(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Odd couple: AIIB and ADB to jointly finance Pakistan highway
By Asia Unhedged
03/05/2016
มีการคาดการณ์กันเรื่อยมาว่า จีนเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) ขึ้น ก็เพื่อช่วงชิงอำนาจอิทธิพลกับ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่อยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่า โครงการแรกๆ ที่ AIIB ประกาศปล่อยเงินกู้ให้เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นโครงการสร้างทางหลวงสายหนึ่งในปากีสถาน ซึ่ง AIIB จะร่วมมือกับ ADB ในการให้ความสนับสนุนทางการเงิน
ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) ประกาศว่า หนึ่งในโครงการแรกๆ ที่ตนจะให้ความสนับสนุนทางการเงิน ได้แก่ การก่อสร้างทางหลวงสายสำคัญสายใหม่ในปากีสถาน
ทางหลวงสาย เอ็ม4 (M4) ซึ่งมีความยาว 64 กิโลเมตรเส้นนี้ จะเชื่อมต่อระหว่างเมืองชอร์กอต (Shorkot) กับเมืองข่านอีวัล (Khanewal) ในแคว้นปัญจาบ (Punjab province) ของปากีสถาน
โครงการนี้ยังได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank ใช้อักษรย่อว่า ADB) อีกด้วย โดยจะกลายเป็นโครงการแรกที่ธนาคารเฉพาะกิจ (policy bank) ทั้งสองแห่งนี้ให้ความสนับสนุนทางการเงินร่วมกัน ทั้งนี้ตามการประกาศของ ADB และ AIIB ณ การประชุมของธนาคารพัฒนาเอเชียในเยอรมนีเมื่อวันจันทร์ (2 พ.ค.) (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://in.reuters.com/article/pakistan-aiib-idINKCN0XU18P)
AIIB ซึ่งมีประเทศจีนเป็นหัวเรือใหญ่ให้การสนับสนุน เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาหมาดๆ และเปิดตัวดำเนินงานในเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้เอง โดยคาดหมายว่าจะสามารถปล่อยเงินกู้ให้แก่โครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในเอเชีย ประมาณ 10,000 ล้าน ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในช่วงระยะเวลา 5-6 ปีแรก
“ผมมีความยินดีมากที่จะได้ก้าวคืบหน้าไปอีก ในการจับมือเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างทางเรากับ ADB” จิน ลี่ฉวิน (Jin Liqun) ประธานของ AIIB ระบุในคำแถลงซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของทางธนาคาร “AIIB คาดหวังรอคอยที่จะได้ผลักดันความสัมพันธ์ของเราที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วให้หยั่งรากลึกยิ่งขึ้นอีก รวมทั้งคาดหวังรอคอยที่จะได้ขยายความร่วมมือกันของเรา ขณะที่เราเสาะแสวงหาทางตอบสนองความต้องการทางการเงินต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญในภูมิภาคเอเชีย”
ทางหลวงสาย เอ็ม4 นี้ ยังจะเชื่อมโยงกับทางหลวงอื่นๆ ทำให้ไปถึงเมืองไฟซาลาบัด (Faisalabad) และเมืองมูลตัน (Multan)
AIIB ได้เคยระบุว่าโครงการทางหลวง เอ็ม4 คือ “โอกาสทางธุรกิจ” โอกาสแรกสุดของตน บนเว็บไซต์ของทางธนาคารเมื่อวันที่ 11 เมษายน โดยที่ประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการนี้ไว้ที่ 273 ล้านดอลลาร์ AIIB ยังบอกว่า ADB จะเป็นผู้นำของเหล่าผู้ให้ความสนับสนุนทางการเงิน และจะเป็นผู้บริหารโครงการนี้ในนามของพวกหุ้นส่วนให้ความสนับสนุนทางการเงินรายอื่นๆ
สำหรับจีนกับปากีสถานนั้น ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาได้เชื่อมกระชับความผูกพันกันอย่างแนบแน่นเพิ่มขึ้นมาก โดยดำเนินการก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยโครงการด้านพลังงานและด้านโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ทั้งนี้ประมาณการกันว่ารวมแล้วจะมีมูลค่าสูงถึง 46,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
