(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Southeast Asian currencies prove resilient in face of global meltdown
By Asia Unhedged
12/02/2016
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาซึ่งตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในอาการปั่นป่วนย่ำแย่หนัก ปรากฏว่า เงินรูเปียอินโดนีเซีย, เงินบาทไทย, และเงินริงกิตมาเลเซีย ที่เพียงไม่กี่ปีก่อนถูกมองว่าอ่อนแอที่สุดในเวลาเผชิญภาวะช็อกจากภายนอก กลับสามารถขยับแข็งค่าขึ้น ขณะที่สกุลเงินตราของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อย่าง เงินวอนเกาหลีใต้ และเงินดอลลาร์ไต้หวัน อยู่ในอาการอ่อนปวกเปียก
สมัยที่ตลาดการเงินทั่วโลกเคยซวนเซหนักในปี 2013 สืบเนื่องจาก เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในตอนนั้น ออกมาพูดเรื่องจะค่อยๆ ตัดทอนมาตรการ “การผ่อนคลายเชิงปริมาณ” (Quantitative Easing หรือ QE) โดยลดปริมาณการรับซื้อคืนพันธบัตร หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์วงการว่า “taper tantrum” พวกสกุลเงินตราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกมองว่าอ่อนเปราะที่สุดในเวลาเผชิญกับภาวะช็อกจากภายนอก แต่ในเวลานี้ซึ่งตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในอาการปั่นป่วนย่ำแย่ราวกับล่มสลาย ปรากฏว่าสกุลเงินตราเหล่านี้เองกลับสามารถรับมือกับความผันผวนได้ดีที่สุด โดยเงินตราที่มีผลงานระดับท็อปทรี ในบรรดาเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ของเอเชียช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ บาทไทย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, และริงกิตมาเลเซีย
ดูเหมือนว่าการที่สกุลเงินตราเหล่านี้ผูกพันอีนุงตุงนังอยู่กับจีนและธนาคารกลางสหรัฐฯค่อนข้างน้อยกว่า กลับกลายเป็นตัวช่วยพวกเขาให้มีผลงานดีกว่าพวกสกุลเงินตราในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผูกติดใกล้ชิดกับจีนยิ่งกว่านักหนา เป็นต้นว่า ตามข้อมูลของบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-02-11/asean-currencies-shedding-vulnerability-tag-to-lead-wider-region) ยอดขายในต่างประเทศของไต้หวันราว 40% และของเกาหลีใต้ราว 31% ทีเดียว เป็นการขายให้แก่จีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่ของมาเลเซียอยู่ที่ 18%, ของไทยอยู่ที่ 15%, และของอินโดนีเซียคือ 12%
“เวลานี้ตลาดได้เคลื่อนออกจากการคอยเฝ้าระวังการเพิ่มมาตรการเข้มงวดของเฟด กลายมาเป็นการตีราคาว่าเมื่อเฟดผ่อนปรนแล้วใครจะได้ประโยชน์ และนี่ก็กำลังเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกประเทศที่มีสินทรัพย์ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าชาวบ้าน อย่างเช่นอินโดนีเซีย” มัลลิกา สัชเดวา (Mallika Sachdeva) นักยุทธศาสตร์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ของ ดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ในสิงคโปร์ บอกกับบลูมเบิร์ก โดยที่ “พวกสกุลเงินตราในเอเชียทางเหนือ กลับกำลังถูกปฏิบัติเสมือนว่าเป็นตัวแทนแบกรับความเครียดเค้นของสกุลเงินตราจีน” เธอกล่าวด้วยว่า เวลานี้ดอยช์แบงก์นิยมชื่นชอบรูเปียห์และริงกิต มากกว่าวอนเกาหลีใต้และดอลลาร์ไต้หวัน
ระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ริงกิตมีค่าเพิ่มขึ้น 4.9%, บาทแข็งขึ้น 1%, และรูเปียห์เพิ่มขึ้น 0.9% ตรงกันข้าม สกุลเงินตราของตลาดเกิดใหม่เอเชียอื่นๆ ต่างร่วงกันระนาว นำโดยวอนโสมขาวที่ดิ่ง 4.2%
