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์ข้ามพรมแดนในสนนราคา 100 ดอลลาร์เท่านั้น และทำให้คนทั้งคู่ยอมรับว่าไม่มีทางเลือกมากนักจึงตอบตกลงไป

โดยในการที่จะข้ามแดนได้ ตัวรถยนต์ต้องอยู่บนเรือเฟอร์รีเรียบร้อยแล้ว และจึงนำเอกสารทั้งหมดที่มีไปมอบให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรโคลอมเบียตรวจ โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ศุลกากร DIAN มายังที่ท่าเรือ ซึ่งเมื่อมาถึงเจ้าหน้าที่จะทำการประทับตราสุดท้ายให้ และรวมไปถึงถ่ายภาพรถขณะอยู่บนเรือเป็นหลักฐาน และเมื่อมาถึงจุดนี้ Karin-Marijke และ Coen เปิดเผยว่า มิลาโมเรสที่นอกจากรับผิดชอบนำพาข้ามแดนแล้ว ยังสามารถเป็นธุระช่วยเรื่องเอกสารด้วยเช่นกัน

และก่อนเดินทาง นักเดินทางต้องไปประทับตราเดินทางออกนอกประเทศจากตรวจคนเข้าเมืองโคลอมเบีย ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากท่าเรือไปเท่าใดนัก

การข้ามแดนทางเรือใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งเมื่อไปถึงฝั่งเวเนฯ จะมีเจ้าหน้าที่ทหารนำออกไป และดูเหมือนว่าทางเวเนซุเอลาต้องการเอกสารจำนวนมากกว่าในฝั่งโคลอมเบียเสียอีก โดยพวกเขาต้องการสำเนาของเอกสารทั้งหมดหลังจากที่ Karin-Marijke และ Coen ได้รับอนุญาตให้ขับรถขึ้นฝั่งได้

#6 ปวยร์โตไออากูโช (Puerto Ayacucho)

เริ่มเหนื่อยแล้วใช่ไหม แต่…ยังไม่เสร็จสิ้น โดยพบว่าทั้ง Karin-Marijke และ Coen ต้องขับรถแลนด์ครุยเซอร์คู่ใจออกมาจากฝั่งแม่น้ำเมตาไปต่อราวอีก 100 กม.เพื่อไปยังปวยร์โตไออากูโช สำหรับการได้รับการประทับตราหนังสือเดินทางที่นั่นซึ่งมีระยะเวลาอนุญาต 3 เดือนสำหรับชาวยุโรปในการเดินทางภายในประเทศโดยที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด และหลังจากนั้นขอให้โชคดี…..
Karin-Marijke และ Coen สองนักผจญภัยไร้พรมแดนชาวดัตช์เปิดเผยประสบการณ์ข้ามแดนที่ไม่เหมือนใครด้วยการขับโตโยต้าแลนด์ครุยเซอร์คู่ใจข้ามพรมแดนจากโคลัมเบียเข้าสู่เวเนซุเอลา บันทึกเรื่องราวบนเว็บไซต์นักเดินทาง http://www.landcruisingadventure.com
และในการเดินทางครั้งนั้นของ Karin-Marijke และ Coen พวกเขาถูกปฎิเสธจากเจ้าหน้าที่พรมแดนบริเวณ ใกล้กับมาราไกโบ(Maracaibo)เหมือนเช่นเดียวกับนักเดินทางชาวอาร์เจนตินา ซึ่งในสถานการณ์ที่ดีที่สุดคือพรมแดนเปิดรอผู้เดินทางเมื่อไปถึง แต่อย่างไรก็ตาม 2 นักเดินทางชาวดัตช์เตือนว่า อย่าให้เจ้าหน้าที่พรมแดนซานตา อีเลนาให้ความหวังอย่างลมๆแล้งๆเด็ดขาด
ภาพแผนที่การเดินทาง
VIN สำหรับรถที่นำข้ามแดน

การข้ามพรมแดนจาก Puerto Carreño ในฝั่งโคลอมเบียไปยัง Puerto Paez ในเวเนซุเอลา


สกุลเงินท้องถิ่นที่มีจำนวนมากเหมือนไปปล้นแบงก์มา
สภาพตลาดในเมริดา(Mérida) เวเนซุเอลาในช่วงปี 2015 ซึ่งเวเนซุเอลาอยู่ในสภาพการขาดแคลนอาหาร และเงินเฟ้อสูง
สภาพตลาดในเมริดา(Mérida) เวเนซุเอลาในช่วงปี 2015 ซึ่งเวเนซุเอลาอยู่ในสภาพการขาดแคลนอาหาร และเงินเฟ้อสูง
กราฟแสดงข้อมูลการเดินทางของนักเดินทางทั้งสอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อวันสำหรับ 2 คนราว 8.50 ปอนด์ต่อวัน
ภาพเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อเดินทางเข้าไปยังเวเนซุเอลาอีกครั้งในชวงที่ 2 ของการเดินทางจากจุดข้ามแดนซานตา อีเลนา( Santa Elena) ฝั่งบราซิล

ภาพรถ BJ45 ยอดนิยมในเวเนซุเอลา
นักเดินทางชาวดัตช์ต้องลงมือซ่อมรถเองระหว่างทาง
ปั้มน้ำมันที่ไม่ปกติในเวเนซุเอลา
เวเนซุเอลา
เวเนซุเอลา
ร้านเครื่องดื่มข้างทาง
โดนตำรวจเวเนฯเรียกให้ตรวจ แต่จบลงด้วยดี


ภาพของฮูโก้ ชาเวซอยู่ทุกที่ในเวเนฯ




ความน่านักของวัวทำให้สองนักเดินทางตัดสินใจเลือกอาหารมังสะฯแทน
อาหารตามปกติที่สั่งทานในเวเนฯ

กำลังโหลดความคิดเห็น