Odd couple: AIIB and ADB to jointly finance Pakistan highway
By Asia Unhedged
03/05/2016
มีการคาดการณ์กันเรื่อยมาว่า จีนเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) ขึ้น ก็เพื่อช่วงชิงอำนาจอิทธิพลกับ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่อยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ แต่ปรากฏว่า โครงการแรกๆ ที่ AIIB ประกาศปล่อยเงินกู้ให้เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นโครงการสร้างทางหลวงสายหนึ่งในปากีสถาน ซึ่ง AIIB จะร่วมมือกับ ADB ในการให้ความสนับสนุนทางการเงิน
ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) ประกาศว่า หนึ่งในโครงการแรกๆ ที่ตนจะให้ความสนับสนุนทางการเงิน ได้แก่ การก่อสร้างทางหลวงสายสำคัญสายใหม่ในปากีสถาน
ทางหลวงสาย เอ็ม4 (M4) ซึ่งมีความยาว 64 กิโลเมตรเส้นนี้ จะเชื่อมต่อระหว่างเมืองชอร์กอต (Shorkot) กับเมืองข่านอีวัล (Khanewal) ในแคว้นปัญจาบ (Punjab province) ของปากีสถาน
โครงการนี้ยังได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank ใช้อักษรย่อว่า ADB) อีกด้วย โดยจะกลายเป็นโครงการแรกที่ธนาคารเฉพาะกิจ (policy bank) ทั้งสองแห่งนี้ให้ความสนับสนุนทางการเงินร่วมกัน ทั้งนี้ตามการประกาศของ ADB และ AIIB ณ การประชุมของธนาคารพัฒนาเอเชียในเยอรมนีเมื่อวันจันทร์ (2 พ.ค.) (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://in.reuters.com/article/pakistan-aiib-idINKCN0XU18P)
AIIB ซึ่งมีประเทศจีนเป็นหัวเรือใหญ่ให้การสนับสนุน เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาหมาดๆ และเปิดตัวดำเนินงานในเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้เอง โดยคาดหมายว่าจะสามารถปล่อยเงินกู้ให้แก่โครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในเอเชีย ประมาณ 10,000 ล้าน ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในช่วงระยะเวลา 5-6 ปีแรก
“ผมมีความยินดีมากที่จะได้ก้าวคืบหน้าไปอีก ในการจับมือเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างทางเรากับ ADB” จิน ลี่ฉวิน (Jin Liqun) ประธานของ AIIB ระบุในคำแถลงซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของทางธนาคาร “AIIB คาดหวังรอคอยที่จะได้ผลักดันความสัมพันธ์ของเราที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วให้หยั่งรากลึกยิ่งขึ้นอีก รวมทั้งคาดหวังรอคอยที่จะได้ขยายความร่วมมือกันของเรา ขณะที่เราเสาะแสวงหาทางตอบสนองความต้องการทางการเงินต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญในภูมิภาคเอเชีย”
ทางหลวงสาย เอ็ม4 นี้ ยังจะเชื่อมโยงกับทางหลวงอื่นๆ ทำให้ไปถึงเมืองไฟซาลาบัด (Faisalabad) และเมืองมูลตัน (Multan)
AIIB ได้เคยระบุว่าโครงการทางหลวง เอ็ม4 คือ “โอกาสทางธุรกิจ” โอกาสแรกสุดของตน บนเว็บไซต์ของทางธนาคารเมื่อวันที่ 11 เมษายน โดยที่ประมาณการค่าใช้จ่ายของโครงการนี้ไว้ที่ 273 ล้านดอลลาร์ AIIB ยังบอกว่า ADB จะเป็นผู้นำของเหล่าผู้ให้ความสนับสนุนทางการเงิน และจะเป็นผู้บริหารโครงการนี้ในนามของพวกหุ้นส่วนให้ความสนับสนุนทางการเงินรายอื่นๆ
สำหรับจีนกับปากีสถานนั้น ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาได้เชื่อมกระชับความผูกพันกันอย่างแนบแน่นเพิ่มขึ้นมาก โดยดำเนินการก่อสร้างระเบียงเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยโครงการด้านพลังงานและด้านโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ทั้งนี้ประมาณการกันว่ารวมแล้วจะมีมูลค่าสูงถึง 46,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)