ขณะที่กองทุนทั้งหลายพากันถอยหนีห่างออกมาจากจีน พวกนักลงทุนต่างประเทศก็ได้หันมาชอบอกชอบใจกับข่าวอย่างเช่น อินโดนีเซียมีอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงและอัตราเติบโตพุ่งเร็วขึ้น, ไทยมีอัตราการขยายตัวของจีดีพีในปีที่แล้วกระเตื้องขึ้นเป็น 2.7%, และรัฐบาลมาเลเซียใช้ความพยายามจนประสบความสำเร็จในการบีบให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ภายในเป้าหมายที่ตั้งไว้
“ถ้าดอลลาร์ขยับแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งยังเป็นสมมุติฐานพื้นฐานของเราว่ากำลังจะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกสกุลเงินตราเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อาจจะกลับอ่อนตัวลงมา ทว่าน่าจะมีความผันผวนต่ำกว่าพวกสกุลเงินตราทางตอนเหนือขึ้นไปของเอเชีย” นิซาม อิดริส (Nizam Idris) หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์สำหรับตราสารหนี้และเงินตรา ของ แมคควอรี แบงก์ (Macquarie Bank) ในสิงคโปร์ บอกกับบลูมเบิร์ก
อิดริสชี้ด้วยว่า เงินบาทไทยนั้นมีความเปราะบางน้อยกว่ารูเปียห์หรือริงกิต เนื่องจากพวกกองทุนต่างประเทศถือตราสารหนี้ภาครัฐของไทยเอาไว้ในมือ เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า
จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยืดหยุ่นสามารถแบกรับความผันผวนได้ดีเช่นนี้ จึงทำให้มีดีมานด์ความต้องการเพิ่มขึ้นในตราสารหนี้ภาครัฐสกุลเงินท้องถิ่นของพวกเขา ทั้งนี้ ดัชนีของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่า ตราสารหนี้ภาครัฐของอินโดนีเซีย ให้ผลตอบแทน 5.4% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย ติดตามมาด้วยหลักทรัพย์ไทยซึ่งได้ 5%
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Southeast Asian currencies prove resilient in face of global meltdown
By Asia Unhedged
12/02/2016
ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาซึ่งตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในอาการปั่นป่วนย่ำแย่หนัก ปรากฏว่า เงินรูเปียอินโดนีเซีย, เงินบาทไทย, และเงินริงกิตมาเลเซีย ที่เพียงไม่กี่ปีก่อนถูกมองว่าอ่อนแอที่สุดในเวลาเผชิญภาวะช็อกจากภายนอก กลับสามารถขยับแข็งค่าขึ้น ขณะที่สกุลเงินตราของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อย่าง เงินวอนเกาหลีใต้ และเงินดอลลาร์ไต้หวัน อยู่ในอาการอ่อนปวกเปียก
สมัยที่ตลาดการเงินทั่วโลกเคยซวนเซหนักในปี 2013 สืบเนื่องจาก เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในตอนนั้น ออกมาพูดเรื่องจะค่อยๆ ตัดทอนมาตรการ “การผ่อนคลายเชิงปริมาณ” (Quantitative Easing หรือ QE) โดยลดปริมาณการรับซื้อคืนพันธบัตร หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์วงการว่า “taper tantrum” พวกสกุลเงินตราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกมองว่าอ่อนเปราะที่สุดในเวลาเผชิญกับภาวะช็อกจากภายนอก แต่ในเวลานี้ซึ่งตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในอาการปั่นป่วนย่ำแย่ราวกับล่มสลาย ปรากฏว่าสกุลเงินตราเหล่านี้เองกลับสามารถรับมือกับความผันผวนได้ดีที่สุด โดยเงินตราที่มีผลงานระดับท็อปทรี ในบรรดาเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ของเอเชียช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ บาทไทย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, และริงกิตมาเลเซีย
ดูเหมือนว่าการที่สกุลเงินตราเหล่านี้ผูกพันอีนุงตุงนังอยู่กับจีนและธนาคารกลางสหรัฐฯค่อนข้างน้อยกว่า กลับกลายเป็นตัวช่วยพวกเขาให้มีผลงานดีกว่าพวกสกุลเงินตราในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผูกติดใกล้ชิดกับจีนยิ่งกว่านักหนา เป็นต้นว่า ตามข้อมูลของบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-02-11/asean-currencies-shedding-vulnerability-tag-to-lead-wider-region) ยอดขายในต่างประเทศของไต้หวันราว 40% และของเกาหลีใต้ราว 31% ทีเดียว เป็นการขายให้แก่จีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่ของมาเลเซียอยู่ที่ 18%, ของไทยอยู่ที่ 15%, และของอินโดนีเซียคือ 12%
“เวลานี้ตลาดได้เคลื่อนออกจากการคอยเฝ้าระวังการเพิ่มมาตรการเข้มงวดของเฟด กลายมาเป็นการตีราคาว่าเมื่อเฟดผ่อนปรนแล้วใครจะได้ประโยชน์ และนี่ก็กำลังเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกประเทศที่มีสินทรัพย์ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าชาวบ้าน อย่างเช่นอินโดนีเซีย” มัลลิกา สัชเดวา (Mallika Sachdeva) นักยุทธศาสตร์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ของ ดอยช์แบงก์ (Deutsche Bank) ในสิงคโปร์ บอกกับบลูมเบิร์ก โดยที่ “พวกสกุลเงินตราในเอเชียทางเหนือ กลับกำลังถูกปฏิบัติเสมือนว่าเป็นตัวแทนแบกรับความเครียดเค้นของสกุลเงินตราจีน” เธอกล่าวด้วยว่า เวลานี้ดอยช์แบงก์นิยมชื่นชอบรูเปียห์และริงกิต มากกว่าวอนเกาหลีใต้และดอลลาร์ไต้หวัน
ระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ริงกิตมีค่าเพิ่มขึ้น 4.9%, บาทแข็งขึ้น 1%, และรูเปียห์เพิ่มขึ้น 0.9% ตรงกันข้าม สกุลเงินตราของตลาดเกิดใหม่เอเชียอื่นๆ ต่างร่วงกันระนาว นำโดยวอนโสมขาวที่ดิ่ง 4.2%
ขณะที่กองทุนทั้งหลายพากันถอยหนีห่างออกมาจากจีน พวกนักลงทุนต่างประเทศก็ได้หันมาชอบอกชอบใจกับข่าวอย่างเช่น อินโดนีเซียมีอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงและอัตราเติบโตพุ่งเร็วขึ้น, ไทยมีอัตราการขยายตัวของจีดีพีในปีที่แล้วกระเตื้องขึ้นเป็น 2.7%, และรัฐบาลมาเลเซียใช้ความพยายามจนประสบความสำเร็จในการบีบให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ภายในเป้าหมายที่ตั้งไว้
“ถ้าดอลลาร์ขยับแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งยังเป็นสมมุติฐานพื้นฐานของเราว่ากำลังจะเกิดขึ้น หากเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกสกุลเงินตราเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อาจจะกลับอ่อนตัวลงมา ทว่าน่าจะมีความผันผวนต่ำกว่าพวกสกุลเงินตราทางตอนเหนือขึ้นไปของเอเชีย” นิซาม อิดริส (Nizam Idris) หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์สำหรับตราสารหนี้และเงินตรา ของ แมคควอรี แบงก์ (Macquarie Bank) ในสิงคโปร์ บอกกับบลูมเบิร์ก
อิดริสชี้ด้วยว่า เงินบาทไทยนั้นมีความเปราะบางน้อยกว่ารูเปียห์หรือริงกิต เนื่องจากพวกกองทุนต่างประเทศถือตราสารหนี้ภาครัฐของไทยเอาไว้ในมือ เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า
จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยืดหยุ่นสามารถแบกรับความผันผวนได้ดีเช่นนี้ จึงทำให้มีดีมานด์ความต้องการเพิ่มขึ้นในตราสารหนี้ภาครัฐสกุลเงินท้องถิ่นของพวกเขา ทั้งนี้ ดัชนีของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่า ตราสารหนี้ภาครัฐของอินโดนีเซีย ให้ผลตอบแทน 5.4% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย ติดตามมาด้วยหลักทรัพย์ไทยซึ่งได้ 5%
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)